1 / 55

ระบบไหลเวียนโลหิต( Circulatory System )

ระบบไหลเวียนโลหิต( Circulatory System ). เข้าสู่บทเรียน. เมนูหลัก. คำนำ. แบบทดสอบก่อนเรียน. ความสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต. องค์ประกอบของระบบไหลเวียน โลหิต. การ เสริมสร้างประสิทธิภาพ การทำงาน ของระบบ ไหลเวียนโลหิต. แบบทดสอบหลังเรียน. ประวัติผู้จัดทำ. ความสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต.

Télécharger la présentation

ระบบไหลเวียนโลหิต( Circulatory System )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบไหลเวียนโลหิต(Circulatory System) เข้าสู่บทเรียน

  2. เมนูหลัก คำนำ แบบทดสอบก่อนเรียน ความสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต องค์ประกอบของระบบไหลเวียนโลหิต การเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต แบบทดสอบหลังเรียน ประวัติผู้จัดทำ

  3. ความสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิตความสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต • ระบบไหลเวียนโลหิตเปรียบเสมือนระบบขนส่งสารอาหาร แก๊สออกซิเจน น้ำ และสิ่งมีประโยชน์อื่นๆ มีหน้าที่สำคัญคือ ลำเลียงอาหาร แก๊สออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ในเวลาเดียวกันก็นำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียต่างๆ ที่ร่างกายใช้แล้วออก จากเซลล์ผ่านทางระบบหายใจให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย อีกทั้งยังช่วย รักษาความสมดุลของร่างกาย ผ่านทางระบบขับถ่ายปัสสาวะ ควบคุมอุณหภูมิ และนำแอนติบอดีไปให้เซลล์เพื่อช่วยให้ร่างกายมี ภูมิคุ้มกันต่อโรคอีกด้วย

  4. องค์ประกอบของระบบไหลเวียนโลหิตทีสำคัญมีดังนี้องค์ประกอบของระบบไหลเวียนโลหิตทีสำคัญมีดังนี้ 1.เลือด (Blood) 2.หัวใจ (Heart) 3.หลอดเลือด (Blood vessels) 4.น้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง (Lymphatic vessels)

  5. 1.เลือด (Blood) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเดียวที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีแดงประกอบด้วยส่วน ที่เป็นของเหลวเรียกว่า “น้ำเลือด” หรือ “พลาสมา” และส่วนที่เป็นของแข็งคือเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3ชนิดใหญ่ ดังนี้ 1.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) 1.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cell) 1.3 เกล็ดเลือด (Platelet)

  6. 1.1เซลล์เม็ดเลือดแดง(Red blood cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่เกิดในกระดูกแดง มีอายุอยู่ได้ประมาณ 120 วัน ก็จะแก่ตัวลง จะถูกกินและทำลายลงโดย “เซลล์ฟาโกไซต์” (Phagocyte) ในม้าม ตับ และในไขกระดูกเอง รูปร่างของเซลล์เป็นแผ่น คล้าย จานและเว้าทั้ง 2 ด้าน ไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่ขนส่ง แก๊สออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อ และนำแก๊สออกซิเจน ออกจากเนื้อเยื่อไปขจัดออกทางปอด โดยภายในเซลล์มีสาร สีม่วงแดงเรียกว่า “ฮีโมโกลบิน” (Hemoglobin) เมื่อเลือด ผ่านปอดฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่จับกับออกซิเจนกลายเป็น “ออกซีฮีโมโกลบิน”(Oxyhemoglobin) ซึ่งมีสีแดงสด และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปส่งให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายแล้วออกซีฮีโมโกลบินจะเปลี่ยนกลับมาเป็นฮีโมโกลบินอีกครั้งโดยในร่างกายของเพศหญิงจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงประมาณ4.5 – 5ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ซี.ซี. และในเพศชาย มีประมาณ 5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1ซี.ซี.

  7. 1.2เซลล์เม็ดเลือดขาว(White blood cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีนิวเคลียสแต่ไม่มี ฮีโมโกลบิน สามารถเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ และลอดผ่าน ผนังของหลอดเลือดขนาดเล็กเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายได้ ทำหน้าที่ต่อต้านทำลายเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม และสร้าง ภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย แบ่งออกเป็น 2พวกใหญ่ๆ คือ แกรนูโลไซต์ (Granulocyte) เป็นพวกที่มีแกรนูของไลโซโซ จำนวนมากในไซโทพลาสซึม พวกนี้จะสร้างมาจาก ไขกระดูก มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 2-3วัน และอะแกรนูโลไซต์ (Agranulocyte) เป็นพวกที่ไม่มีแกรนูลของไลโซโซอยู่ใน ไซโตพลาสซึม พวกนี้ถูกสร้างจากอวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง ม้าม มีอายุประมาณ 100 – 300 วัน

