1 / 30

เกณฑ์การประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาล และเอกสารประกอบการประเมิน ปี 2555

เกณฑ์การประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาล และเอกสารประกอบการประเมิน ปี 2555. นายเกียรติศักดิ์ อุ่นศิริ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สสจ.อุดรธานี.

kerry
Télécharger la présentation

เกณฑ์การประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาล และเอกสารประกอบการประเมิน ปี 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกณฑ์การประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล และเอกสารประกอบการประเมิน ปี 2555 นายเกียรติศักดิ์ อุ่นศิริ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สสจ.อุดรธานี

  2. กระบวนการพัฒนาและการขอรับการรับรองผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สมัครเข้าร่วมโครงการที่ สคร. / สสจ. ตามแบบฟอร์ม RAH.05 RAH.05 เล่มเขียว หน้า 25 สคร. / สสจ. ชี้แจงทำความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานและการตรวจประเมินรับรองพร้อมแจกคู่มือโครงการ รพ.ศึกษาคู่มือและทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานและเรื่องเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงให้ชัดเจน

  3. กระบวนการพัฒนาและการขอรับการรับรองผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.กำหนดแผนงานการประเมินความเสี่ยงใน รพ. • ประเมินนโยบาย • ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล (ตามแบบ RAH.01) RAH.01 เล่มเขียว หน้า 27 RAH.02 เล่มเขียว หน้า 40 วิเคราะห์และสรุปผลการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง (ตามแบบ RAH.02) จัดทำแผนดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง(แผนควบคุม / ป้องกันและแก้ไขปัญหา)

  4. กระบวนการพัฒนาและการขอรับการรับรองผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง(แผนควบคุม / ป้องกันและแก้ไขปัญหา) RAH.03 หน้า 17 SRAH.01 หน้า 24 RAH.06 หน้า 54 RAH.04 หน้า 23 ดำเนินตามแผนดำเนินการฯ เพื่อการแก้ไขปรับปรุง ขอสนับสนุนการดำเนินงานจาก สคร / สสจ /รพ.อด. รพ.ดำเนินการตรวจประเมินผลการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานฯ (แบบ RAH.03) ความเสี่ยงครั้งที่ 2 ด้วยตนเอง ดำเนินการแก้ไข / ปรับปรุงตามผลการตรวจประเมินฯ ตามแบบ RAH. 03 ครั้งที่ 1 ให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและทำการตรวจประเมินโดยแบบ RAH.03 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการตรวจยืนยัน พร้อมจัดทำรายงานการตรวจประเมินตนเองตามแบบฟอร์ม SRAH.01 เพื่อขอรับการตรวจประเมินและส่งแบบรายงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล RAH.06

  5. กระบวนการพัฒนาและการขอรับการรับรองผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความหมายเอกสาร (เล่มสีเขียว) : SRAH.01 หน้า 24: แบบรายงานผลการประเมินตนเอง (Self – Risk Assessment in Hospital RAH.01 หน้า 27: แบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานในโรงพยาบาล RAH.02 หน้า 40 : แบบสรุปผลการประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยง RAH.03 หน้า 17: ผลการตรวจประเมินการดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล RAH.04 หน้า 23: แบบสรุปผลการตรวจประเมินการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรใน รพ. RAH.05 หน้า 25 : ใบสมัครเข้าร่วมการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงฯ RAH.06 หน้า 54 : แบบสอบถาม สำหรับจัดทำสถานการณ์โรคและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน รพ.

  6. วิธีการประเมิน Paper จากอกสาร หลักฐานต่างๆ Participation จากการซักถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง Practice จากการเดินสำรวจในพื้นที่ปฏิบัติงานและซักถามบุคลากร

  7. ใช้เกณฑ์การประเมินเดิมตามปี 2551 (เล่มสีแดง) • ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 11 ข้อใหญ่ 34 ข้อย่อย • แบ่งเป็น 5 ระดับ ระดับ 1-5

