1 / 46

บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555

บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 30 ตุลาคม 2554. หัวข้อบรรยาย. 1. การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา

Télécharger la présentation

บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555 อัญชลี ธรรมะวิธีกุล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 30 ตุลาคม 2554

  2.  Page 2 หัวข้อบรรยาย 1.การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา 2.แนวทางการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

  3.  Page 3 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา

  4.  Page 4 การนิเทศ 1. ความหมาย นิเทศ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึงชี้แจง แสดง • การนิเทศ(Supervision) มีผู้ให้ความหมายไว้หลายประการ ดังนี้ • สเปียร์ส (Spears) “การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยการทำงานร่วมกับครูและผู้เกี่ยวข้อง เป็นการกระตุ้นความเจริญก้าวหน้าของครู ช่วยเหลือครูให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้” • กูด(Good) “การนิเทศการศึกษา เป็นความพยายามของผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศที่จะช่วยให้คำแนะนำครูหรือผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้สามารถปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ช่วยพัฒนาศักยภาพของครู และช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเกิดความเจริญงอกงามในอาชีพ”

  5.  Page 5 • สรุปความหมายของการนิเทศการศึกษา • การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการพัฒนาครู เพื่อให้ครูปรับปรุงและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การนิเทศจึงเป็นกระบวนการในการแนะนำช่วยเหลือครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศนั้นอยู่บนหลักการของประชาธิปไตย คือการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

  6.  Page 6 2. ความจำเป็นในการนิเทศ • บริบทของ ชุมชน ประเทศไทยและของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การนิเทศการศึกษาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป • ความรู้ในสาขาต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นใหม่ตลอดเวลา การนิเทศจะ ช่วยให้ครูมีความรู้ทันสมัยขึ้น

  7. การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำ คำปรึกษา จากผู้ชำนาญการโดยเฉพาะ จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหาได้สำเร็จลุล่วง การจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ จะต้องมีการควบคุมคุณภาพ ด้วยระบบการนิเทศการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อน จำเป็นจะต้องมีการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนิเทศการศึกษาเป็นงานที่มีความจำเป็นต่อความเจริญงอกงามของครู แม้ครูจะได้รับการพัฒนามาแล้ว แต่ครูจำเป็นจะต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอในขณะทำงานในสถานการณ์จริง  Page 7

  8.  Page 8 3. ความมุ่งหมายการนิเทศการศึกษา • ดร.สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาว่า มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการ • เพื่อพัฒนาคน • เพื่อพัฒนางาน • เพื่อประสานสัมพันธ์ • เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

  9.  Page 9 ความมุ่งหมายการนิเทศการศึกษา • การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคนหมายถึง การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากร ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น • การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนางานหมายถึง การนิเทศการศึกษา มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเหตุนี้การนิเทศที่จัดขึ้นจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะ “พัฒนางาน”  คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีขึ้น

  10.  Page 10 • การนิเทศการศึกษาเพื่อสร้างการประสานสัมพันธ์หมายถึงการสร้างการประสานสัมพันธ์ ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • การนิเทศการศึกษาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจหมายถึงการนิเทศที่มุ่งให้กำลังใจแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการนิเทศ เนื่องจากขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลมีความตั้งใจทำงาน

  11.  Page 11 4. ผู้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา • บุคคลที่ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะศึกษานิเทศก์เท่านั้นแต่เป็นใครก็ได้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเน้น ในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน ในปัจจุบันบุคคลผู้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษาได้มีหลายกลุ่ม ดังนี้ • ศึกษานิเทศก์ คือบุคคลที่มีหน้าที่ในการนิเทศการศึกษาโดยตำแหน่ง • ผู้บริหารสถานศึกษา • ผู้บริหารการศึกษา • ผู้เชี่ยวชาญ คือบุคคลที่สถานศึกษาเชิญมาเป็นวิทยากร เพื่อช่วยเหลือแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ • ครู อาจให้ความช่วยเหลือแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่เพื่อนครูด้วยกัน

  12.  Page 12 5. ประเภทของงานนิเทศการศึกษา • ประเภทการนิเทศการศึกษา แบ่งตามวิธีปฏิบัติงานเป็น4ประเภท • การนิเทศเพื่อการแก้ไข (Correction) เป็นการนิเทศที่เกิดจากการพบข้อผิดพลาดและบกพร่องแล้วหาทางช่วยแก้ไขโดยวิธีการต่าง ๆ • การนิเทศเพื่อป้องกัน  (Preventive)  เป็นการนิเทศที่พยายามหาวิธีการต่าง ๆ มาจัดดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น • การนิเทศเพื่อก่อ  (Construction)  เป็นการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่นการนิเทศการเทียบระดับการศึกษา หรือการให้กำลังใจครูในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน • การนิเทศเพื่อการสร้างสรรค์ (Creation)  เป็นการนิเทศที่พยายามจะคิดสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดมีขึ้นในสถานศึกษา