  8. 1.3 เกล็ดเลือด (Platelet) เป็นส่วนประกอบของเลือดที่ไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นส่วนประกอบชิ้นเล็กๆ ของเซลล์ปกติ จะมีรูปร่างคล้ายจานแบนๆ มีขนาดเล็กมาก ไม่มีสีและไม่มี นิวเคลียส ทำหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล โดยการ แข็งตัวของเลือดตรงส่วนนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดไหลออกมาจาก บาดแผล เลือดก็จะเปลี่ยนเป็นลิ่มคล้ายวุ้น เรียกว่า “ลิ่มเลือด” ซึ่งประกอบด้วยไฟบริน โดยมีเกล็ดเลือดเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา ลิ่มเลือดจะทำหน้าที่ช่วยห้ามเลือดและป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่ บาดแผล

  9. 2.หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบไหวเวียนโลหิตมีขนาดเท่ากับกำปั้นของบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ในทรงอกระหว่างปอดทั้งสองข้าง ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของร่างกาย มีพื้นที่ 2 ใน 3 ส่วน มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ “เยื่อหุ้มหัวใจ” มีลักษณะเป็นถุงหุ้มอยู่รอบๆ หัวใจมีหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับหัวใจ และช่วยให้หัวใจมีการเคลื่อนไหวสะดวกไม่เสียดสีกัน และ “ผนังหัวใจ” ซึ่งประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น คือ 2.1 เอพิคาร์เดียม (Epicardium) อยู่ชั้นนอกสุด 2.2 มัยโอคาร์เดียม (Myocardium) อยู่ชั้นกลาง 2.3 เอนโดคาร์เดียม (Endocardium) อยู่ชั้นนอกสุด

  10. ส่วนประกอบและหน้าที่ของหัวใจทั้ง 4 ห้อง คลิก คลิก คลิก คลิก

  11. หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) เป็นช่องที่รับเลือดเสียหรือเลือดดำจากทุกส่วนของร่างกาย ซึงนำมาโดยหลอดเลือด 3เส้น คือ หลอดเลือดดำใหญ่บน รับเลือดจากส่วนบนของร่างกาย หลอดเลือดดำใหญ่ล่าง รับเลือดจากส่วนล่างของร่างกาย และโพรงโลหิตดำของหัวใจ รับเลือดจากล้ามเนื้อของหัวใจเอง หัวใจห้องบนขวาเปิดสู่หัวใจห้องล่างขวาผ่านลิ้นไตรคัสปิด(Tricuspid valve) ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างห้องบนและห้องล่าง ลิ้นนี้จะปิดตอนหัวใจห้องล่างบีบตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจห้องบนขวา

  12. หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา แล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด เนื่องจากหัวใจห้องล่างต้องทำหน้าที่สูบแดเลือดเข้าไปยังปอด เพราะฉะนั้นผนังจะหนากว่าหัวใจห้องบน ส่วนที่อยู่ในหัวใจมีลิ้นลักษณะเป็นเสี้ยวพระจันทร์เรียกว่า ลิ้นเซมิลูนาร์(Semilunar valve) ซึ่งป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจห้องล่างในขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว

  13. หัวใจห้องบนซ้าย(Left atrium) รับเลือดดีหรือเลือดแดงจากปอด ซึ่งถูกส่งมาทางหลอดเลือดดำจากปอดเข้าสู่หัวใจและเปิดเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย ผ่านลิ้นไบคัสปิด (Bicuspidvalve) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนลิ้นไตรคัสปิด

  14. หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) รับเลือดดีจากหัวใจห้องบนซ้าย แล้วส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องนี้จะทำงานหนักมากที่สุด จึงมีผนังหัวใจหนาที่สุด การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย จะผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งภายในจะมีลิ้นเอออร์ติก (Aortic valve) ลักษณะคล้ายเสี้ยวจันทร์ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลกลับ ซึ่งหัวใจห้องล่างขวาและซ้ายจะบีบตัวพร้อมกัน

  15. 3.หลอดเลือด (Blood vessels) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ หลอด เลือดแดง หลอด เลือดดำ หลอด เลือดฝอย

  16. 3.1หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ เพราะฉะนั้นหลอดเลือดแดงจึงเป็นเส้นทางนำเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง ไปยังเส้นเลือดฝอย เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายต่อไป

  17. 3.2หลอดเลือดดำ (Vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจซึ่งเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดดำที่ประมาณของออกซิเจนอยู่น้อย

