1 / 63

ปัญหาการขนส่ง (Transportation Problem)

ปัญหาการขนส่ง (Transportation Problem). โดย อ . ดร . เทอดธิดา ทิพย์รัตน์ สาขาบริหารการก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. การแก้ปัญหาการขนส่ง.

wyome
Télécharger la présentation

ปัญหาการขนส่ง (Transportation Problem)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัญหาการขนส่ง (Transportation Problem) โดย อ.ดร.เทอดธิดา ทิพย์รัตน์สาขาบริหารการก่อสร้างภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  2. การแก้ปัญหาการขนส่ง การใช้โปรแกรมเชิงเส้นตรง เพื่อประยุกต์กับปัญหาทางการขนส่ง โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อจัดรายการขนส่งให้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ลักษณะของรูปแบบปัญหาในเบื้องต้น เป็นการแก้ปัญหาการจัดการขนส่งจำนวนวัสดุจากแหล่งผลิตคือโรงงาน ไปยังสถานที่ก่อสร้างเพื่อรอการใช้งาน โดยที่แหล่งผลิตมีอยู่หลายแห่ง และอยู่ในที่ต่างๆกัน และมีขนาดสมรรถภาพของการผลิตที่ต่างกันด้วย นอกจากนี้สถานที่ก่อสร้างก็มีอยู่หลายแห่งซึ่งอยู่ในสถานที่ต่างๆกัน และมีขนาดความสามารถในการเก็บวัสดุหรือใช้วัสดุได้จำกัดในจำนวนไม่เท่ากัน

  3. Source (ต้นทาง) หรือแหล่งผลิต Destination (ปลายทาง) โครงการ A โรงงาน A โรงงาน B โครงการ B โครงการ C โรงงาน C

  4. รูปแบบปัญหาการขนส่ง โรงงาน หรือแหล่งผลิต สถานที่ก่อสร้าง จากภาพ มีแหล่งผลิต m แหล่ง สถานที่ก่อสร้าง n แห่ง แต่ละแหล่งผลิตมีการขนส่งวัสดุไปยังสถานที่ก่อสร้างต่างๆ 1 1 d1 S1 2 2 d2 S2 ... ... m n dn Sm

  5. แหล่งผลิต(โรงงาน) ที่ i ผลิตวัสดุได้ Si หน่วย (i = 1,2,…,m) สถานที่ก่อสร้างที่ j จะเก็บ(รับ) วัสดุได้ dj หน่วย (j = 1,2,…,n) ให้ Cij เป็นราคาค่าขนส่งต่อ 1 หน่วยของวัสดุจากแหล่งผลิต i ไปสถานที่ก่อสร้าง j Xij เป็นจำนวนวัสดุที่ขนส่งจากแหล่งผลิต i ไปสถานที่ก่อสร้าง j Siเป็นปริมาณวัสดุที่แหล่งผลิต i ผลิตได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ dj เป็นปริมาณวัสดุที่สถานที่ก่อสร้าง j จะรับได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น X11 = เป็นจำนวนวัสดุที่ขนส่งจากแหล่งผลิต(โรงงาน)1 ไปสถานที่ก่อสร้าง 1 X23 = เป็นจำนวนวัสดุที่ขนส่งจากแหล่งผลิต(โรงงาน)2 ไปสถานที่ก่อสร้าง 3 C11 = เป็นค่าขนส่งวัสดุที่ขนส่งจากแหล่งผลิต(โรงงาน)1 ไปสถานที่ก่อสร้าง 1

  6. แต่ละแหล่งผลิต(โรงงาน)ที่ i จะกระจายวัสดุไป n สถานที่ก่อสร้าง ดังนั้นข้อจำกัดด้านแหล่งผลิตที่ i คือ n ∑ Xij = Si,i= 1,2,…,m j = 1 เช่น มี 2 โรงงาน 3 สถานที่ก่อสร้างจะได้ 3 โรงงาน 1 ∑ X1j = X11+X12+X13 = S1,i=1 j = 1 จำนวนวัสดุ( โรงงาน 1 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 1 + โรงงาน 1 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 2 + โรงงาน 1 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 3 ) = จำนวนวัสดุที่โรงงานที่ 1 ผลิตได้ คือ S1หน่วย 3 โรงงาน 2 ∑ X2j = X21+X22+X23 = S2,i= 2 j = 1 จำนวนวัสดุ( โรงงาน 2 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 1 + โรงงาน 2 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 2 + โรงงาน 2 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 3 ) = จำนวนวัสดุที่โรงงานที่ 2 ผลิตได้ คือ S2หน่วย สถานที่ก่อสร้าง เก็บวัสดุ

