1 / 30

การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson

การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson. วงจรการเรียนรู้ 4 ขั้น. ขั้นเตรียม( Preparation ) ขั้นตอนนี้ใช้เร้าความสนใจเรื่องที่กำลังจะเรียน สามารถใช้สื่อการสอนที่มีสีสันวูบวาบได้เพราะเป้าหมายหลักอยู่ที่การดึงความสนใจ.

temima
Télécharger la présentation

การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทย Assistant Professor Dr. Christopher Johnson

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวไทยAssistant Professor Dr. Christopher Johnson

  2. วงจรการเรียนรู้ 4 ขั้น • ขั้นเตรียม(Preparation) ขั้นตอนนี้ใช้เร้าความสนใจเรื่องที่กำลังจะเรียน สามารถใช้สื่อการสอนที่มีสีสันวูบวาบได้เพราะเป้าหมายหลักอยู่ที่การดึงความสนใจ

  3. ขั้นนำเสนอ(Presentation) การนำเสนอเนื้อหาสาระเป็นครั้งแรก ผู้เรียนอาจหมดความสนใจตั้งแต่ขั้นนี้หากผู้สอนไม่ได้มีการเตรียมตัวมาให้ดีว่าต้องสอนอย่างไร ถึงจะตรึงความสนใจและความความสงสัยของผู้เรียนได้โดยตลอด

  4. ขั้นทดลองฝึก(Practice) เป็นการบูรณาการทางความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรข้ามไปและควรฝึกให้เร็วที่สุด โดยผลจากการวิจัยชี้ว่าต้องฝึกสิบครั้งขึ้นไป ถึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ขั้นปฏิบัติ(Performance) เป็นการนำความรู้และทักษะใหม่ไปใช้ในสถานการณ์จริง สมควรทำให้เร็วที่สุด

  6. สาเหตุที่ทำให้การเรียนน่าเบื่อสาเหตุที่ทำให้การเรียนน่าเบื่อ • ไม่มีการเตรียมการที่ดี การเรียนกับความทุกข์ทรมานจึงถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและพยายามหลีกเลี่ยงการเรียน โดยมีนิสัยกลัวการตอบผิดหรือกลัวขายหน้าเป็นพื้นฐาน คนไทยส่วนใหญ่กลัวการเรียนเพราการเรียนมาพร้อมความกดดันและอาจทำให้อับอายได้ เมื่อไหร่ที่ผู้เรียนเครียดการเรียนย่อมไม่เกิดผล

  7. การนำเสนอไม่ดี การสอนแบบผู้เรียนเป็นฝ่ายรับที่พบมากในประเทศไทยให้ผลดีน้อยกว่าการสอนเชิงรุก เพราะความสนใจของผู้เรียนลดต่ำลงตั้งแต่นำเข้าสู่บทเรียนและจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนั้นไปจนสิ้นสุดการเรียน กลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลเสียจากการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุด คือ กลุ่มที่เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ เพราะเมื่อขาดประสบการณ์จริงแล้วพวกเขาก็โยงเอาไปใช้ไม่ได้

  8. ทดลองฝึกมากไม่พอ หลังการเรียนการสอนไม่มีการบูรณาการกับความรู้เดิม สิ่งที่จะหายไปได้แก่ ระบบดัชนีสำหรับดึงความรู้ออกมาใช้ ซึ่งถ้าขาดหายไปจะไม่สามารถเรียกใช้ความรู้ใหม่ได้

  9. ไม่ยอมปฏิบัติ จากรูปปิรามิดการเรียนรู้ผู้ที่นำความรู้มาปฏิบัติทันทีสามารถจดจำเนื้อหาได้ถึง 90% ซึ่งการนำเสนอที่เน้นกันมากให้ผลการเรียนรู้แค่ 20%

  10. เป้าหมายของวงจรการเรียนรู้เป้าหมายของวงจรการเรียนรู้

  11. ขั้นตอนที่1 เตรียมการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ รู้สึกดีกับการเรียนการสอนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและลดความกังวลก่อนเรียน

  12. สิ่งที่ต้องทำ บอกประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ เป้าหมายชัดเจนและมีความหมาย สร้างบรรยากาศเชิงบวกทั้งกายภาพ อารมณ์ความรู้สึก สังคม คลายความกลัวของผู้เรียน กำจัดอุปสรรค เร้าให้ผู้เรียนสงสัยใคร่รู้ ทำให้ผู้เรียนสบายใจที่จะถาม

  13. ขั้นตอนที่ 2นำเสนอ เพื่อแนะนำเรื่องที่กำลังจะเรียนด้วยวิธีการที่สนุกสนานและจุดประกายความคิดโดยมีความเกี่ยวข้องอยู่ในความสนใจของผู้เรียนอีกทั้งสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้ของพวกเขา โปรดระลึกไว้เสมอว่า คนไทยชอบพูด ชอบฟัง และชอบดู แต่มักจะหลีกเลี่ยงการเขียนและการอ่านเชิงพินิจพิเคราะห์

