1 / 25

Business Innovation, Technology and Policy

Business Innovation, Technology and Policy. Prachya Teocharoen ปรัชญา เตียวเจริญ Mon 18, 13.30 – 16.20 p rachya.academic@gmail.com. Content. Introduction of Innovation - As The Innovation Catches You - Innovation = Inner + Motivation - Innovation; Thailand’s Perspective

Télécharger la présentation

Business Innovation, Technology and Policy

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Business Innovation, Technology and Policy PrachyaTeocharoen ปรัชญา เตียวเจริญ Mon 18, 13.30 – 16.20 prachya.academic@gmail.com

  2. Content • Introduction of Innovation - As The Innovation Catches You - Innovation = Inner + Motivation - Innovation; Thailand’s Perspective - The World of Innovation • Innovation and Technology - Inno – Sci & Tech; Case Study - Inno Brand & Marketing; Case Study - Inno -Entrepreneurship • Innovation Invasion - Trade Up consumer and product; Case Study - Trend Setter; Case Study - Standard Setting - Change Behavior • Innovation 3.0 - Concept and Case Study

  3. Introduction of Innovation • Innovation ตรงกับภาษาไทยว่า นวัตกรรม มีความหมายถึง ความคิด การปฎิบัติ หรือสิ่ง ประดิษฐใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น • เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีประสิทธิผลที่ดีกว่าเดิม • Innovation ก็คือเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยสร้างความแตกต่างเดิมจากสิ่งที่ตลาดมีอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นในแต่ล่ะครั้งมักจะยืนอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างหรือการมีแนวคิดที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยมีอยู่เดิมในตลาด

  4. Innovative company

  5. Innovative Company which always create innovative products

  6. As The Innovation Catches You • Traditional Business come from Efficiency and Effectiveness - คือทำให้ต้นทุนต่ำที่สุด และมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด  มุ่งเน้น Cost Leadership เพื่อครอง Market Share - eg. Colgate, Dentiste, Systema • Nokia case study  too focus on cost leadership and too variety - House Brand; i-mobile, G-Net • iPhone, BB, Samsung  focus on innovation

  7. As The Innovation Catches You • Innovative Thinking การเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มักจะเกิดจากการเชื่อมต่อจุดกระบวนการ หรือกล่องต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การประสานงานระหว่างงานตลาด และ งานผลิตในการพัฒนาสินค้าใหม่ การร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบในการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ การต่อยอดทางความคิด เช่น Apple-iPod กับ BMW

  8. Innovation & Competitive Advantage • การตลาดในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่ไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า คงไม่ต่างจากการที่บริษัทเดินถ้อยหลัง • การปรับตัวเพื่อให้บริษัทมี advantage อย่างเช่น Wal-Mart ได้เป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Supply Chain Management มาสร้างความได้เปรียบในการบริหารสินค้าคงคลังทั้งระบบ และสร้างความได้เปรียบของตัวเอง • บริษัทควรจะ Renew, Reshape และ Refocus อย่างต่อเนื่อง • Innovation เป็นสิ่งที่นอกจากบริษัทจะต้องให้ความใส่ใจแล้วพนักงานทุกคนก็ควรมีส่วนร่วม (Dedicate/Commitment/Motivate/Hearts) ทั้งหมดจะช่วยให้บริษัทมี Creative Thinking อย่างต่อเนื่อง • แต่จริงๆแล้วในโลกเรามีบริษัทเพียง 20% ที่ดำเนินนโยบายด้าน innovation

  9. Process and Innovation • Efficiency and Effectiveness - Innovation (+) • Line Connecting the Boxes and How Boxes Fit Together สำคัญกว่าการให้น้ำหนักกับสิ่งที่อยู่ในแต่ล่ะหน่วยงาน • ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Innovation Ideas & Insights) ที่ส่งผลรวมต่อภาพรวมของบริษัทจึงมักเกิดขึ้นจากการประสานงานระหว่างกระบวนการ มากกว่าเกิดขึ้นภายใน กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง eg. ตอนที่ Steve Jobs ไปเจอ mouse ที่ หน่วยงาน research คิดค้นไว้ แล้วถึงเทคโนโลยีนั้นมาทำเป็น mouse