  7. แต่ละสถานที่ก่อสร้างที่ j จะรับวัสดุจาก m แหล่งผลิต ดังนั้นข้อจำกัดด้านสถานที่ก่อสร้างที่ j คือ m ∑ Xij = dj,j= 1,2,…,n i = 1 เช่น มี 2 โรงงาน 3 สถานที่ก่อสร้างจะได้ 2 สถานที่ก่อสร้าง 1 ∑ Xi1 = X11+X21 = d1, j = 1 i = 1 จำนวนวัสดุ( โรงงาน 1 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 1 + โรงงาน 2 ส่งไปสถานที่ก่อสร้าง 1 ) = จำนวนวัสดุที่สถานที่ก่อสร้างที่ 1 รับวัสดุได้คือ d1หน่วย 2 สถานที่ก่อสร้าง 2 ∑ Xi2 = X12+X22 = d2,j = 2 i = 1 2 สถานที่ก่อสร้าง 3 ∑ Xi3 = X13+X23 = d3,j = 3 i = 1 สถานที่ก่อสร้าง เก็บวัสดุ

  8. ปัญหาของการขนส่งคือ หาค่า Xij ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุดโดยมีข้อจำกัดด้านแหล่งผลิต และสถานที่ก่อสร้าง ให้ Cij เป็นราคาค่าขนส่งต่อ 1 หน่วยของวัสดุจากแหล่งผลิต i ไปสถานที่ก่อสร้าง j ให้ Xij เป็นจำนวนวัสดุที่ขนส่งจากแหล่งผลิต i ไปสถานที่ก่อสร้าง j รูปแบบปัญหาขนส่งดังนี้ m ∑ i = 1 n ∑ CijXij j = 1 สมการเป้าหมาย หาค่าต่ำสุดของ Z = n ∑ Xij = Si, i= 1,2,…,m j = 1 ข้อจำกัด m ∑ Xij = dj, j= 1,2,…,n i = 1 Xij >= 0 ทุกๆ ค่า i,j โดยมี M = จำนวนโรงงาน (ต้นทาง),N = จำนวนสถานที่ก่อสร้าง (ปลายทาง)

  9. ตัวอย่างที่ 1 ถ้าปัญหาการขนส่งมี 2 แหล่งผลิต(m=2) และมี 3 สถานที่ก่อสร้าง (n=3) จะได้รูปแบบการขนส่งคือ 2 3 สมการเป้าหมาย Min. Z = ∑ ∑ CijXij i = 1 j = 1 3 ∑ Xij = Si, i= 1,2 j = 1 สถานที่ก่อสร้าง ข้อจำกัด 2 ∑ Xij = dj, j= 1,2,3 i = 1 เก็บวัสดุ

  10. เมื่อเขียนรูปแบบโดยไม่ใช้เครื่องหมาย ∑จะได้ สมการเป้าหมาย หาค่าต่ำสุดของ Z = C11X11 + C12X12 +C13X13 + C21X21 + C22X22 + C23X23 ข้อจำกัดด้านแหล่งผลิต X11 + X12 +X13 =S1 X21 + X22 + X23 = S2 ข้อจำกัดด้านสถานที่ก่อสร้าง X11+ X21=d1 X12+ X22 = d2 X13+ X23=d3 สถานที่ก่อสร้าง เก็บวัสดุ

  11. ถ้ามี 3 โรงาน 4 สถานที่ก่อสร้างให้หารูปแบบปัญหาการขนส่ง • แบบฝึกหัดในห้อง

  12. จากสมมุติฐานปริมาณที่ผลิตได้เท่ากับปริมาณที่เก็บเข้าสถานที่ก่อสร้างได้จากสมมุติฐานปริมาณที่ผลิตได้เท่ากับปริมาณที่เก็บเข้าสถานที่ก่อสร้างได้ m n ∑ ∑ Xij i = 1 j = 1 m ∑ Si i = 1 n ∑ dj j = 1 n m ∑ ∑ Xij j = 1 i = 1 แสดงว่าความสามารถในการผลิตของทุกแหล่งผลิตต้องเท่ากับความสามารถในการรับวัสดุของทุกๆ สถานที่ก่อสร้าง แต่ในความเป็นจริงในการขนส่งนั้น ความสามารถในการผลิตอาจน้อยกว่าหรือมากกว่า ความต้องการวัสดุก็ได้ = = =

