1 / 17

จรรยาบรรณกับงานตรวจสอบ (Ethics in Auditing)

จรรยาบรรณกับงานตรวจสอบ (Ethics in Auditing). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ วันพุธที่ 6 มกราคม 25 5 3 9:00-10:00 น. ณ ห้อง 123 อาคาร 108 ปี. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมต่อธุรกิจ

jaden
Télécharger la présentation

จรรยาบรรณกับงานตรวจสอบ (Ethics in Auditing)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จรรยาบรรณกับงานตรวจสอบ(Ethics in Auditing) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ วันพุธที่ 6 มกราคม 2553 9:00-10:00 น. ณ ห้อง 123 อาคาร 108 ปี

  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมต่อธุรกิจ • จริยศาสตร์ ในฐานะสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา • ความรับผิดชอบเชิงศีลธรรมและความซื่อสัตย์ • ทำความรู้จักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตรวจสอบ • ตัวอย่างปัญหาและกรณีศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรม.

  3. แนะนำวิทยากร ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์ CIA CISA CBA CCSA CFSA CISSPCFE หัวหน้าตรวจสอบภายใน บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (2528) • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์ฯ (2533) • IIA’s EIAP รุ่นที่ 7 จุฬาฯ (2546) • ประสบการณ์ด้านวิศวกรรม 5 ปี • ประสบการณ์ด้านการเงินในทิสโก้ 19 ปี • ประธาน ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน • วิทยากรและคณะทำงาน สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

  4. ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจริยธรรมประเด็นข่าวเกี่ยวกับจริยธรรม • ทนายความในคดีของนักการเมืองคดีหนึ่ง นำถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านบาท ยื่นให้เจ้าหน้าที่ศาลพร้อมบอกให้เอาไปแบ่งกัน • ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขในงบการเงินของบริษัทซึ่งแสดงผลกำไร ทำให้ได้กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลังจากนั้นพบงบการเงินไตรมาสถัดมา กลับแสดงผลขาดทุน จากค่าใช้จ่ายที่ควรบันทึกตั้งแต่งวดก่อนหน้า • ทนายความบริษัทที่ปรึกษากฎหมายในการครอบงำกิจการ ใช้ข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ลอบดักซื้อหุ้นผ่านบัญชีของญาติของเลขาตน ก่อนทยอยขายทำกำไรภายหลัง • พนักงานและผู้บริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซื้อขายหุ้นส่วนตัวตัดหน้าและสวนทางการลงทุนของกองทุนในลักษณะเข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน.

  5. ความสำคัญของจริยธรรม • สร้างบรรทัดฐานของพฤติกรรม • ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ • ดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืน • ความแตกต่างระหว่าง ข้อตกลง (Convention) กับ จริยธรรม (Ethical Behavior).

  6. ปัญหาจริยธรรมเริ่มทวีความรุนแรงปัญหาจริยธรรมเริ่มทวีความรุนแรง • ความรุนแรงของผลกระทบจากการกระทำผิด • จำนวนผู้ที่โน้มเอียงที่จะกระทำผิดจริยธรรม • โลกาภิวัฒน์ได้เชื่อมโยงกลุ่มเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน.

  7. การศึกษาด้านจริยศาสตร์การศึกษาด้านจริยศาสตร์ จริยศาสตร์ (Ethics) ในฐานะสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา • Descriptive Ethics • Normative Ethics • Deontological Ethics • Teleological Ethics • Metaethics.

  8. ความสำคัญของงานตรวจสอบความสำคัญของงานตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ มอบหมาย องค์กร ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน สื่อสาร ผู้สอบบัญชี หน่วยงานกำกับดูแลของทางการ ผู้มีส่วนได้เสียอื่น มอบหมาย สาธารณชน

  9. จรรยาบรรณวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ (Professional Ethics) • จัดเป็น Teleological NormativeApproach • วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบและงานตรวจสอบ และความเชื่อถือในวิชาชีพตรวจสอบ • กำหนด ประมวลจรรยาบรรณ (Code of Ethics) เพื่อสื่อสารและกำกับผู้ประกอบวิชาชีพ.

  10. จรรยาบรรณวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพโดยทั่วไปประกอบด้วย • ความสามารถในหน้าที่ ความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม • หลีกเลี่ยงความขัดแย้งผลประโยชน์ • ยึดมั่นในมาตรฐานแห่งวิชาชีพ • ห้ามการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสม • รักษาข้อมูลที่ได้เป็นความลับ • ห้ามการกระทำที่อาจเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ • รักษาภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ ความซื่อสัตย์ และความน่าเชื่อถือแห่งองค์กรที่ตนสังกัด.

  11. ตัวอย่างปัญหาจริยธรรมตัวอย่างปัญหาจริยธรรม เป็นปัญหาสถานการณ์ที่ผู้ตรวจสอบต้องเลือก เช่น • ระหว่าง ความถูกต้อง กับ เงิน • ระหว่าง ความถูกต้อง กับ งาน • ระหว่าง สิ่งที่ดูเหมือนถูกต้อง กับ กฎหมาย • ระหว่าง สิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ กับ สิ่งที่ถูกใจ • ระหว่าง สิ่งที่ถูกต้อง กับ สิ่งที่ถูกต้องอีกอย่างหนึ่ง • ระหว่าง สิ่งที่ถูกต้อง กับ สิ่งที่ดูเหมือนถูกต้อง.