  13.  Page 13 6.หลักการนิเทศการศึกษา • เบอร์ตันและบรุคเนอร์  (Burton  and Brueckner)  ได้สรุปหลักการนิเทศการศึกษาไว้ 4 ประการ คือ • การนิเทศการศึกษาควรมีความถูกต้องตามหลักวิชา การนิเทศการศึกษาที่ดีควรจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่วางไว้ • การนิเทศการศึกษาควรเป็นวิทยาศาสตร์ ควรเป็นไปอย่างมีระเบียบมีการปรับปรุงและประเมินผล การนิเทศควรจะมาจากการรวบรวมข้อมูล และการสรุปผลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือได้ • การนิเทศการศึกษาควรเป็นประชาธิปไตย การนิเทศการศึกษาจะต้องเคารพในความแตกต่างของบุคคล เน้นความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินงาน และใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ • การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นการสร้างสรรค์ การนิเทศการศึกษาควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษของบุคคล แล้วเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่างเต็มที่

  14.  Page 14 . 7. กระบวนการนิเทศ • กระบวนการนิเทศการศึกษา หมายถึงการดำเนินการในการนิเทศให้ได้รับความสำเร็จ • แฮริส (Harris)  ได้กำหนดขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้ • ขั้นวางแผน (Planning) ได้แก่ การคิด การตั้งวัตถุประสงค์ การคาดการณ์ล่วงหน้าการกำหนดตารางงานการค้นหาวิธีปฏิบัติงานและการวางโปรแกรมงาน • ขั้นการจัดโครงการ (Organizing) ได้แก่ การตั้งเกณฑ์มาตรฐาน การรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งคนและวัสดุอุปกรณ์ความสัมพันธ์แต่ละขั้น การมอบหมายงานการประสานงานการกระจายอำนาจตามหน้าที่โครงสร้างขององค์การ และการพัฒนานโยบาย • ขั้นการนำเข้าสู่การปฏิบัติ (Leading) ได้แก่ การตัดสินใจ การเลือกสรรบุคคล การเร้าจูงใจให้มีกำลังใจคิดริเริ่มอะไรใหม่ ๆการสาธิตการจูงใจและให้คำแนะนำ การสื่อสารการกระตุ้นส่งเสริมกำลังใจการแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ และให้ความสะดวกในการทำงาน

  15. ขั้นการควบคุม (Controlling) ได้แก่ การสั่งการ การให้รางวัล การลงโทษ การให้โอกาส การตำหนิการไล่ออกและการบังคับให้กระทำตาม ขั้นประเมินผล (Appraising) ได้แก่ การตัดสินการปฏิบัติงาน การวิจัย และการวัดผลการปฏิบัติงานกิจกรรมที่สำคัญ คือพิจารณาผลงานในเชิงปฏิบัติว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด และวัดผลด้วยการประเมินอย่างมีแบบแผนมีความเที่ยงตรงทั้งนี้ควรจะมีการวิจัยด้วย จะเห็นว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นการทำงานอย่างมีแบบแผน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์งานการเรียนการสอนของครูเพื่อจะได้ทราบปัญหาระบุปัญหาที่จะต้องรีบแก้ไขปรับปรุงก่อนหลังแล้วจึงวางแผนที่จะดำเนินการโดยหาทางเลือกที่จะแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต่อจากนั้นก็ดำเนินการตามแนวขั้นตอนตามลำดับจนถึงขั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วจึงนำผลการปฏิบัติไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป  Page 15

  16.  Page 16 8. ลักษณะงานนิเทศการศึกษา • งานนิเทศที่ปฏิบัติกันอยู่มีดังนี้ • งานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร (Developing Curriculums) ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การประเมินหลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตร การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การจัดกระบวนการเรียนการสอน (Organizing for Instruction) เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น การจัดกลุ่มผู้เรียน การจัดทำแผนการพบกลุ่ม การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ • การคัดเลือกบุคลากร (Staffing) โดยเลือกสรรให้เหมาะสมกับงาน มีการสรรหา