  13. เมื่อสร้างรูปแบบตารางการขนส่งภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า ความสามารถในการผลิตของทุกๆ แหล่งผลิต เท่ากับ ความต้องการวัสดุของทุกๆสถานที่ก่อสร้างและให้ค่าขนส่ง Cijอยู่ที่มุมด้านขวามือของช่องทางที่ขนส่งจากแหล่งผลิต i ไปยังสถานที่ก่อสร้าง j จะได้ดังตารางที่1 C11 C12 C13 C21 C22 C23 3 2 ∑dj= ∑Si j = 1i=1 m ∑ Si i = 1 ตารางที่ 1 แสดงการขนส่งเมื่อมี 2 แหล่งผลิต 3 สถานที่ก่อสร้าง

  14. m n ∑ Si= ∑ dj i = 1j = 1 ข้อจำกัด เป็นข้อจำกัดเบื้องต้นในการแก้ปัญหาขนส่ง m n ∑ Si<> ∑ dj i = 1j = 1 สำหรับปัญหาขนส่งทั่วๆไปที่มีค่า จะทำให้เท่ากันได้โดยเพิ่มแหล่งผลิตสมมติ หรือเพิ่มสถานที่ก่อสร้างสมมติ (Dummy) ที่มีความสามารถในการผลิต หรือความสามารถในการรับวัสดุเท่ากับส่วนที่ขาดหายไปดังนี้

  15. n m ∑dj- ∑Si >0 จะเพิ่มแหล่งผลิต(โรงงาน) j = 1i = 1 1. ถ้า mn ∑Si- ∑dj>0 จะเพิ่มสถานที่ก่อสร้าง i = 1j = 1 2. ถ้า โดยให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัสดุต่อ1 จากแหล่งผลิตสมมติ (dummy) ไปยังสถานที่ก่อสร้างต่างๆ และค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัสดุจากทุกๆแหล่งผลิตไปยังสถานที่ก่อสร้างสมมติ(dummy) เป็น 0 เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายนี้มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่แท้จริง

  16. ตัวอย่างที่ 2กรณีที่ ความสามารถในการผลิต และความต้องการวัสดุมีขนาดเท่ากัน บริษัทแห่งหนึ่งมีโรงงาน 3 โรงานผลิตวัสดุชนิดเดียวกันส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างต่างๆ 5 แห่งโดยที่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากโรงงาน i ไปยังสถานที่ก่อสร้าง j ต่อวัสดุ 1 หน่วย ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงค่าขนส่งวัสดุจากโรงงาน i ไปสถานที่ก่อสร้าง j

  17. จากตาราง 2 จะพบว่า n m ∑ dj = ∑Si j = 1 i = 1 โดยที่ 3 ∑ Si = 100 + 125 + 175 = 400 i = 1 5 ∑ dj= 60 + 80 + 85 +105 + 70= 400 j = 1 กรณีที่ ความสามารถในการผลิต และความต้องการวัสดุมีขนาดเท่ากัน

  18. ค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุของโรงงานต่างๆ มีทั้งค่าใช้จ่ายคงตัว (Fixed Cost) และค่าใช้จ่ายที่แปรตามจำนวนวัสดุที่ผลิต ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 แสดงค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุของโรงงานต่างๆ

  19. วิธีทำ เนื่องจากราคาค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุของแต่ละโรงงานต่างกัน ในการขนส่งวัสดุต่อหน่วยจากจากโรงงาน i ไปสถานที่ก่อสร้าง j จึงต้องรวมค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุแต่ละหน่วยด้วย แต่ค่าใช้จ่ายคงตัวในการผลิตวัสดุนั้น ไม่ได้สัมพันธ์กับจำนวนวัสดุที่ผลิตจึงไม่ต้องนำมารวม ดังนั้นตารางขนส่งที่แสดงค่าใช้จ่ายในการผลิต และการขนส่งวัสดุต่อ 1 หน่วย จะแสดงดังตารางที่ 4