  10. Redical Innovation vs. Incremental Innovation • Redical: เปลี่ยนแปลงกระบวนการหลักใหม่ • Incremental: เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปจากกระบวนการเดิม • หนึ่งในทางที่ดีที่สุดคือ ควรผสมผสานระหว่างทั้งสองแบบ • ข้อแตกต่างระหว่าง Research and Development • Incremental Innovation พวกรถยนตร์ที่เปลี่ยนโฉมเรื่อยๆทุกๆ 3-5 ปี ส่วน Redical Innovation เช่นเทคโนโลยีของพวก วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้คนเดินทางมากขึ้น และนี้แหละที่การเปลี่ยนแปลงที่สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของผู้คน

  11. YTD Thailand case • "แหลมเจริญ"รุกโมเดลใหม่ ผุดร้าน"เดอะเคป"ขยายลูกค้า • updated: 13 มิ.ย. 2555 เวลา 11:40:56 น. • ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ • นายศุภโชค กิจวิมลตระกูล" กรรมการผู้บริหารร้าน "แหลมเจริญ ซีฟู้ด" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้เปิดแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ "เดอะเคป บาย แหลมเจริญ" (The Cape) เปิดให้บริการในฟู้ดรีพับลิก เซ็นทรัลพระราม 9 ตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อขยายฐานลูกค้า เนื่องจากเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยนำเมนูอาหารยอดฮิตของแหลมเจริญมาจัดเป็นชุด ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาทต้น ๆ ซึ่งอิ่มพอดีสำหรับ 1 คน หากเทียบกับร้านแหลมเจริญ ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 300-400 บาท ทั้งนี้ หลังจากเปิดตัวมา 3-4 เดือน พบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค นอกจากกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก ยังสามารถตอบสนองผู้บริโภคหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องการความรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงมื้อกลางวัน จากการสำรวจพบว่าทัศนคติผู้บริโภคมองการบริโภคอาหารซีฟู้ดว่าต้องใช้เวลานาน สังเกตได้จากพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการร้านแหลมเจริญ มักจะมาในช่วงเวลาเย็น และเสาร์-อาทิตย์ เดอะเคปจึงเป็นการแก้โจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากใช้งบฯลงทุนน้อยกว่าแหลมเจริญถึง 5 เท่า โดยแหลมเจริญเฉลี่ยลงทุนต่อสาขา 10 ล้านบาท ขณะที่เดอะเคปประมาณ 2 ล้านบาท อีกทั้งใช้พื้นที่เพียง 50-100 ตารางเมตร โดยแนวคิดจากนี้จะเน้นเปิดในลักษณะโอเพ่นสเปซในศูนย์การค้า หรือจะเป็นตามสำนักงาน ออฟฟิศต่าง ๆ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นที่ไหน ภารกิจสำคัญปีนี้คือสร้างแบรนด์เดอะเคปให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างก่อน นายศุภโชคกล่าวว่า สำหรับแบรนด์แหลมเจริญยังเปิดสาขาต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี 8 สาขา และปลายปีจะเปิดอีก 1 สาขา ที่สีลม คอมเพล็กซ์ ซึ่งตัวศูนย์อยู่ระหว่างรีโนเวต จากที่ผ่านมาเฉลี่ยเปิดปีละ 2 สาขา เพราะต้องการเลือกโลเกชั่นที่เหมาะ และไม่กระจุกตัวอยู่ในย่านเดียวกันมากเกินไป เพราะอาจแย่งลูกค้ากันเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปรับโมเดลมาเปิดร้านในศูนย์การค้าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แหลมเจริญยังมีการเติบโตต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด เพราะมีการเปิดสาขาใหม่ต่อเนื่อง หากคิดการเติบโตของสาขาเดิมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% สำหรับปีนี้คาดหวังเติบโต 15-20% เพราะมีแบรนด์ใหม่เข้ามา และจะรุกหนักในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น

