1 / 36

ยาเสพติด

ยาเสพติด. ประวัติความเป็นมาของ ยาเสพติด. ไทย / ต่างประเทศและใน ประเทศ ไทย

astrid
Télécharger la présentation

ยาเสพติด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยาเสพติด

  2. ประวัติความเป็นมาของยาเสพติดประวัติความเป็นมาของยาเสพติด ไทย / ต่างประเทศและในประเทศไทย ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้   มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ  บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ  ฝิ่น ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก  เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปี

  3. ล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้   ได้บัญญัติการห้ามซื้อ  ขาย  เสพฝิ่นไว้ว่า  "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง  ทเวนบกสามวัน  ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว  จึงให้ปล่อยผู้สูบ  ขาย  กินฝิ่น  ออกจากโทษ"   แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด   กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น   ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน   ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น  และ  ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย   เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา 

  4. ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย  ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล   ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก   โดย "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น   กินฝิ่น   ซื้อฝิ่นขายฝิ่น  และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน 3 ยก  ทเวนบก 3 วัน  ทเวนเรือ 3 วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที" 

  5. ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น  และ ในช่วงเวลานั้น   ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น   จึงเป็นการนำการใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย  ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382  ทำให้การค้าฝิ่น และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ  และหัวเมืองชายทะเล  สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม 

  6. ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้องเสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท  สูงเป็นอันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่ 

  7. ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการสังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็นการสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37  ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร  และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502 โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้ 

  8. 1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501  2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น  3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502  4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น  5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น   

  9. นอกจากนี้ยังได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยฝิ่น   เพิ่มโทษผู้ละเมิดให้สูงขึ้น  ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นมา   จากประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้างต้น  เป็นอันว่านับแต่รุ่งอรุณ  ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2502 การเสพ  และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากรัฐบาลจะได้จัดให้ผู้ติดฝิ่นเข้ารับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูแล้ว ปรากฏว่าการปราบปรามก็ได้กระทำเด็ดขาดยิ่งขึ้น   มีการประหารชีวิตผู้ผลิต และ ค้ายาเสพติด   แต่ปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง เพียงแต่การซื้อขายมีการดำเนินการซ่อนเร้น  และ  มีวิธีการที่ลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น  

  10. สารเคมี วัตถุ ยาเสพติดให้โทษ ผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ

  11. เฮโรอีน, แอมเฟตามีน, เมทแอมเฟตามีน ฝิ่น, มอร์ฟีน, ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษร้ายแรง ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป

  12. ยาแก้ไอผสมโคเดอีน Acetic anhydride ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ผสมอยู่ ประเภท 4สารเคมีที่ใช้ผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท1หรือ2

  13. กัญชา, กระท่อม ประเภทของยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5ยาเสพติดให้โทษอื่นๆ

  14. ประเภทของยาเสพย์ติดแบ่งตามการออกฤทธิ์ประเภทของยาเสพย์ติดแบ่งตามการออกฤทธิ์ กดประสาท กระตุ้นประสาท ผสมผสาน หลอนประสาท

  15. กดประสาท

  16. ฝิ่น (Opium)

  17. เฮโรอีน (Heroin)

  18. สารระเหย (Inhalant)

  19. กระตุ้นประสาท

  20. ยาบ้า (Methamphetamine)

  21. โคเคน (Cocaine)

  22. ยาอี (Ecstasy)

  23. หลอนประสาท เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี : แสตมป์

  24. ผสมผสาน

  25. กัญชา (Cannabis Marihuana Ganja)

  26. การป้องกัน ยาเสพย์ติด

  27. ป้องกันตัวเอง

  28. ศึกษาหาความรู้ ควบคู่กับการคบเพื่อนที่ดี มีชีวิตที่สดใส รู้จักแก้ปัญหาชีวิต ไม่ผิดบทบาทของตน เป็นคนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อมีปัญหาต้องปรึกษาผู้ใหญ่

  29. ป้องกันครอบครัว

  30. สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง สมาชิกในครอบครัว รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในการเป็น สมาชิกของครอบครัว

