1 / 57

บทที่  การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ (Characterization and Analysis of Polymers)

บทที่  การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ (Characterization and Analysis of Polymers). บทที่  การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์. การวิเคราะห์ลักษณะผิวหน้าของพอลิเมอร์.

prentice
Télécharger la présentation

บทที่  การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ (Characterization and Analysis of Polymers)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์(Characterization and Analysis of Polymers)

  2. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์ลักษณะผิวหน้าของพอลิเมอร์ การวิเคราะห์ลักษณะผิวหน้าของวัสดุมีความสำคัญและได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาสารกึ่งตัวนำอุปกรณ์ไฟฟ้าการเคลือบผิวและพอลิเมอร์พื้นฐานการวิเคราะห์อาศัยการแผ่รังสีจากแหล่งพลังงานสูง (อิเลคตรอนโฟตอนหรือไอออน) ที่ตกกระทบหรือผ่านผิวหน้าของตัวอย่างและเป็นสาเหตุให้เกิดการสะท้อนกลับของพลังงานซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้

  3. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์ลักษณะผิวหน้าของพอลิเมอร์ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ • Scanning Electron Microscopy (SEM) เทคนิคนี้ใช้ลำอิเลคตรอนสแกนไปบนผิวหน้าของสารตัวอย่างซึ่งทำให้เกิดการกระเจิงของอิเลคตรอน (scattered electron) และเกิดสัญญาณเพื่อใช้ในการสร้างภาพที่สามารถเห็นความลึกของตัวอย่าง SEM มีประโยชน์มากในการศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้าของพอลิเมอร์เนื่องจากมีกำลังขยายสูงและเป็นภาพสามมิติ

  4. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การประยุกต์ใช้เทคนิค Scanning Electron Microscopy (SEM) • ใช้ศึกษาการกระจายของเม็ดสีที่แขวนลอยอยู่ในสี • โครงสร้างของรูพรุนในพอลิเมอร์ประเภทโฟม • การพองหรือการแตกออกของวัสดุที่ใช้เคลือบผิว • การแยกเฟสในพอลิเมอร์ผสม • ลักษณะการแตกของผิวหน้าระหว่างวัสดุและสารที่ใช้ยึดติด

  5. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • Attenuated Total Reflectance Spectroscopy (ATR) เทคนิคนี้อาจเรียกว่า Internal Reflection Spectroscopy (IRS) ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการวิเคราะห์พื้นผิวของพอลิเมอร์โดยสารตัวอย่างจะถูกนำไปติดกับผลึก ThBr หรือ AgCl ซึ่งเป็นวัสดุที่ยอมให้แสง IR ผ่านได้และมีค่า refractive index มากกว่าพอลิเมอร์โดยลำแสง IR จะถูกโฟกัสไปตกที่ผลึกหรือเพลตตัวอย่าง (sample plate) ดังรูปที่ 5.1หลังจากที่ลำแสงผ่านไปยังผิวของพอลิเมอร์ด้วยความลึกในระดับไมโครเมตรจะเกิดการสะท้อนที่ผิวหน้าและบางส่วนจะถูกดูดกลืน (absorb) ไว้ลำแสงที่สะท้อนจะตรงไปยังสเปกโทรมิเตอร์และถูกแปลงเป็นสัญญาณที่เป็นฟังก์ชันกับความยาวคลื่น

  6. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Crystal Critical angle Reflected beam Incident beam Polymer sample รูปที่ 5.1Attenuated Total Reflectance Spectroscopy (ATR) เกิดการสะท้อนเพียงครั้งเดียว

  7. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การดูดกลืนสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยใช้ internal reflector plate ดังรูปที่ 5.2 ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสะท้อนหลายๆครั้งที่ผิวหน้าของตัวอย่างหรือเรียกว่า multiple internal reflection (MIR) จำนวนครั้งของลำแสงที่ตกกระทบและความลึกของการผ่านเข้าไปในผิวของพอลิเมอร์เป็นฟังก์ชันกับ relative refractive index มุมตกกระทบลักษณะของผิวหน้าของตัวอย่างและความยาวคลื่นATR มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาพื้นผิวที่ถูกเคลือบการเกิดออกซิเดชันที่ผิวหน้าของตัวอย่างลักษณะการยึดติดของสารประเภทกาวและการศึกษาผิวหน้าของพอลิเมอร์ในด้านอื่น

