1 / 7

หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ ( Principles of Knowledge Management Research) KM704

หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ ( Principles of Knowledge Management Research) KM704. น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007. การพัฒนาการทำการเกษตรของเกษตรกรเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) โดยใช้ Maturity model : กรณีศึกษา มูลนิธิโครงการหลวง. ที่มา ความสำคัญ.

rasia
Télécharger la présentation

หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ ( Principles of Knowledge Management Research) KM704

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการการวิจัยการจัดการความรู้(Principles of Knowledge Management Research) KM704 น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007

  2. การพัฒนาการทำการเกษตรของเกษตรกรเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) โดยใช้ Maturity model : กรณีศึกษา มูลนิธิโครงการหลวง

  3. ที่มา ความสำคัญ โครงการหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขา จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะให้ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่าและมีความเหมาะสมที่จะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนเป็นรายได้เสียก่อน จึงจะสามารถเลิกปลูกฝิ่นได้ พืชทดแทนที่โครงการหลวงได้นำเข้ามาทำการทดลองปลูกบนที่สูง มีจำนวนมากมาย หลายชนิด ทั้งพันธุ์ไม้ ผลไม้ พืชเมืองหนาวต่างๆมีจำหน่ายตลอดปี ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั่วไป สามารถส่งออกต่างประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้

  4. ปัจจุบันตลาดโลกให้ความสําคัญกับระบบคุณภาพความปลอดภัยของสินค้าเกษตร อีกทั้งกระแสผู้บริโภคที่คํานึงถึงสุขอนามัย ความปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยในฐานะประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสดไปทั่วโลก จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ผลผลิตของโครงการหลวงจึงจะต้องมีการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม Good Agriculture Practices (GAP) กล่าวคือ มีแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐาน ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

  5. โจทย์วิจัย โจทย์วิจัยหลัก - จะทำการพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรของเกษตกรในมูลนิธิโครงการหลวงได้อย่างไร โจทย์วิจัยรอง - ปัจจุบันการทำเกษตรของเกษตกรเป็นอย่างไร จะสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางให้ได้ผลที่เป็นมาตรฐานได้ยากง่ายเพียงใด มีปัญหาหรือไม่ - จะชักชวนให้เกษตรกรนำ GAP มาเป็นแนวทางในการทำการเกษตรได้อย่างไร - การทำ GAP จะช่วยให้เกิดการเกษตรที่ยั่งยืนจริงหรือไม่

  6. วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาแนวทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน - เพื่อให้เกิดการเกษตรแบบยั่งยืน ผลผลิตได้มาตรฐาน - สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หรือฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา

  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดี GAP - ผลผลิตได้มาตรฐาน สร้างการเกษตรแบบยั่งยืน - สภาพแวดล้อมดีขึ้น

More Related