1 / 80

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การดำเนินการตามตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98 / 1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 254 6.

noam
Télécharger la présentation

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดำเนินการตามตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98/1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546

  2. เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน 1. การเปิดเสรีทางการค้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. การแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรง 4. การบริหารจัดการทางการผลิต การค้าและการบริการ 5. ความต้องการแรงงานฝีมือมีเพิ่มขึ้น 6. ข้อจำกัดของภาครัฐในการผลิตแรงงานฝีมือให้ทันความต้องการ - งบประมาณ - บุคลากร 7. ข้อจำกัดของภาครัฐในการผลิตแรงงานฝีมือให้ตรงความต้องการ - ภาคเอกชนมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยกว่า - สถานประกอบกิจการบางแห่งมีเทคนิคเฉพาะที่เป็นความลับ

  3. กำลังการลงทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอกำลังการลงทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอ ความเข้าใจในกระบวนการและความสามารถในการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอ ขาดแคลนองค์ความรู้ในเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีข้อจำกัดอันเกิดจากข้อกฎหมายบางฉบับ สถานประกอบกิจการบางส่วนที่มีศักยภาพในการช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานขาดการมีส่วนร่วมเท่าที่ควร ข้อจำกัดในการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ร.บ. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 ไม่เอื้ออำนวยเพียงพอต่อการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

  4. วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือ แรงงานให้มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มมาตรการจูงใจด้านการยกเว้นภาษีเงินได้จากการฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน และสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือ แรงงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน

  5. สิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงานสิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 %สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 2. สามารถนำจำนวนผู้เข้ารับการฝึกไปนับสัดส่วน 50%ในการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กรณีมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปในปีนั้นๆ

  6. 3. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้าทำงาน) 4. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายโรงเรียนเอกชน 5. มีสิทธินำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือแรงงานหรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อมาเป็นครูฝึก (พร้อมคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ)

  7. 6. ได้รับคำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในด้านต่างๆ 7. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. มีสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกทั่วไป 2. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการฝึกอบรม 3. มีสิทธิหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวน 2 เท่า ของ ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการอบรมในศูนย์ฝึกฯ 4. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  8. การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีกร้อยละ 100 ให้นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ตัวอย่าง *มีรายจ่ายในการลงทุนทั้งหมด 1,000 บาท (รวมค่าฝึกอบรม 200 บาท) *มีรายได้ 3,000 บาท หักค่าใช้จ่ายออก 100 % เพื่อเป็นกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี(ปกติ) 3,000–1,000=2,000 บาท (100%แรก) นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี 2,000–200 =1,800 บาท (เพิ่มอีก100%) ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิเพียง 1,800 บาท

  9. การลงค่าใช้จ่ายเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100%

  10. *

  11. การฝึกอบรมฝีมือแรงงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อข้อยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% มี 3 ประเภท (เป็นลูกจ้าง) 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 1)ฝึกเอง 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 2)ส่งไปฝึกภายนอก (ไม่ใช่ลูกจ้าง) 1)บุคคลทั่วไป ฝึกเอง 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2)บุคคลทั่วไป ส่งไปฝึกภายนอก 3)รับนักเรียน นักศึกษาฯฝึกงาน

  12. การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบการกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากร* ตาม มาตรา 4 (2) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 437)พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148)

  13. การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน(ต่อ) การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (Public Training) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น *ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง* ตาม มาตรา 4 (1) ตาม พระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 437)พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม

  14. การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) *ต้องได้การรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อนแล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเอง ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548

  15. การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก(Public Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากรได้* ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548ประกอบกับมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

  16. การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การรับนักเรียนนิสิตหรือ นักศึกษาหรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึก เข้ารับการฝึก ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 *ต้องได้การรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อนแล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเอง

  17. ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน สามารถดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามหมวด 1) และยื่นขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย เพื่อขอยกเว้นภาษีได้เพิ่มอีก 100 %ได้ ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

  18. การฝึกอบรมฝีมือแรงงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มี 3 ประเภท 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน

  19. 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติเพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นสูงขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการ 1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก)

  20. 1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง) เงื่อนไข เสนอหลักสูตรรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึกการออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว

  21. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร

  22. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 4) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 4.1) กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยายกลุ่มละไม่เกิน 100 คน 4.2) กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คน ต่อวิทยากร 1 คน 4.3) กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คน ต่อวิทยากร 1 คน 2.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่นเช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3)ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน

  23. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง 1) ค่าตอบแทนวิทยากร 2)ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม 4) ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม 5) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรมหรือตำรา 6) ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม 7) ค่าถ่ายล้างอัดและขยายรูปภาพค่าบันทึกภาพและเสียง ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม

  24. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 8) ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อการฝึกอบรมได้แก่สื่อในลักษณะแผ่นโปร่งใสเทปเสียงเทปวีดีโอซีดีวีซีดีดีวีดีซีดี-รอมแผ่นภาพสไลด์และรวมถึงชุดทดลองชุดสาธิตหุ่นจำลองที่ไม่มีลักษณะคงสภาพเข้าข่ายเป็นการลงทุน ในกรณีเช่าสื่อการฝึกอบรมจะต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม 9) ค่าวัสดุเครื่องมือต่างๆที่จะใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องมีลักษณะการใช้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรนั้นๆทั้งนี้วัสดุเครื่องมือดังกล่าวจะต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบโดยจะต้องระบุรายการจำนวนและราคาของวัสดุเครื่องมือนั้นให้ชัดเจน 10) ค่าเช่าเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตร ที่จัดฝึกอบรม

  25. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม 12) ค่าเช่าที่พักค่าอาหารค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับ ผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรมยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 13) ค่าจ้างพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อ เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน 14) ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม 15) ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศยกเว้นค่าเครื่องบิน 16) ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร กรณีจ้างจัด ค่าฝึกอบรมซึ่งเป็นการจ้างจัดให้กับสถานประกอบกิจการเป็นการเฉพาะ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเช่นเดียวกับกรณีดำเนินการฝึกเอง

  26. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ *การแนบสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อประกอบการพิจารณา* 1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมระบุชื่อหลักสูตร / รุ่น / วันที่อบรม / จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบ ใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหารประกอบด้วย) 2. กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร เป็นต้น ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน 3. กรณีบิลเงินสดต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน (ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงินมาด้วย)

  27. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 4. หลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ 5. ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงานสัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

  28. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตรก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึกอบรมและหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรตามที่จ่ายจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบภายใน60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป

  29. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับ ฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (แบบ ฝย / ฝป 2 - 1) 3. ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 3) สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

  30. 1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก)1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก) เงื่อนไข เสนอหลักสูตรรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึกการออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว

  31. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร

  32. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ 2.สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถานฝึกอบรม ฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือหน่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่เป็นมูลนิธิสมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและต้องเป็นการฝึกอบรมภายในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางภาษี นายทะเบียนจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง

  33. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงานสัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

  34. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร ก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบ หลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึก อบรมและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามที่ฝึกจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความ เห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป - หลักฐาน รายละเอียดต่างๆเป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ - ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

  35. ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (อบรมภายนอก) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีส่งไปรับการฝึกกับสถานฝึกอบรมอื่น (แบบ ฝย / ฝป 2 - 2) 3. ขอให้แนบหลักฐานการฝึกอบรมที่สามารถระบุได้ว่า การฝึกอบรมนั้นถึง 6 ชั่วโมง และบุคคลใดไปรับการฝึก เช่น ตารางการฝึกอบรม, โบวชัวร์, ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น มาในแต่ละหลักสูตร สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

  36. 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพอื่นที่ลูกจ้างมิได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ ความสามารถที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นนั้นได้ด้วย ดังนี้ 1. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพทั้ง ฝึกอบรมภายใน และส่งไปฝึกภายนอก ใช้เงื่อนไขและแบบฟอร์มเช่นเดียวกับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานเว้นแต่ 2. ระยะเวลาการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

  37. 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน หมายถึง จัดฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของตน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานก่อนเข้าทำงานซึ่งหลักสูตรต้องสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ 1.1ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.2ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) 1.3รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการ ส่งมาเข้ารับการฝึก

