1 / 24

การจูงใจ ( Motivation )

2. /. การจูงใจ ( Motivation ). ยุทธนา พรหมณี. แรงจูงใจ ( Motive). หมายถึง พลังในตัวบุคคลที่ทำให้แสดงพฤติกรรมในลักษณะที่มีเป้าหมาย. แรงจูงใจนั้น จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ (1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้ เกิดการกระทำ

Télécharger la présentation

การจูงใจ ( Motivation )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 2 / การจูงใจ(Motivation) ยุทธนา พรหมณี

  2. แรงจูงใจ (Motive) • หมายถึง พลังในตัวบุคคลที่ทำให้แสดงพฤติกรรมในลักษณะที่มีเป้าหมาย • แรงจูงใจนั้น จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ (1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้ เกิดการกระทำ (2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายเพื่อ ที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง

  3. การจูงใจ (Motivation) • กระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง

  4. ความสำคัญของการจูงใจ • พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ต่อการทำงาน • ความพยายาม (Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน • การเปลี่ยนแปลง (Variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงาน • บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า

  5. การจูงใจภายใน ความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ การจูงใจภายนอก การให้รางวัล การลงโทษ การแข่งขัน ประเภทของการจูงใจ

  6. ที่มาของแรงจูงใจ • ความต้องการ (Need) • แรงขับ (Drives) • สิ่งล่อใจ (Incentives) • การตื่นตัว (Arousal) • การคาดหวัง (Expectancy) • การตั้งเป้าหมาย (Goal setting)

  7. รูปแบบของแรงจูงใจ • แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) • แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motive) • แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) • แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive) • แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive)

  8. ผู้นำกับการจูงใจในองค์การ • การจูงใจด้วยรางวัลตอบแทน • การจูงใจด้วยงาน • การจูงใจด้วยวัฒนธรรมขององค์การ

  9. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวกระตุ้นที่อันตรายหลีกเลี่ยงการใช้ตัวกระตุ้นที่อันตราย • อย่าดูถูกผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอันขาด • อย่านินทาผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าผู้อื่น • อย่าแสดงความเสน่หาหรือลำเอียง • อย่าให้รางวัลแก่ความดีเล็กๆน้อยๆ

  10. ทฤษฎีการจูงใจ • ทฤษฎีความต้องการของ Maslow • ทฤษฎี ERG ของ Alderfer • ทฤษฎีความต้องการ ของ McClelland • ทฤษฎีสองปัจจัย ของ Herzberg • ทฤษฏี X และทฤษฏี Y ของ McGregor

  11. สมมติฐาน : 4 ประการ เฉพาะความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่สามารถกระตุ้นการทำงานได้ ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่สามารถจูงใจได้ ความต้องการของคนเรียงลำดับตามความสำคัญ คนเราจะต้องได้รับตอบสนองในลำดับล่างก่อน จึงจะมีความต้องการในขั้นสูงต่อไป ถ้าความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วหมดไปความต้องการนั้นจะกลับมาอีกครั้ง ทฤษฎีความต้องการของ Maslow

  12. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow 5 อุดมการณ์ พรรคนิยม ใฝ่รัก ปลอดภัย ชีพรอด ความต้องการความสำเร็จสูงสุด 4 ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง 3 ความต้องการมีส่วนร่วมทางสังคม 2 ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง 1 ความต้องการทางกายภาพ, ชีวภาพ

  13. 1. ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ, ชีวภาพ(Physiological Needs) • เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อการอยู่รอด เช่น • ปัจจัยสี่ (อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค) • การขับถ่าย, การพักผ่อน • เรื่องเพศ เป็นต้น • เงินเป็นตัวกลางในการได้มาซึ่งสิ่งจำเป็นต่างๆ

  14. 2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง(Security Needs) • มนุษย์ต้องการอยู่ห่างจากอันตรายทั้งปวง เช่น อุบัติเหตุ, โรคภัยไข้เจ็บ, โจรขโมย เป็นต้น • ความมั่นคงในอาชีพ • มีการสนใจในหลักประกันมากขึ้น ดูจาก... • ประกันภัยในรูปแบบต่างๆ (ด้านสุขภาพ, อุบัติเหตุ และ ชีวิต) • เงินสะสม หรือ บำเหน็จบำนาญ เมื่อเกษียณอายุ