  8. จำนวนข้อ จำนวนข้อ

  9. ระดับ 1 พื้นฐาน มีนโยบาย ทีมงาน แผนการดำเนินงาน ตรวจสุขภาพทั่วไป ระดับ 2 เริ่มมีการดำเนินงานในกิจกรรมที่สำคัญ RAH01 ระดับ 3 มีการดำเนินงานในกิจกรรมที่สำคัญครบถ้วน และมีการประเมินผลการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงฯ และสรุปผลการดำเนินงานประจำปี ระดับ 4 มีการประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการความเสี่ยงฯ และสรุปผลการดำเนินงานประจำปี ระดับ 5 ดีเลิศ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

  10. 1. การบริหารจัดการ 2. การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 3. การติดตามประเมินผล

  11. สาระเกณฑ์การประเมิน องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ นโยบาย แผน ทีมงาน การนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร มีการสื่อสารแผนให้บุคลากรทราบ องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นและด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ การสอบสวนโรค แก้ไขความเสี่ยง สื่อสารความเสี่ยง ตรวจสุขภาพ (ทั่วไป ตามความเสี่ยงจากการทำงาน) ระบบประเมินสุขภาพ วินิจฉัยโรคจากการทำงาน การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ จัดการและวิเคราะห์ข้อมูล คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินผล นแผนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ผลการตืดตามประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานประจำปี ต่อเนื่อง 3 ปี

  12. องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ (4 ข้อใหญ่ 9ข้อย่อย) 1. มีนโยบายด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 1.1 มีการกำหนดนโยบายด้านนี้ ครบทั้ง 3 ประเด็น นโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น HA, HPH, 5ส. หรืออื่นๆ ส่วนใหญ่จะแยกกัน 1.2 มีการเขียนนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร นโยบายต้นฉบับที่ลงนามโดยผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 1.3 มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบาย ภาพถ่ายการประชาสัมพันธ์นโยบายที่บอร์ดที่สามารถเห็นได้ชัดเจนหรือทำเป็นป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลที่ดำเนินงานมานานแล้วอาจจะผ่านขั้นตอนการติดที่บอร์ดไปแล้ว อาจจะอยู่ในแฟ้มการปฏิบัติงานรายบุคคลของทุกคน

  13. องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ 2. มีคณะกรรมการรับผิดชอบงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2.1 มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่รับผิดชอบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง (HA, HPH, 5ส. ฯลฯ) ที่ระบุบทบาทหน้าที่สำคัญๆ ชัดเจน เช่น การประเมินความเสี่ยงฯ การตรวจสุขภาพประจำปี 2.2 มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง หรือปีละอย่างน้อย 6 ครั้ง รายงานการประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง บันทึกเป็นลายมือหรือพิมพ์ก็ได้ หรือรายงานการประชุมกรรมการบริหารของโรงพยาบาลซึ่งมีวาระเกี่ยวข้อง

  14. องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ 3. มีแผนงาน/โครงการดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจากการทำงานของบุคลากร 3.1 มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีประเมินความเสี่ยงฯ 3.2 มีแผนการควบคุมแก้ไขความเสี่ยงฯ ที่ตรวจพบ เอกสาร/เล่มแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงพยาบาล แผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง (กรรมการ ENV, IC, HPH)ทั้งหมด ทั้งกิจกรรมที่ใช้งบประมาณและไม่ต้องใช้งบประมาณ ระบุกิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ

  15. องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ 3.3 มีการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการ บันทึกข้อความแจ้งเวียนแผนปฏิบัติการประจำปี หากแจ้งในการประชุมเชิงปฏิบัติการควรมีสรุปการประชุม ภาพกิจกรรมการประชุม 4. มีการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงที่ตรวจพบในโรงพยาบาลเสนอแก่ผู้บริหาร บันทึกข้อความเสนอผู้บริหาร หากนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล ควรมีรายงานการประชุม

  16. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง(5 ข้อใหญ่ 20 ข้อย่อย) 5. มีการดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 5.1 มีการตรวจประเมินความเสี่ยงในการทำงานเบื้องต้น (ตามแบบ RAH01 หรือแบบประเมินความเสี่ยงอื่นๆ) ตัวอย่าง RAH01 ที่ดำเนินการแล้วสรุปผลการประเมินตาม RAH01 มีการจัดลำดับความเสี่ยงที่ตรวจพบ หากใช้แบบประเมินอื่นๆ ต้องเป็นแบบที่มีการพิจารณาทุกด้าน (กายภาพ ชีวภาพ เคมี และจิตวิทยาสังคม) และมีการจัดลำดับความเสี่ยง ยกเว้นในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกหรือระบุไว้ในแผนการดำเนินงาน