  12. มาแล้ว!! H&Mโหมกระแสยั่วใจสาวก เปิดพารากอนที่แรกปลายปี • updated: 13 มิ.ย. 2555 เวลา 19:00:02 น. • ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ • หลังจากมีข่าวมาเป็นระยะ ๆ ว่า แบรนด์แฟชั่นชื่อดังจากสวีเดน "เอชแอนด์เอ็ม" หรือเฮนเนสแอนด์มอริตซ์ (Hennes & Mauritz) จะเข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในการจดทะเบียนตั้งบริษัทในเมืองไทย ในนามบริษัท เอชไทย (ประเทศไทย) จำกัด มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเปิดสาขา 2 แห่งแรกในเมืองไทยนายคาร์ล โยฮาน แพร์ลสัน ซีอีโอ เอชแอนด์เอ็มกล่าวว่า การตัดสินใจเปิดสาขาในประเทศไทย เนื่องจากมองว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง แฟชั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย และเป็นแผนการที่วางไว้ตั้งแต่แรกแล้ว หวังว่าสินค้าและแฟชั่นเสื้อผ้าที่มีคุณภาพสูงของเอชแอนด์เอ็มจะมีราคาเป็นที่ถูกใจลูกค้าในประเทศไทย โดย 2 สาขาแรกจะเปิดที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และห้างเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ โดยกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2555 นี้ ด้านนายแจ็กเดฟ ซิงห์ กิลล์ ซีอีโอ บริษัท เอชไทย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ลูกค้าของเอชแอนด์เอ็มในไทยรอคอยการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเอชแอนด์เอ็มมานาน จึงไม่น่าแปลกใจที่เห็นการลงทุนในไทยครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เอชไทยยังได้ประกาศรับสมัครพนักงานเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการเปิดช็อปขนาดใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายปี นอกจากนี้ยังได้เตรียมเปิดตัวโชว์รูม "เอชแอนด์เอ็ม" เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้เข้าไปสัมผัสเสื้อผ้าและสินค้าต่าง ๆ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เป็นการสร้างแรงกระเพื่อมระลอกแรกก่อน ซึ่งไม่เพียงการทำตลาดในเมืองไทยเท่านั้น บริษัทเอชไทยยังได้สิทธิ์ในการทำตลาดในภูมิภาค ซึ่งลำดับต่อไปคือ อินโดนีเซีย แหล่งข่าวในวงการแฟชั่นมองว่า การที่เอชแอนด์เอ็มตัดสินใจเข้ามาเปิดตลาดในไทยครั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงกำลังซื้อของคนไทยที่มีมากขึ้น และทำให้ตลาดมีการเติบโต ซึ่งการเปิดร้านที่ย่านใจกลางเมือง และชานเมืองน่าจะเป็นการวางยุทธศาสตร์ที่มีความหมายในแง่ของการขยายตลาดในอนาคตอย่างแน่นอนผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริษัทเอชไทย(ประเทศไทย)มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย เอ็มไทย (เอส) พีทีอี ลิมิเต็ด สัญชาติสิงคโปร์ 99.99% นายแจ็กเดฟ ซิงห์ กิลล์ 0.0001% และนางซาจนี กิล 0.0001%ทั้งนี้ บริษัท H&M Hennes & Mauritz AB (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนเมื่อปี พ.ศ. 2490 แนวคิดด้านธุรกิจขององค์กรคือการนำเสนอแฟชั่นและเครื่องแต่งกายที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม นอกเหนือจากแบรนด์ของ H&M แล้ว กลุ่มของบริษัทยังประกอบด้วยแบรนด์ย่อยอื่น ๆ ได้แก่ COS, Monki, Weekday, และ Cheap Monday รวมถึง H&M Home ด้วยเครือบริษัท H&M Group มีร้านค้าของตนเองทั้งสิ้นรวม 2,500 สาขา ใน 44 กลุ่มตลาดทั่วโลก รวมถึงตลาดแฟรนไชส์ด้วย ในปี พ.ศ. 2554 ยอดขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นมูลค่ารวมได้ถึง 129,810 ล้านโครนาสวีเดน