  15. 3. ความต้องการมีส่วนร่วมทางสังคม(Social Needs) • ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นที่ยอมรับ รวมถึงความต้องการในความรักใคร่ด้วย เช่น จากบิดามารดา สามีหรือภรรยา เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

  16. 4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs) • ความต้องการของบุคคลที่จะมีคุณค่าในสายตาคนอื่น เช่น การได้รับชื่อเสียง, การได้รับอำนาจ,ได้รับความสนใจ, ถูกให้ความสำคัญ, การรู้สึกว่ามีคุณค่าสำหรับโลกนี้

  17. 5. ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด(Self-Actualization) • ความต้องการความเจริญเติบโต และความต้องการใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ หรือ แนวโน้มที่บุคคลมีความปรารถนาที่จะเป็นอย่างที่ตนเป็นมากขึ้น สูงขึ้น โดยเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาสามารถจะเป็นได้ • *ความแตกต่างของบุคคลมีมากที่สุดที่ระดับนี้

  18. ทฤษฎี ERG ของ Alderfer • ได้ปรับปรุงทฤษฎีความต้องการของ Maslow โดยมองว่า • มีความต้องการที่เกิดขึ้นได้มากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกัน • ถึงแม้ว่าความต้องการในขั้นที่สูงกว่าเกิดขึ้นแล้วแต่ในขั้นที่ต่ำกว่าก็ยังต้องการอยู่ • แบ่งความต้องการใหม่ จาก 5 เหลือ 3 ข้อ

  19. ทฤษฎี ERG ของ Alderfer • ความต้องการดำรงอยู่ (Existence Needs) ต้องการมีชีวิตอยู่รอด รวมถึง ความเป็นอยู่ที่ดี • ความต้องการความสัมพันธ์ (Relation Needs) เป็นความต้องการที่เน้นความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ทางสังคม • ความต้องการการเจริญเติบโต (Growth Needs) เป็นความต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง

  20. ทฤษฎีสองปัจจัย ของ Herzberg แบ่งปัจจัยในการทำงานออกเป็น • ปัจจัยบำรุงรักษา (Hygiene Factors) • ปัจจัยที่สามารถขจัดความไม่พอใจของพนักงานได้แต่ไม่สามารถจูงใจพนักงานได้ เช่น นโยบายและการบริหาร การบังคับบัญชา สภาพการทำงาน ค่าตอบแทนเป็นต้น • ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factors) • คือ ปัจจัยที่สามารถจูงใจให้พนักงานทำงานได้ เช่น ความสำเร็จในงานที่ทำ การยอมรับ ความท้าทายของงาน การเพิ่มงาน ฯลฯ

  21. ทฤษฎีความต้องการ ของ McClelland • ความต้องการของมนุษย์จะเกิดจากแรงขับภายใน และแบ่งความต้องการเป็น 3 กลุ่มคือ • ความต้องการความสำเร็จในการทำงาน (The need for Achievement: nAch) ต้องการผลลัพธ์ที่ดีที่สุด • ความต้องการอำนาจ (The need for Power: nPow) อยากควบคุมผู้อื่น • ความต้องการความสัมพันธ์ (The need for Affiliation: nAff) เน้นความสัมพันธ์อันดี

  22. ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า ปัจจัยจูงใจ ความสำเร็จ ยกย่อง อำนาจ สังคม ความสัมพันธ์ ปัจจัยอนามัย ความผูกพัน ปลอดภัย ความคงอยู่ ร่างกาย McClelland Maslow ERG Herzberg

  23. ทฤษฎี Xคือ การมองพนักงานในเชิงลบ เช่น คนเกียจคร้านไม่ชอบทำงาน มีความทะเยอทะยานต่ำ จะต้องบังคับเพื่อให้ทำงาน ทฤษฎี Yคือการมองพนักงานในแง่ดี เช่น มีความรับผิดชอบ คิดอย่างสร้างสรรค์ ควบคุมตนเองได้ ใช้แรงจูงใจในการกระตุ้นการทำงาน ทฤษฏี X และทฤษฏี Y ของ McGregor

  24. สวัสดีครับ

More Related