1 / 30

การจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ITEC : Information Technology for Education Center

การจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ITEC : Information Technology for Education Center. ความเป็นมา. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวัง ที่จะ พัฒนาคุณภาพ การศึกษา โดย นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ใน การ

raiden
Télécharger la présentation

การจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ITEC : Information Technology for Education Center

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ITEC : Information Technology for Education Center

  2. ความเป็นมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการ จัดการศึกษา ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และให้สถานศึกษาจัดการเรียนสอนให้ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ความเป็นมา แต่ก็ยังพบว่า มีปัญหาหลายด้าน ต่อไปนี้ 1. ด้านระบบคอมพิวเตอร์ 2. ด้านซอฟต์แวร์ 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5. ด้านการบริหารจัดการ

  4. ความเป็นมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประสบปัญหาในการ บูรณาการ กลไกการประสานงาน นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบในการกำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ที่ชัดเจน

  5. ความเป็นมา ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ประกาศให้มีการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา จำนวน 7 เขต เป็นเขตพื้นที่การศึกษาทดลองนำร่อง เพื่อศึกษารูปแบบ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาที่เหมาะสม

  6. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการจำเป็นของโครงการทดลองนำร่องฯ 2. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โครงการทดลองนำร่องฯ 3. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โครงการทดลองนำร่อง ฯ 4. เพื่อประเมินผลโครงการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  7. วิธีดำเนินการ ผลการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย 2. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 1. ได้กรอบแนวคิดการวิจัย 2. ได้ข้อมูลสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็น 1. วิเคราะห๋/สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี คู่มือและงานวิจัย 2. จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) 3.การศึการูปแบบกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2. นำเสนอรูปแบบ/วิธีการปฏิบัติที่ดีเลิศ 3. สังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของเขตนำร่อง ได้รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของแต่ละเขตนำร่อง 4.การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2. ประมวลความคิดเห็น ได้รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5. การประเมินโครงการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. สอบถามความคิดเห็นผุ้ที่เกี่ยวข้อง 2. สรุปผลการประเมินฯ 3. นำเสนอผลการประเมินฯ ได้รายงานผลการประเมินโครงการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  8. ผลการดำเนินงาน 1. การศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นโดยประมวลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากการรายงานผลการประเมินโครงการทดลองนำร่อง (SAR ) และจากการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Groups) สรุปได้ดังนี้ สภาพปัญหาและความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอบเขตด้าน ICT จะอยู่ในทุกกลุ่มงาน ไม่สามารถที่จะบูรณาการการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้อย่างสูงสุด จำแนกเป็น 1) ด้านบุคลากร 2)ด้านวัสดุ อุปกรณ์ 3) ด้านการบริหาร 4) ด้านงบประมาณ

  9. ผลการดำเนินงาน 2. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ตามโครงการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2.1 สพป.พิจิตร เขต 1 ภารกิจ 7 ข้อ บุคลากร จำนวน 7 คน 2.2 สพป.อุดรธานี เขต 2 ภารกิจ 8 ข้อ บุคลากร จำนวน 7 คน 2.3 สพป.เพชรบุรี เขต 2 ภารกิจ 7 ข้อ บุคลากร จำนวน 8 คน 2.4 สพป.สตูล ภารกิจ 7ข้อ บุคลากร จำนวน 8 คน 2.5 สพป.สุรินทร์ ภารกิจ 7 ข้อ บุคลากร จำนวน 6 คน 2.6 สพม.เขต 12 ภารกิจ 7 ข้อ บุคลากร จำนวน 6 คน 2.7 สพม.เขต 39 ภารกิจ 7 ข้อ บุคลากร จำนวน 7 คน

  10. ผลการดำเนินงาน 3. การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยศึกษาองค์ประกอบ การบริหารรูปแบบ การบูรณาการภารกิจและการสนับสนุนกลุ่มงานภายใน สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา สรุปผลการสังเคราะห์รูปแบบได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  11. ผลการดำเนินงาน