  12. กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรมกรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม ผู้ตรวจสอบใหม่คนหนึ่งของบริษัทซึ่งมีโรงงานหลายแห่งในภูมิภาค ได้พบสิ่งที่เขาแน่ใจว่าเป็นการทุจริต เขาแจ้งข้อสงสัยของเขาต่อหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งได้พาเขาเข้าพบรองประธานด้านการเงิน รองประธานชมเชยความฉลาดและขยันขันแข็งของเขา และรับเรื่องไว้พิจารณา แต่ในวันต่อมา เขากลับได้รับแจ้งให้วางมือจากเรื่องนี้ โดยคณะผู้บริหารจะดำเนินการสืบสวนต่อเอง ผู้ตรวจสอบกลับมาทำงานต่อ แต่ก็ดูเหมือนว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการอะไร จนกระทั่งใกล้จบภารกิจตรวจสอบ เขาจึงลองตรวจดูและก็พบว่าปัญหานั้นยังคงดำเนินอยู่โดยไม่มีการสืบสวนใดๆ ! ด้วยความสงสัย เขาได้ตรวจลึกลงไปและพบข้อมูลการทุจริตโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และรองประธานหลายคน ! เขารายงานข้อมูลใหม่นี้แก่หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน แต่กลับถูกยื่นคำขาดว่าฝ่ายตรวจสอบถูกสั่งห้ามไม่ให้ดำเนินการใดๆ เรื่องนี้อีก และทุกอย่างต้องเป็นไปตามนั้น ผู้ตรวจสอบมั่นใจว่าคณะผู้บริหารของบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดร้ายแรงครั้งนี้ ซึ่งหากเผยแพร่ออกไป บริษัทจะต้องตกเป็นข่าวอื้อฉาว และผู้ถือหุ้นคงมีมติปลด หรืออาจถึงกับฟ้องร้องดำเนินคดีต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างแน่นอน จากข้อมูลที่มีอยู่ เขารู้สึกว่าการดำเนินคดีเอาผิดกับผู้บริหารมีความเป็นไปได้ แต่เขาก็รู้ว่าต่อให้ผู้บริหารกระทำผิดจริง ก็มีวิธีการมากมายที่จะทำให้กระบวนการพิจารณาคดีพลิกไปในทางที่เป็นประโยชน์กับจำเลย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่ออนาคตการงานของเขาเลย ยิ่งไปกว่านั้น หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในเพิ่งบอกกับเขาว่าฝ่ายตรวจสอบจะไม่ดำเนินการใดๆ ต่อไปทั้งสิ้นสำหรับเรื่องนี้ เขาได้รับคำชมเชยในผลงานที่ทำ ขณะเดียวกัน ก็ได้รับมอบหมายงานตรวจสอบชิ้นใหม่ ซึ่งจะส่งเขาไปทำงานในพื้นที่อื่นหลายเดือน

  13. แนะนำองค์กรวิชาชีพ • สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย • ก่อตั้งปี 2531 • เป็นองค์กรวิชาชีพที่ไม่แสวงหากำไร • ร่วมเป็น Affiliate กับ Institute of Internal Auditors (IIA) ในปี 2541 วัตถุประสงค์ • เป็นแหล่งกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการ ความคิดเห็น และข่าวสารแก่สมาชิก และเผยแพร่วิชาชีพให้เป็นที่รู้จัก • เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์สมาชิก และพัฒนายกระดับมาตรฐานวิชาชีพตรวจสอบภายในให้ทัดเทียมสากล

  14. แนะนำองค์กรวิชาชีพ • The Institute of Internal Auditors (IIA) • Established in 1941 • Headquarters in Altamonte Springs, Fla., USA. • Global professional association for Internal Auditors • More than 168,000 members / 250 affiliates* • International Standards for the Professional Practice of Internal Auditing - The Standard • Offer professional development opportunities • CIA CCSA CFSA CGAPCertification program • Contacthttp://www.theiia.org (* Information as of Oct 2008)

  15. แนะนำองค์กรวิชาชีพ • Information Systems Audit and Control Assoc. (ISACA) • Start 1969 • Global organization forinformation governance, control, security and audit professionals • Over65,000members • 175Chapters in70countries worldwide • AdministrateCISACISMand CGEITcertifications • EstablishedIT Governance Institute (ITGI)in 1998 • More information about ISACA and ITGIhttp://www.isaca.orghttp://www.itgi.org/

  16. แนะนำองค์กรวิชาชีพ • The Association of Certified Fraud Examiners • Start 1988 • Provide anti-fraud training and education • Over45,000 membersin 125 countries • Administratethe Certified Fraud Examiner (CFE)designation- a certification program for fraud practitioners recognized by U.S. Department of Defense and FBI • More than20,000 CFE’sworldwide (3 Thais) • $55 Membership Fee • More information about ACFE http://www.acfe.com

  17. Q&A PAIRAT SRIVILAIRIT FSVP Head of Internal Audit TISCO Financial Group Public Company Limited Mobile : +66819031457 Office : +6626337821 Email : pairat@tisco.co.th

More Related