  13. "สตาร์บัคส์"สร้างปรากฎการณ์เปิด ร้านกาแฟแบบ "ไดร์ฟ-ทรู" สาขาแรกริมถ.พระราม2 • "สตา ร์บัคส์" สร้างปรากฏการณ์ร้านกาแฟรอบใหม่ ประเดิมเปิด "ไดรฟ์-ทรู" สาขาแรกคอมมิวนิตี้มอลล์ ริมถนนพระรามที่ 2 ย้ำภาพ Trend Setter สร้างความแปลกใหม่ในวงการ ชี้พร้อมเอาจริงไม่ใช่แค่ทดลอง ระบุโมเดลใหม่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ หลังเทรนด์กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต • สตาร์บัคส์ ร้านกาแฟชื่อก้อง กำลังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ โดยเฉพาะผู้นิยมกาแฟพรีเมี่ยม ด้วยการเปิดร้านในแบบ "ไดรฟ์-ทรู" แห่งแรกในประเทศไทย จากที่ผ่านมา ร้านกาแฟหมายเลขหนึ่งของโลกรายนี้มักเป็น Trend Setter สร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจประเภทนี้อยู่เสมอ สาขาใน รูปแบบ "ไดรฟ์-ทรู" ดังกล่าว อยู่ภายใน "พอร์โต ชิโน่" คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ ริมถนนพระรามที่ 2 ใกล้ตัวเมืองมหาชัย สุมทรสาคร เส้นทางสู่เมืองท่องเที่ยวชายทะเลยอดนิยม ทั้งชะอำ และหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสตาร์บัคส์คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าเป้าหมายสำคัญ ที่ ผ่านมา ผู้บริโภคคนไทยคุ้นเคยกับบริการ "ไดรฟ์-ทรู" ดีอยู่แล้ว เนื่องจากแมคโดนัลด์ถือเป็นเครือข่ายฟาสต์ฟู้ดที่เปิดบริการลักษณะนี้มาแล้ว หลายปี เดินหน้าสาขา "ไดรฟ์-ทรู" นางสาวสุมน พินทุ์ โชติกะพุกกณะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า สาขารูปแบบไดรฟ์-ทรู แห่งแรก ซึ่งมีกำหนดเปิดบริการในเร็ว ๆ นี้ จะตอบสนองความสะดวกสบายให้กับผู้ชื่นชอบกาแฟสตาร์บัคส์ สามารถขับรถเข้ามาออร์เดอร์และรับกาแฟไปดื่มโดยไม่ต้องลงจากรถ ประกอบกับคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งนี้จะเป็นศูนย์รวม "ไดรฟ์-ทรู" ของรายอื่นๆ ด้วย