  31. ป้องกันชุมชน

  32. ทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน ในสังคมไทยการปฏิเสธดูเป็นเรื่องด้านลบ ส่วนในด้านวัฒนธรรมก็จะดูขัดกับความเป็นผู้มีอัธยาสัยที่ดี แต่การปฏิเสธถือเป็นวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่งในการผัดผ่อนต่อรองคำชักชวนของเพื่อนที่ชักจูงไปใช้ยาเสพติด หากวัยรุ่นสามารถปฏิเสธคำชักชวนของเพื่อนได้อย่างนิ่มนวลและไม่เสียสัมพันธภาพ วัยรุ่นก็จะรอดพ้นจากการ ตกเป็นทาสยาเสพติดได้ ซึ่งจากการทบทวนเอกสารในเรื่อง ทักษะการปฏิเสธ ของสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด รวมทั้งใบความรู้ เรื่อง หลักการปฏิเสธและการเตือนเพื่อน ของ ทัศนีย์ ไชยเจริญ และจากข้อมูลสายด่วน 1165 ของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี สามารถสรุปได้ว่า ทักษะ การปฏิเสธหรือการปฏิเสธที่ดีนั้น มีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

  33. 1. การใช้ความรู้สึกเป็นข้ออ้างประกอบเหตุผล เพราะการใช้เหตุผลอย่างเดียวมักถูกโต้แย้งด้วยเหตุผลอื่น การอ้างความรู้สึกจะทำให้โต้แย้งยากขึ้น เช่น “ฉันไม่สบายใจเลย พ่อแม่จะเป็นห่วง ถ้ากลับบ้านช้า” เป็นต้น 2. การขอปฏิเสธ เป็นการบอกปฏิเสธให้ชัดเจนเป็นคำพูด เช่น “ขอไม่ไปนะเพื่อน” 3. การขอความเห็นชอบ กล่าวขอบคุณพร้อมแสดงความห่วงใยเมื่อผู้ชวนยอมรับเพื่อรักษาน้ำใจผู้ชวน เช่น “เธอคงไม่ว่าอะไรใช่ไหม” เป็นต้นและหากการปฏิเสธในครั้งแรกไม่สำเร็จ อาจถูกสบประมาทจาก ผู้ชวน เมื่อผู้ชวนเซ้าซี้ ควรปฏิเสธซ้ำด้วยท่าทีมั่นคง และมีทางออก 3 วิธี คือ การปฏิเสธซ้ำ การต่อรองโดยการชวนไปทำกิจกรรมอื่นที่ดีกว่าแทน หรือการผัดผ่อน โดยการขอยืดระยะเวลาออกไปเพื่อให้ผู้ชวนเปลี่ยนความตั้งใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างทักษะปฏิเสธในเยาวชน

  34. การที่เยาวชนจะสามารถมีทักษะในการปฏิเสธตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทัศนคติส่วนบุคคล ,ความตระหนักรู้ในตนเอง(self awareness),ความเห็นใจผู้อื่น(emphathy), ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง(self-esteem) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม(social responsibility)ในรายงานผลการศึกษาเรื่องการสื่อสาร ความรู้ ทัศนคติและทักษะการปฏิเสธสิ่งเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร(จิตราธนสารเสณี,2541)พบว่า ผู้ที่มีทัศนคติต่อการป้องกันยาเสพติดทางบวก จะมีทักษะการปฏิเสธสิ่งเสพติดมากกว่าผู้ที่มีทัศนคติต่อการป้องกันสิ่งเสพติดในทางลบ ดังนั้นควรเสริมสร้างให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีในการป้องกันยาเสพติด ด้วยการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ตามองค์ประกอบของทักษะของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2543) ได้กล่าวว่าบุคคลจะมีทักษะต่างๆ ได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  35. 1. ความตระหนักรู้ในตน (self awareness) คือความสามารถและเข้าใจในจุดดีจุดด้อยของตนเอง 2. ความเห็นใจผู้อื่น (empathy) คือ ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและเห็นอกเห็นใจบุคคลที่แตกต่างกับเรา 3. ความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) คือ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่นความมีน้ำใจ รู้จักให้รู้จักรับ ค้นพบและภูมิใจในความสามารถด้านต่าง ๆของตน 4. ความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) คือ ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีส่วนรับผิดชอบในความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะหากมีความภูมิใจในตนเอง คนเหล่านี้ก็มีแรงจูงใจที่จะทำดีกับผู้อื่นและสังคม ซึ่งจากองค์ประกอทั้งหมดสอดคล้องกับผลการศึกษาความสามารถ การใช้ทักษะ

  36. จัดทำโดย นางสาวกรรณิกา สุขชา เลขที่ 14 นางสาวปิยะนันท์ อนุโต เลขที่ 15 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 เสนอ อาจารย์สมศักดิ์ บัวชุม โรงเรียนบางขันวิทยา

More Related