  38. การฝึกเตรียมเข้าทำงานการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ผู้ประกอบกิจการ ฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาเข้ารับการฝึก 1.1 ดำเนินการจัดฝึกเอง 1.2 ส่งไปฝึกภายนอก (สถานศึกษา/ สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)

  39. 1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึก(ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่นเช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3)ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน

  40. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2.1) กรณีที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก 1) ได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ 2) สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ 3) สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 2 ปี

  41. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.2) กรณีที่ไม่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก ครูฝึกเตรียมเข้าทำงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อ2.1(2)หรือข้อ2.1(3)หรือต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1)สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกและมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 4 ปีหรือ 2)สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3หรือเทียบเท่าขึ้นไปและมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 7 ปีหรือ 3)สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่าขึ้นไปและมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือ 4)ต้องมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่ฝึก โดยสาขาอาชีพนั้นต้องเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลนหรือเป็นสาขาอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ2.1และข้อ2.2ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการสอนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงเว้นแต่มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 เดือน

  42. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 4.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง 5.อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วและที่ต้องหามาเพิ่มเติมในภายหลังต้องมีตามความจำเป็น เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนผู้รับการฝึกอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยสำหรับการฝึก ในแต่ละหลักสูตร 6.วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องกำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

  43. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) จัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก 2)ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 3)ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 4) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก(มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 5)จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 6)ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก

  44. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง 1. ระยะเวลาการฝึก 2. เวลาฝึกเวลาพักและวันหยุดของผู้รับการฝึก 3. เบี้ยเลี้ยงระหว่างรับการฝึก 4. สวัสดิการตลอดจนมาตรการเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้รับการฝึก 5. หลักเกณฑ์การลา 6. เงื่อนไขการเลิกสัญญาการฝึก 7. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเกิด จากการฝึก 8. หลักเกณฑ์การรับเข้าทำงานและค่าจ้างเมื่อสำเร็จการฝึก 9. การให้ความยินยอมในการทำสัญญาการฝึกในกรณีผู้รับการฝึกเป็นผู้เยาว์ 10. รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

  45. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 1. ระยะเวลาฝึก - ไม่เกินวันละ8ชั่วโมง - งานที่อาจเป็นอันตรายไม่เกินวันละ7ชั่วโมง 2. เวลาพัก - ไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมงหลังจากฝึกติดต่อกันไม่เกิน 4ชั่วโมง 3. วันหยุด - วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ1วัน - วันหยุดตามประเพณี - วันหยุดชดเชย 4. การลาป่วย - มีสิทธิลาป่วยได้ตามความเป็นจริงไม่เกินที่กำหนดในหลักสูตร 5.ข้อห้ามในการฝึก - ห้ามรับผู้รับการฝึกที่มีอายุต่ำกว่า15ปีบริบูรณ์ - ห้ามฝึกหญิงหรือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์ฝึกงานที่อันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

  46. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 6. การจ่ายเบี้ยเลี้ยง - ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ1ครั้ง 7. สวัสดิการ - จัดน้ำสะอาดสำหรับดื่มห้องน้ำและห้องส้วม - ช่วยเหลือหรือให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อผู้รับการฝึกประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยในระหว่างการฝึก - จัดให้มีการระบายอากาศทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก แสงสว่าง ทางออกฉุกเฉินในอาคารที่ฝึก 8. ความปลอดภัยการทำงาน - จัดให้มีเครื่องมือป้องกันอันตรายสำหรับการฝึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือร่างกายของผู้รับการฝึก จัดให้มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม - จัดทำประกันอุบัติเหตุจากการฝึกให้แก่ผู้รับการฝึกให้ได้รับประโยชน์ไม่น้อย กว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

  47. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับความเห็นชอบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกเตรียม- เข้าทำงาน (แบบ ฝต 1 – 1) 2. สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 2) 3. แบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 3) 4. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

  48. 1.2ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) จัดทำรายหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้น(ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1. สถานที่ฝึก สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคคลเป็นการทั่วไป และต้องเป็นการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในประเทศ

  49. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ 2.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1)ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2)ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับ การฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่น 2.1 การจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก(มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45)

  50. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก 1)ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน ให้หมายความรวมถึงค่าอาหารค่าที่พักค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กำหนด ในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เรียกเก็บ 2)ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน 3)ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้

More Related