  12. ผลการดำเนินงาน

  13. ผลการดำเนินงาน

  14. ผลการดำเนินงาน รูปแบบที่ 2 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 2 สพป.สตูล สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพม. เขต 12 สพม. เขต 39

  15. ผลการดำเนินงาน

  16. ผลการดำเนินงาน

  17. ผลการประเมินโครงการ การประเมินโครงการนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยได้ศึกษาใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม 2) ด้านกระบวนการ และ 3) ด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมของโครงการทดลองนำร่องจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ทั้ง 7 เขตพื้นที่การศึกษา ใน 3 ด้าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

  18. ประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ลดขั้นตอนการประสานงานระหว่างกลุ่มและสถานศึกษา 2. ผู้บริหารระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา สามารถบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

  19. ประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 3. สามารถให้บริการระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพื่อพัฒนาบุคลากร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน4. ด้านบุคลากร รวบรวมใช้บุคลากรที่มีความถนัดและมีความสามารถด้านเทคโนโลยีมาปฏิบัติงาน ไม่ได้เพิ่มอัตรากำลังจากกรอบอัตรากำลังที่มีอยู่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน และชุมชน สามารถใช้บริการเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้

  20. ประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาประโยชน์ที่ได้จากจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 5. ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สามารถใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยได้รับการบำรุง รักษา ปรับปรุง พัฒนา ได้เต็มประสิทธิภาพ 6. ด้านสถานศึกษาและนักเรียน สามารถช่วยเหลือให้สถานศึกษา มีความเข้มแข็งด้านระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการบริหารและด้านการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  21. ข้อค้นพบจากการวิจัย สรุปประมวลผลจากการสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำร่อง ของผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ รวมทั้งของคณะทำงานวิจัยการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำร่อง ที่ได้ออกติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานพบว่า ควรใช้รูปแบบที่ 1 ด้วยเหตุผลดังนี้

  22. ข้อค้นพบจากการวิจัย 1. ด้านการบริหารจัดการในรูปแบบนี้ เน้นการบริหารเชิงระบบ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานครอบคลุมด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สามารถทำให้การดำเนินงาน การกำหนดนโยบาย การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  23. ข้อค้นพบจากการวิจัย 2. ด้านภารกิจกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีการกำหนดภารกิจของกลุ่มอย่างครอบคลุมงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ส่งผลให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีความสะดวกรวดเร็ว ทั้งด้านการบริหารจัดการ การบริการและการจัดการเรียนการสอน

  24. ข้อค้นพบจากการวิจัย 3. ด้านการบูรณาการภารกิจ/ขอบเขตงานกับกลุ่มต่าง ๆ ภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยสนับสนุนส่งเสริมด้านเทคโนโลยีสารสนและการสื่อสารของ กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

  25. ข้อค้นพบจากการวิจัย 4. ด้านผลผลิต สามารถส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายใน เขตพื้นที่การศึกษามีความเข้มแข็ง และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นควรใช้รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบ ในการบริหารกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาต่อไป

  26. ข้อเสนอ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาสอดคล้องกับ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคปัจจุบัน สอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ กอปรกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดสรรงบประมาณจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนการสอน การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 – 2555 จำนวน 6,155,303620 บาท นั้น

  27. ข้อเสนอ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษา มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้มีการใช้ระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร ในการช่วยพัฒนาการบริหารจัดการ การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนสนองนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  28. ข้อเสนอ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่โดยตรง ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการศึกษา ในการนี้คณะทำงานวิจัยนำร่องการจัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จึงเห็นควรเสนอให้มีการจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีฐานะเทียบเท่ากลุ่ม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้ง 225 เขตพื้นที่การศึกษา และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อให้ความเห็นชอบและจัดทำประกาศตามกฎกระทรวงต่อไป

  29. แผนภูมิการบริหารจัดการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแผนภูมิการบริหารจัดการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  30. สวัสดี

More Related