  20. ค่าใช้จ่าย = ค่าขนส่งวัสดุจากตาราง 2 + ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของวัสดุที่ผลิตจากตาราง 3 เช่น C11 = 18 = 5 + 13 , C21 = 19 = 4+15 18 16 16 19 17 X11 X12 X13 X14 X15 X21 19 X22 20 X23 21 X24 18 X25 22 X31 X32 X33 16 17 19 X34 16 X35 17 ตารางที่ 4 แสดงค่าใช้จ่ายในการผลิต และการขนส่งวัสดุต่อ 1 หน่วย

  21. ตัวอย่างที่ 3 กรณีที่ ความสามารถในการผลิตและความต้องการวัสดุมีขนาดแตกต่างกัน จากตัวอย่างที่ 2 ถ้าความสามารถที่โรงงาน A ผลิตวัสดุเพิ่มเป็น 200 หน่วย และโรงงาน B กระจายวัสดุไปยังสถานที่ก่อสร้างที่ 3 ไม่ได้ นอกนั้นข้อมูลเท่าเดิม จงสร้างตารางขนส่งเพื่อหาค่าใช้จ่ายต่ำสุด วิธีทำ 3 ∑ Si = 200 + 125 + 175 = 500 i = 1 ผลรวมของความสามารถของการผลิต(โรงงาน)= n ∑ dj= 60 + 80 + 85 +105 + 70= 400 j = 1 ผลรวมของความต้องการวัสดุ(สถานที่ก่อสร้าง)= 3 5 ∑ Si > ∑ dj i = 1 j = 1 จะพบว่า กรณีที่ ความสามารถในการผลิต มากกว่า ความต้องการวัสดุ ดังนั้นต้องเพิ่มความต้องการวัสดุ(สถานที่ก่อสร้าง) ขึ้นมา

  22. - ต้องเพิ่มสถานที่ก่อสร้างสมมติ (dummy)ที่มีความสามารถรับวัสดุได้เพิ่มเท่ากับ 500-400 = 100 -ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากโรงงาน i ไปยังสถานที่ก่อสร้างสมมติ(dummy) เป็น 0 -เนื่องจากโรงงาน B กระจายวัสดุไปสถานที่ก่อสร้าง 3 ไม่ได้ จึงสมมุติให้ค่าขนส่งจากโรงงาน B ไปสถานที่ก่อสร้าง 3 มีค่าสูงมาก โดยจะใช้ M แทนความหมายของค่าขนส่งซึ่งสูงมาก จำนวนที่จะทำการจัดส่งจึงถูกกำหนดให้เป็น 0 สามารถสร้างตารางได้ดังต่อไปนี้

  23. 18 16 16 19 17 0 X12 X13 X11 X14 X16 X15 22 19 20 M 18 0 X21 0 X24 X25 X26 X22 16 17 17 0 19 16 X31 X32 X33 X34 X35 X36 ตารางที่ 5 กรณีที่ ความสามารถในการผลิตและความต้องการวัสดุมีขนาดแตกต่างกัน

  24. การแก้ปัญหาการขนส่ง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1. หาคำตอบมูลฐานเริ่มต้นที่เป็นไปได้ (Initial Basic Feasible Solution) 2. ปรับปรุงคำตอบมูลฐาน เพื่อให้ได้คำตอบเหมาะสม (Improved Basic Feasible Solution)

  25. 1. การหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้น m n ∑ Si= ∑ dj i = 1 j = 1 จากรูปแบบปัญหาการขนส่ง ซึ่งมีข้อจำกัด แสดงว่ารูปแบบปัญหามี m แหล่งผลิต และมี n สถานที่ก่อสร้าง จะมีสมการที่เป็นอิสระกันได้ m+n-1 สมการ ดังนั้น ถ้าใช้วิธี Simplex จะได้คำตอบมูลฐานเริ่มต้นที่เป็นไปได้มี m+n-1 ตัวแปรมูลฐาน ในการหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้นอาจทำได้ 3 วิธีคือ 1. วิธีมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest –Corner Method) 2. วิธีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (Least – Cost Method) 3. วิธีโดยประมาณของโวเกล (Vogel’s Approximation Method (VAM))

