1 / 70

วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เรื่อง “ หลักการผลิตโคนม ”

วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เรื่อง “ หลักการผลิตโคนม ”. โดย. อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่. คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร. วัตถุประสงค์. นิสิตสามารถบอกประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้

lyle-bates
Télécharger la présentation

วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เรื่อง “ หลักการผลิตโคนม ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์เรื่อง“หลักการผลิตโคนม”วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์เรื่อง“หลักการผลิตโคนม” โดย อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร

  2. วัตถุประสงค์ • นิสิตสามารถบอกประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้ • นิสิตสามารถบอกลักษณะพันธุ์โคนมแต่ละสายพันธุ์และจำแนกข้อแตกต่างได้ • นิสิตสามารถเรียนรู้การจัดการโคนมในแต่ละช่วงอายุได้ • นิสิตสามารถบอกโรคและพยาธิที่สำคัญในโคนมได้

  3. ประวัติการเลี้ยงโคนม • การเลี้ยงโคนมและการผลิตน้ำนมในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี 1907 โดยชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม โดยโคนมที่เลี้ยงเป็นโคนมพันธุ์บังกาลา (Bengal) • ต่อมา ในปี 1920 ม.จ. สิทธิพร กฤษดากร เป็นคนไทยคนแรกที่ทำฟาร์มเลี้ยงโคนมขึ้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยนิยมบริโภคนมมากขึ้น และได้มีการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมมากขึ้น

  4. ประวัติการเลี้ยงโคนม • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการพัฒนาเรื่องฟาร์มโคนมและมีการนำเข้าโคนมพันธุ์เจอร์ซี่จากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย • ต่อมา ในปี 1960 ทางรัฐบาลเดนมาร์กและสมาคมเกษตรกรเดนมาร์กได้น้อมเกล้าฯ ถวายโครงการการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว • และมีการจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมเดนมาร์กขึ้น ซึ่งต่อมาในปี 1971 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นโครงการส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.)

  5. พันธุ์โคนม (Dairy Cattle Breeds) ลักษณะของโคนมตระกูล Bos taurusกำเนิดแถบประเทศทางยุโรปและอเมริกาลักษณะทั่วไป: ผิวหนังกระชับลำตัว ไม่มีโหนกและเหนียงคอที่ชัดเจน ไม่มีต่อมเหงื่อ ขนยาว ลำคอสั้น ขนาดลำตัวใหญ่ ชั้นไขมันหนาและน้ำหนักตัวมาก ลำตัวเป็นรูปลิ่มหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แนวสันหลังตรงและบั้นท้ายเป็นเหลี่ยม เช่น โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน, เจอร์ซี่, เรดเดน, มิวกิ้งชอตฮอร์น, บราวน์สวิต

  6. โฮลสไตน์ฟรีเชียน (Holstein Friesian) • มีชื่อเรียกง่ายๆว่าพันธุ์ขาว-ดำ มีถิ่นกำเนิดในเมืองฟรีเชี่ยน (Friesian) ภาคใต้ของเนเธอร์แลนด์ • ลำตัวขนาดใหญ่ เพศเมีย 680 กก. เพศผู้ 997-1,087 กก. ให้น้ำนม 7,542 กก./ปี สีน้ำนมเป็นสีขาว ไขมันน้ำนม 3.64% • ลักษณะเด่น: ให้นมมาก ทนต่ออากาศร้อนและความเครียดได้ดี นิสัยเชื่อง กระตือรือร้น สนใจอยู่ตลอดเวลา เต้านมสมดุล • จุดอ่อนของโคพันธุ์นี้ คือไม่ทนต่อสภาพอากาศร้อน