  8. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Polymer sample Reflected beam Incident beam Crystal Polymer sample รูปที่ 5.2 Attenuated Total Reflectance spectroscopy (ATR) :เกิดการสะท้อนหลายครั้ง : Multiple Internal Reflection (MIR)

  9. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์สมบัติทางอุณหภูมิของพอลิเมอร์ (Thermal Analysis) สมบัติทางอุณหภูมิของพอลิเมอร์เช่นอุณหภูมิหลอมเหลวอุณหภูมิกลาสทรานซิชันสามารถศึกษาโดยใช้เทคนิคต่างๆดังนี้ • Differential Scanning Calorimetry (DSC) และDifferential Thermal Analysis (DTA) • Thermogravimetric Analysis (TGA)

  10. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • Differential Scanning Calorimetry (DSC) และDifferential Thermal Analysis (DTA) DTA และ DSC เป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาปริมาณความร้อนและการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของพอลิเมอร์โดยมีหลักการทำงานเหมือนกันคือสารตัวอย่างและสารอ้างอิงที่เฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยาบรรจุในถ้วยอะลูมิเนียมขนาดเล็ก (ทองแดงหรือแกรไฟต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์ที่อุณหภูมิสูงกว่า 800C) จะถูกให้ความร้อนในบรรยากาศไนโตรเจนจากนั้นสมบัติทางความร้อนของตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิในตัวอย่างจะถูกตรวจวัดและแปรผล

  11. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Reference Sample . . Heating element Heating element Sample Temperature sensor Reference Temperature sensor รูปที่ 5.3ส่วนประกอบหลักของเครื่อง DTA Block

  12. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ขนาดของตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์อยู่ในช่วง 0.5-1.0 mg ถึงแม้ว่าทั้งสองเทคนิคนี้ให้ข้อมูลที่คล้ายกันแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือในเทคนิค DTA สารตัวอย่างและสารอ้างอิงจะถูกให้ความร้อนจากแหล่งพลังงานที่เดียวกันรูปที่ 5.3 และความแตกต่างของอุณหภูมิ (∆T) ระหว่างสารตัวอย่างและสารอ้างอิงจะถูกบันทึกเมื่อเริ่มให้ความร้อนถ้าอุณหภูมิของตัวอย่างต่ำกว่าสารอ้างอิงแสดงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน (endothermic) แต่ถ้าอุณหภูมิของตัวอย่างสูงกว่าสารอ้างอิงแสดงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน (exothermic)

  13. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ∆T Sample Thermocouple Reference Thermocouple . . . Sample Reference Liquid nitrogen Cooling area Block Heating element Power for heating element to temperature controller Temperaturesensor รูปที่ 5.4ส่วนประกอบหลักของเครื่อง DSC

  14. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ สำหรับเทคนิค DSC สารตัวอย่างและสารอ้างอิงจะถูกให้ความร้อนจากแหล่งพลังงานสองแหล่งที่แยกกัน (รูปที่ 5.4) ค่าพลังงานความร้อน (d∆Q/dt) ที่ใช้ในการรักษาอุณหภูมิของตัวอย่างและสารอ้างอิงให้เท่ากันจะถูกบันทึกไว้ ข้อมูลที่ถูกนำมาพลอตกราฟกับอุณหภูมิคือ∆T (สำหรับ DTA) หรือ d∆Q/dt (สำหรับ DSC) กราฟที่ได้เรียกว่าเทอร์โมแกรม (thermogram)

  15. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ รูปที่ 5.5 เทอร์โมแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย DSC

  16. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ข้อดีของเทคนิค DSC คือพื้นที่ใต้พีคจะสัมพันธ์โดยตรงกับเอนทาลปี (enthalpy) หรือการเปลี่ยนแปลงความร้อนของตัวอย่างซึ่งมีความสัมพันธ์กับความจุความร้อนความร้อนของการหลอมเหลวหรือเอนทาลปีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นตัวอย่างของเทอร์โมแกรมที่ได้จาก DSC แสดงดังรูปที่ 5.5

