1 / 65

บทที่ 1 Introduction to Computer System Organization

บทที่ 1 Introduction to Computer System Organization. อ. เอกบดินทร์ เกตุขาว. รู้จักกับคอมพิวเตอร์. 1. วิวัฒนาการและยุคของคอมพิวเตอร์. 2. ประเภทและองค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์. 3. 5. โครงสร้างหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์. 4. หัวข้อที่ศึกษา.

vita
Télécharger la présentation

บทที่ 1 Introduction to Computer System Organization

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1Introduction to Computer System Organization อ. เอกบดินทร์ เกตุขาว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  2. รู้จักกับคอมพิวเตอร์ 1 วิวัฒนาการและยุคของคอมพิวเตอร์ 2 ประเภทและองค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ 3 5 โครงสร้างหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4 หัวข้อที่ศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  3. รู้จักกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้นไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  4. คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ 4’s Special ของเครื่องคอมพิวเตอร์ • ความจำ (Storage) • ความเร็ว (Speed) • การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) • ความน่าเชื่อถือ (Sure) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  5. คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความจำ (Storage) เป็นความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถือได้ว่าเป็น "หัวใจ" ของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ระบบคือ • หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) • หน่วยความจำรอง (Secondary Storage) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  6. คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความเร็ว (Speed) เป็นความสามารถในการประมวลผลข้อมูลภายในเวลาที่สั้นที่สุด โดยความเร็วของการประมวลผล พิจารณาจากความสามารถในการประมวลผลซ้ำๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เรียกว่า "ความถี่ (Frequency)" โดยนับความถี่เป็น "จำนวนคำสั่ง" หรือ "จำนวนครั้ง" หรือ "จำนวนรอบ" ในหนึ่งนาที และเรียกหน่วยนี้ว่า Hz (Hertz = Cycle/Second) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  7. คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ การปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting) เป็นความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่ง ได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง โดยอัตโนมัติ ตามคำสั่งและขั้นตอนที่นักคอมพิวเตอร์ (มนุษย์) ได้กำหนดไว้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  8. คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ ความน่าเชื่อถือ (Sure) เป็นความสามารถในการประมวลผลที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูล ที่นักคอมพิวเตอร์ได้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

