1 / 38

ทฤษฎี การประเมิน ( EVALUATION THEORY )

ทฤษฎี การประเมิน ( EVALUATION THEORY ). อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส ( ค.ด. การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปรัชญาการประเมิน ( Philosophy of Evaluation). อภิปรัชญา ( metaphysics) ความจริงคืออะไร

mora
Télécharger la présentation

ทฤษฎี การประเมิน ( EVALUATION THEORY )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎี การประเมิน (EVALUATION THEORY) อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. ปรัชญาการประเมิน (Philosophy of Evaluation) • อภิปรัชญา (metaphysics) ความจริงคืออะไร • ลัทธิจิตนิยม สสารเป็นเพียงการแสดงออกของจิตโดยไม่มีความเป็นจริงของตนเอง เพราะต้องอาศัยความจริงของจิต • ลัทธิสสารนิยม ความจริงเป็นสสารที่สามารถแตะต้องสัมผัสได้ • ลัทธิทวิยม ความจริงประกอบด้วยทั้งจิตและสสาร จิตเป็นผู้สร้างสสารให้มีความเป็นจริงในตนเอง หรือจิตเป็นตัวควบคุมสสารได้โดยรู้กฎเกณฑ์ของสสาร • ญาณปรัชญา (Epistemology) เราเข้าถึงความจริงได้อย่างไร • ลัทธิอัตนัยนิยม ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล • ลัทธิปรนัยนิยม ขึ้นอยู่กับเครื่องมือมาตรฐาน www.themegallery.com

  3. วิธีการเข้าถึงความจริงวิธีการเข้าถึงความจริง • วิธีวิทยาศาสตร์ • Aristotle, Francis Bacon, Charles Darwin, John Dewey ใช้ Sciencetific Method • วิธีเรขาคณิต (วิธีเหตุผล) • Rene Descartes ใช้ Axioms ข้อความที่เป็นจริงไปพิสูจน์ความจริงอื่นๆ • วิธีประสบการณ์ • John Locke, David Hume กลุ่มประสบการณ์นิยม อาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ • วิธีหยั่งรู้ • Immanuel Kant การฝึกฝนของแต่ละบุคคล ได้ “อัชณัตติกญาณนิยม (intuitionism)” • วิธีปฏิบัติ • Pierce, John Dewey, Schiller กลุ่มปฏิบัตินิยม ประสิทธิภาพของการปฏิบัติเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงความจริง www.themegallery.com

  4. ทำไมต้องประเมิน • การประเมินถือว่าเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมที่สอดคล้องกับแนวทางของประชาธิปไตย เป้าหมายของการประเมิน • กลุ่มประโยชน์นิยม (Utilitarianism) การสร้างประโยชน์สุขแก่สังคม เป้าหมายสำคัญคือ เสนอสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ทำการประเมินด้วยตนเอง แต่ให้เป็นดุลยพินิจของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ นักประเมินในกลุ่มนี้ เช่น Tyler (1950) Provus (1971) Stufflebeamและคณะ (1971) Stake (1975) Patton (1980, 1987) • กลุ่มพหุนิยม (Pluralism) มีประโยชน์มากกว่า 1 อย่าง เช่น เพื่อเป็นกลไกการติดตาม ควบคุม ดูแลการดำเนินงานต่างๆ เชื่อว่านักประเมินคือ ผู้เชี่ยวชาญที่อุดมด้วยความรู้และประสบการณ์ เป้าหมายจึงเป็นการ ตัดสินคุณค่า ของสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่ทำการประเมินเสร็จสิ้นลง นักประเมินในกลุ่มนี้ เช่น Scriven (1967) Stake (1967) Eisner (1975, 1979) , Gubaและ Lincoln (1981) www.themegallery.com

  5. ประเมินอย่างไร • อัตนัยนิยม (Subjectivism) • วิธีการเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Approach) อยู่บนหลักการของวิธีดำเนินการที่ยืดหยุ่น รวบรวมข้อมูลรอบด้านตามสภาพธรรมชาติและใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์ในการสรุปผล ตัวอย่างนักประเมิน เช่น Stake, Eisner, Guba และ Lincoln, Patton เป็นต้น • ปรนัยนิยม (Objectivism) • วิธีการเชิงระบบ (Systematic Approach) มีการวางแผนการดำเนินการอย่างแน่ชัด ใช้เครื่องมือมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล พยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้มากที่สุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลตามเกณฑ์มาตรฐานที่ประกาศไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างนักประเมิน เช่น Tyler, Cronbach, Rossi, Freeman, Wright, Levin เป็นต้น www.themegallery.com