  14. สิ่งที่ต้องทำ งานคู่ /กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ สังเกตและวิเคราะห์ปรากฏการณ์จริงว่านักศึกษาชาวไทยกระตือรือร้นเวลาได้ถกถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน สร้างบรรยากาศเชิงรุก นำเสนอแบบมีปฏิสัมพันธ์ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนรู้แบบค้นพบผ่านบริบทจริง

  15. ขั้นตอนที่ 3 ทดลองฝึก ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะผู้เรียนจะเกิดการบูรณาการและสร้างระบบดรรชนีตามความเข้าใจของตัวเองหรือไม่ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้ โดยพวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านหลากหลายวิธีการ ซึ่งน่าสนใจ สนุกสนาน มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องต่อลีลาการเรียนรู้

  16. สิ่งที่ต้องทำ ทดลอง ฟังผลป้อนกลับ ไตร่ตรอง ทดลองซ้ำ กิจกรรมที่ใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการจำลองสถานการณ์จริง ไตร่ตรองและสรุปเป็นภาษาของตนเอง การฝึกปรือ การสอนกลับ

  17. ขั้นตอนที่ 4ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำทักษะและความรู้ใหม่มาต่อยอดและประยุกต์ใช้จริง ความรู้จะได้ติดตัว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งๆขึ้น

  18. สิ่งที่ต้องทำ ประยุกต์ใช้จริงทันที วางแผนและดำเนินตามแผน สร้างแรงจูงใจด้วยการเสริมแรง จับกลุ่มช่วยกันเรียนช่วยกันสอนในหมู่เพื่อนร่วมเรียน

  19. รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI

  20. รูปแบบการเรียนรู้แบบ SAVI S : Somatic เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำ A : Auditory เรียนรู้จากการฟังและพูด V : Visual เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพ I : Intellectual เรียนรู้จากการไตร่ตรองและแก้ปัญหา

  21. การเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและการลงมือกระทำS: Somatic • การเคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การลงมือกระทำ • วิธีการเรียนในปัจจุบันเน้นความเป็นองค์รวมระหว่างกายกับจิต • แม้ว่าบางเรื่องสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรม แต่การสลับไปสลับมาระหว่างการเรียนรู้เชิงรุกและเชิงรับ ก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นผู้เรียนแล้ว

  22. การเรียนรู้จากการฟังและพูดA : Auditory • เป็นการเรียนรู้ที่เก่าแก่ที่สุดของคนทุกเชื้อชาติ • เรียนด้วยฟังเสียงสนทนา การอ่านออกเสียง การเล่าถึงประสบการณ์ การคุยกับตนเอง การจดจำบทเพลง การท่องโคลงกลอน การท่องอาขยาน การท่องในใจ • สำหรับผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดี ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดออกมาระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ ช่วงการแก้ปัญหา ตอนศึกษาแนวคิด ระหว่างควบคุมข้อมูลหรือวางแผนปฏิบัติงาน รวมทั้งฝึกฝนและทบทวนความรู้ หรือโดยการให้พวกเขาสรุปออกมาเป็นคำพูดของตัวเองได้

  23. การเรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพV : Visual • ผู้ที่สามารถสร้างจินตภาพอย่างเป็นระบบระเบียบขณะมีการเรียนรู้สามารถดึงสิ่งที่เพิ่งเรียนได้ไวกว่าคนที่ไม่ทำ 12 % และมีความทรงจำระยะยาวดีกว่า 26% • ผู้เรียนที่เรียนรู้จากการสังเกตและสร้างจินตภาพจะเรียนได้ดีที่สุด เมื่อได้เห็นตัวอย่างจริง แผนภาพ ผังความคิด รูปภาพ รูปทุกประเภท แผนที่ความคิด(Mind-Mapping)

  24. การเรียนรู้จากการไตร่ตรองและแก้ปัญหาI : Intellectual • การเรียนรู้โดยใช้ปัญญา หมายถึง การสร้างตรรกะหรือการที่มนุษย์คิดและเชื่อมโยงประสบการณ์แล้วสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจ • ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้เมื่อได้ทำกิจกรรม แก้ปัญหา วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น วางแผนกลยุทธ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตีโจทย์และตั้งคำถาม สร้างมโนภาพ สรุปเป็นความเข้าใจ หาวิธีนำความรู้ใหม่ไปใช้ในงาน

  25. บทสรุป

  26. รูปแบบการเรียนการสอนนี้เสนอเพื่อเป็นทางเลือกแทนการสอนแบบถ่ายโอนข้อมูล เราโตมาในระบบที่คำตอบที่ถูกต้องเท่านั้นที่สำคัญ ขณะที่การตั้งคำถามให้ถูกต้องได้รับการคำนึงถึงเพียงเล็กน้อย ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนโปรดหยุดถามตนเองว่าใช้โจทย์ถูกต้องหรือไม่จากนั้นค่อยวางแผนให้สอดคล้อง ไม่ใช่วางตามคำตอบที่คิดไปเองว่าถูกต้อง

  27. ชีวิตคือการเรียนรู้ และ การเรียนรู้คือชีวิต

More Related