  17. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • Thermogravimetric Analysis (TGA) TGA เป็นวิธีเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความเสถียรของพอลิเมอร์เมื่อได้รับความร้อนโดยใช้พื้นฐานการวัดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องชั่งที่มีความไวสูง (thermobalance) ในระหว่างการวิเคราะห์อุณหภูมิของตัวอย่างซึ่งอยู่ในบรรยากาศปกติหรือก๊าซเฉื่อยจะถูกทำให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการสูญเสียน้ำหนักในช่วงแรกของการวิเคราะห์หรือที่อุณหภูมิต่ำอาจเกิดจากการระเหยของน้ำหรือตัวทำละลายแต่ที่อุณหภูมิสูงมักเกิดจากการสลายตัวของพอลิเมอร์เทคนิคนี้ยังมีประโยชน์มากในการวิเคราะห์หาสารที่ระเหยหรือสารเติมแต่งที่ใส่ลงไปในพอลิเมอร์อีกด้วย

  18. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Weihht (%) รูปที่ 5.6เทอร์โมแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย TGA

  19. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การทดสอบสมบัติเชิงกล (Mechanical Tests) โดยทั่วไปพบว่าเราไม่สามารถทำนายสมบัติเชิงกล (mechanical properties) ของพอลิเมอร์โดยอาศัยความรู้จากโครงสร้างพื้นฐานทางเคมีได้อย่างแม่นยำเช่นความแข็งแรง (strength) ที่แท้จริงของพอลิเมอร์อาจมีค่าเพียง 0.1-0.01 เท่าของค่าที่ได้จากการคำนวณโดยใช้ความรู้พื้นฐานจากความแข็งแรงของพันธะและแรงระหว่างโมเลกุลเพราะฉะนั้นในปัจจุบันการทดสอบสมบัติเชิงกลจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะศึกษาถึงสมบัติและความเป็นไปได้ในการนำเอาพอลิเมอร์ไปใช้งาน

  20. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ แรง (F) ความเค้น = (A) พื้นที่หน้าตัด • ความทนต่อแรงดึง (Tensile Strength) ความทนต่อแรงดึงของพอลิเมอร์สามารถทดสอบจากลักษณะการยืดออกของตัวอย่างเมื่อได้รับแรงดึงจากภายนอกโดยอาศัยเทอม 2 เทอมที่สัมพันธ์กันคือความเค้น (stress : ) และความเครียด (strain : ) ความเค้นคือแรงที่ใช้ในการดึงหรือยืดตัวอย่างต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หน้าตัด

  21. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ L ความยาวเดิมที่เปลี่ยนไป = ความเครียด = ความยาวเดิม L ความเค้น  โมดูลัส (Modulus) = = ควมเครียด  ความเครียด () คืออัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไปของตัวอย่างเมื่อได้รับแรงดึงต่อความยาวเริ่มต้น เนื่องจากพฤติกรรมความเค้นและความเครียดของวัสดุเป็นลักษณะที่ขึ้นกับเวลาอัตราเร็วที่ความเค้นหรือแรงถูกให้กับตัวอย่างจึงมีผลต่อการยืดของตัวอย่างหรือความเครียดเป็นอย่างมาก

  22. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ที่จับตัวอย่าง Force Force เช่นเมื่อนำตัวอย่างประเภทเส้นใยมาทดสอบโดยใช้แรงดึงอย่างรวดเร็วจนทำให้เส้นใยขาดออกโดยง่ายแต่เมื่อใช้แรงขนาดเดิมแต่ดึงอย่างช้าๆจะทำให้เส้นใยยืดออกและทนต่อแรงดึงอยู่ได้นานก่อนที่จะขาดในทางปฏิบัติทั่วไปการทดสอบความเค้นและความเครียดของพอลิเมอร์มักใช้ตัวอย่างรูปร่างดังแสดงไว้ข้างล่าง รูปที่ 5.7รูปร่างตัวอย่างของพอลิเมอร์ที่ใช้ทดสอบความเค้นและความเครียด

