html5-img
1 / 92

บทที่ 3 คุณสมบัติทางกล และ การทดสอบ

บทที่ 3 คุณสมบัติทางกล และ การทดสอบ. Mechanical Properties and Mechanical Testing. 1302 212 Engineering Materials ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขอังคณา ลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุริยา โชคสวัสดิ์. จุดประสงค์การเรียนรู้. อธิบายคุณสมบัติของทางกลของวัสดุ

selia
Télécharger la présentation

บทที่ 3 คุณสมบัติทางกล และ การทดสอบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3คุณสมบัติทางกล และการทดสอบ Mechanical Properties and Mechanical Testing 1302 212 Engineering Materials ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขอังคณา ลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุริยา โชคสวัสดิ์

  2. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • อธิบายคุณสมบัติของทางกลของวัสดุ • อธิบายความหมายของคำศัพท์เฉพาะต่อไปนี้ Elastic deformation, Plastic deformation, Strength, Toughness, Creep, Fatigue • คำนวณค่าความเค้น ความเครียด ได้ • เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผลึกกับสมบัติทางกล • อธิบายการแตกหักแบบเปราะ และการแตกหักแบบเหนียวได้

  3. Outline • Engineering Stress, Engineering Strain • Elastic Deformation • Plastic Deformation • Tensile fracture • Toughness • Fatigue • Creep

  4. สมบัติทางกล (Mechanical Properties) • สมบัติทางกลของวัสดุ คือ สมบัติของวัสดุในการตอบสนองต่อแรงทางกลที่มากระทำ กล่าวคือ เมื่อมีภาระแรง (Force) มากระทำวัสดุ จะเกิดแรงต้านภายในเนื้อของวัสดุ ถ้าหากวัสดุไม่สามารถต้านทานแรงที่มากระทำได้ ก็จะเกิดการเสียรูป แตกร้าว หรือ แตกหักได้ • ดังนั้น ค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทำนี้ จะเรียกว่า ‘ความแข็งแรงของวัสดุ (Strength of Materials)’

  5. A F • เมื่อมีแรงภายนอก F กระทำ จะเกิดแรงต้านทานภายในวัสดุเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่าง ค่าความเข้มของแรงต้านทานที่เกิดภายในวัสดุ จะเรียกว่า “ความเค้น (Uniaxial Stress, )” ซึ่งความเค้นจะกระจายสม่ำเสมอ บนพื้นที่หน้าตัดของวัสดุ (A) F = dA F = A  = F/A (N/m2หรือPascal) Fคือ ค่าของแรงกระทำภายนอก (N) A คือ พื้นที่หน้าตัด (m2)

  6. l0 F F F F lf • แต่ถ้าหากวัสดุเกิดการเปลี่ยนรูป จะเรียกว่า “ความเครียด (Strain, )” คือเกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและขนาด ที่เกิดขึ้นกับเนื้อวัสดุภายใต้แรงกระทำ l0เป็นความยาวเริ่มต้น, lf - l0 เป็นความยาวที่เปลี่ยนไป

  7. l0 F F F F lf y d0 Z df x Poisson’s ratio

  8. พฤติกรรมของวัสดุภายใต้แรงทางกลพฤติกรรมของวัสดุภายใต้แรงทางกล จากกราฟ stress-strain สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ 1.Elastic deformation 2. Plastic deformation

  9. เป็นช่วงที่กราฟเป็นเส้นตรง จะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง stress-strain ตามกฎของ Hook’s law คือ = Eε E= slope of curve = /εเรียกว่า Young’s modulus หรือ Elastic modulus 1. การเสียรูปแบบยืดหยุ่น Elastic Deformation 1 2 Stress 3 ε • ส่วนใหญ่ ค่า εในช่วงยืดหยุ่นจะมีค่าสูงสุดประมาณ 0.5%

  10. รวมพลังงานผลัก-ดูด Energy between atoms แรงผลัก Emin ระยะระหว่าง จุดศูนย์กลางอะตอม แรงดูด อะตอมจะอยู่ชิดกันในสภาวะ equilibrium ที่ Emin r0 (1) มีแรงกระทำ (2) ไม่มีแรงกระทำ r0 • เป็นกระบวนการที่ผันกลับได้ (Reversible) กล่าวคือ • เมื่อชิ้นงานได้รับแรงดึง จะทำให้ระยะระหว่างอะตอมเพิ่มขึ้น • แต่ถ้าแรงดึงดังกล่าวน้อยกว่าแรงหรือพันธะระหว่างอะตอม ถ้าเราปลดแรงออก อะตอมจะกลับสู่ภาวะสมดุล ทำให้ชิ้นงานกลับมีขนาดและรูปร่างเหมือนเดิม