  7. HolsteinFriesian

  8. เจอร์ซี (Jersey) • จัดเป็นพันธุ์เล็กที่สุดในบรรดาโคนม มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ • เพศเมียโตเต็มที่หนัก 365-544 กก. เพศผู้หนัก 544-815 กก. • ลักษณะเด่นคือ ลิ้นดำ หางดำ สีเทาอ่อน, สีเทาปนเหลือง น้ำตาลแกมเหลือง • การให้น้ำนม 5,104 กก. ต่อระยะการให้นม 305 วัน และไขมันสูงกว่า 4.8% ซึ่งสูงกว่าโคนมทุกพันธุ์ • มีอายุการให้น้ำนมเร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ มีความทนทานในการให้นม อายุการให้นมยาวนาน

  9. Jersey

  10. บราวน์สวิต (Brown Swiss) • เป็นโคพันธุ์ขนาดใหญ่ เพศเมียโตเต็มที่ 589-815 กก. เพศผู้ 815-1,178 กก. • ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม บริเวณแนวสันหลังและรอบเขา รอบปากจะมีสีออกขาว เต้านมสีขาวหรือเทา กีบเท้าและหางมีสีเข้มดำ จมูกและลิ้นจะมีสีเกือบดำ • การให้น้ำนม 6,155 กก.ต่อระยะการให้นม 305 วัน ไขมัน 4.1% • มีความทนทานในการให้น้ำนมได้ดี มีความสามารถในการแทะเล็มแปลงหญ้าได้ดี หากินเองได้เก่ง

  11. Brown Swiss

  12. แอร์ชาย (Ayrshire) • เป็นโคนมที่มีรูปร่างสวยงาม หนังสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีรูปร่างลึก และช่วงท้องขยายใหญ่ แนวหลังตรง • เพศเมีย โตเต็มที่หนัก 544-680 กก. เพศผู้ 838 กก. • การให้น้ำนม 5,848 กก.ต่อระยะการให้นม 305 วัน ไขมันน้ำนม 3.95% • เต้านมมีขนาดใหญ่ได้สัดส่วนสวยงามกว่าโคนมพันธุ์อื่น แต่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเนื้อเยื่อไขมันมากทำให้เป็นข้อจำกัดของการให้น้ำนม

  13. มิวค์กิ้งชอตฮอร์น (Milking Shorthorn) • โคนมพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ • เป็นพันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งนม และที่ประเทศอเมริกาได้พัฒนาให้มีลักษณะของโคนมมากขึ้น แต่ก็ยังให้เนื้อดีเช่นกัน • เป็นโคนมขนาดใหญ่ เพศเมียโตเต็มที่หนัก 544-680 กก. เพศผู้ 906 กก. • การให้น้ำนม 5,326 กก.ต่อระยะการให้นม 305 วัน ไขมัน 3.65%

  14. Milking Shorthorn

  15. โคนมตระกูล Bos indicus • มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย • ลักษณะทั่วไป: ผิวหนังหลวมและไม่แนบชิดกับลำตัว มีโหนกและเหนียงคอ มีต่อมเหงื่อ ขนสั้น มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักเบา ชั้นไขมันไม่หนา • ลำตัวมักเป็นรูปกลมมน มีแนวสันหลังโค้งและบั้นท้ายกลม • เช่น โคซาฮีวาล โคเรดซินดี้

  16. ซาฮีวาล (Sahi wal) • มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอินเดีย • เป็นโคขนาดกลาง เพศเมียหนัก 400-450 กก. เพศผู้ 500-600 กก. • มีลักษณะของใบหูใหญ่ พับตก มีโหนก เหนียงที่ชัดเจน ผิวหนังหย่อนยาน แนวสันหลังแอ่นและโค้งมนไปทางบั้นท้าย ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม • ให้น้ำนม 2300-2800 กก.ต่อระยะการให้นม 305 วัน • ปรับตัวได้ดีในสภาพอากาศร้อน ทนทานต่อโรค (โรคไข้เห็บ) • เป็นโคที่นิยมนำมาใช้เป็นโคพื้นฐานของการปรับปรุงโคนมเขตร้อน