  26. 1. วิธีมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest –Corner Method)

  27. 1. วิธีมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest –Corner Method) เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย (Cij) ซึ่งการหาคำตอบมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1พิจารณาขนส่งในช่องทางที่อยู่มุมบนด้ายซ้ายสุด(มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ) ซึ่งเป็นช่องทางที่ขนส่งจากแหล่งผลิต 1 ไปสถานที่ก่อสร้าง 1 พิจารณาขนส่งให้ปริมาณ X11มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องสอดคล้องกับความสามารถผลิต S1และความต้องการวัสดุ d1 ถ้า d1 < S1 จะได้ X11 มากที่สุด = d1 ถ้า S1 < d1 จะได้ X11 มากที่สุด = S1 ถ้า S1 = d1 จะได้ X11 มากที่สุด = S1 = d1

  28. ขั้นที่ 2 • ถ้า X11 = d1 แสดงว่าสถานที่ก่อสร้าง 1 รับวัสดุเต็มที่แล้วจึงไม่ต้องพิจารณาสถานที่ก่อสร้าง 1 อีก • (โดยการขีด Column ที่มี d1ออก)สำหรับแหล่งผลิต1 ยังมีวัสดุเหลืออีก S1- d1 = S’1 • จึงพิจารณาขนส่งจากแหล่งผลิต 1 ไปยังสถานที่ก่อสร้าง 2 พิจารณาขนส่งให้ปริมาณ X12มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และต้องสอดคล้องกับ S’1 และ d2 • ถ้า d2 < S’1 จะได้ X12มากที่สุด = d2แสดงว่าสถานที่ก่อสร้าง 2 รับวัสดุเต็มที่แล้วจึงไม่ต้องพิจารณาสถานที่ก่อสร้าง 2 อีก (ขีด Column ที่มี d2ออก) สำหรับแหล่งผลิต1 ยังมีวัสดุเหลืออีก S’1- d2 = S’’1จึงพิจารณาขนส่งจากแหล่งผลิต 1 ไปยังสถานที่ก่อสร้าง 3 ต่อไป • ถ้า S’1 < d2จะได้ X12มากที่สุด = S’1 แสดงว่าแหล่งผลิต 1 ส่งวัสดุหมดแล้ว จึงไม่ต้องพิจารณาแหล่งผลิต1 อีก (ขีดแถวที่มี S1ออก)สำหรับสถานที่ก่อสร้าง 2ยังขาดวัสดุอีก d2 - S’1 = d’2จึงพิจารณาขนส่งจากแหล่งผลิต 2 ไปยังสถานที่ก่อสร้าง 2 ต่อไป

  29. ถ้า X11 = S1แสดงว่าแหล่งผลิต 1 ส่งวัสดุหมดแล้ว (ขีดแถวที่มี S1ออก) สำหรับสถานที่ก่อสร้าง 1 ยังรับวัสดุได้อีก d1 - S1 = d’1 จึงพิจารณาขนส่งจากแหล่งผลิต 2 ไปยังสถานที่ก่อสร้าง 1 โดยพิจารณาขนส่งให้ปริมาณ X21มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และต้องสอดคล้องกับ S2และ d’1 • ถ้า X11 = S1 = d1แสดงว่าแหล่งผลิต 1 ส่งวัสดุหมดแล้ว (ขีดแถวที่มี S1ออก) และสถานที่ก่อสร้าง 1 รับวัสดุได้เต็มที่แล้ว (ขีด Column ที่มี d1ออก) ต่อไปจึงพิจารณาขนส่งจากแหล่งผลิต 2 ไปยังสถานที่ก่อสร้าง 2 โดยพิจารณาขนส่งให้ปริมาณ X22 มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และต้องสอดคล้องกับ S2และ d2 เมื่อพิจารณาต่อไปเรื่อยๆในลักษณะข้างต้น จะได้ว่าสามารถบรรจุค่า Xijลงในตารางขนส่งได้สอดคล้องกับค่า Si และ djทั้งหมด

  30. จงหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้นจงหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้น 10 0 20 11 X11 = 5 X12= 10 S1 S2 S3 S4 X13 X14 12 7 9 20 X22= 5 X23= 15 X24= 5 X21 0 14 16 18 X32 X31 X33 X34= 5 d1 d2 d3 d4