  23. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ปลายของตัวอย่างถูกยึดด้วยที่จับและจะถูกดึงให้ยืดออกด้วยแรงที่รู้ขนาดแน่นอนจากนั้นจึงนำข้อมูลไปพลอตกราฟระหว่างความเค้นและความเครียด (stress-strain curve) นอกจากความเค้นและความเครียดแล้วยังมีเทอมที่แสดงสมบัติเชิงกลประเภทอื่นของพอลิเมอร์อีกเช่น modulus หรือ stiffness ซึ่งแสดงโดยค่าอัตราส่วนระหว่างความเค้นและความเครียด (หรือความชันในช่วงแรกของเส้นกราฟ) และ toughness ซึ่งแสดงความต้านทานต่อการขาด

  24. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Break point Elongation at break Ultimate strength Yield point Stress Strain (elongation) เมื่อนำข้อมูลไปพลอตกราฟระหว่างความเค้นและความเครียด (stress-strain curve) จะได้กราฟที่ได้มีลักษณะดังรูปที่ 5.8 รูปที่ 5.8กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น- ความเครียด

  25. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ (a) Soft and weak (b) Soft and tough (e) Hard and tough (d) Hard and strong (c) Hard and brittle Stress Strain รูปที่ 5.9กราฟการทดสอบความทนต่อแรงดึงของพอลิเมอร์ที่มีสมบัติต่างๆกัน

  26. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ Polymer Tensile Strength (psi) ข้อมูลสำคัญที่ได้จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียด คือค่าความทนต่อแรงดึงณจุดขาด (tensile strength at break) ซึ่งค่านี้สำหรับพอลิเมอร์ทั่วไปที่พบในชีวิตประจำวันสรุปไว้ในตารางที่ 5.1 Polyethylene (low to medium density) 1,000-2,400 Poly(tetrafluoroethylene) 3,500 Polyethylene (high density) 4,400 Poly(dimethylsiloxane) 5,000 Polypropylene 5,000 Poly(vinylidene chloride) 8,000

  27. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ABS terpolymer 8,500 Polyamide 9,000-12,000 Polycarbonate 9,500 Polyesters (cast) ~10,000 Polysulfone 10,200-12,000 Poly(phenylene oxide) 10,500 Epoxyresin Cast 12,000 Molded 16,000 Glass-filled nylon 31,000 Fabric-reinforced epoxy resin 60,000-85,000 Polymer Tensile Strength (psi)

  28. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • ความต้านทานต่อแรงกระแทก (Impact Resistance) ความต้านทานต่อแรงกระแทกมักจะสัมพันธ์กับค่า toughness พอลิเมอร์ที่มีแนวโน้มจะแตกง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทกมักไม่ค่อยมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ตัวอย่างเช่นพอลิเมอร์ที่อยู่ในสถานะคล้ายแก้ว (glassy state) หรืออยู่ในช่วงอุณหภูมิต่ำที่กว่าค่า Tg การทดสอบโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ • การเหวี่ยงลูกตุ้ม (pendulum) จากความสูงต่างๆให้กระแทกตัวอย่างพอลิเมอร์ • การปล่อยก้อนน้ำหนักจากระดับความสูงต่างๆให้ตกลงมากระแทกตัวอย่าง

  29. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ho hf ตัวอย่างพอลิเมอร์ แสดงค่าพลังงานที่ถูกดูดซับ (absorbed energy) การปล่อยก้อนน้ำหนักจากระดับความสูงต่างๆให้ตกลงมากระแทกตัวอย่างโดยเพิ่มน้ำหนักหรือแรงกระแทกจนตัวอย่างพอลิเมอร์แตกข้อมูลที่ได้จากการทดสอบนี้สามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบค่า toughness โดยต้องคำนึงถึงขนาดและความหนาของตัวอย่างด้วย รูปที่ 5.10ลักษณะของตัวอย่างและวิธีการทดสอบความทนต่อแรงกระแทก

  30. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ 3FL Flexural strength = 2wh2 • การทดสอบการโค้งงอของพอลิเมอร์ (Bend Test) ความสามารถของวัสดุที่จะสามารถทนต่อแรงที่ทำให้ตัวอย่างโค้งงอโดยไม่เกิดการแตกหรือเสียรูปของตัวอย่างเมื่อหยุดให้แรงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพอลิเมอร์ที่ถูกนำไปใช้งานบางประเภทเช่นยางล้อรถล้อเฟืองโครงสร้างของยานยนต์เรือและเครื่องบินเป็นต้น และค่า flexural strength สามารถหาได้จากสมการ เมื่อ F = น้ำหนักที่ทำให้เกิดการแตกของพอลิเมอร์ L= ระยะห่างระหว่างตำแหน่งของวัสดุที่รองรับตัวอย่าง W= ความกว้างของตัวอย่างและ h = ความสูงของตัวอย่าง