  17. Sahi wal

  18. เรดซินดี้ (Red Sindhi) • มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย • โคเพศเมีย 350-450 กก. และโคเพศผู้ 450-500 กก. มีโหนก เหนียง ผิวหนังหย่อนยาน มีแนวสันหลังแอ่นและโค้งมนมากกว่าโคซาฮีวาล • ลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงสีแดงตลอดลำตัว ทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนทานต่อโรคได้ดี • การให้น้ำนม 2000-2500 กก.ต่อระยะการให้นม 305 วัน • แต่มีข้อเสียคือต้องมีลูกโคเทียบ จึงยอมปล่อยน้ำนม และอั้นน้ำนมง่าย อีกทั้งมีลักษณะของหัวนมรวมกระจุกอยู่ตรงกลาง

  19. Red Sindhi

  20. อาหารโคนม • อาหารหยาบหมายถึง อาหารที่มีความเข้มของโภชนะอยู่ต่ำ มีเยื่อใยในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่พืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่วทั่วๆ ไปเยื่อใย >18% CF, โปรตีน <18% CP • อาหารข้น (Concentrate) หมายถึง อาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะอยู่สูง มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยอยู่ในปริมาณที่ต่ำ เมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถย่อยได้มาก ปริมาณเยื่อใยน้อยกว่า 18% CF • ถ้ามีโปรตีนสูงกว่า 18% CP จัดเป็นอาหารข้นโปรตีน • ถ้ามีโปรตีนต่ำกว่า 18% CP จัดเป็นอาหารข้นพลังงาน

  21. การให้อาหาร(Feeding) • ให้อาหารแบบแยก (Separate feeding) • อาหารหยาบ • อาหารข้น • ให้อาหารแบบสูตรรวม (total mix ration) • R:C ratio • 60:40 • 50:50 • 40:60

  22. ความต้องการอาหารของโคความต้องการอาหารของโค • การจัดการให้อาหารโคนมยึดหลักการของมาตรฐานการให้อาหารสัตว์ (feeding standard) • NRC (National Research Council) ซึ่งเป็นระบบของประเทศสหรัฐอเมริกา • ARC (Agricultural Research Council) ซึ่งเป็นระบบของประเทศอังกฤษ

  23. การให้อาหารและการจัดการลูกโคการให้อาหารและการจัดการลูกโค • ลูกโคแรกเกิด - 24 ชม. • ลูกโควันที่ 2 – 10 แรก • ลูกโค 11 - 30 วัน • ลูกโค 30 วัน - หยานม

  24. การจัดการลูกโคระยะแรกเกิด-24 ชม. • เมื่อลูกโคคลอดออกมาให้ทำการแยกลูกโคออกจากแม่ทันที • ทำการเช็ดเมือกออกจากปากและจมูกเพื่อช่วยให้ลูกโคหายใจได้สะดวก ถ้าลูกโคไม่หายใจให้ทำการปั๊มหัวใจทันที • เช็ดตัวลูกโคให้แห้ง จุ่มสายสะดือด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน และทำการรีดนมน้ำเหลืองออกมาให้ลูกโคกินเร็วที่สุด • นอกจากนี้การจัดการยังมีการจดบันทึกรายละเอียดน้ำหนักตัว ติดเบอร์หู ลงประวัติพ่อ-แม่

  25. การจัดการให้นมน้ำเหลืองแก่ลูกโคการจัดการให้นมน้ำเหลืองแก่ลูกโค • นมน้ำเหลือง(Colostrum) อุดมไปด้วยโภชนะที่ลูกโคต้องการ • แม่โคผลิตนมน้ำเหลือง 4-5 วัน • ภูมิคุ้มกันจะถ่ายทอดมาทางนมน้ำเหลือง • การดูดซึมภูมิคุ้มกันจากนมน้ำเหลืองของลูกโค จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชม. • จัดการให้ลูกโคกินนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ภายใน 2 ชม) • จากนั้นให้นมน้ำเหลืองอีก 4 ลิตร โดยอาจแบ่งให้ที่ 12 และ 24 ชม. หลังคลอด