  14. Brand Revitalization

  15. นวัตกรรม 3 ระดับ • นวัตกรรมเป็นกิจกรรมในการรวบรวมความคิด (Event Idea) - นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว การระดมความคิด ซึ่งหลายๆแนวความคิดเป็นความคิดที่ดีที่เกิดขึ้นอย่าง post it ของ 3M (Innovation as an Event) • นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน (Process Deliverable) - บริษัทมีกระบวนการในการระบุปัญหา และเลือกแนวความคิดเพื่อมาช่วยแก้ไขปัญหา โดยจัดทำแผนดำเนินการเพื่อให้นำแนวความคิดมาปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม - ปัญหาของระดับนวัตกรรมที่2อยู่ที่ มักจะเกิดนวัตกรรมเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องและจะเกิดก็ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจว่าจะต้องมีการทำนวัตกรรมกันแล้วนะ • นวัตกรรมเป็นสมรรถภาพหลักของบริษัท (Capability Environment) - พนักงานมีการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่นพวกงานบริการลูกค้าก็จะหาทาง serve ลูกค้าให้ไวที่สุด ยกตัวอย่าง McDonald ที่เมื่อก่อนมีปุ่มให้กดจับเวลา หรือพวกบริการ free delivery ก็จัดการปัญหา ค่าขนส่งให้ลูกค้า หรือ Starbucks ที่มีการจดชื่อลูกค้าที่แก้วเพื่อจะได้จำชื่อลูกค้าได้ หรือว่าจะเป็น Apple

  16. ประเภทของนวัตกรรม • Disruptive Innovation คือนวัตกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม หรือมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้สินค้าเดิมในตลาดล้าสมัยและถูกทดแทนด้วยสินค้าใหม่ เช่นอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือที่มาแทนโทรศัพท์บ้าน computer, Internet • Application Innovation เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยี หรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อลูกค้า ทำให้สินค้าที่ดูเหมือนมีประโยชน์ในวงจำกัดเปลี่ยนแปลงไปเป็นสินค้าที่มีประโยชน์และได้รับความนิยมในคนหมู่มากได้ เช่น GPS(Global Positioning System) ที่เกิดขึ้นมานานแล้วแต่มีการใช้งานในวงแคบ กล่าวคือใช้งานในการทหาร การเดินเรือ แต่เมื่อมีการนำระบบนี้มาพัฒนากับระบบแผนที่ถนน ข้อมูลการจราจร ทำให้เกิดอุปกรณ์นำทางสำหรับรถยนต์ (Car Navigation System) ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์ตัวนี้จะถูกติตั้งเป็นมาตรฐานในรถยนต์ทุกคัน

  17. ประเภทของนวัตกรรม • Product Innovation เป็นประเภทของนวัตกรรมที่รู้จักกันมากที่สุด นั้นคือการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ที่เมื่อก่อนมีราคาแพงมาก หรือมือถือ smart phone ที่ช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น • Process Innovation นวัตกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันรวมทั้งความแตกต่างที่ชัดเจน จากคู่แข่ง เช่น low cost airline หรือ Dell computer ที่ลูกค้าสามารถซื้อ computer ได้โดยไม่ต้องผ่านหน้าร้านทั้งสองทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงและเป็นผลทำให้บริษัทสามารถเสนอราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งในที่สุด ส่วนมากนวัตกรรมนี้จะเกิดขึ้นกับอุตสหกรรมที่มีการแข่งขันสูงและแต่ล่ะบริษัทก็อยู่ในช่วงของ Product lifecycle ที่ Growth Stage

  18. ประเภทของนวัตกรรม • Marketing Innovation มักเกิดในอุตสหกรรมที่เริ่มเข้าสู่สภาวะอิ่มตัว Maturity เพื่อเป็นการหาวิธการที่แตกต่างในการเข้าถึงลูกค้าหรือให้บริการลูกค้าเพื่อทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น และในขณะเดียวกันอาจทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีทางไอทีและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการให้บริการหลังการขายกับลูกค้าโดยใช้ Web Services ที่ราคาต่ำกว่าการบริการหลังการขายทั่วไปและยังสามารถให้บริการได้ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ถ้าเราทำก่อนก็จะสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนได้เมื่อเทียบกับคู่แข่ง • Experiential Innovation การพัฒนาสินค้าที่มีอยู่โดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติบางประการของสินค้าหรือบริการ ทำให้สินค้าของเราน่าใช้ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน เช่น Fedex ที่เพิ่มความสามารถในการติดตามสถานะในการส่งสินค้าโดยใช้ Tracking Number ผ่านทางเว็บไซต์ให้กับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