  6. นิยามการประเมิน 1. การประเมิน = การวัด ถ้าใช้เทคนิคการวัดที่ดีย่อมจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการประเมินที่ถูกต้อง (Thorndike and Hagen, 1969) 2. การประเมิน = การวิจัยประยุกต์ การประเมินเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ต้องใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบ เครื่องมือ และการวิเคราะห์ (Rossi, 1972, 1982) ใช้หลักการวิจัยมาใช้เป็นหลักในงานประเมิน 3. การประเมิน = การตรวจสอบความสอดคล้อง การประเมินความสำเร็จจากความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โครงการ 8 ปี ของ Tyler (1932-1940) www.themegallery.com

  7. นิยามการประเมิน 4. การประเมิน = การช่วยตัดสินใจ กระบวนการเสนอสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ตัวอย่างแนวคิด เช่น Cronbach (1963) Alkin(1969) Stufflebeam และคณะ (1971) ข้อจำกัดขาดความชัดเจนของเป้าหมายการประเมิน 5. การประเมิน = การบรรยายอย่างลุ่มลึก การบรรยายสิ่งที่มุ่งประเมินอย่างลึกซึ้งรอบด้าน ผู้มีบทบาทด้านนี้คือ Stake (1967) ใช้การศึกษาเฉพาะกรณี (case study) 6. การประเมิน = การตัดสินคุณค่า เป้าหมายของการประเมินอยู่ที่การตัดสินคุณค่า ผู้มีบทบาทด้านนี้คือ Scriven (1967) Guba and Lincoln (1981) ผู้ประเมินมีความรู้ เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ www.themegallery.com

  8. “ Evaluation is not to prove but to improve.” (Stufflebeam , 1983)

  9. ความหมายของทฤษฎีการประเมินความหมายของทฤษฎีการประเมิน • ทฤษฎี (Theory) หมายถึง สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2551) • ทฤษฎี เป็นข้อความนัยทั่วไปที่แสดงระบบความสัมพันธ์ระหว่างหลักการหรือมโนทัศน์ที่สามารถใช้ทำความเข้าใจ บรรยาย อธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์เฉพาะต่าง ๆ ได้อย่างสมเหตุสมผล(ศิริชัย กาญจนวาสี,2552)

  10. การประเมิน (Evaluation)เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งทางสังคม(social process) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (objective)หลักอยู่ที่การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมาย (goal) ของการพัฒนาคุณค่าและอำนาจของสถาบัน/องค์กรและสังคมโดยส่วนรวม การประเมินผล = การวัด + การตัดสินคุณค่า (Evaluation) (Measurement) + (Judgment)

  11. ทฤษฎีการประเมิน (Evaluation Theory )เป็นข้อความนัยทั่วไปที่เป็นระบบความพันธ์ของสาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในกระบวนการทางสังคม (social process) มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินอย่างสมเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

  12. พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน

  13. พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน

  14. พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน

  15. พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน

  16. ยุคพัฒนาสู่วิชาชีพการเป็นวิชาชีพยุคพัฒนาสู่วิชาชีพการเป็นวิชาชีพ Guba และ Lincoln (1989)เสนอการจัดยุคของการประเมินดังนี้ 1) ยุคการประเมินที่เน้นกระบวนการวัด (Measurement - Oriented) 2) ยุคการประเมินที่เน้นการบรรยายความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (Objective - Oriented) 3) ยุคการประเมินที่เน้นการตัดสิน (Judgment - Oriented) และ 4) ยุคการประเมินที่เน้นการเจรจาต่อรอง (Negotiation - Oriented) ในยุคที่ 4 การประเมินเป็นกระบวนการสนองตอบต่อข้อเรียกร้อง / ความวิตกห่วงใยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการสร้างการรับรู้ความจริงร่วมกัน และสร้างการยอมรับผลการประเมินที่พิจารณาคุณค่าหลายด้านร่วมกัน ผู้ประเมินจึงมีบทบาทเป็นผู้นำในการอำนวยความสะดวกและประสานการเจรจาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งการเตรียมประเด็นการเจรจา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์การจัดทำรายงานแบบกรณีศึกษาที่ผู้เกี่ยวข้องสร้างผลการประเมินร่วมกัน