  26. การจัดการลูกโคระยะวันที่ 2-10 • ให้กินนมอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 4 ลิตร ตามขนาดร่างกายลูกโค จนอายุได้ 10 วันให้กินนม 6 ลิตร/วัน • โคจะผลิตนมน้ำเหลืองออกมาประมาณ 4-5 เมื่อนมน้ำเหลืองหมดก็ให้กินนมธรรมดาหรือนมเทียม • ในช่วง 5-7 วันหลังคลอดให้เริ่มฝึกลูกโคกินอาหารข้น 20% CP โดยเริ่มให้ทีละน้อยๆประมาณ 1 กำมือและเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ

  27. การฝึกให้ลูกโคกินนม • ทำได้ 2 วิธีคือใส่ขวดนมขนาด 2 ลิตร หรือ ใส่นมในถังแล้วหลอกให้โคดูดนิ้วที่จุ่มอยู่ใต้น้ำนมในถัง • หากนมน้ำเหลืองเหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นแล้วเมื่อนำมาให้ลูกโคให้ละลายในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส ห้ามต้มเพราะภูมิคุ้มกันในน้ำนมจะถูกทำลาย • หากหาน้ำนมเหลืองไม่ได้ให้ใช้ไข่ดิบ 1 ฟอง/น้ำต้มสุข 3ขีด/ น้ำมันละหุ่ง1/2 ช้อนโต๊ะ/ นมสด6ขีด/ ผสมรวมกันให้โคได้กินแทนนมน้ำเหลือง

  28. อาหารข้นลูกโค (Calf starters) • โดยปกติแล้วจะเริ่มฝึกให้โคกินอาหารข้นตั้งแต่อายุได้ 5-14 วัน การหัดให้กินเร็วจะทำให้ลูกโครับได้ง่าย • อาหารข้นลูกโคควรมีโปรตีนขั้นต่ำ 18%, TDN 80%, แคลเซียม 0.8%, ฟอสฟอรัส 0.4% • อาหารข้นลูกโคจะให้กินไปจนกว่าลูกโคอายุได้ 12 สัปดาห์ (อายุหย่านม 4-8 สัปดาห์) โดย ให้กินเต็มที่ในรางอาหารหรือควบคุมให้กิน 2-3 กก./ตัว/วัน • เมื่อลูกโคอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป เราจึงจะเปลี่ยนสูตรอาหารข้นลูกโค ไปเป็นสูตรอาหารโครุ่น

  29. อาหารหยาบสำหรับลูกโค • หญ้าแห้งควรเสริมให้กินตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป • ลูกโคอายุ 3 เดือน ระบบกระเพาะจึงจะพัฒนาได้เต็มที่ • หญ้าสดไมควรให้ในลูกโคอายุแรกเกิดถึง 2 เดือน เพราะจะมีปัญหาเรื่องปริมาณการกินสิ่งแห้งน้อย และลูกโคอาจท้องเสียได • ส่วนหญ้าหมักโดยทั่วไปแล้วลูกโคไม่ค่อยชอบกินเท่าหญ้าแห้ง หากจ่ายให้ลูกโคกินจะทำให้การกินสิ่งแห้งได้ลดลง

  30. การจัดการลูกโคระยะวันที่ 11-วันหย่านม • ให้โคกินนม 6 ลิตร/ตัว/วัน และกระตุ้นการกินอาหารข้นโดยให้ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง • จัดหญ้าแห้งคุณภาพดีไว้ให้ลูกโคหัดกินเพื่อกระตุ้นการพัฒนาของกระเพาะหมัก • ทำการตัดหัวนมที่เกินออก โดยจะตัดเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เกิดบาดแผลและเจ็บปวดน้อยที่สุดและแผลจะหายเร็ว