  9. วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ • ลูกคิด (Abacus) • John Napier สร้างเครื่องคิดเลขที่เรียกว่า “Napier’s Bones” • Henry Briggs คิดค้นแบบคำนวณตารางลอการิทึม • Edmund Gunter ได้นำค่าลอการิทึมของ Briggs มาแกะลงไม้บรรทัด • William Aughtred ได้นำความคิดของ Gunter มาสร้าง Slide Rule ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อนาลอกเครื่องแรกของโลก • Charles Babbage สร้างเครื่องมือที่ชื่อ “อนาไลติคัล เอ็นจิน“ (Analytical engine) • Ada Lovelace โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก => ภาษา Ada คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  10. ยุคคอมพิวเตอร์ • ยุคแรก (ค.ศ.1945-1955) เป็นยุคคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ที่เป็น หลอดสูญญากาศใช้ยูทิลิตี้แบบธรรมดา • ยุคที่ 2 (ค.ศ.1955-1964) เป็นยุคทรานซิสเตอร์ ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น • ยุคที่ 3 (ค.ศ.1965-1980) เริ่มมีการคิดค้นและผลิต IC ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีการพัฒนาภาษาขั้นสูง • ยุคที่ 4 (ค.ศ.1980-ปัจจุบัน) มีความซับซ้อนมากขึ้น ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ multi-mode ใช้คุณลักษณะ เวอร์ชวลแมชชีนและมีการสื่อสารข้อมูล สนับสนุนระบบจัดการฐานข้อมูล • ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ในอนาคต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  11. คอมพิวเตอร์ยุคแรก • อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 – 2501 • ใช้หลอดสูญญากาศแทนเลขฐาน 2 ไฟดับ 0 ไฟติด 1 • ใช้ภาษาเครื่องสั่งงาน • มีขนาดใหญ่ เช่น มาร์ควัน (2487) อินิแอค และยูนิแอควัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  12. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง • อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2506 • ใช้ทรานซิสเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก • เก็บข้อมูลโดยใช้จานแม่เหล็ก • เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง เช่น ฟอร์แทรน โคบอล เป็นต้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  13. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม • อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 – 2512 • ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) • IC แต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่มากมาย • ซอฟต์แวร์มีระบบควบคุมมีประสิทธิภาพสูง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  14. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ • อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน • ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก ( Very Large Scale Integration : VLSI ) นำทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ • ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์เล็กลง • ระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  15. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) • การประมวลผลแบบขนาน (Parallel processing) • คอมพิวเตอร์ถูกนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา • เก็บความรอบรู้ต่าง ๆ สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  16. คอมพิวเตอร์ในอนาคต ศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างปัญญาเทียมเลียนแบบการคิดหรือสมองของมนุษย์ ซึ่งในงานหลายๆด้านก็มีการประยุกต์เอาคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้เพื่อคิดและตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) • ระบบหุ่นยนต์ (robotics) • ภาษาธรรมชาติ (natural language) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  17. คอมพิวเตอร์ในอนาคต ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) • เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน เพื่อเก็บรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับงานใดงานหนึ่งให้อยู่ตลอดไปในหน่วยงานโดยไม่ขึ้นกับบุคคล • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ วินิจฉัย ตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  18. คอมพิวเตอร์ในอนาคต ระบบหุ่นยนต์ (robotics) • นำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรและอุปกรณ์บังคับบางชนิด เกิดเป็น “หุ่นยนต์” (robot) • สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลักษณะงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายมากๆ • อาจพบเห็นการออกแบบหุ่นยนต์โดยอาศัยการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต และสามารถนำมาใช้งานได้จริง เช่น หุ่นยนต์สุนัข เป็นต้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  19. คอมพิวเตอร์ในอนาคต ภาธรรมชาติ (natural language) • การเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์เป็นการนำเอาความสามารถของของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น • ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุด เช่น การใช้ระบบรับรู้และจำเสียงพูดของมนุษย์หรือที่เรียกว่า speech recognition ที่คอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะเสียงได้ • ทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานของผู้ใช้ลงได้มากทีเดียว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  20. ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกตามขนาดและความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้ 5 ประเภท ดังนี้ • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) • มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) • คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  21. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีราคาสูง มีความเร็วในการประมวลผลถึง 1,000 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที ภายในเครื่องมีหน่วยประมวลผลเป็นจำนวนมากทำให้สามารถประมวล ผลคำสั่งหลายคำสั่งพร้อมกันได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องคำนวณผลซับซ้อน และเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะด้าน เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมัน การควบคุมสถานีอวกาศ พยากรณ์อากาศ และวิจัยอาวุธ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  22. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานโดยมีผู้ใช้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันได้ สามารถประมวลผล 10 ล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที เหมาะสำหรับงานที่มีการเก็บข้อมูลปริมาณมาก เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล การใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึง อุณหภูมิและความชื้นโดยมีระบบควบคุมและผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  23. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) มีลักษณะเดียวกันกับเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีประสิทธิภาพต่ำกว่า ทั้งในด้านความเร็วในการประมวลผล และความจุของหน่วยความจำ ปัจจุบันองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก จะนิยมใช้มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมระบบเครือข่ายในองค์กร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  24. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือที่เรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer :PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งาน 1 คนต่อ 1 เครื่อง หรือ ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องในเครือข่าย ไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะการใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก ตัวอย่างของไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น โน๊ตบุ๊คเดสก์โน๊ตและแท็บเล็ตพีซี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  25. ประเภทของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถพกพาไปในที่ต่างๆได้ง่าย ประโยชน์การใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจนำไปใช้ในการจัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนังฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมล์ บางรุ่นอาจมีความสามารถเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ปาล์ม, พ๊อกเก็ตพีซี เป็นต้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  26. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  27. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นลักษณะทางกายภายของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้อง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  28. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • ซอฟต์แวร์ (Software) • เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่างๆ ตามต้องการ • ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ หรือนักเขียนโปรแกรม เป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสร้างเป็นซอฟต์แวร์แบบต่างๆ ขึ้นมา • ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด เช่น OS,โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเฉพาะงานบางอย่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  29. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (Peopleware) • บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์แล้ว จะทำให้การใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ • โดยสามารถแบ่งกลุ่มบุคลากรออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ • กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป • กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ • กลุ่มผู้บริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  30. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (Peopleware) • กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป • ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User / End User) ถือว่าเป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุด ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็สามารถใช้งานได้ โดยศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงาน หรือรับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  31. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (Peopleware) • กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ • ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/ Computer Technician) • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) • นักเขียนโปรแกรม (Programmer) • วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) • ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  32. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • บุคคลากร หรือ ผู้ใช้ (Peopleware) • กลุ่มผู้บริหาร • ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO – Chief Information Officer) • หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/ Information Manager) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  33. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) • ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจริง ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ • สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลไปผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน จึงได้สารสนเทศออกมา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการเลือกให้เหมาะกับการใช้งานให้ทันเวลา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  34. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ การซื้อของในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ (Information) ในรูปของรายงานสรุปและกราฟสำหรับผู้บริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  35. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  36. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • กระบวนการทำงาน (Procedure) • หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะบางอย่างจากคอมพิวเตอร์ • ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนจะต้องรู้กระบวนการทำงาน พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เช่น • การใช้เครื่อง ฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  37. องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ • กระบวนการใช้งานเครื่อง ฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ • จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน • สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้ • เลือกรายการ • ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ • รับเงิน • รับใบบันทึกรายการ และบัตรคืน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  38. ส่วนนำข้อมูลเข้า INPUT หน่วยประมวลผล PROCESSOR ส่วนแสดงผลข้อมูลออก OUTPUT หน่วยความจำ MEMORY โครงสร้างหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  39. หน่วยประมวลผลกลาง CPU อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า INPUT Device อุปกรณ์นำข้อมูลออก OUTPUT Device ส่วนควบคุมControl Unit ส่วนคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ ALU หน่วยความจำหลัก Memory หน่วยความจำรอง Storage โครงสร้างหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  40. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  41. ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไประบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  42. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คำนวณ รวมถึงการควบคุม การทำงานของเครื่องประกอบด้วย • หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ เอแอลยู (Arithmetic and Logic Unit : ALU) • หน่วยควบคุม (Control unit) • เรจิสเตอร์ (Register) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  43. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) • หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ เอแอลยู (Arithmetic and Logic Unit : ALU) • ทำหน้าที่ด้านการคิดเลข • และเหตุผลทางตรรกะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  44. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) • หน่วยควบคุม (Control unit) • ทำหน้าที่แปลความหมายของคำสั่งใดๆ ที่ได้รับจากหน่วยความจำแล้วมาปฏิบัติให้เกิดผลตามลำดับ • เรจิสเตอร์ (Register) • เป็นหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บค่าที่เกิดขึ้นระหว่างการทำคำสั่ง เช่น ตัวนับระบุตำแหน่งคำสั่ง (Program counter : PC) เป็นเรจิสเตอร์ที่เก็บที่อยู่ของคำสั่ง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  45. วงรอบการทำงานของซีพียูวงรอบการทำงานของซีพียู

