1 / 24

ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และ หลักการ RDQA

ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และ หลักการ RDQA. ผศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30 มิ.ย. 2557. ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงาน ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบรายงาน

makala
Télécharger la présentation

ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และ หลักการ RDQA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสำคัญของคุณภาพข้อมูล และหลักการ RDQA ผศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30มิ.ย.2557

  2. ความสำคัญของคุณภาพข้อมูลความสำคัญของคุณภาพข้อมูล • การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงาน ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบรายงาน • หากข้อมูลไม่มีคุณภาพ จะทำให้ผลการประเมินและนโยบายคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็น • ในกรณีของหน่วยบริการเอง ข้อมูลที่มีคุณภาพสามารถนำมาใช้วิเคราะห์งาน และพัฒนางานได้ • ข้อมูล RIHIS ที่มีคุณภาพ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานและกำหนดแนวทางการป้องกัน HIV ในประชากรที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง

  3. (Routine Data Quality Assessment) RDQA • Global Fund ให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูลรายงานจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาเครื่องมือชื่อ RDQA ขึ้น • RDQA เป็นแนวทาง/เครื่องมือ ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูล • เป็นกระบวนการตรวจวัดคุณภาพข้อมูลรายงานที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือโดยหน่วยติดตามกำกับ

  4. วัตถุประสงค์ของเครื่องมือ RDQA • VERIFY ตรวจสอบ • คุณภาพของข้อมูลรายงานสำหรับตัวชี้วัดหลักต่างๆ • ระบบการบริหารจัดการข้อมูล • DEVELOP พัฒนาแนวทางการดำเนินงาน โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขและเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการข้อมูลตลอดจนระบบการรายงาน เพื่อข้อมูลที่มีคุณภาพ • MONITOR ติดตามกำกับและดูแลอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพ การบริหารจัดการข้อมูลตลอดจนระบบการรายงาน เพื่อข้อมูลที่มีคุณภาพ

  5. กรอบแนวคิดของ RDQA ข้อมูลที่มีคุณภาพ หน่วยติดตามประเมินผล (M&E unit) ระบบจัดการและรายงานข้อมูล ระดับการรายงาน หน่วยรวบรวมข้อมูล เช่น จังหวัด เขต หน่วยบริการ

  6. คุณลักษณะของระบบข้อมูลที่ดีคุณลักษณะของระบบข้อมูลที่ดี • ถูกต้อง (Accuracy, Validity) • คงเส้นคงวา (Reliability) • มีรายละเอียดเพียงพอ (Precision) • ครอบคลุม (Completeness) • ทันเวลา (Timeliness) • ซื่อตรง (Integrity) • รักษาความลับ (Confidentiality)

  7. ถูกต้อง (Accuracy, Validity) • ความหมาย: ข้อมูลที่รายงานมีความถูกต้องตามความเป็นจริง และตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด • ตัวอย่าง: • โรงพยาบาล A รายงานจำนวน MSM ที่มาฟังผลการตรวจ anti-HIV ติดเชื้อเอชไอวีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เท่ากับ 7 ราย • ทีมตรวจเยี่ยมนับจำนวน MSM ที่มาฟังผลการตรวจ anti-HIV ติดเชื้อเอชไอวี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 จากบันทึกการให้บริการได้ 7 ราย เท่ากันกับที่รายงาน • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก

  8. คงเส้นคงวา (Reliability) • ความหมาย: ระบบรายงานและข้อมูลที่จัดเก็บไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความสม่ำเสมอต่อเนื่อง • ตัวอย่าง: ระบบ RIHIS มีรายการข้อมูลที่หน่วยบริการต้องจัดเก็บชัดเจน ทุกที่จัดเก็บเหมือนกัน และมีแบบรายงาน และระบบการรายงานที่เป็นรูปแบบเดียวกัน โดยต้องรายงานอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: ปานกลาง

  9. มีรายละเอียดเพียงพอ (Precision) • ความหมาย: มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรย่อยต่าง ๆ อย่างเพียงพอที่จะบอกสถานการณ์ของตัวชี้วัดหลัก และนำไปใช้ประโยชน์ได้ • ตัวอย่าง: แบบรายงาน HIV VCT ของ RIHIS กำหนดให้รายงานจำนวนผู้รับบริการ pretest ผู้ตัดสินใจตรวจเลือด ผู้กลับมาฟังผลเลือด และผู้ที่มีผลเลือดบวก แยกตามเพศ และกลุ่มเสี่ยง • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: น้อย

  10. ครอบคลุม (Completeness) • ความหมาย: ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีความครบถ้วน ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกตัวชี้วัดสำคัญ • ตัวอย่าง: เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลลงบันทึกการให้บริการ และรายงานการให้บริการ HIV VCT ทั้งที่ให้บริการในสถานพยาบาล และบริการเชิงรุกนอกสถานพยาบาล • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก

  11. ทันเวลา (Timeliness) • ความหมาย: สัดส่วนของรายงานที่ส่งทันเวลาจากจำนวนรายงานที่ต้องส่งทั้งหมด ในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนด • ตัวอย่าง: จากหน่วยบริการ HIV VCT ในจังหวัด A ทั้งหมด 20 แห่ง ส่งรายงาน RIHIS ประจำเดือน ส.ค. 2556 ทันภายในวันที่ 10 ก.ย. 2556 จำนวน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75 • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก

  12. ซื่อตรง (Integrity) • ความหมาย: ข้อมูลไม่ถูกบิดเบือนโดยตั้งใจจากผู้ปฏิบัติหรือผู้กำหนดนโยบาย • ตัวอย่าง : เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลลงบันทึก และทำรายงานตามที่ให้บริการจริง ไม่มีการปรับเพิ่มตัวเลข • บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการ: มาก

  13. รักษาความลับ (Confidentiality) • ความหมาย: มีระบบและวิธีการปฏิบัติในการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของผู้รับบริการเป็นความลับ • ตัวอย่าง: แบบบันทึกการให้บริการ STI ของสถานพยาบาล A ถูกเก็บไว้ในตู้ล็อกกุญแจ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและเขียนรายงาน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่มี password เท่านั้น • ความเกี่ยวข้องของหน่วยบริการ: มาก

  14. กรอบแนวคิดของ RDQA ข้อมูลที่มีคุณภาพ หน่วยติดตามประเมินผล (M&E unit) ระบบจัดการและรายงานข้อมูล ระดับการรายงาน หน่วยรวบรวมข้อมูล เช่น จังหวัด เขต หน่วยบริการ

  15. ระบบการบริหารจัดการข้อมูลระบบการบริหารจัดการข้อมูล I ศักยภาพ บทบาท และความรับผิดชอบของหน่วยกำกับดูแล II การฝึกอบรม III ข้อกำหนดของระบบรายงาน IV นิยามของตัวชี้วัด V แบบบันทึกและแบบรายงาน VI กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูล VII วิธีการควบคุมคุณภาพของข้อมูล VIII การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบรายงานของประเทศ

  16. I ศักยภาพ บทบาท และความรับผิดชอบของหน่วยกำกับดูแล • มีผู้รับผิดชอบงานติดตามประเมินผล/งานบริหารจัดการข้อมูล • มีการระบุบทบาทหน้าที่ความผิดชอบของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน

  17. II การฝึกอบรม • ผู้รับผิดชอบงานติดตามประเมินผล/งานบริหารจัดการข้อมูลได้รับการฝึกอบรมที่จำเป็น

  18. III ข้อกำหนดของระบบรายงาน • ระบบมีเอกสารที่ระบุอย่างชัดเจนถึง • สิ่งที่ต้องรายงาน (what) • รายงานส่งถึงใคร (who) • รูปแบบวิธีของการรายงาน (how) • และระยะเวลาในการรายงานข้อมูล (when)

  19. IV นิยามของตัวชี้วัด • นิยามตัวชี้วัดเชิงปฏิบัติการเข้าได้กับมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง • หน่วยบริการทุกแห่งในพื้นที่ใช้เป็นหลักในการถือปฏิบัติ

  20. V แบบบันทึกและแบบรายงาน • มีแบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงานที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานร่วมกัน • แบบฟอร์มมีรายละเอียดเพียงพอที่จะวัดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง • ข้อมูลถูกเก็บรักษาตามมาตรฐานการรักษาความลับระดับประเทศ หรือระดับนานชาติ • เอกสารต้นฉบับถูกเก็บไว้และพร้อมให้ตรวจสอบ

  21. VI กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูล • มีเอกสารที่แสดงขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการจัดการข้อมูลอย่างชัดเจน • มีการกำหนดประเด็นความท้าทายต่อข้อมูลที่มีคุณภาพ และวิธีการแก้ไขหากเกิดปัญหาเหล่านั้น

  22. VII วิธีการควบคุมคุณภาพของข้อมูล • มีเอกสารที่แสดงวิธีการตรวจหาและแก้ไขให้ลงรอยกัน หากรายงานต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน • มีเอกสารที่แสดงวิธีการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลกับเอกสารต้นฉบับ

  23. VIII การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบรายงานของประเทศ • ระบบเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานข้อมูลมีการเชื่อมต่อหรือส่งต่อข้อมูลไปยังระบบรายงานของประเทศหรือไม่

  24. ขอบคุณ

More Related