  31. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ F F W h L  L3F (a) (b) Flexural modulus = 4wh3 โมดูลัสของความยืดหยุ่น (modulus of elasticity) ในการทำให้ตัวอย่างโค้งงอสามารถคำนวณได้จากสมการ รูปที่ 5.11 การทดสอบการโค้งงอของพอลิเมอร์ (bend test) (a) ตัวอย่างก่อนใช้แรงกดให้โค้งงอ (b) ค่าเมื่อตัวอย่างเกิดการโค้งงอ

  32. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • ความแข็งและความต้านทานการขัดถู (Hardness and Abrasion Resistance) สมบัติความแข็งความต้านทานการขัดถูความต้านทานต่อรอยขีดข่วนของวัสดุทั่วไปมีความเกี่ยวข้องกันแต่ไม่จำเป็นต้องมีความแปรผันโดยตรงต่อกัน • การทดสอบความแข็งทำโดยใช้แท่งโลหะปลายมน (indentor) กดลงที่ผิวหน้าของตัวอย่างด้วยแรงคงที่แล้วปล่อยจากนั้นวัดรอยลึกที่เกิดจากการกดและการคืนตัวของตัวอย่าง

  33. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ความต้านทานการขัดถูและการขีดข่วนสามารถวัดได้จากความสามารถของพอลิเมอร์ที่จะคงลักษณะผิวหน้าที่เรียบไว้ได้เมื่อถูกขัดถูกับวัสดุชนิดอื่น • วิธีการทดสอบทำโดยใช้กระดาษทรายหรือดินสอที่มีแกนทำด้วยวัสดุที่มีค่าความแข็งต่างกันลากผ่านผิวหน้าของวัสดุด้วยแรงคงที่แล้ววัดน้ำหนักที่หายไปของตัวอย่างหลังการทดสอบ พอลิเมอร์ที่มักถูกทดสอบความสามารถความต้านทานการขัดถูได้แก่ประเภทที่นำมาทำเป็นเฟืองบานพับยางรถยนต์พื้นรองเท้า

  34. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุล (Measurement of Molecular Weight) น้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์สามารถวิเคราะห์ได้จากหมู่ฟังก์ชันของพอลิเมอร์โดยวิธีทางกายภาพหรือทางเคมีการวัดสมบัติคอลลิเกตีฟหรือการวัดความหนืดของสารละลายพอลิเมอร์ที่เจือจาง

  35. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุล (Measurement of Molecular Weight) แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ • การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันที่ปลายโมเลกุลของพอลิเมอร์ (End-Group Analysis) • การวิเคราะห์สมบัติคอลิเกตีฟ (Colligative Property Measurement) • ความหนืดและขนาดโมเลกุลของพอลิเมอร์ (Solution Viscosity and Molecular Size) • เจลเพอร์มีเอชันโครมาโตกราฟี (Gel Permeation Chromatography)

  36. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันที่ปลายสายโซ่โมเลกุลจะต้องรู้ว่าในพอลิเมอร์หนึ่งโมเลกุลมีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถวิเคราะห์ได้กี่หมู่เนื่องจากการวิเคราะห์ทำโดยหาจำนวนหมู่ฟังก์ชันต่อน้ำหนักของตัวอย่างพอลิเมอร์น้ำหนักโมเลกุลที่วัดได้จึงอยู่ในรูปน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวน (Mn ) ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มีมวลโมเลกุลสูงมากๆเพราะจำนวนหมู่ฟังก์ชันที่ปลายสายโซ่จะมีน้อยเกินไปและทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ • การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันที่ปลายโมเลกุลของพอลิเมอร์ (End-Group Analysis)