  17. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 5.2 มีการตรวจยืนยันด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในแผนกที่ตรวจพบจากข้อ 5.1 -ผลการตรวจจากศูนย์วิศวกรรมฯ หรือหน่วยงานอื่นๆ ย้อนหลัง 2 ปี -พิจารณาจากความเสี่ยงที่มีคะแนนสูง (คะแนน 6 หรือ 9) ควรมีการตรวจวัดด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ หรือมีแผนที่จดำเนินการ ยกเว้นพารามิเตอร์ที่ไม่สามารถตรวจวัดได้หรือตรวจวัดยาก -หากไม่มีความเสี่ยงที่มีคะแนนสูง ให้พิจารณาวิธีการให้คะแนนว่าถูกต้องหรือไม่

  18. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 5.3 มีการสอบสวนภายหลังการเกิดโรคหรืออุบัติเหตุจากการทำงาน รายงานการสอบสวนโรค อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือจากรายงาน RM ก็ได้ โดยเมื่อได้รับรายงานแล้วผู้รับผิดชอบต้องไปสอบสวนข้อเท็จจริง ตามหลักระบาดวิทยา สรุป เสนอแนะผู้เกี่ยวข้องเพื่อการป้องกันควบคุมโรคฯ และใช้กับบุคลากรทุกคนในองค์กร 5.4 มีการตรวจเฝ้าระวังยืนยันด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในแผนกที่ตรวจพบจากข้อ 5.1 ผลการตรวจสภาพแวดล้อมการทำงานย้อนหลังอย่างน้อย 2 ครั้ง (2 ปี) หากยังไม่ดำเนินการต้องระบุในแผนการดำเนินงาน

  19. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 5.5 มีการควบคุมแก้ไขความเสี่ยงที่ตรวจพบโดยการควบคุมที่แหล่งกำเนิด/ที่ทางผ่าน/ที่ตัวบุคคล สรุปการแก้ไขความเสี่ยงที่ตรวจพบ ภาพถ่ายก่อนและหลังดำเนินการ จากการเดินสำรวจและสอบถามข้อมูลในพื้นที่ 5.6 มีการสื่อสารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ตรวจพบให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ บันทึกข้อความแจ้งผลการประเมินความเสี่ยง ติดประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ หากแจ้งหัวหน้างานในการประชุมกรรมการบริหารควรมีในรายงานการประชุม และจากการสอบถามบุคลากรในแผนกต่างๆ โดยเฉพาะแผนกที่มีคะแนนความเสี่ยงสูง

  20. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 6. มีการตรวจสุขภาพบุคลากร 6.1 มีการตรวจสุขภาพทั่วไป (การตรวจสุขภาพประจำปีและก่อนเข้าทำงาน) ผลการตรวจสุขภาพ ทั้งรายบุคคล และสรุปผลการตรวจสุขภาพประจำปี และก่อนเข้าทำงาน 6.2 มีระบบการประเมินสุขภาพบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับสภาพ/ลักษณะของงาน (ก่อนเข้าทำงานหรือเมื่อป่วย หรือเมื่อเปลี่ยนงาน) รายละเอียดการเปลี่ยนงานให้บุคลากรเนื่องจากภาวะสุขภาพ กรณีไม่เคยมีควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เบื้องต้น โดยเฉพาะในแผนกที่เสี่ยงสูง

  21. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 6.3 ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานระหว่างประจำการ ผลการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร 6.4 ให้มีระบบการตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน รายงานการสอบสวน การวินิจฉัย การเก็บข้อมูลโรค อุบัติเหตุจากการทำงาน ของบุคลากร ระบบการวินิจฉัย รักษาโรค อุบัติเหตุจากการทำงาน 6.5 มีการแจ้งผลการตรวจสุขภาพแก่บุคลากรเป็นรายบุคคล สมุดบันทึกผลการตรวจสุขภาพรายบุคคล OPD Card แฟ้มบันทึกผลการตรวจสุขภาพรายบุคคล