  17. ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน Assessment เป็นการเสนอสารสนเทศ และเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ตัดสินคุณค่าเอง ซึ่งมักเกี่ยวกับความดีงามประโยชน์ อันเป็นการตัดสินครั้งสุดท้ายในทางปฏิบัติ ถ้าเกณฑ์ไม่ชัดเจนจะใช้ Assessment มากกว่า Evaluation Evaluation คือเป็นกระบวนการตัดสิน คุณค่าสิ่งต่าง อย่างระมัดระวัง เป็นกระบวนการนำสิ่งที่จะประเมินไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานกำหนดเป็นการพิจารณาหลักฐานในสถานการณ์ที่กำหนดเพื่อกำหนดคุณค่าอย่างมีมาตรฐาน แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม หรือรายบุคคลเป็นกระบวนการรวบรวม และเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจที่ดีสำหรับทางเลือกที่เป็นไปได้ หลายทาง(Alternatives) Appraisal คือการประเมินตัดสินคุณค่าของโครงการว่าการอนุมัติให้ดำเนินการ หรือทุนสนับสนุน หรือไม่ เพียงใด

  18. ตัวบ่งชี้ หรือ ตัวชี้วัด (indicators) ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้สภาวะสิ่งที่ประเมิน เป็นตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ และมาตรฐานกำหนด โดยมีเกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ (criteria) หมายถึง ระดับที่ถือว่าเป็นคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ถือว่า เป็นความสำเร็จของการดำเนินงานเกณฑ์จึงเป็นตัวตัดสินคุณภาพของการปฏิบัติหรือผลที่ได้รับ เกณฑ์อาจได้มาจากมาตรฐานทางวิชาชีพมาตรฐานจำแนกเกณฑ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่มถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ ต้องพยายามหาโครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อนโดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม

  19. เกณฑ์ (criteria) หมายถึง ระดับที่ถือว่าเป็นคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ถือว่า เป็นความสำเร็จของการดำเนินงานเกณฑ์จึงเป็นตัวตัดสินคุณภาพของการปฏิบัติหรือผลที่ได้รับ เกณฑ์อาจได้มาจากมาตรฐานทางวิชาชีพมาตรฐานจำแนกเกณฑ์ออกเป็นประเภท คือ 1.1 เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่มถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ ต้องพยายามหาโครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และ 1.2 เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อนโดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม โมเดลหรือแบบจำลอง (Model) หมายถึง แบบแผนหรือแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงทฤษฎีที่เป็นนามธรรมสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

  20. ประเภทของ “รูปแบบ” หรือ “โมเดล” • โมเดลเชิงบรรยาย เป็นการนำเสนอโดยใช้คำบรรยายระบุถึงแนวคิด หลักการ หรือตัวแปร และมีคำอธิบายถึงปรากฏการณ์ด้วยคำบรรยายความสัมพันธ์ระหว่าง แนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • โมเดลเชิงรูปภาพ เป็นการนำเสนอโดยใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์จำลอง แสดงถึง แนวคิด หลักการหรือตัวแปร และลากเส้นโยงความสัมพันธ์ระหว่าง แนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • 3) โมเดลเชิงคณิตศาสตร์ เป็นการนำเสนอโดยใช้สัญลักษณ์แทนแนวคิด หลักการ หรือตัวแปร และใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด หลักการ หรือตัวแปรเหล่านั้น • ศิริชัย กาญจนวาสี(2552)

  21. มาตรฐาน (standard) หมายถึง คุณลักษณะหรือระดับที่ถือเป็นคุณภาพ, ความสำเร็จหรือความเหมาะสมอันเป็นที่ยอมรับกันทางวิชาชีพโดยทั่วไปเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพ

  22. เปรียบเทียบจุดเหมือน-จุดต่างของการวิจัยและการประเมินเปรียบเทียบจุดเหมือน-จุดต่างของการวิจัยและการประเมิน

  23. ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน(A Theory of Evaluation Models)

  24. ทวิมิติของรูปแบบการประเมิน มิติวัตถุประสงค์ : Decision – oriented V.S. Value oriented Approaches มิติวิธีการ : Systematic V.S. Naturalistic Approaches Text Text Goal Based ประเมิน : ทำไม ? ประเมิน : อย่างไร Goal Free

