1 / 35

การบัญชีต้นทุน (3)

การบัญชีต้นทุน (3). 563255 การบริหารเภสัชกิจเบื้องต้น 2 ผศ.ดนิตา ภาณุจรัส SLIDE TIME 42 MIN. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม. 5. อธิบายต้นทุนในมุมมองประเภทต่างๆ 6 .อธิบายการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของธุรกิจ. แผนผังองค์กร. PRESIDENT. CENTRAL CORPORATE STAFF. MANUFACTURING DIVISION. PRODUCTION

zubeda
Télécharger la présentation

การบัญชีต้นทุน (3)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบัญชีต้นทุน(3) 563255 การบริหารเภสัชกิจเบื้องต้น 2 ผศ.ดนิตา ภาณุจรัส SLIDE TIME 42 MIN.

  2. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม • 5.อธิบายต้นทุนในมุมมองประเภทต่างๆ • 6.อธิบายการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของธุรกิจ

  3. แผนผังองค์กร PRESIDENT CENTRAL CORPORATE STAFF MANUFACTURING DIVISION PRODUCTION DEPARMENT (หรือ OPD/IPD) MAINTENANCE DEPARMENT STOREROOM DEPARMENT ในภาพนี้ องค์กรประกอบด้วย แผนกผลิต (สีฟ้า) และ แผนกบริการ

  4. งานICU งานCCU งานผู้ป่วยใน งานผู้ป่วยนอก ฝ่ายเภสัชกรรม ฝ่ายกายภาพบำบัด ฝ่ายทันตกรรม ฝ่ายชันสูตร(LAB, X-RAY) งานการเงิน งาน ห้องบัตร งาน ซักรีด งาน บริหาร งาน ช่าง งาน รปภ. แผนผังองค์กร-โรงพยาบาล • งาน ICU CCU IPD OPD เปรียบเสมือน PRODUCTION DEPARMENT ใน MANUFACTURING DIVISION และ ส่วนแผนกอื่นเป็น แผนกบริการ (SERVICE DEPARTMENT)

  5. ต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยหรือแผนกที่ก่อให้เกิดต้นทุน ของกิจการ • 1.ต้นทุนทางตรง (DIRECT COST) • เป็นต้นทุนที่เกิดจากหน่วยต้นทุน (COST OBJECT) ที่ทำกิจกรรมหลักของธุรกิจ ในที่นี้คือแผนกผลิตในโรงงานผลิตสินค้า • ตัวอย่างได้แก่ • ค่าแรงงาน • ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ • ค่าวัสดุ • ค่าน้ำค่าไฟ

  6. ต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยหรือแผนกที่ก่อให้เกิดต้นทุน ของกิจการ • 2.ต้นทุนทางอ้อม (INDIRECT COST) • เป็นต้นทุนที่เกิดจากหน่วยต้นทุน (COST OBJECT) ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมหลักของธุรกิจ คือแผนกบริการ • ตัวอย่างได้แก่ • ค่าแรงงาน • ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ • ค่าวัสดุ • ค่าน้ำค่าไฟ

  7. ต้นทุนสินค้า 1 ชิ้น หรือ บริการ 1 ครั้ง • 1.COST TRACINGการจัดสรรต้นทุนทางตรง /1 ชิ้น • 2.COST ALLOCATION เป็นวิธีการจัดสรรต้นทุนทางอ้อมจากแผนกบริการตาม เกณฑ์ที่ใช้จัดสรร (ALLOCATION BASE) คำนึงถึงสัดส่วนที่แผนกผลิตได้ใช้ประโยชน์จากแผนกบริการแต่ละแผนก • เช่น แผนกคลังสินค้าจัดสรรตามจำนวนครั้งการเบิกสินค้าใน 1เดือน แผนกทำความสะอาดจัดสรรตามพื้นที่ในการความสะอาด COST ASSIGNMENT

  8. ALLOCATE ต้นทุนจากแผนกบริการไปแผนกผลิต(งาน คจ. / งานประกอบชิ้นส่วน) ต้นทุนทั้งแผนก(อ้อม)งาน ค.จ.งานประกอบ คลังสินค้า 2,00070 ครั้ง30 ครั้ง บาท70%30% 1400 บ.600บ. แผนกทำความสะอาด พื้นที่ 4,000บาท450 ตรม.150 ตรม. 75%25% 3000 บ.1000บ. ALLOCATION METHOD

  9. การประยุกต์ใช้คำนวณต้นทุนคนไข้นอกโรคหวัดการประยุกต์ใช้คำนวณต้นทุนคนไข้นอกโรคหวัด • DIRECT COST : คือต้นทุนแผนก OPD คนไข้นอกโรคหวัดทั้งหมดใน 1 เดือน • INDIRECT COST : คือต้นทุนของแผนกเภสัชกรรม งานรปภ. งานห้องบัตร งานซักรีด งานบริหาร งานการเงิน งานช่าง ใน 1 เดือน (ดูตามแผนภูมิองค์กรโรงพยาบาล) นำมาจัดสรร ใช้เกณฑ์ที่ใช้จัดสรร (ALLOCATION BASE) คำนึงถึงสัดส่วนที่แผนก OPD ได้ใช้ประโยชน์จากแผนกบริการแต่ละแผนก