  31. วิธีทำ 1. ขั้นตอน 1 พิจารณาตำแหน่ง X11 เลือกMin ระหว่าง (5,15) = 5 นั่นคือสถานที่ก่อสร้าง 1ครบแล้วให้ ขึด Column d1 ออกไป จะได้ X11 = 5 (หรือ X11มากที่สุด = 5) 2. กรณีขีดช่องซ้ายให้เริ่มพิจารณาทางขวาที่อยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ X12จะพบว่าโรงงาน A ยังมีวัสดุเหลืออีก =S1-5= 15-5 = 10 ให้เปรียบเทียบหาระหว่าง Min (10,ค่าช่อง d ตำแหน่งตรงกัน(d2)) คือ Min(10,15) = 10 ดังนั้น X12 = 10 จะพบว่าค่ารวมที่โรงงาน A ส่ง = S1 =15 ครบแล้ว ให้ขีด แถว S1 ออก 3. เมื่อขีดช่องบนให้เริ่มพิจารณาช่องข้างล่างที่อยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ X22พบว่าสถานที่ก่อสร้าง 2 ยังขาดอีก =d2-10 = 15-10 = 5 ให้เปรียบเทียบหาระหว่าง Min ( ค่าช่อง S ที่ตรงกัน(S2),5 ) คือ Min(25,5) = 5 ดังนั้น X22 = 5 จะพบว่าสถานที่ก่อสร้างที่ 2 ครบแล้วให้ขีด Column d2ออก 4. กรณีขีดช่องซ้ายให้เริ่มพิจารณาทางขวาที่อยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ X23จะพบว่าโรงงาน B ยังมีวัสดุเหลือ คือ S2-5= 25-5 = 20 ให้เปรียบเทียบหาระหว่าง Min (20,ค่าช่อง d ตำแหน่งตรงกัน(d3)) คือ Min(20,15) = 15 ดังนั้น X23 = 15

  32. 5. พบว่าสถานที่ก่อสร้าง 3 ครบแล้ว = 15 ให้ขีด Column d3 ออก แต่จะพบว่าโรงงาน B ยังไม่ครบให้พิจารณาทางขวามือต่อไป 6. ให้เริ่มพิจารณาทางขวาอีกพบว่าโรงงาน B ยังมีวัสดุเหลือส่งอีก คือ S2-(20) = 25-(5+15)= 5 ให้พิจารณามุมตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ X24จะให้เปรียบเทียบหา ระหว่าง Min (5,ค่าช่อง d ตำแหน่งตรงกัน(d4)) คือ Min(5, 10) = 5 ดังนั้น X24 = 5 จะพบว่าโรงงาน B ครบแล้วให้ขีด แถว S2ออก 7. กรณีขีดช่องบนให้เริ่มพิจารณาช่องข้างล่างที่อยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ X34 จะพบว่าโรงงาน C ยังมีวัสดุอีก 5 และสถานที่ก่อสร้าง 4 ยังขาดอีก(หรือรับได้อีก)5 ดังนั้น X34 = 5 จะพบว่าโรงงาน C ครบแล้วให้ขีด แถว S3 ออก 8. พิจารณาสถานที่ก่อสร้าง 4 ก็ครบแล้ว 9. จากนั้นลองตรวจสอบความถูกต้องของทุกแถว และ Column โดยตัวเลขต้องสอดคล้องหรือยันกันในทุกด้าน

  33. 10 0 20 11 X11 = 5 X12= 10 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22= 5 X23= 15 X24= 5 0 14 16 18 X32 X31 X33 X34= 5

  34. ดังนั้นได้คำตอบมูลฐานเริ่มต้นคือ X11= 5, X12=10, X22= 5, X23=15, X24=5, X34=5 จำนวนตัวแปรมูลฐานมี = m+n-1 = 3+4-1 = 6 ตัว สำหรับตัวแปรอื่นๆที่เหลือมีค่าเป็น 0 ตัวแปรดังกล่าวเรียกว่า ตัวแปรไม่เป็นมูลฐาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งนี้ จะได้ = (X11* C11)+(X12*C12)+(X22*C22)+(X23*C23)+(X24*C24)+(X34*C34) =(5*10) +(10*0) +(5*7) +(15*9) +(5*20) +(5*18)= 410 บาท