  25. 1.มิติวัตถุประสงค์ 1.1 การประเมินเน้นการตัดสินใจ (Decision – oriented Evaluation) เป็นการประเมินที่เน้นการเสนอสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางการบริหารซึ่งบทบาทสำคัญของนักประเมินคือ การตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารโดยขึ้นอยู่กับผู้บริหารในการกำหนกบริบทของการตัดสินใจและเกณฑ์การตัดสินความสำเร็จของโครงการ นักประเมินไม่ควรเข้าไปมีส่วนในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหาร เพราะจะทำให้เสียความเป็นกลางในการประเมิน

  26. 1.2 การประเมินเน้นการตัดสินคุณค่า (Value – oriented Evaluation)เป็นการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมิน โดยบทบาทของนักประเมินคือ การตัดสินคุณค่า ถ้านักประเมินไม่ได้มีส่วนในกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์และนักประเมินต้องตัดสินคุณค่าที่แท้จริงทั้งหมดไม่เพียงแต่คุณค่าของผลที่คาดหวังไว้เท่านั้นแต่จะต้องครอบคลุมถึงคุณค่าของผลที่มิได้คาดหวังด้วย

  27. ทวิมิติของรูปแบบการประเมินทวิมิติของรูปแบบการประเมิน I. มิติ วัตถุประสงค์ของการประเมิน(Objective) เน้นการตัดสินใจ(Decision-oriented) เน้นการตัดสินคุณค่า(Value-oriented) II. มิติ วิธีการประเมิน(Methods) 1.วิธีเชิงระบบ(Systematic Approach) 1.ปรนัยนิยม(Objectivism) 1.วิธีเชิงระบบ(Systematic Approach) • Goal-based App.(Tyler,1950) • Experimental App.(Cronbach,1963,1980,1982) • System analysis(Ministry of DefenceUSA,1965) • PERT(Cook,1966) • CSE(Alkin,1969,1971) • RFWA(Rossi;Freeman;Wright,1979) • Cost-related Analysis(Levin,1983) • Discrepancy App.(Provus,1971) • CIPP(Stufflebeam et.al., 1971) • Consumer-oriented App.(Scriven,1967) • Goal-free App.(Scriven,1973) • Training App.(Kirkpatrick,1978) • Judicial App.(Owens,1973; Wolf,1979) • Theory-based App.(Chen;Bickman,1990;Rogers,2000 ) • Value-added App.(Sander;Horn,1994; Webster,1995) • Accreditation App. 1.วิธีเชิงธรรมชาติ(Systematic Approach) 1.วิธีเชิงธรรมชาติ(Systematic Approach) 2.อัตนัยนิยม(Subjectivism) • Responsive App(Stake,1967,1975,1978) • Transactional App.(Rippey,1973) • Democratic App.(McDonald,1975) • Illuminative App.(Parlett; Hamilton,1976) • Creative App.(Patton,1981) • Stakeholder-based App(Bryk,1983). • UFA(Patton,1978,1986) • Criticism App.(Eisner,1975,1979) • Effective App.(Cuba;Lincoln, 1981) • Constructivist App.(Lincoln;Cuba,1985,1989) • Empowerment App.(Fetterman,1994) • Authentic App.(Cradler,1991; Koretz,, Barron,1996,1998)

  28. ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์(A Theory of EvaluationUtilization)

  29. ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ทฤษฎีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ ที่สำคัญได้แก่ Alkin et al. (1988); Weiss (1998); Patton (2008); รูปแบบ(Model)การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ • การใช้เชิงแนวคิด (Conceptual Use) • การใช้ในเชิงตรวจสอบยืนยัน (Legitimate Use) • การใช้ในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Use) • การใช้ในเชิงปฏิบัติการ (Instrumental Use) • (ศิริชัย กาญจนวาสี ,2552)