  11. Exercise1 1. นักศึกษาทำการทดลองดึงแท่งอลูมิเนียมทรงกระบอกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 mm ยาว 1000 mm โดยการห้อยน้ำหนัก 1500 kg ในแนวดิ่งที่ปลายชิ้นงาน ปรากฏว่าชิ้นงานยืดออก 12 mm และเมื่อปลดน้ำหนักออก ความยาวชิ้นงานกลับสู่ค่าความยาวเริ่มต้น กำหนดให้ g = 9.81 m/s2 จงคำนวณ • Stress และ Strain ของอลูมิเนียมที่น้ำหนัก 1,500 kg (หน่วย N/mm2) • The Young’s Modulus of Aluminium

  12. Exercise 1 2. Copper Cylinder, l0= 305 mm. elastic modulus, E = 110 GPa, under tension stress  = 276 MPa, elastic deformation, how much isl? 3. Brass cylinder, d0=10 mm, after pulled by tensile force, d= -2.5x10-3 mm, E = 97 GPa, =0.34,=?, F=?

  13. 2. การเสียรูปแบบถาวร Plastic Deformation เมื่อชิ้นงานได้รับแรงดึงที่สูงขึ้น และเกิดการเสียรูปยืดหยุ่นจนถึงจุดสิ้นสุดช่วงยืดหยุ่น แรงดึงจะสามารถเอาชนะแรงระหว่างอะตอม ทำให้ชิ้นงานเกิดการเสียรูปอย่างถาวร ส่งผลให้ขนาดและรูปร่างเปลี่ยนไป

  14. PN P P  PS  Slip direction a P P กลไกการเกิดการเสียรูปแบบถาวร • เมื่อผลึกได้รับแรงดึง (Tensile force, P) จะทำให้เกิดมีแรงเฉือน (shear forces, PS) ขึ้นภายในผลึก • ระนาบอะตอมที่ขนานกับทิศทางของ PS และทำมุม  45 ° กับแรง P จะเกิดการเลื่อนไหล (slip) เนื่องจากแรงเฉือน A single crystal

  15. การเสียรูปแบบถาวรของผลึกการเสียรูปแบบถาวรของผลึก • ระนาบที่เกิดการไถลเรียกว่า “Slip plane”ซึ่งจะเป็นระนาบที่มีความหนาแน่นของอะตอมมากที่สุด และจะไถลไปในทิศที่อะตอมอยู่ชิดกันมากที่สุดในระนาบนั้น

  16. ทิศทางการไถล เรียกว่า “Slip direction” • ทั้งระนาบและทิศทางการไถลรวมกัน เรียกว่า “Slip system” Crystal Slip plane Slip direction Slip system fcc (Al,Cu) 4(111) 3<110> 12 bcc (Fe) 6(110), 2<111> 12 hcp (Mg,Zn) 1(0001) 3<1120> 3 (เปราะ)

  17. (111) z z (110) y y x x Fcc (Al,Cu) 4(111) , 3<110> [110] [111] Bcc (Fe) 6(110), 2<111>

  18. การจัดเรียงตัวอะตอมของ bcc จะไม่ชิดกันมากเท่ากับ fcc ดังนั้นเราจึงต้องใช้แรงในการเลื่อนอะตอมของ bcc มากกว่า <110> (111) fcc <111> (110) bcc

  19. elastic plastic UTS  3 2 • เมื่อชิ้นงานได้รับแรงที่มากกว่า y ไม่ว่าจะเป็นแรงดึง/แรงเฉือน/แรงกด จะเกิดการเลื่อนไหลของระนาบ รวมทั้งการไหลของ Dislocation line ด้วย 1 y ε

  20. จากกราฟ • หลังจากจุด Yield แล้ว แรงที่ใช้จะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเกิดการ Interaction กันระหว่าง Dislocations ซึ่งอาจเกิดการหักล้างกัน หรือขัดขวางการไหลซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องใช้แรงมากขึ้น ในการที่จะทำให้ชิ้นงานมีความยาวเพิ่มขึ้น