  35. กรณีที่ตัวแปรมูลฐานน้อยกว่า m+n-1 จากตารางการขนส่ง จงหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้น 10 0 20 11 X11 =10 X12 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22= 9 X23 =3 X24 0 14 16 18 X32 X31 X33 X34=5

  36. กรณีที่ตัวแปรมูลฐานน้อยกว่า m+n-1 กรณีนี้ได้จำนวนตัวแปรมูลฐาน 4 ตัว คือ X11 =10, X22= 9, X23 =3, X34=5 ซึ่งน้อยกว่า = m+n-1 = 3+4-1 = 6 ตัว ดังนั้นในการหาคำตอบที่เหมาะสมต่อไป จะต้องเพิ่มจำนวนตัวแปรมูลฐานอีก 2 ตัว ให้ครบ 6 ตัว และตัวแปรมูลฐานนั้นจะต้องมีค่าเป็น 0 โดยเลือกจากตัวแปรไม่เป็นมูลฐานในตารางนั้นๆ หมายเหตุ : ในกรณีที่ Xij = Si = dj จะได้ว่าจำนวนตัวแปรมูลฐานที่ได้มีน้อยกว่า m+n-1 ตัวในกรณีนี้แสดงว่า คำตอบมูลฐานมีสภาพเสื่อมคลาย (Degenerate) คือมีตัวแปรมูลฐานอย่างน้อย 1 ตัว มีค่าเป็น 0

  37. 2. วิธีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (Least – Cost Method) เริ่มพิจารณาช่องทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยบรรจุค่า Xij ให้มากที่สุดที่จะมากได้ลงในช่อง (i,j) ที่มีค่า Cij ต่ำที่สุด

  38. พิจารณาครั้งที่ 1 จากตารางการขนส่ง จงหาคำตอบมูลฐานเริ่มต้น 10 0 20 11 X12 = 15 S1 S2 S3 S4 X11 X13 X14 12 7 9 X21 20 X22 X23 X24 0 14 16 18 X32 X31 X33 X34 d1 d2 d3 d4 ค่าขนส่งน้อยที่สุดคือ C12 = C31 = 0 จะต้องให้ค่า X12 = X31 ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้โดยให้สอดคล้องค่า Si และ dj จะได้ X12=15= S1 = d2หลังจากนั้นจึงขีด แถว S1 และ Column d2ออก ดังตาราง

  39. พิจารณาครั้งที่ 2 10 0 20 11 S1 S2 S3 S4 X12 = 15 X11 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22 X23 X24 0 14 16 18 X31= 5 X32 X33 X34 d1 d2 d3 d4 พิจารณา ราคา C31 = 0 ดังนั้น ให้ค่า X31มากสุดโดยสอดคล้องกับ S3กับ d1 คือ X31= 5 = S3 = d1 หลังจากนั้นจึงขีด แถว S3 และ Column d1ออก ดังตาราง

  40. พิจารณาครั้งที่ 3 10 0 20 11 S1 S2 S3 S4 X12 = 15 X11 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22 X23= 15 X24=10 0 14 16 18 X31= 5 X32 X33 X34 d1 d2 d3 d4 พิจารณาค่าขนส่งน้อยที่สุดที่เหลือ คือ C23 = 9 จะต้องให้ค่า X23ได้มากสุดคือ= 15 = d3โดยให้สอดคล้องค่า S2 และ d3 จากนั้นพิจารณาค่าที่เหลือของ S2 อีกคือ =25-15 = 10 จะถูกนำไปใส่ให้กับ X24 นั่นคือ X24 = 10 = S2ที่เหลือ = d4จากนั้นจึงขีด แถว S2 ออก ดังตาราง

  41. พิจารณาครั้งที่ 4 10 0 20 11 S1 S2 S3 S4 X12 = 15 X11 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22 X23= 15 X24=10 0 14 16 18 X31= 5 X32 X33 X34 d1 d2 d3 d4 พิจารณา d4ปรากฏว่าครบแล้วดังนั้นจึงขีด Columnd4 ออก จากนั้นลองตรวจสอบความถูกต้องของทุกแถว และ Column