  46. หน่วยความจำ (Memory) ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ และรับข้อมูล หรือคำสั่งจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผล และเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผล หน่วยความจำมีหลายประเภท ได้แก่ • หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory : ROM ) • หน่วยความจำแคช (Cache memory) • หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือ แรม (Random-Access Memory : RAM) • EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม • EEPROM หรือ Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  47. หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory : ROM ) • เป็นหน่วยความจำแบบถาวร ใช้เก็บชุดคำสั่งต่างๆ • สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอด • ข้อมูลไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  48. หน่วยความจำแคช (Cache memory) • หน่วยความจำขนาดเล็กอยู่ในหน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง • มีความเร็วสูงและ เป็นหน่วยความจำแรกที่หน่วยประมวลผลกลางจะบันทึกหรืออ่านข้อมูล • การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  49. หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือ แรม (Random-Access Memory : RAM) • เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ข้อมูลที่เก็บในแรมจะสูญหายเมื่อปิดเครื่องหรือไฟฟ้า • SRAM(Synchronous Dynamic Random Access Memory) • DDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่า SRAMเป็น 2 เท่า DDRAM SRAM คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  50. EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) หน่วยความจำที่สามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่วยความจำ และลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้อง อาจมีปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

More Related