  10. ต้นทุนของสังคมโดยรวม(SOCIETAL PERSPECTIVE)

  11. PROVIDER COST ผู้ให้บริการ เช่น โรงพยาบาล • PROVIDER COST ต้นทุนในการรักษาโรค โรคใด โรคหนึ่ง เช่นค่าแรง ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ ค่าวัสดุ ค่าน้ำค่าไฟ ของ OPD/IPD/CCU/ICU รวมทั้งต้นทุนในแผนกบริการได้แก่ ต้นทุนของแผนกเภสัชกรรม และ ROUTINE SERVICE COST (ต้นทุนของหน่วยสนันสนุนอื่นๆ เช่น งานรปภ. งานห้องบัตร งานซักรีด งานบริหาร งานการเงิน งานช่าง) (ดูตามแผนภูมิองค์กรโรงพยาบาล)

  12. BAYER หรือ PATIENT COST • ต้นทุนที่ผู้ซื้อหรือคนไข้ จ่ายค่าสินค้า ค่ารักษาพยาบาลแบบ OUT-OF-POCKET COST ของคนไข้ ที่จ่ายเพิ่มในบางรายการ, ค่าจ้าง CAREGIVER, FEE-FOR-SERVICE COST ของโรงพยาบาลเอกชน, ค่าเสียโอกาสของคนไข้, INTANGIBLE COST เช่น ค่าความทุกข์ทรมาน ซึ่งในทางบัญชีไม่คิดมูลค่า

  13. ค่ารักษาที่รัฐบาล จ่ายหรือ บางครั้งมีบริษัทประกันจ่ายร่วม หรือ การเสียโอกาสใช้เงินนี้ทำโครงการอื่นเพื่อสังคม PAYERCOST

  14. ต้นทุนในส่วนอื่น ที่ไม่ใช่ 3 ข้อด้านบน คือไม่ใช่ผู้ผลิต ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการ และไม่ใช่รัฐบาล • เช่น ผลกระทบที่มีต่อครอบครัว ผลกระทบที่มีต่อคนอื่น ต่อสังคม เช่น ค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่เพิ่มขึ้นจากการป่วย การทำให้คนอื่นเสียโอกาสในการรับบริการ การถูกเก็บภาษีทั้งที่ไม่ใช่ผู้ใช้บริการ หรือการที่บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล SOCIETAL COST

  15. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

  16. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ต้นทุน-ปริมาณ-กำไรวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร ช่วยตัดสินใจวางแผนในด้าน • ผลกระทบที่จะมีต่อต้นทุนสินค้า • ปริมาณสินค้าที่จะผลิตและจำหน่าย • กำไรที่ต้องการ

  17. ต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุนต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน • 1.ต้นทุนผันแปร(VARIABLE COSTS)คือต้นทุนรวมเปลี่ยนตามปริมาณการผลิต • เช่น ผลิตเสื้อ 1 ตัว จะต้องใช้ผ้ารวม 2 หลา เป็นค่าผ้าทั้งสิ้น 100 บาท • ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางตรงจ่ายตามชั่วโมงหรือจ่ายตามชิ้นงาน ค่านายหน้าขาย

  18. ต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุนต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน • 2.ต้นทุนคงที่ (FIXED COSTS) คือต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนตามระดับการผลิต ในช่วงการผลิตระดับหนึ่ง แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงในทางลดลงถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น • เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์(ซึ่งคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง) ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายการค้นคว้าวิจัย ค่าดอกเบี้ยจ่าย ค่าเบี้ยประกันภัย

  19. ต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุนต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน • 3.ต้นทุนผสม (MIXED COSTS) มีลักษณะของต้นทุนคงที่และผันแปรรวมอยู่ด้วยกัน • ค่าไฟฟ้าโรงงาน ในการเตรียมให้เครื่องจักร หรือ โรงงานพร้อมผลิต ถือเป็นต้นทุนคงที่ และผลิตจะเกิดค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งผันแปรตามปริมาณผลิต • ถ้าไม่สามารถแยกส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ และส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปรออกจากกัน ก็มักจะถูกจัดให้เป็นต้นทุนผันแปร

  20. บาท รายได้รวม ต้นทุนรวม 5,000 จำนวนหน่วยสินค้า 200 ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์ • 1.ต้นทุนทั้งหมดจะต้องสามารถจำแนกได้เป็นต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เท่านั้นค่าไฟฟ้า=10,000 บาท +10 สตางค์ต่อ ชม. • 2.รายได้ และต้นทุนทั้งหมด เป็นเส้นตรง ไม่ว่าจะผลิตมากเท่าไร