  37. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ เทคนิคนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของหมู่ฟังก์ชันคือ • พอลิเมอร์ที่เตรียมจากปฏิกิริยาควบแน่น การวิเคราะห์ทางเคมีของหมู่ฟังก์ชันที่ปลายสายโซ่โมเลกุลเช่นหมู่คาร์บอกซิลในพอลิเอสเทอร์และพอลิเอไมด์สามารถวิเคราะห์โดยไทเทรตกับเบสโดยใช้แอลกอฮอล์หรือฟีนอลเป็นตัวทำละลายขณะที่หมู่อะมิโนในพอลิเอไมด์วิเคราะห์ได้โดยการไทเทรตกับกรดส่วนหมู่ไฮดรอกซิลวิเคราะห์โดยการไทเทรตหรือเทคนิค Infrared spectroscopy วิธีทางเคมีเหล่านี้มีขีดจำกัดอยู่ที่ความสามารถในการละลายของพอลิเมอร์ในตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับการไทเทรต

  38. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • พอลิเมอร์ที่เตรียมจากปฏิกิริยาแบบลูกโซ่ การวิเคราะห์พอลิเมอร์ประเภทนี้มีหลากหลายเทคนิคขึ้นกับกลไกในการเกิดพอลิเมอร์ตัวริเริ่มปฏิกิริยาและลักษณะที่ปลายของโมเลกุลพอลิเมอร์ เช่นวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชันหรืออะตอมซึ่งเป็นส่วนของตัวริเริ่มที่ติดอยู่ที่ปลายโมเลกุลของพอลิเมอร์สำหรับหมู่ปลายสายโซ่ที่ไม่อิ่มตัวซึ่งเกิดขึ้นจากการย้ายโซ่ในพอลิเอธิลีนที่เป็นเส้นตรงและพอลิ--โอลิฟินส์สามารถวิเคราะห์ได้โดยเทคนิค Infrared spectroscopy

  39. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • การวิเคราะห์สมบัติคอลิเกตีฟ (Colligative Property Measurement) ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติคอลลิเกตีฟและความเข้มข้นของสารละลายพอลิเมอร์ที่เจือจางสามารถนำมาวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ได้สมบัติคอลลิเกตีฟได้แก่การลดลงของความดันไอ (vapor-pressure lowering) การเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (boiling-point elevation) การลดต่ำลงของจุดเยือกแข็ง (freezing-point depression) และความดันออสโมติก (osmotic pressure)

  40. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ 1 RT2  Tb lim = c c 0 Mn Hv 1 RT2  Tf lim = c c 0 Mn Hf RT2  lim = c c 0 Mn สมการที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่

  41. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ เมื่อTbTfและคือจุดเดือดที่เพิ่มขึ้นจุดเยือกแข็งที่ลดลงและความดันออสโมติกตามลำดับ คือความหนาแน่นของตัวทำละลาย HvและHfคือเอนทาลปีของการกลายเป็นไอ (vaporization) และของการหลอมเหลว (fusion) ของตัวทำละลายต่อกรัม cคือความเข้มข้นของตัวถูกละลายในหน่วยกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรและคือน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยตามจำนวน (number- average molecular weight)

  42. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ สมบัติคอลลิเกตีฟค่า ความดันไอต่ำลง 4 x 10-3mmHg จุดเดือดสูงขึ้น 1.3 x 10-3 oC จุดเยือกแข็งลดลง 2.5 x 10-3 oC ความดันออสโมติก 15 cm solvent ตัวอย่างสมบัติคอลลิเกตีฟของสารละลายพอลิเมอร์แสดงในตาราง ตารางที่ 5.2สมบัติคอลลิเกตีฟของสารละลายพอลิสไตรีน (M = 20,000) ความเข้มข้น 0.01 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรในตัวทำละลายเบนซีน

  43. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • ความหนืดและขนาดโมเลกุลของพอลิเมอร์ (Solution Viscosity and Molecular Size) ความหนืดของสารละลายพอลิเมอร์มีความสัมพันธ์กับขนาดโมเลกุลและสามารถนำมาใช้วิเคราะห์หาน้ำหนักโมเลกุลได้ วิธีการทดลองการวัดความหนืดทำโดยการเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาในการไหลผ่านหลอดแคปิลลารีของสารละลาย (effux time; t) และของตัวทำละลาย (to) จากค่า t to และความเข้มข้นของสารละลายสามารถคำนวณหาความหนืดได้โดยใช้สมการในตารางที่ 5.3 เมื่อ c เป็นความเข้มข้นในหน่วย g / dL หรือ g / 100 mL