  21. กราฟ stress-strain ของเหล็กกล้า UTM Yield Pointy y= Yield stressความเค้นที่จุดคราก เป็นค่าที่สำคัญของคุณสมบัติทางกล เพราะเป็นความเค้นที่มากที่สุดที่ชิ้นงานสามารถรับได้ก่อนจะเสียรูปอย่างถาวร

  22. Yield point 0.2% yield stress ลากเส้นตรงที่ 0.2%strain ขนานกับกราฟ ช่วงยืดหยุ่น 0.2%strain ในกรณีที่ไม่มีจุด Yield point ที่ชัดเจน จะใช้ 0.2% yield stress

  23. โลหะเสียรูปสม่ำเสมอ โลหะเสียรูปไม่สม่ำเสมอ Engineering Stress-Strain curve ลักษณะการเสียรูปของวัสดุ ในกรณีเกิดคอคอด

  24. Percent elongation at fracture, %เป็นค่าความสามารถในการยืดได้ของวัสดุภายใต้แรงดึง คำนวณได้จาก สมการ 3.5 • Percent reduction in area at fracture, %RA เป็นการวัดค่าความเหนียวของวัสดุอีกวิธีหนึ่ง รวมทั้งสามารถชี้ถึงคุณภาพของวัสดุนั้นๆด้วย กล่าวคือ ถ้าชิ้นงานมีจุดบกพร่องเช่น รูโพรง, สิ่งปลอมปน จะทำให้ค่า %RA น้อยลง สมการ 3.6

  25. 0.2% strain

  26. Exercise 2 • วัสดุชนิดหนึ่งมีค่า yield stress เท่ากับ 200 MPa เราต้องให้แรงดึงอย่างน้อยเท่าใดจึงจะสามารถดึงชิ้นงานชนิดนี้ที่มีพื้นที่หน้าตัด 100 mm2 ให้เกิดการเสียรูปแบบถาวรได้ yield force = yield stress x area = (200 x 106 N/ m2) x (100 x 10-6m2) = 20,000 N

  27. 2. วัสดุชนิดหนึ่งมีค่าเปอร์เซนต์การยืด 10% ถ้าวัสดุนี้เริ่มต้นยาว 200 mm เราจะต้องดึงวัสดุนี้ให้มีความยาวเพิ่มอีกเท่าใดจึงจะขาด

  28. brittle ductile strain ลักษณะการแตกหักของวัสดุType of Fracture การแตกของวัสดุแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ • การแตกแบบเหนียว (Ductile fracture) • การแตกแบบเปราะ (Brittle fracture) stress

  29. 1. การแตกแบบเหนียว (Ductile fracture) • เกิดขึ้นเมื่อชิ้นงานเกิดการแปรรูปอย่างถาวรและกราฟ stress-strain จะมีค่า strain สูง • เมื่อเกิดคอคอดตรงรอยแตก รอยแยกของโลหะที่แตกแบบเหนียวจะมีลักษณะที่เรียกว่า ‘cup and cone’ ดังรูป Cup Cone

  30. กลไกการเกิดการแตกแบบเหนียวจะมีอยู่ 3 กระบวนการ ด้วยกัน คือ • เกิดรูโพรงเล็กๆภายใน (small voids) ในบริเวณที่มีความเข้มของการแปรรูปสูง คือบริเวณที่คอด • จากนั้นรูที่เกิดจะรวมตัวกัน เกิดเป็นรอยแยก (crack) เจริญไปตามทิศที่ตั้งฉากกับแรงที่กระทำอยู่ • รอยแยกเจริญจากข้างในมาสู่ผิวชิ้นงานโดยแรงเฉือนที่ทำมุมกับทิศของแรงดึงประมาณ 45 องศา

  31. กลไกการแตกแบบเหนียว คอคอด (2) (3) (1) ที่ผิวรอยแตก เมื่อมองด้วยตาเปล่า จะเห็นเป็นผิวหม่น ทึบแสง มีสีคล้ำ เพราะเกิดจากการรวมตัวของหลุมเล็กๆ ที่เกิดระหว่างการแตก