  31. การจัดการลูกโค 30 วัน - หย่านม • สำหรับมาตรฐานการหย่านมลูกโคอยู่ที่อายุ 4-8 สัปดาห์ หรือน้ำหนักมากกว่า 60 กก. • หากลูกโคกินอาหารข้นได้ในอัตรา 1.0 กก./ตัว/วัน และ กินอาหารหยาบได้ไม่ต่ำกว่า 0.5 กก./ตัว/วัน ติดต่อกัน 5-7 วัน เราก็หย่านมลูกโคได้ • การหย่านมให้ค่อยๆลดปริมาณลง 2-3 วันและห้ามเคลื่อนย้ายลูกโค • ทำการสูญเขา ถ่ายพยาธิ รวมทั้งทำเครื่องหมายตัววัวให้ชัดเจน

  32. การจัดการโครุ่น - โคสาว • ในการจัดการใหอาหารโครุ่น-โคสาว (Heifers) นับตั้งแต่หย่านมถึงโคท้องและคลอดลูกตัวแรก • โดยทั่วไปจะแบ่งช่วงการเลี้ยงออกเป็น 3 ระยะคือ 1) ชวงหลังหย่านมถึงอายุ 1 ป 2) ชวงอายุ 1 ป ถึงอายุ 2 ป 3) ชวงระยะ 2 เดือนก่อนคลอดลูก

  33. การจัดการโคนมหลังอย่านมถึง 1 ปี • ให้อาหารข้นลูกโค 16%CP1.5-2 กิโลกรัม/ตัว/วัน จนอายุถึง 3 เดือน • ให้หญ้าสดหรือหญ้าแห้งหรือฟางกินเต็มที่ • ปริมาณอาหารข้นขึ้นอยู่กับขนาดตัวโคและคุณภาพของอาหารหยาบ • จัดแร่ธาตุและน้ำตั้งทิ้งไว้ให้กินตลอดเวลา • ในช่วง 3-9 เดือน ควบคุมปริมาณอาหารข้นอย่าให้โคอ้วนมากเกินไป เนื่องจากเซลล์สร้างน้ำนมจะมีการพัฒนามากในช่วง 3-9 เดือน

  34. การทำเครื่องหมายประจำตัวโคถาวรการทำเครื่องหมายประจำตัวโคถาวร • เพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลประวัติโค มี 2 ชนิด คือ ตีเบอร์ร้อน และ ตีเบอร์เย็น • การตีเบอร์เย็นทำเมื่อผิวหนังโคมีสีดำ ซึ่งทำการตีเบอร์ที่บริเวณสะโพกซ้าย • เริ่มจากเช็ดทำความสะอาดบริเวณสะโพกโคให้สะอาดแล้วโกนขนออกแล้วเช็ดให้แห้ง • จากนั้นใช้เหล็กเบอร์แช่ไนโตรเจน อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ตีเบอร์บริเวณสะโพก นาน 1 นาที ให้เป็นตัวเลขตามต้องการ

  35. การตรวจสุขภาพและการฉีดวัคซีนการตรวจสุขภาพและการฉีดวัคซีน • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อเมื่อโคอายุ 4-8 เดือน • ถ่ายพยาธิฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และคอบวม เมื่ออายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

  36. ชวงอายุ 1 ปี - อายุ 2 ปี • เลี้ยงในแปลงหญ้าต่อไปและเสริมอาหารเสริมอาหารข้นและแร่ธาตุ • โคสาวควรโตในอัตรา 0.7-0.8 กก./ตัว/วันถ้าอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่านี้ควรเสริมอาหารข้นเพิ่มขึ้น • โคสาวจะแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกเมื่อมีน้ำหนัก 40-45% ของน้ำหนักโตเต็มที่ • การผสมพันธุ์โคจะทำในช่วงอายุ 14-15 เดือน สำหรับโคลูกผสมในเมืองไทยควรผสมพันธุ์ที่น้ำหนัก 270 กก. ถ้าสายเลือดใกล้พันธุ์แท้ควรผสมพันธุ์ที่ นน. 280-300 กก.