  44. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ความหนืดชื่อเรียกอื่นสัญลักษณ์และสมการ Relative viscosity Viscosity ratio r =  / o t / t0 Specific viscosity - sp = r – 1 = ( - 0)/ 0 (t – t0)/ t0 Reduced viscosity Viscosity number red = sp/c Inherent viscosity Logarithmic viscosity number inh = (ln r)/c Intrinsic viscosity   Limiting viscosity number [] = (sp/c)c=0 = [(ln r)/c]c=0[] = KMvaMark-Houwink Equation ตารางที่ 5.3 การคำนวณหาความหนืดของสารละลายพอลิเมอร์ (Kและ a เป็นค่าคงที่)

  45. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ค่า [] ได้จากการลากเส้นกราฟไปที่ c = 0 ตามความสันพันธ์ในสมการเมื่อ kและ k เป็นค่าคงที่ (sp/c) = [] + k []2c (ln red/c) = [] + k []2c ค่า Intrinsic viscosity [] ไม่แปรผันตามความเข้มข้นเนื่องจากเป็นค่าที่ได้จากการลากเส้นกราฟไปตัดที่แกนความเข้มข้นเป็นศูนย์ (c = 0) แต่จะขึ้นกับตัวทำละลายที่ใช้อาจใช้ Inherent viscosity ที่ความเข้มข้น 0.5 g/dl แทนค่า[] โดยประมาณได้

  46. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ a b อุปกรณ์วัดความหนืดที่มีลักษณะเป็นแคปิลลารี (capillary viscometer) ชนิด Ostwald-Fenske หรือ Ubbelohde รูปที่ 5.12 รูปที่ 5.12 อุปกรณ์วัดความหนืด (viscometer) (a) Ostwald-Fenske และ (b) Ubbelohde

  47. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ เพื่อให้การวิเคราะห์มีความถูกต้องสูงควรคำนึงถึงข้อควรระวังต่อไปนี้ • ระหว่างการวิเคราะห์ควรควบคุมอุณหภูมิให้คงที่อย่างน้อย+ 0.02 oC • ค่า effux time ไม่ควรต่ำจนเกินไป (โดยทั่วไปมักควบคุมให้สูงกว่า 100 วินาที) • ควรควบคุมความเข้มข้นของสารละลายให้มีค่าความหนืดอยู่ระหว่าง 1.1 และ 1.5 เพื่อความถูกต้องในการหาความหนืดโดยการลากเส้นกราฟไปตัดแกนความเข้มข้น c = 0

  48. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ • เจลเพอร์มีเอชันโครมาโตกราฟี (Gel Permeation Chromatography) เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อศึกษาการกระจายของน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า size exclusion chromatography เป็นวิธีการแยกโดยอาศัยขนาดโมเลกุลของพอลิเมอร์การแยกเกิดขึ้นในคอลัมน์โครมาโตกราฟีที่บรรจุเม็ด (bead) ของแข็งที่มีรูพรุนหรือเจล (gel) โดยทั่วไปมักใช้เม็ดพอลิสไตรีนที่ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลและมีรูพรุนหรือแก้วที่เป็นรูพรุน

  49. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ ตัวอย่างของสารละลายพอลิเมอร์เจือจางจะถูกใส่ลงไปในคอลัมน์และชะด้วยกระแสของตัวทำละลายโมเลกุลพอลิเมอร์จะผ่านเม็ดรูพรุนและสามารถแพร่เข้าไปในรูซึ่งลักษณะการแพร่นี้ขึ้นกับขนาดโมเลกุลของพอลิเมอร์และขนาดของรูพรุนโมเลกุลขนาดต่างๆจะถูกชะออกมาจากคอลัมน์ตามลำดับขนาดโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแพร่เข้าไปในรูพรุนได้จะผ่านคอลัมน์ออกมาก่อนเป็นอันดับแรกส่วนโมเลกุลขนาดเล็กจะติดอยู่ในรูพรุนของเจลและใช้เวลาอยู่ในคอลัมน์นานกว่าและถูกชะออกมาภายหลัง

  50. บทที่ การศึกษาลักษณะและการวิเคราะห์พอลิเมอร์ แบบฝึกหัด

More Related