  21. ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์ • 3.ปริมาณเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลกระทบต่อต้นทุน • 4.ในกรณีที่เป็นการขายสินค้าหลายชนิด ส่วนผสมของการขายจะคงที่ในทุกๆ ระดับของการขายเช่น กิจการเมื่อขายสินค้า ก 10 หน่วย จะขายสินค้า ข ได้ 5 หน่วยเสมอ เป็นต้น

  22. ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์ • 5.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวด คือสมมติว่าปริมาณการขายเท่ากับปริมาณการผลิตพอดี • 6.ช่วงระยะเวลาของการวิเคราะห์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านของมูลค่าของเงิน เช่นไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง หรือไม่มีการปรับค่าเงิน

  23. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภาพการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภาพ • ตัวอย่างบริษัทแอนสปาจำกัด ราคาขายน้ำมันนวดขวดละ 200 บาทต้นทุนผันแปรขวดละ 100 บาท ต้นทุนคงที่รวมทั้งสิ้น 10,000 บาท

  24. บาท รายได้รวม ต้นทุนรวม ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ 10,000 จำนวนหน่วยสินค้า 100 COST-VOLUME-PROFIT GRAPH • วิเคราะห์ด้วยแผนภาพ พบจุดคุ้มทุนของกิจการมียอดขายอยู่ที่ 100 หน่วย หรือ 20,000 บาท

  25. กำไรส่วนเกินรวม (TCM) • วิเคราะห์ส่วนเกินระหว่าง รายได้รวม กับ ต้นทุนผันแปรรวม ซึ่ง ณจุดคุ้มทุน ที่จะไปชดเชยเท่ากับต้นทุนคงที่ • ใช้วิเคราะห์จุดคุ้มทุน ประมาณรายได้ และวางแผนกำไร

  26. อักษรย่อในการคำนวณ • TCM = กำไรส่วนเกินรวม • R = รายได้รวม • p = ราคาขายต่อหน่วย • a = ต้นทุนคงที่รวม • b = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย • X = จำนวนหน่วยของสินค้าที่มีการผลิต&ขาย

  27. กำไรส่วนเกินรวม=รายได้รวม -ต้นทุนผันแปรรวม TCM= pX – bX TCM = (p-b)X TCM/ (p-b)= X กำไรส่วนเกินรวม (TCM)

  28. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน X = TCM / (p-b) ณ จุดคุ้มทุน, X = a / (p-b) ปริมาณขาย=ต้นทุนคงที่ . ราคาต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

  29. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • ณ จุดที่มีกำไร Y, X= (a+Y) / (p-b) ปริมาณขาย=ต้นทุนคงที่ + กำไร . ราคาต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย อัตรากำไรจากการดำเนินงาน = (กำไร X 100) / รายได้รวม

  30. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • ตัวอย่างบริษัทแอนสปาจำกัด • ราคาขายน้ำมันนวดขวดละ 200 บาท • ต้นทุนผลิตคงที่ 7,500 บาท • ค่าใช้จ่ายในการขาย&บริหารคงที่ทั้งหมด 2,500 บาท

  31. การคำนวณหาต้นทุนผันแปรต่อหน่วยการคำนวณหาต้นทุนผันแปรต่อหน่วย • 1.วัตถุดิบทางตรง 15 • 2.ค่าแรงงานทางตรง 40 • 3.ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร 20 • 4.ค่าใช้จ่ายการขาย&บริหารผันแปร 25 • รวมต้นทุนผันแปรต่อหน่วย100บาท

  32. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • ณ จุดคุ้มทุน, X = a / (p-b) • ปริมาณขาย =10,000 . 200-100 = 100 หน่วย

  33. กิจการไม่ทราบราคาขาย เช่น ขายสินค้าหลายชนิดรวม ๆ กัน และไม่ทราบต้นทุนผันแปรต่อหน่วย • ทราบรายได้ปัจจุบัน ทราบต้นทุนคงที่รวม และทราบต้นทุนผันแปรรวมจะหาจุดคุ้มทุนที่เป็นจำนวนเงินได้ โดยใช้สูตร • รายได้ ณ จุดคุ้มทุน =.ต้นทุนคงที่ .(รายได้ - ต้นทุนผันแปรรวม)/รายได้ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน(รายได้)

  34. รายได้ ณ จุดคุ้มทุน • รายได้ ณ จุดคุ้มทุน =.ต้นทุนคงที่ . (รายได้ - ต้นทุนผันแปรรวม)/รายได้ = . 10,000 . (30,000 - 15,000) / 30,000 = 20,000 บาท • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน = (กำไร X 100) / รายได้รวม = (30,000-25,000) X 100/30,000 = 16.7 %

  35. เชิญซักถาม

More Related