  18. 3.3หลอดเลือดฝอย (Capilary) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กมาก มีหน้าที่นำเลือดจากหลอดเลือดแดงไปยังเซลล์ และนำเลือดดำจากเซลล์ไปยังหลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอยเปรียบเสมือนตัวกลางเชื่อมโยงระบบไหลเวียนโลหิตระหว่างหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำซึ่งทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  19. 4.น้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง(Lymph and Lymphatic vessels) จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียน (circulatory system) ในร่างกาย ประกอบด้วยท่อที่เชื่อมโยงกันเรียกว่า ท่อน้ำเหลือง (lymphatic vessels) ภายในบรรจุของเหลวใสที่เรียกว่า น้ำเหลือง (lymph) โดยระบบน้ำเหลืองนั้นไม่เป็นระบบปิด มีหน้าที่หลักคือนำของเหลวที่ซึมออกมาจากหลอดเลือดฝอยกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งการอุดตันของการไหลเวียนน้ำเหลืองอาจทำให้เกิดการบวม (edema) ขึ้นได้ หน้าที่ของระบบน้ำเหลือง -นำของเหลวที่ซึมอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง -ดูดซึมและขนส่งกรดไขมันและไขมันอย่างเช่นน้ำเหลืองปนไขมัน (chyle) จากระบบย่อยอาหาร - ขนส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวจากต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่กระดูก

  20. การเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตการเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ กลับเมนูหลัก

  21. แบบทดสอบก่อนเรียน พร้อมแล้วเริ่มกันเลย Enter

  22. แบบทดสอบหลังเรียน พร้อมแล้วเริ่มกันเลย Enter

  23. ข้อที่ 1ข้อใดเป็นหน้าที่ของระบบไหลเวียนโลหิต ก. ควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย ข. ลำเลียงสารอาหาร ค. ลำเลียงแก๊สออกซิเจน ง. ถูกทุกข้อ

  24. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  25. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  26. ข้อที่ 2เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดจากส่วนใดของร่างกาย ก. ไขกระดูกแดง ข. ม้าม ค. ตับ ง. ถูกทุกข้อ

  27. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  28. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  29. ข้อที่ 3 เซลล์เม็ดเลือดแดงมีสารสีม่วงเรียกว่า ก. ไฟบริน ข. แกรนูโลไซต์ ค. ฮีโมโกลบิน ง. พลาสมา

  30. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  31. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  32. ข้อที่ 4 เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่อะไร ก. ลำเลียงสารอาหาร ข. ทำลายเชื้อโรค ค. ลำเลียงแก๊สออกซิเจน ง. ถูกทุกข้อ

  33. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  34. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  35. ข้อที่ 5 เซลล์เม็ดเลือดชนิดทำให้เลือดแข็งตัว ก. เกล็ดเลือด ข. เซลล์เม็ดเลือดแดง ค. เซลล์เม็ดเลือดขาว ง. น้ำเหลือง

  36. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  37. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  38. ข้อที่ 6 ผนังหัวใจชนิดใดอยู่ชั้นในสุด ก. ผนังหัวใจ เอพิคาร์เดียม ข. ผนังหัวใจ มัยโอคาร์เดียม ค. ผนังหัวใจ เอนโดคาร์เดียม ง. ผนังหัวใจ อันพิคาร์เดียม

  39. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  40. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  41. ข้อที่ 7 หัวใจห้องใดรับเลือดเสียจากทุกส่วนของร่างกาย ก. หัวใจห้องบนซ้าย ข. หัวใจห้องบนขวา ค. หัวใจห้องล่างซ้าย ง. หัวใจห้องล่างขวา

  42. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  43. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  44. ข้อที่ 8 ผนังหัวใจห้องใดที่มีความหนามากที่สุด ก.หัวใจห้องบนซ้าย ข.หัวใจห้องบนขวา ค.หัวใจห้องล่างซ้าย ง. หัวใจห้องล่างขวา

  45. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  46. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  47. ข้อที่ 9 การบริจาคเลือดจะมีการเจาะเลือดบริเวณหลอดเลือดใด ก. หลอดเลือดแดง ข. หลอดเลือดดำ ค. หลอดเลือดฝอย ง. ถูกทุกข้อ

  48. แม่แม่เจ้าผิดหรือนี่ ลองดูอีกที

  49. ถูกต้องนะครับ นายแน่มาก ทำข้อต่อไปได้จ้า

  50. ข้อที่ 10 ข้อใดเป็นการส่งเสริมให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ข. พักผ่อนให้เพียงพอ ค. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ง. ถูกทุกข้อ

More Related