  22. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 7. การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ 7.1 มีการให้ภูมิคุ้มกันตามความเสี่ยงของงาน บันทึก/สรุปการให้วัคซีนแก่บุคลากร 7.2 มีการดำเนินงานในการป้องกัน ควบคุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน โครงการ/แผนงาน/กิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรค อุบัติเหตุจากการทำงาน รายงานการดำเนินงาน 7.3 มีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยทั่วไป โครงการ/แผนงาน/กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพบุคลากร รายงานการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพบุคลากร

  23. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 7.4 มีการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โครงการ/แผนงาน/กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยแก่บุคลากร รายงานการดำเนินการให้ความรู้ 8. มีการจัดการระบบข้อมูลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 8.1 การจัดเก็บ บันทึกข้อมูลและการวิเคราะห์สถานการณ์สภาวะสุขภาพ - ประวัติสุขภาพรายบุคคลที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปและผลการตรวจสุขภาพ จากข้อ 6.1+ OPD Card

  24. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 8.1 การจัดเก็บ บันทึกข้อมูลและการวิเคราะห์สถานการณ์สภาวะสุขภาพ - บันทึกข้อมูลผลการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมการทำงาน จากข้อ 5.1, 5.2, 5.4 - จำนวนและอัตราการเจ็บป่วย/การบาดเจ็บ การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ บันทึกข้อมูลจำนวน อัตราการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งเจ็บป่วยทั่วไปและจากการทำงาน

  25. องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการประเมินและควบคุมความเสี่ยง 8.2 การจัดทำรายงานวิเคราะห์สถานการณ์สภาวะสุขภาพความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากรเสนอผู้บริหารเพื่อดำเนินการแก้ไข รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์สภาวะสุขภาพ ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน รายงาน RAH 06 9. จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน/แนวทาง/ขั้นตอนการทำงาน เพื่อความปลอดภัยจำแนกตามลักษณะงาน คู่มือปฏิบัติงาน/แนวทาง/ขั้นตอนการทำงานเพื่อความปลอดภัย ตามคู่มือเล่มสีแดงหน้า 44 จากการเดินสำรวจในพื้นที่ปฏิบัติงาน

  26. องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินผล (2 ข้อใหญ่ 5 ข้อย่อย) 10. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ 10.1 มีแผนงาน/โครงการติดตามประเมินผลการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน มีแผนการติดตามประเมินผลการประเมินความเสี่ยงฯ ระบุในข้อ 3.1 หากดำเนินการแล้ว มีสรุปการติดตามประเมินผล 10.2 มีแผนงาน/โครงการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและการป้องกันควบคุมแก้ไขความเสี่ยงฯ มีแผนการติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยงฯ ระบุในข้อ 3.2 หากดำเนินการแล้ว มีสรุปการติดตามประเมินผล

  27. องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินผล 11. การสรุปผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อพัฒนาปรับปรุงแผนงานโครงการอย่างต่อเนื่อง 11.1 มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการประเมินความเสี่ยงฯ ประจำปี 11.2 มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงและการป้องกันควบคุมแก้ไขความเสี่ยงฯ ประจำปี สรุปผลการดำเนินงานประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การตรวจสุขภาพ อื่นๆ ประจำปี

  28. องค์ประกอบที่ 3 การติดตามประเมินผล 11.3 มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการประเมินความเสี่ยงฯ และแผนการป้องกันควบคุมแก้ไขการดำเนินงานครอบคลุมแผนกที่สำคัญตามที่กำหนด และมีการพัฒนาแผนงานโครงการอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี สรุปผลการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงฯ การจัดการความเสี่ยง การตรวจสุขภาพ อื่นๆ ย้อนหลัง 3 ปี

  29. การสนับสนุนของ สคร.6 • พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ทีมงาน • ประชุมแลกเปลี่ยนการประเมินความเสี่ยง 23-24 มีนาคม 53 ณ โรงแรมโฆษะ • สนับสนุนการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม • สนับสนุนการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง • สนับสนุนสื่อ และเอกสารทางวิชาการ • ให้คำแนะนำ ปรึกษา

  30. Thank You !

More Related