1 / 24

การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด

การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด. ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล การปฏิบัติราชการ”. โดย สำนักงาน ก.พ.ร. วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2551.

Télécharger la présentation

การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผล การปฏิบัติราชการ” โดย สำนักงาน ก.พ.ร. วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2551

  2. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด หัวข้อ แนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Governance)  การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและ ร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ

  3. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด แนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Governance) 1

  4. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Governance) หมายถึง แนวทางการบริหารราชการยุคใหม่ที่จัดระบบการบริหารราชการขั้นตอน/วิธีการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน และโครงสร้างการบริหารราชการที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)เปิดเผย โปร่งใส และประชาชนเป็นศูนย์กลาง

  5. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โครงสร้างองค์การ วิธีการปฎิบัติงาน วัฒนธรรมการทำงาน ออกกฎระเบียบ/นโยบาย สร้างบุคลากรด้านการมีส่วนร่วม • การบริหารราชการในรูปแบบใหม่ ประกอบด้วยภาครัฐและภาคประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผล • หน่วยงานมีการปรับเปลี่ยน

  6. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) หมายถึง “กระบวนการที่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมในการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา”

  7. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน Public Participation Spectrum International Association For Public Participation ประชาชนมีบทบาทหรืออิทธิพลเพิ่มขึ้นตามระดับการมีส่วนร่วม เกี่ยวข้อง Involve ให้ข้อมูล ข่าวสาร Inform รับฟัง ความคิดเห็น Consult รับฟัง ความคิดเห็น Consult ร่วมมือ Collaborate เสริมอำนาจ ประชาชน Empower ร่วมทำ รับรู้ ให้ความเห็น ร่วมตัดสิน รับรู้ ร่วมคิด ร่วมตรวจสอบ เป็นเจ้าของ ที่มา: Public Participation Spectrum ,พัฒนาโดย International Association for Public Participation (IAP2)

  8. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด เสริมพลังอำนาจให้ประชาชน (Empower) International Association For Public Participation ร่วมมือร่วมแรง (Collaboration) ระดับการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมสูงขึ้น เกี่ยวข้องมีบทบาท(Involve) ตัดสินใจเอง ฟังความคิดเห็น (Consult) เข้าร่วมทำงานด้วย สมัครใจเข้าร่วม แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร (Inform) ร่วมแสดงความเห็น รับฟังเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน

  9. การชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 2 ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบ ผลการปฏิบัติราชการ

  10. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด • มิติที่ 1 : มิติด้านประสิทธิผล • ตามแผนปฏิบัติราชการ • ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ • ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด • มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพ • การให้บริการ • คุณภาพการให้บริการ • การมีส่วนร่วมของประชาชน • ความเปิดเผย โปร่งใส • มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิภาพ • ของการปฏิบัติราชการ • ประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน • ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน • การรักษามาตรฐานระยะเวลาการ • ให้บริการ • มิติที่ 4 : มิติด้านการพัฒนาองค์กร • การบริหารจัดการองค์กร (PMQA)

  11. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด • คุณภาพการให้บริการ (9) • การมีส่วนร่วมของประชาชน (4) • ความเปิดเผย โปร่งใส (7)

  12. ระดับคะแนน 5 กำหนดแนวทางการบริหาร แบบมีส่วนร่วมปีต่อไป ระดับคะแนน 4 รายงานต่อสาธารณะและ นำไปปรับปรุงงานของส่วนราชการ) ระดับคะแนน 3 ดำเนินการตามแผน และร่วมติดตามความก้าวหน้า ระดับคะแนน 2 มีช่องทางรับพังความคิดเห็น ในประเด็ฯที่เลือก และ จัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม ระดับคะแนน 1 - มีคณะทำงานภาคประชาชน - หารือ เลือกประเด็ฯ การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผล ตัวชีวัดการมีส่วนร่วมของประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ ระดับคะแนน 5 แนวทางการมีส่วนร่วม ของประชาชนในปีต่อไป ตัวชี้วัดปี 52 ตัวชี้วัดปี 51 ระดับคะแนน 4 สรุปผล รายงานความก้าวหน้า และเผยแพร่ ระดับคะแนน 3 ดำเนินการตามแผน และร่วมติดตามผลการดำเนินงาน ระดับคะแนน 2 มีช่องทางรับพังความคิดเห็น และ จัดทำแผนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ระดับคะแนน 1 กำหนดประเด็นมีคณะที่ปรึกษา/คณะทำงานภาคประชาชน และจัดทำกรอบแนวทาง/กรอบแนวคิด เน้นการสร้างและพัฒนาระบบ/กลไกที่มีอยู่เดิม + เพิ่มคุณภาพในการทำงานร่วมกับภาคประชาชน เน้นการพัฒนารูปแบบ/วิธีการในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน ที่มีความคล่องตัว