  17.  Page 17 • การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก (Providing Facility) เช่นการออกแบบและจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน รวมถึงการจัดวางแผนอาคารเรียนที่ถูกต้อง • จัดหาวัสดุอุปกรณ์การสอน (Providing Materials) ตรวจและเลือกวัสดุอุปกรณ์การสอนที่จะนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อการสอน • จัดอบรมครู (Arranging for In-Service Education) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ครู อันจะส่งผลให้ครูมีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพทางด้านวิชาการยิ่งขึ้น • งานประเมินผล (Evaluation) จัดให้มีการประเมินผลทางการเรียนการสอน เพื่อหาจุดอ่อนเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการวางแผน การสร้างเครื่องมือ การจัดดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล และการตัดสินใจ เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

  18.  Page 18 • จัดปฐมนิเทศครูใหม่ (Orienting New Staff Members) เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เป็นการลดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อันจะทำให้งานประสบสำเร็จมากขึ้น • การสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน (Developing Public Relation) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวทางการศึกษาให้ชุมชนทราบ แสวงหาความช่วยเหลือจากชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชน

  19.  Page 19 . 9. เทคนิคการนิเทศการศึกษาโดยทั่วไป • ก่อ สวัสดิพานิชย์ ได้เสนอเทคนิคการนิเทศการศึกษาทั่วไป แบ่งได้เป็น 7 แบบดังนี้ • การนิเทศโดยตรง ได้แก่การไปเยี่ยมสถานศึกษา ศึกษาปัญหาที่สถานศึกษาและให้ข้อคิดเห็น • การนิเทศโดยการอบรม • การจัดวัสดุและข่าวสารให้แก่ครู • การสาธิตการสอน • จัดประชุมปฏิบัติการ • จัดให้ไปศึกษา ดูงาน • การแสดงตัวอย่าง จัดนิทรรศการ

  20.  Page 20 10. เทคนิคการนิเทศแบ่งตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย • การนิเทศเพื่อการพัฒนาผู้รับการนิเทศเป็นกลุ่ม ได้แก่ • การจัดประชุมสัมมนา • การจัดประชุมปฏิบัติการ • การฝึกงาน • การศึกษากรณีตัวอย่าง

  21.  Page 21 • การสาธิต • การอภิปราย • การสนทนา • การจัดบรรยายหรือฟังปาฐกถา • ทัศนศึกษา • การร่วมปฏิบัติงานในคณะทำงาน คณะกรรมการ

  22.  Page 22 • การนิเทศเพื่อการพัฒนาเป็นรายบุคคล ได้แก่ • การฝึกงาน • การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ • การเลือกวิชาเรียนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย • การเข้ารับการฝึกอบรม • การศึกษาต่อ • การเป็นสมาชิกของสมาคม

  23.  Page 23

  24.  Page 24 10. การติดตาม • การติดตาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน หรือวิธีการดำเนินการที่กำหนดไว้ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น จุดเน้นที่สำคัญของการติดตาม คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

  25.  Page 25 แผนภูมิการติดตาม(Monitoring)

  26.  Page 26 • จากแผนภูมินี้จะแสดงให้เห็นว่าการติดตามมีจุดเน้นสำคัญที่ปัจจัยดำเนินการ กิจกรรมการดำเนินงานและผลงานหรือผลผลิตว่าแต่ละด้านเป็นอย่างไร ได้มีการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ ผลของการปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร แตกต่างจากที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะเป็นการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ไม่อาจปฏิบัติงานได้ตามที่วางแผนไว้

  27.  Page 27 การประเมินผล(Evaluation) 1. การประเมิน เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินการ 2. การประเมินจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ นับตั้งแต่ก่อนตัดสินใจจัดทำแผนดำเนินการ ในขณะดำเนินการในช่วงระยะต่าง ๆ และเมื่อการดำเนินการเสร็จแล้ว หรือประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ

  28.  Page 28 3. การประเมิน บางมิตินำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของการดำเนินการว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินการที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง

  29.  Page 29 ความแตกต่าง “การติดตาม”และ “การประเมิน” การติดตาม (Monitoring) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร ข้อมูลที่ได้จะนำมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ ควบคุม กำกับ การดำเนินงานในขณะปฏิบัติงาน ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Output) การประเมินผล (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง

  30.  Page 30 การประเมิน (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินว่าจะประเมินในขั้นตอนใดของการดำเนินการ เช่น ก่อนเริ่มดำเนินการ ขณะดำเนินการซึ่งอาจประเมินการดำเนินการเป็นช่วง เป็นระยะต่าง ๆ เช่น ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกสองไตรมาสเป็นต้นหรือเป็นการประเมินผลเมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