  37. การจัดการผสมพันธุ์โคสาวการจัดการผสมพันธุ์โคสาว • โคจะเริ่มแสดงอาการเป็นสัดเมื่ออายุ ประมาณ 12 เดือน และมีวงรอบการเป็นสัด (estrous cycle) ประมาณ 21 วัน • จะทำการผสมพันธุ์เมื่อโคนมมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 250 กิโลกรัม หรืออายุ 14-15 เดือน และเป็นสัดรอบที่ 2 • ระยะการเป็นสัด (estrous period) มี 3 ระยะคือ • start heat • standing heat • late heat

  38. ข้อดี ผสมได้หลายครั้ง ลดปัญหาโรคทางระบบสืบพันธุ์ ลดปัญหาการขนส่ง ลดปัญหาการบาดเจ็บ กระจายพันธุกรรมได้รวดเร็วและไกล ข้อเสีย ต้องมีความรู้ความชำนาญ ต้องคอยจับสัด หากพันธุกรรมไม่ดีก็ถ่ายทอดเร็ว Artificial Insemination

  39. การกำหนดวันคลอดของโค • โคตั้งท้องประมาณ 285 วัน และนับวันที่โคได้รับการผสมเป็นวันที่ 1 ของการตั้งท้อง • การคำนวณวันคลอดโดยการนำเลข 10 บวกวันผสม เป็นวันคลอดและนับไปอีก 9 เดือน เป็นเดือนที่คลอด • เช่น โคผสมวันที่ 15 มีนาคม 2549 วิธีคำนวณโดยนำจำนวน 10 บวก 15 ได้ วันที่ 25 และนับเดือนต่อจากเดือนผสมพันธุ์ไปอีก 9 เดือน เป็นเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 • ดังนั้นกำหนดคลอดวันที่ 25 ธันวาคม 2549 ก่อนและหลังกำหนดประมาณ 5 วัน

  40. ชวงระยะ 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด • โคสาวท้องจะเติบโตเร็วมากในช่วงนี้และยังคงโตต่อไปจนถึงการให้ลูกในช่วงปีที่ 2 ซึ่ง ในระยะนี้โคควรมีอัตราการเจริญเติบโต 0.9 กก./ตัว/วัน • ปริมาณอาหารข้นที่ให้ในช่วงนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของความสมบูรณ์ร่างกายโค ซึ่งส่วนใหญ่จะเสริมในอัตรา 1% ของน้ำหนักตัว • การให้โคไดรับเกลือในอาหารมากไป จะทำให้เกิดการบวมน้ำที่เต้านม (Udder edema) • อาหารที่ให้ควรมี Ca ต่ำ

  41. การจัดการโคก่อนคลอด 1 สัปดาห์ • โคจะมีอาการคือ อวัยวะเพศบวม ช่องคลอดขยายใหญ่ เต้านมเต่งและหัวนมจะบวม มีน้ำนมไหลออกมา เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยเดิน กระสับกระส่าย หางยกขึ้นเห็นชัดเจน และแยกตัวออกจากฝูง • ในช่วงนี้จะเตรียมคอกคลอดและแยกโคเข้าคอกคลอด ประมาณ 1-2 วัน ก่อนคลอดจะมีน้ำเมือกไหลออกมาทางช่องคลอด • สำหรับโคสาวตั้งท้อง ก่อนคลอดประมาณ 1 เดือน จะต้องแยกไปอยู่รวมกับฝูงโครีด เพื่อฝึกเข้าซองรีดนมและสร้างความคุ้นเคยกับแม่โครีดนม

  42. การจัดการโคคลอด • ลูกโคจะเอาขาหน้าออกมาทั้งคู่ โดยหัวจะแนบอยู่ระหว่างขาจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ลูกโคจะคลอดออกมา • ถ้าผิดปกติไปจากนี้จะช่วยทำการคลอด หลังจากคลอดแล้ว 4 ชั่วโมง รกจะถูกขับออกมา • ต้องคอยระวังอาการผิดปกติต่าง ๆที่มักเกิดกับแม่โคหลังคลอดลูก เช่น รกค้าง, มดลูกอักเสบ, ไข้น้ำนม (milk fever), นมคัดเต้า