  13. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด รายละเอียดตัวชี้วัด มิติที่ 2ประเด็นการประเมินผล : การมีส่วนร่วมของประชาชน ตัวชี้วัดที่ 6 : ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและ ร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ

  14. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของจังหวัด รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและ ร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ” • น้ำหนักร้อยละ 4 • คำอธิบาย พิจารณาจากกระบวนการบริหารราชการ และการปฏิบัติราชการของจังหวัด เพื่อกระตุ้นการปรับระบบราชการสู่การบริหารราชการที่เปิดเผย โปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และพัฒนาระบบราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

  15. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ • คำอธิบาย (ต่อ) การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการที่ประชาชน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมแก้ไขปัญา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวน การพัฒนาในฐานะหุ้นส่วน • ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน มี 5 ระดับ คือ • ระดับการให้ข้อมูล • ระดับการปรึกษาหารือ • ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง • ระดับการร่วมมือ • ระดับการเสริมอำนาจประชาชน

  16. ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) เกณฑ์การให้คะแนน : กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 ระดับคะแนน  1   2    3     4      5

  17. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ พิจารณากำหนดประเด็นที่จะนำมาเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตาวจสอบผลการปฏิบัติราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดประเด็น ที่แสดงเหตุผล หรือความเหมาะสมในการกำหนดประเด็น จัดให้มีคณะที่ปรึกษาภาคประชาชน/คณะทำงานภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของส่วนราชการในจังหวัดและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนด ระดับคะแนน 1 จัดทำกรอบแนวคิด/กรอบแนวทาง ที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมาใช้ประกอบด้วย

  18. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ พิจารณากำหนดประเด็นที่จะนำมาเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดประเด็น ที่แสดงเหตุผลหรือความเหมาะสมในการกำหนดประเด็น ดังนี้ 1) นำแนวทาง/แผนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่ได้จัดทำไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มาพิจารณาประกอบการกำหนดประเด็นฯและ 2)วิเคราะห์ภารกิจหลักหรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยระบุหรือเจาะจงกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตามภารกิจหลักหรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญดังกล่าว อย่างชัดเจน หรือ 3) ทบทวนข้อมูลผลการดำเนินงานในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในปีที่ผ่านมา เพื่อประกอบการกำหนดประเด็นฯ ระดับคะแนน 1

  19. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ จัดให้มีช่องทาง/กระบวนการ/วิธีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนด และสรุปผลความคิดเห็นที่ได้จากประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จังหวัดและคณะที่ปรึกษาภาคประชาชน/คณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันจัดทำแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยมีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิด/กรอบแนวทางที่ได้จัดทำไว้ในระดับคะแนนที่ 1 รวมทั้งนำสรุปผลความคิดเห็นฯ มาใช้ประกอบในการจัดทำแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการดังกล่าว ได้แล้วเสร็จและรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายในมีนาคม 2552โดยแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการฯ มีการระบุวัตถุประสงค์ กิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย ผู้ร้บผิดชอบ ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ระดับคะแนน 2

  20. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/แผนปฏฺบัติการฯ ได้แล้วเสร็จครบถ้วน โดยมีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการฯ ในระดับคะแนน 2 อย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดทำรายงานสรุปผลความก้าวหน้าในการดำเนินการเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และสื่อสารให้ประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ระดับคะแนน 3

  21. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการฯ ซึ่งระบุปัจจัยสนับสนุน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเช้ามามีส่วนร่วม ระดับคะแนน 4 เผยแพร่สรุปผลการดำเนินงานในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้ประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องรับทราบ

  22. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะของการดำเนินงานในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในปีต่อไป เสนอต่อผู้บริหารของส่วนราชการและได้รับความเห็นชอบ ระดับคะแนน 5

  23. รายละเอียดตัวชี้วัดที่ 6: ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏฺบัติราชการ • เงื่อนไข • ในกรณีที่จังหวัดไม่ได้จัดทำแนวทาง/แผนบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ไว้ให้จังหวัดจัดทำแนวทาง/ แผนบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขึ้น เพื่อประกอบการวิเคราะห์กำหนดประเด็นที่จะนำมาเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในระดับคะแนนที่ 1 • กรอบแนวคิด/กรอบแนวทางที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประขาชนเข้ามามีส่วนร่วมจะต้องกำหนดระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ต่ำกว่า ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากต่ำกว่าจะถูกปรับลด 0.2500 คะแนน จากคะแนนที่ได้รับของตัวชี้วัดนี้ • จังหวัดต้องดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/แผนปฏิบัติการ • ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ • พ.ศ. 2552 ในระดับคะแนน 3 ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป จึงจะพิจารณาระดับคะแนน 4 และ 5

  24. Q&Aติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วม ฯโทร. 0 2356 9906 , 0 2356 9949

More Related