  19. ประเภทของนวัตกรรม • Business Model Innovation คือนวัตกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็ม แต่เดิมขายอุปกรณ์และคอมพวเตอร์เป็นหลัก ช่วงหลังๆนี้กำไรและราคาขายของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงไปมากเลยเปลี่ยนรูปแบบเป็นจากเดิมเป็นการขายบริการทางไอทีแทน โดยไอบีเอ็มจะสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่า Data Center ขึ้นลูกค้าสามารถเช่าใช้ และฝากข้อมูลการดำเนินงานไว้กับศูนย์ หรือธุรกิจ printer ที่เน้นการขายหมึกแทนเครื่อง โดยเสนอราคาเครื่องPrintที่ต่ำมาก หรือธุรกิจมือถือที่เสนอแพคเก็จราคาถูกเพื่อให้คนมาใช้บริการเรือข่ายมากขึ้น • Structural Innovation ประเภทสุดท้ายของการสร้างนวัตกรรม เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน โดยใช้การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่นแบงค์ที่มีการควบรวมของ สินเชื่อส่วนบุคคล ประกันชีวิต และอุบัติภัย

  20. Innovation = Inner + Motivation • Innovation เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะบริษัทคงไม่สามารถ สร้างผลกำไรและรักษา share ในตลาดได้ด้วย product เดิมๆที่ทำการตลาดอยู่ • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้เราต้อง เปลี่ยนแปลงและปรับปรุง องค์กรเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ที่แตกต่างจากคู่แข่ง • การสร้างนวัตกรรมนั้นต่างจาก Incremental Product Improvement • ถ้าหารเราสร้างนวัตกรรมได้ ก็จะทำให้คู่แข่งเราเป็นผู้ตาม (Followers) ในทันที ยก case iPhone Vs Nokia

  21. Innovation = Creative Solution • การสร้างสิ่งใหม่ๆที่เรียกว่านัวตกรรมนี้เกิดขึ้นจากกระบวนการการคิดของบุคคล • ผู้นำองค์กรต้องคิดและหาทิศทางการเดินในอนาคตของกิจการที่เรียกว่า Path Finding ที่จะทำให้องค์กรแข่งขัยได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป • Innovation นั้นสามารถให้ความจำกัดความได้ว่า มันคือทางออกที่สร้างสรรค์ที่สามารถทำให้เราผ่านจุดหรือปัญหาที่ติดขัดได้ (Creative Solutions) • Divergent Thinking เป็นการคิดนอกกรอบโดยไม่มีข้อจำกัดทางทฤษฎีหรือหลักการมากมายนัก  โดยใช้หลักการนี้เพื่อหาคำตอบที่ไม่ถูกจำกัดโดยกรอบหรือกฏต่างๆ • Convergent Thinking วิธีการคิดและวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะและหลักการ จะนำมาใช้หลังจากที่ได้คำตอบที่หลากหลายจากกระบวนการคิดแบบ Divergent และ Creative Thinking วัตถุประสงค์เพื่อแยกความคิดที่ใช้ไม่ได้ออกไปเลือกแต่แนวคิดที่ใช้ได้จริง หากไม่มี Convergent มีแต่ Divergent อย่างเดียวอาจกลายเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านไปได้