  32. void

  33. แหล่งกำเนิดโพรงเล็กส่วนมากจะเกิดที่รอยต่อระหว่างเนื้อโลหะ กับ particles (สารประกอบของแข็งที่เป็น intermetallic ของธาตุที่ผสมในโลหะ) และ inclusions (สารมลทิน) • โลหะที่มีความบริสุทธิ์จะมีความเหนียวกว่าโลหะผสมเพราะจะมี particles น้อยกว่า

  34. 2. การแตกแบบเปราะ (Brittlefracture) • ชิ้นงานจะแตกหักโดยมีการแปรรูปถาวรเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ทำให้มีค่าความเหนียวต่ำ • ผิวรอยแตกค่อนข้างตรง และค่อนข้างวาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า • โลหะที่แตกแบบเปราะค่อนข้างที่จะอันตรายเพราะสามารถเกิดการแตกหักได้ง่ายในบริเวณที่มีความเค้นสะสมสูง และถ้ามีรูพรุนมากๆ

  35. ลักษณะของผิวที่เกิดการแตกแบบเปราะลักษณะของผิวที่เกิดการแตกแบบเปราะ เหล็กหล่อ แตกแบบเปราะ จากการทดสอบแรงดึง เซรามิกส์ แตกแบบเปราะ จากการทดสอบแรงดึง

  36. ตัวอย่างการแตกแบบเปราะของวัสดุเปราะ เช่น ปูน, คอนกรีต, ลูกหินขัดข้าว โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของลูกหินขัดข้าวด้วยวัสดุขัดสีที่ผลิตในประเทศไทย” งบประมาณ ปี 2549-2550 ตัวอย่างการแตกหักของชิ้นงานปูนซีเมนต์ จากการทดสอบแรงอัด

  37. ตัวอย่างการแตกหักของชิ้นงานปูนซีเมนต์ จากการทดสอบแรงอัด

  38. ตัวอย่างการแตกหักของชิ้นงานปูนซีเมนต์ จากการทดสอบแรงดัดโค้ง

  39. เปรียบเทียบผิวรอยแตกเมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนเปรียบเทียบผิวรอยแตกเมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน แตกแบบเปราะ แตกแบบเหนียว หลุมที่เกิดจาก particles

  40. (3) (2) (1) (1) Ductile fracture with uniform elongation (2) Ductile fracture with necking (3) Brittle fracture with no elongation

  41. Online self-study • http://www.doitpoms.ac.uk/tlplib/mechanical-testing/index.php

  42. ความแข็ง (Hardness) คือ ความต้านทานต่อแรงกด การขัดสีและแรงกลของวัสดุ การทดสอบความแข็งแบบหัวกด ในเชิงโลหะวิทยา จะเป็นการทดสอบความต้านทานต่อการแปรรูปถาวร เมื่อถูกแรงกดจากหัวกดกระทำลงบนชิ้นงานทดสอบ

  43. สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับขนาดแรงกด • Macro-Hardness :Load > 1 kgf (1 kgf = 9.81 N) • Micro-Hardness :Load  1 kgf • Nano-Hardness :Load < 500 mN (nano resolution)

  44. ตัวอย่างการทดสอบความแข็งในอุตสาหกรรมต่างๆตัวอย่างการทดสอบความแข็งในอุตสาหกรรมต่างๆ

  45. Hardness Scale used in various applications Rockwell superficial 1. Brinell Hardness 2. Vickers 4. Rockwell 3. Knoop 5. Shore

  46. Rockwell Hardness Test • เป็นวิธีวัดความแข็งของโลหะที่นิยมใช้มากที่สุด • โดยจะวัดความแข็งจากความลึกของรอยกดที่ถูกหัวกดกดด้วยแรงคงที่ ซึ่งจะแตกต่างจากแบบ Brinell และ Vickers ที่วัดจากแรงกดต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ • วิธีนี้จึงมีการวัดด้วยกันหลายสเกล เพื่อให้สามารถเลือกใช้วัดความแข็งได้เหมาะสมที่สุด

  47. ข้อดี (Advantages) • สามารถทดสอบได้รวดเร็ว ไม่ต้องสียเวลาวัดขนาดรอยบุ๋ม • สามารถทดสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่าแบบบริเนลล์ • สามารถทดสอบวัสดุอ่อน และแข็งได้ และมีหลายสเกลให้เลือกดังตารางที่ 3 หน้า 67

More Related