  42. ผลลัพธ์สุดท้าย 10 0 20 11 S1 S2 S3 S4 X12 = 15 X11 X13 X14 12 7 9 20 X21 X22 X23= 15 X24=10 0 14 16 18 X31= 5 X32 X33 X34 d1 d2 d3 d4 จะได้คำตอบคือ X12 = 15(โรงงาน A ส่งสถานที่ก่อสร้าง 2 = 15) X23 = 15 (โรงงาน B ส่งสถานที่ก่อสร้าง 3 = 15) X24 = 10 (โรงงาน B ส่งสถานที่ก่อสร้าง 4 = 10) X31 = 10 (โรงงาน C ส่งสถานที่ก่อสร้าง 1 = 5)

  43. การคิดค่าใช้จ่ายจะได้ดังนี้การคิดค่าใช้จ่ายจะได้ดังนี้ ค่าใช้จ่าย = (X12*C12) + (X23 * C23)+ (X24* C24) +(X31 * C31) = (15*0)+ (15*9) + (10*20) +(5*0) = 135 + 200 = 335 ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า วิธีมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

  44. 600 400 700

  45. 3. วิธีโดยประมาณของโวเกล (Vogel’s Approximation Method (VAM))

  46. 3. วิธีโดยประมาณของโวเกล (Vogel’s Approximation Method (VAM)) เป็นวิธีหาคำตอบที่ดีกว่า 2วิธีแรก และบ่อยครั้งที่ VAM ให้คำตอบเหมาะสม หรือใกล้เคียงคำตอบเหมาะสม ขั้นตอนการหาคำตอบมีดังนี้ ขั้นที่ 1 หาผลต่างของค่าขนส่งในแถว i และ ผลต่างในColumn j โดยที่ หาผลต่างในแถว i (Column j) = ค่ารองน้อยที่สุดในแถว i (Column j) - ค่าน้อยที่สุดในแถว i (Column j) ขั้นที่ 2 เลือกแถวหรือ Column ที่มีผลต่างมากที่สุด แล้วบรรจุค่า Xijในแถวหรือ Column ที่เลือกมา โดยบรรจุค่า Xijให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในช่องที่มีค่า Cijน้อยที่สุด (วิจิตร ตัณฑสุทธิ์และคณะ)

  47. ขั้นที่ 3 ตัดแถวหรือ Column ที่มีค่า Xijสอดคล้อง Siและ dj แล้วเริ่มไปทำขั้นทื่ 1 ใหม่ จนกระทั่งบรรจุ Xijได้สอดคล้องกับ Si, dj ทั้งหมดจึงหยุด

  48. วิธีประมาณค่าของโวเกลวิธีประมาณค่าของโวเกล เป็นการหาผลลัพธ์เบื้องต้นโดยนำค่าขนส่งมาพิจารณา ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์เบื้องต้นของวิธีนี้มีค่าใกล้เคียงกับผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดตามเป้าหมาย โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ในแต่ละแนวนอนและแนวตั้งของตารางการขนส่ง นำค่าขนส่งต่ำสุด 2 จำนวนมาลบกัน เรียกผลต่างนี้ว่า ค่าปรับ “ Penalty” ในกรณีที่มีค่าขนส่งต่ำสุดเท่ากันค่าปรับจะเป็น “0” ขั้นที่ 2 เลือกแนวนอน หรือแนวตั้งที่มีค่าปรับมากที่สุด สำหรับกรณีที่มีค่าปรับมากที่สุดเท่ากัน ให้เลือกแนวที่มีค่าขนส่งน้อยที่สุดอยู่ภายใน ขั้นที่ 3 เติมค่า Xij มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ลงในช่อง (i,j) ที่มีค่าขนส่งน้อยที่สุดในแนวนอนหรือแนวตั้งที่เลือกจากขั้นที่ 2 (อาภรณ์ อินต๊ะชัย) (1)

  49. วิธีประมาณค่าของโวเกล ต่อ ขั้นที่ 4 กำจัดแนวนอนหรือแนวตั้งที่มีค่า Xij เท่ากับ ai หรือ bjออก ขั้นที่ 5 ทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4ใหม่ จนกว่าจะครบขีดความสามารถของจุดต้นทางหรือปลายทาง aiเป็นปริมาณวัสดุที่โรงงาน i ผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่งๆ bjเป็นปริมาณวัสดุที่สถานที่ก่อสร้าง j รับได้ในระยะเวลาหนึ่งๆ

More Related