  22. แรงผลักดันสร้างนวัตกรรมแรงผลักดันสร้างนวัตกรรม • การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยพลังผลักดัน (Motivation) อย่างสูง ซึ่งเราสามารถแยกออกได้2ประเภท • Extrinsic Motivation - การที่ถูกเอาผลประโยชน์มาล่อ แรงจูงใจเพื่อให้เกิดการพยายามาเพื่อหาทางออก Carrot and Stick Approach - การที่บริษัทใช้ผลประโยชน์ทางด้านการเงิน เพื่อมาล่อใจเพื่อให้เกิดงานที่ต้องการ เช่นเงินรางวัล หุ้น เงินเดือน โบนัสที่สูง - Performance indicators • Intrinsic หรือ Inner Motivation เป็นแรงผลักดันที่เกิดโดยไม่มีใครมาบังคับ หรือความตั้งใจพยายามที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ อาจนำมาสู่นวัตกรรมได้มากกว่าการใช้แรงผลักดันจากภายนอก - เป็นพลังที่ขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล - เป็นความท้าทาย - เป็นความพยายามที่จะทำในสิ่งที่ดีเลอศมากกว่าคู่แข่งขัน - งานละปัญหา - สำหรับคนที่มีแรงผลักที่มาจากภายในนั้น คงต้องยอมรับว่าการสร้างนวัตกรรมสำหับเขาก็คงไม่ได้ยากอะไร

  23. ตัวสกัดกั้น นวัตกรรม • บางทีองค์กรจำนวนไม่น้อยเลยขาดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เพราะเกิดจากข้อขัดข้องและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือที่เรียกว่า Red Tapeทำให้ความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากถูกฆาตกรรมในองค์กรโดยอาศัยเหตุผลต่างๆนานา เพื่อล้มเลิกหความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้น • เราจะพบว่าจะเจอข้อโต้แย้งต่างๆจากเจ้านายเช่น ความคิดนี้คงไม่เหมาะกับองค์เรา หรือหน่วยงานเราไม่มีทีมที่จะมารองรับการพัฒนาตรงนี้ • แต่เราจะเห็นได้ว่าองค์ที่ประสบความสำเร็จสูงมากๆนั้นมาจากการสร้างนวัตกรรมโดยตัวผู้นำเช่น Steve Jobs แห่ง Apple หรือ เจฟฟ์ เบโซ จาก Amazon.com

  24. ความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาสู่นวัตกรรมมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 5 รายการ • Associating Process การนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาผูกโยงและต่อเชื่อมกันได้อย่างได้ผลดี ตัวอย่างเช่น eBay เกิดจากมีคนต้องการหาสินค้าหายาก และถ้าโฆษณาผ่านสื่อเก่าซึ่งมีต้นทุนสูง และไม่มีประสิทธิภาพเช่นโฆษณาหาของหายากตามหนังสือพิพม์ แต่ eBay ทำหน้าที่ Matching ทั้งหมดเกิดจากการนำ Demand มาเชื่อมโยงกัน • Questioning process ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถหาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหา ยกตัวอย่างเช่นไมเคิล เดลล์ สร้าง Dell Computer ซึ่งตัดค่าต้นทุนหน้าร้านและการ stock inventory • Observing Process การสังเกตและวิเคราะห์รายละเอียดที่สามารถนำไปสู่คำตอบได้ เช่น Tata motors ที่สังเกตการเดินทางในอินเดียที่มักเดินทางโดย จักรยานยนต์คันจิ๋วๆซ้อนสาม เลยทำรถยนตร์คันเล็กที่รองรับกำลังซื้อขนาดย่อย • Experimenting process การทดลอง และการลองผิดลองถูก เช่น ธนาคารที่ใช้โอนเงินผ่านทางตู้ Thomas Edison • Networking Process ยกตัวอย่างคนสองคนที่มีพฤติกรรมการค้นคว้าที่ต่างกัน เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น Michael Lazaridisได้แนวคิดในการสร้างโทรศัพท์ BlackBerry มาจากนักประดิษฐ์ที่นำ เครื่อง Vending Machine ที่ใช้ในการขายน้ำอัดลมโดยมีการติดตั้งโทรศัพท์มือถือไว้ภายในเครื่อง เมื่อจำนวนสินค้าลดลง ระบบควบคุมจะส่งsms ไปที่บริษัทเพื่อให้พนักงานเอาน้ำอัดลมมาเติม แนวคิดนี้นำมาสู่ระบบ Push Mail

More Related