  31.  Page 31 สรุปความสัมพันธ์ระหว่างการติดตาม และการประเมินผล

  32.  Page 32

  33.  Page 33

  34.  Page 34 แนวทางการนิเทติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

  35.  Page 35 หน้าที่ความรับผิดชอบของครูอาสาสมัคร กศน. • 1.ภารกิจหลัก จัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ตามภารกิจเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ • 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน • ข้อ 7 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลในการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

  36. กระบวนการนิเทศ(PIDRE)ติดตาม การจัดการศึกษาอาชีพ ขั้นที่ 1วางแผนการนิเทศ (Planning-P) เป็นขั้นที่ ผอ.อำเภอ ครูอาสาสมัคร กศน. และครู/วิทยากร ประชุม เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการ ความจำเป็นที่จะต้องมีการนิเทศ รวมทั้งการวางแผนขั้นตอนต่าง ๆในการปฏิบัติงานนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ขั้นที่ 2ให้ความรู้ ครู/วิทยากร(Informing-I) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร แผนการสอน วิธีสอนรูปแบบต่าง ๆ สื่อ การแนะแนว การวัดผลประเมินผล  Page 36

  37.  Page 37 กระบวนการนิเทศ PIDRE (ต่อ) • ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (Doing -D) ประกอบด้วยงานใน 3 ลักษณะคือ • การปฏิบัติงานของครู/วิทยากร ลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ที่ได้รับมาจากดำเนินการในขั้นที่ 2 • ครูอาสาสมัคร กศน. ผู้ให้การนิเทศ จะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดและมีคุณภาพสูง • ผอ. กศน.อำเภอ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการนิเทศ จะต้องให้การสนับสนุนในเรื่อง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  38.  Page 38 กระบวนการนิเทศ PIDRE (ต่อ) • ขั้นที่ 4 การสร้างขวัญและกำลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นนี้เป็นขั้นของการเสริมกำลังใจของ ผอ. กศน.อำเภอ/ครูอาสาสมัคร กศน.ให้แก่ ครู/วิทยากร และผู้เกี่ยวข้องมีขวัญ กำลังใจและมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน • ขั้นที่ 5 ประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน (Evaluating-E) เป็นขั้นที่ ครูอาสาสมัคร กศน. ทำการประเมินผลการดำเนินการการนิเทศ ซึ่งผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หากพบว่ามีปัญหาที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนอาชีพ ไม่ได้ผลก็จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจจะทำได้โดยการให้ความรู้แก่ครู/วิทยากร ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  39.  Page 39 แนวทางในการการนิเทศ การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 1.การวางแผนการนิเทศ • ศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการศึกษาอาชีพ ของ กศน. ตำบลที่ผ่านมา • วิเคราะห์นโยบาย จุดเน้น การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของสำนักงาน กศน./กศน.จังหวัด ปีงบประมาณ 2555 • ศึกษาความต้องการของผู้ครู/วิทยากรในการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • กำหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จของการนิเทศ • จัดทำแผนงาน/โครงการนิเทศ ปีงบประมาณ 2555

  40.  Page 40 แนวทางในการการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 2.ครูอาสามัคร กศน.พัฒนาตนเอง เพื่อทำหน้าที่นิเทศ • ศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และทักษะที่สำคัญ ในการปฏิบัติการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เช่น • การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ • การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การจัดทำสื่อ

  41.  Page 41 แนวทางในการการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • รูปแบบการจัดการศึกษาอาชีพ • การแนะแนวและการให้คำปรึกษา • การเทียบโอนผลการเรียน • การวัดผลประเมินผล • กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ

  42.  Page 42 แนวทางในการการนิเทศ การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 3.เตรียมความพร้อมการนิเทศ • ตั้งคณะกรรมการนิเทศ ของ กศน.อำเภอ • งบประมาณเพื่อการนิเทศ • ยานพาหนะในการนิเทศ • สื่อ/เครื่องมือนิเทศ • ประสานแผนนิเทศ กับครู/วิทยากร

  43.  Page 43 แนวทางในการการนิเทศติดตาม การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 4. การปฏิบัติการนิเทศตามแผนที่กำหนด • สร้างความรู้ความเข้าใจในการการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำแก่ครู/วิทยากร (Informing-I) • ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D)นิเทศและควบคุมคุณภาพให้การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดและมีคุณภาพสูง • สร้างเสริมกำลังใจ แก่ครู/วิทยากร(Reinforcing-R)

  44.  Page 44 5. การประเมินผลการนิเทศ ช่วงระยะเวลาในการประเมินผลการนิเทศ • ประเมินก่อนนิเทศ • ประเมินระหว่างการนิเทศ • ประเมินหลังการนิเทศ

  45.  Page 45 กรอบในการประเมินผลการนิเทศ

  46.  Page 46 สวัสดี

More Related