  30. ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน การใช้ผลการประเมิน และผลกระทบของการประเมิน กระบวนการประเมิน (Evaluation Process) ผลกระทบของการประเมิน (Impact of Evaluation ) กลยุทธ์การเผยแพร่ (Dissemination Strategies) การใช้ผลการประเมิน (Evaluation Utilization) • การวางแผนและเจรจาเพื่อกำหนดคำถามการประเมิน/วิธีการประเมิน • การดำเนินงาน สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานเพื่อเผยแพร่และนำไปใช้ • การเปลี่ยนแปลง • วัฒนธรรมองค์การ • โครงสร้างองค์การ • ระเบียบ ข้อบังคับ • วิธีดำเนินงาน • พฤติกรรมของสมาชิก • ระบุความต้องการใช้สารสนเทศ • สร้างการมีส่วนร่วมในการประเมิน • เน้นการเผยแพร่ที่สนองความต้องการ • มีเทคนิคการสื่อสาร • ระยะแรก(ระดับความคิด) • การใช้ในเชิงความคิด • ระยะต่อมา(ระดับปฏิบัติการ) • การใช้ในเชิงตรวจสอบยืนยัน • การใช้ในเชิงสัญลักษณ์ • การใช้ในเชิงปฏิบัติ

  31. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมิน ลักษณะของการประเมิน • กระบวนการประเมิน • ตรงประเด็น • มีคุณภาพข้อค้นพบสนองความต้องการ • กลยุทธ์การเผยแพร่ • ผู้ประเมิน • ความน่าเชื่อถือ • ทักษะการสื่อสาร การใช้ผลการประเมิน (Evaluation Utilization) ลักษณะบริบทของการประเมิน • สิ่งแวดล้อม • การเมือง • เศรษฐกิจ • ลักษณะการตัดสินใจ • ผู้เกี่ยวข้อง • ทัศนคติต่อการประเมิน • ความผูกพัน • ความต้องการใช้สารสนเทศ

  32. เส้นทางการใช้ผลการประเมินและผลกระทบของการประเมินเส้นทางการใช้ผลการประเมินและผลกระทบของการประเมิน นำไปใช้เชิงแนวคิด (Conceptual Use) นำไปใช้ เชิงปฏิบัติการ (Instrumental Use) ผลกระทบ ของการประเมิน (Impact of Evaluation ) ผลการประเมิน จุดประกายความคิดของผู้เกี่ยวข้อง (Enlightenment) เกิดการดำเนินการปฏิบัติการ (Action) • การเปลี่ยนแปลง(Change) • วัฒนธรรมองค์การ • โครงสร้างองค์การ • ระเบียบ ข้อบังคับ • วิธีดำเนินงาน • พฤติกรรมของสมาชิก

  33. ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมิน การใช้ผลการประเมิน และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การประเมิน การเรียนรู้การประเมิน การใช้ผลการประเมิน

  34. รูปแบบการประเมินของ Michael Scriven จุดมุ่งหมายของการประเมินเพื่อการตัดสินคุณค่า ตัวอย่าง การนำแนวคิดของสคริฟเว่น มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการเรียนการสอน เช่น 1. ศึกษาจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการเรียนการสอน 2. พิจารณาความสำคัญของจุดมุ่งหมายที่จะประเมิน 3. กำหนดเกณฑ์ในการประเมินจุดมุ่งหมายแต่ละข้อ 4. สร้างแบบทดสอบให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการจะประเมิน 5. ตรวจสอบจุดมุ่งหมาย เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน

  35. Theory Drivenการประเมินแบบทฤษฎีแรงขับ(Chen ) • นำเสนอแนวคิดของการประเมินที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับแนวคิดของScrivenเพราะ Chen เห็นว่าการประเมินที่ดีนอกจากสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องสามารถอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไมตัวแทรกแซง (intervention) ที่กำหนดขึ้นสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ การรู้ปัจจัยเชิงสาเหตุหรือกลไกการทำงาน (mechanism)

  36. ทฤษฎีการประเมินงานประเมิน(A Theory of Meta-Evaluation)

  37. Meta-Evaluation (การประเมินอภิมาน หรือการประเมินซ้อนการประเมิน) นงลักษณ์ วิรัชชัย ( 2550 :อ้างถึงใน สมศ., 2550) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง กระบวนการที่มีระบบซึ่งประกอบด้วยการกำหนดข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากผลลการประเมินงานประเมิน/นักประเมิน เพื่ออธิบายให้คุณค่า และตัดสินคุณค่าว่างานประเมิน/นักประเมินมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเกณฑ์(Criteria) และมาตรฐาน(Standard)ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร มีจุดอ่อน/จุดแข็งในการดำเนินงาน อย่างไร รวมทั้งการสังเคราะห์ผลการประเมิน/นักประเมินและการใช้ผลการประเมินในการพัฒนาคุณภาพการประเมิน/นักประเมิน

  38. ขอบคุณครับ!

More Related