  43. การจัดการโครีดนม ระยะต้นของการให้นม (Early Lactation) 0 – 60 วันหลังคลอด ระยะให้นมสูงสุด (Peak milk) 60-100 วันหลังคลอด ระยะกลางของการให้นม (Mid Lactation) 100-200 วันหลังคลอด ระยะปลายของการให้นม (Late Lactation) 200-305 วันหลังคลอด ระยะพักการรีดนม (Dry Period) 60 วันก่อนคลอด - Far off 60-30 วันก่อนคลอด - Close up 30วันก่อนคลอด - คลอด

  44. Lactation curve

  45. การจัดการโคระยะต้นของการให้นม (Early Lactation) • ระยะนี้เป็นช่วงวิกฤตที่แม่โคจะต้องนำอาหารที่ให้ไปสร้างน้ำนมและน้ำนมเพิ่มขึ้นสูงสุด แต่โคกลับกินอาหารได้น้อย • อาหารที่กินเข้าไปจึงไม่พอต่อการสร้างน้ำนม ร่างกายโคจึงต้องดึงอาหารที่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้ ทำให้แม่โคจะผอมลง • คะแนนร่างกายจะลดลงอยู่ระหว่าง 2.5-3.0 อาหารระยะนี้จึงจำเป็นจะต้องย่อยง่าย คุณภาพสูง มีความน่ากิน โภชนะต่อหน่วยสูง โปรตีนในอาหารประมาณ 18-20%

  46. การจัดการโคระยะให้นมสูงสุด (Peak milk) • ระยะนี้ปริมาณน้ำนมโคจะสูงขึ้นที่สุดดังนั้นต้องรักษาระยะนี้ให้ได้นานที่สุด • การจัดการด้านอาหารให้ถึงระดับที่โคต้องการ หากโคกินได้น้อยจะต้องเพิ่มจำนวนครั้งในการจ่ายมากขึ้น • เมื่อเป็นสัดครั้งที่ 2 จะทำการผสมพันธุ์ ซึ่งจะต้องผสมให้ติดในช่วงก่อน 90 วัน • จดบันทึกเพื่อแก้ปัญหาการผสมพันธุ์ เช่น วันที่เป็นสัด วันผสม วันคลอดลูก สภาพควรผิดปกติต่างๆ ในการผสมพันธุ์

  47. การจัดการโคระยะกลางของการให้นม (Mid Lactation) • ระยะนี้ปริมาณน้ำนมจะเริ่มลดลง • ตรวจการตั้งท้อง ถ้าระยะนี้ยังผสมไม่ติดจะต้องผสมให้ติด • ในระยะนี้เมื่อผสมติดน้ำนมจะลดลง โคกินอาหารเก่งขึ้น • การให้อาหารจึงให้ตามปริมาณน้ำนม คือ นม 2-3 กิโลกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่จะต้องดูความสมบูรณ์ของร่างกายด้วย • สำหรับอาหารหยาบให้โคกินอาหารหยาบคุณภาพดีเต็มที่ตลอดเวลา

  48. การจัดการโคระยะปลายของการให้นมการจัดการโคระยะปลายของการให้นม • จัดกลุ่มโคให้อยู่ระยะเดียวกัน • ระยะนี้แม่โคจะให้น้ำนมลดลงมากและกินอาหารเก่ง • ลดปริมาณอาหารข้นและให้อาหารหยาบคุณภาพดีเต็มที่

  49. การจัดการโคระยะพักการรีดนม (Dry Period) • ปรับสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย ให้คะแนนอยู่ที่ 3.5 • ถ้าแม่โคตัวใดผอมให้เพิ่มอาหารเพื่อให้แม่โคสมบูรณ์เต็มที่ แต่จะต้องมีระดับคะแนนไม่เกิน 4 • มิฉะนั้นลูกโคจะมีขนาดใหญ่เกินไปและแม่โคจะคลอดลูกยาก

More Related