230 likes | 605 Vues
การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (The Development of Blended Synchronous and Asynchronous e-Learning for the Subject of Law and Ethics in Information Technology ). อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
E N D
การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(The Development of Blended Synchronous and Asynchronous e-Learning for the Subject of Law and Ethics in Information Technology ) อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
“Nowadays, education is all about how to make use of technology – sometimes, small changes in existing practice can crate a far more reaching effects- JutimaMethaneethorn -
ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545 – 2559) ได้กำหนดแนวนโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการศึกษา โดยมีกรอบการดำเนินงานให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และมุ่งพัฒนาผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคัดสรร กลั่นกรอง และใช้ข้อมูลจากสื่อทางการศึกษาได้ • เพื่อให้การจัดการศึกษาในรายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าว
ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา (มนต์ชัย, 2545) • สำหรับเครื่องมือที่การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ควรจัดหาให้ผู้เรียนนั้น ควรมีในส่วนของการประชุมทางคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา (asynchronous) เช่น การแลกเปลี่ยนข้อความผ่านทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกัน (synchronous) เช่น การสนทนาออนไลน์ หรือที่รู้จักกันในชื่อของแชท (chat) เป็นต้น (ถนอมพร, 2545)
ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • Ahmad & Bokhari (2013) กล่าวว่า ไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดที่สามารถเติมเต็มความต้องการของผู้เรียนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) หรือรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) ซึ่งนักวิจัยทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning environment) ที่เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน โดยนำเอาเทคโนโลยีที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้
วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน (blended synchronous and asynchronous e-Learning) บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodleสำหรับใช้ในการจัดการเรียนสอนรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” • เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน
คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัยคำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน หมายถึง บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมเอาลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) และรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) เข้าด้วยกัน • ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน หมายถึง ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานในด้านความพึงพอใจกับการเรียนการสอนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle และความพึงพอใจกับปฏิสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle วัดโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด
วิธีดำเนินการวิจัย • ขอบเขตของการวิจัย • ประชากรของการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา“กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555 จำนวน 24 คน • เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทย และกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐, พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น
วิธีดำเนินการวิจัย • เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานที่รวมเอาลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2 รูปแบบเข้าด้วยกัน คือ การเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) และ การเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และเครื่องมืออื่น ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ได้แก่ กิจกรรม (task) และกระดานข่าว (web board) ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบไม่พร้อมกัน และห้องสนทนา (chat room) ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบพร้อมกัน • แบบประเมินผลบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ • แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
วิธีดำเนินการวิจัย • การตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานได้ถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 ท่าน พบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ มีความน่าสนใจ สะดวกและเหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน และสอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyoneanywhere anytime อีกทั้ง เครื่องมือต่าง ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ที่นำมาใช้นั้นช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และสนับสนุนแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual difference) ด้วย ในส่วนของเนื้อหาที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ มีความครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชาและมีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอที่เหมาะสม
วิธีดำเนินการวิจัย • การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล • ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตลอดภาคการศึกษา และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในสัปดาห์สุดท้าย ได้ทำการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานแก่นักศึกษาเพื่อสอบถามความคิดเห็น • ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็น ฯ ดังกล่าว
สรุปผลการวิจัย • ผลการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นได้ถูกแบ่งโครงสร้างออกเป็น 9 หัวข้อ โดยในแต่ละหัวข้อจะประกอบด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมสำหรับแต่ละหัวข้อ กระดานข่าวสำหรับการตั้งคำถาม / ข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อที่เรียน กระดานข่าวสำหรับแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนในแต่ละครั้ง และห้องสนทนาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน รูปที่ 1: หน้าต่างหลักของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน
สรุปผลการวิจัย รูปที่ 2: ตัวอย่างโครงสร้างหัวข้อของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รูปที่ 3: ตัวอย่างห้องสนทนาของหัวข้อที่ 8 ของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน
สรุปผลการวิจัย • ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • ด้านบทเรียน - ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานในระดับมาก โดยเห็นว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ นั้นมีความน่าสนใจ สะดวกต่อการเรียนรู้และเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และช่วยให้เกิดความเข้าในการเรียน • ด้านโครงสร้างของบทเรียน - นักศึกษามีความเห็นว่าเนื้อหาที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานมีความครอบคลุม และมีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอที่เหมาะสมในระดับมาก • ด้านการออกแบบบทเรียน - นักศึกษามีความเห็นว่าเครื่องมือต่าง ๆ (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, กิจกรรม, กระดานข่าว และห้องสนทนา) ที่ใช้ในการเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ สอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyone anywhere anytime ในระดับมาก และเครื่องมือดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในระดับที่มากด้วย
สรุปผลการวิจัย • ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • ปัญหาและข้อเสนอแนะ - เรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักศึกษาเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และในบางครั้งอินเทอร์เน็ตภายในมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการปิดระบบ ฯ เพื่อการตรวจสอบ / ซ่อมแซม
อภิปรายผลการวิจัย • การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” เพื่อใช้สอนในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555 ถือได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มุ่งการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกันและแบบไม่พร้อมกัน • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 ท่าน มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ดังกล่าวมีความน่าสนใจ สอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyoneanywhere anytime สนับสนุนแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และเครื่องมือต่าง ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ที่นำมาใช้นั้นก็ได้ช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน • การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจมากกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ โดยเห็นว่าสะดวกและมีความเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
อภิปรายผลการวิจัย • การที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯ และนักศึกษามีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันเช่นนี้เป็นเพราะได้มีการนำเอาจุดแข็งของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แต่ละรูปแบบมาใช้ในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน (Ahmad & Bokhari, 2013) โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในการประชุมทางคอมพิวเตอร์ เช่น กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาออนไลน์ เป็นต้น (ถนอมพร, 2545)
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป • การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบปกติกับกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน ในกรณีที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชาดังกล่าวมากกว่า 1 กลุ่มในแต่ละภาคการศึกษา • การศึกษาด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ เช่น ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน (เช่น ความเร็วของอินเทอร์เน็ต เป็นต้น) เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพจริงต่อไป
เอกสารอ้างอิง • ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Best Practice in Teaching with e-Learning. คู่มืออาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านการสอนด้วย e-Learning. • มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). ก้าวไกล: Learning. Learning solution for the next education ตอนที่ 1. พัฒนาเทคนิคการศึกษา.14, 43 (กรกฎาคม-กันยายน 2545), 56-66. • Ahmad, I. & Bokhari, M. U. (2013). The Combine Effect of Synchronous and Asynchronous e-Learning on Distance Education. International Journal of Computer Science. 10, 1(1), 546-550.