1 / 34

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551. CoP การเงินและบัญชี. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551. หมวดที่ 1 ความทั่วไป. หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน. หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน.

race
Télécharger la présentation

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 CoP การเงินและบัญชี

  2. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ บังคับใช้วันที่ 8 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป

  3. หมวดที่ 1 ความทั่วไป ( ข้อ 6 – 8 ) ข้อ 6แบบพิมพ์เอกสาร ทะเบียนคุม รายงาน การรับ-จ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน นำส่งเงิน วิธีใช้ ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ 7 กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

  4. หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ ( ข้อ 9 – 12 ) - มอบหมายผู้ถือบัตร กำหนดสิทธิการใช้ ( smart card ) รหัสผู้ใช้งาน ( user name ) และรหัสผ่าน ( password ) - ผู้ได้รับมอบหมาย สามารถดำเนินการเบิกเงินจากคลังอนุมัติจ่ายเงิน ทำเงินส่งคลัง บันทึกและปรับปรุงข้อมูลและการเรียกรายงานในระบบ - การมอบหมายต้องจัดทำคำสั่ง และมอบหมายด้วยลายลักษณ์อักษร

  5. หมวดที่ 3 ( ข้อ 13 – 30 ) การเบิกเงิน ส่วนที่ 1 สถานที่เบิกเงินและผู้เบิกเงิน ข้อ 13 สถานที่เบิกเงิน ส่วนกลางเบิกจากกรมบัญชีกลาง / ส่วนภูมิภาค เบิกจากคลังจังหวัด ข้อ 14 ผู้อนุมัติเบิกจากคลังและอนุมัติการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่หรือจ่ายตรง

  6. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การเบิกเงิน • ข้อ 15 ห้ามเบิกก่อนถึงกำหนดจ่าย • ขอเบิกเพื่อการใดให้จ่ายเพื่อการนั้น • ข้อ 16 เบิกเฉพาะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย คำสั่งและมติ ครม. • ข้อ 17 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นปีใดให้จ่ายในปีนั้น

  7. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) • ข้อ 18 งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินช่วยเหลือ เงินสมทบ เงินชดเชย ค่ารักษา ข้ามปีได้ • ข้อ 19 ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์เบิกเมื่อได้รับแจ้งหนี้ • ข้อ 20 การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศให้ชำระเป็นบาท • ข้อ 21 การเบิกเงินทุกกรณี ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย • ข้อ22มอบหมายให้ส่วนราชการอื่นเบิกแทนได้

  8. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีการเบิกเงิน ข้อ 23 - เปิดบัญชีกับธนาคารรัฐวิสาหกิจ บัญชีเงินในงบประมาณและบัญชีเงินนอกงบประมาณ - สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย - ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอเบิกเงิน - ตรวจสอบการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลาง / คลังจังหวัด ในระบบ GFMIS

  9. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ข้อ 24 การเบิกเงินสำหรับทางการ ซื้อ / จ้าง หรือเช่าทรัพย์สิน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุให้ปฏิบัติ ดังนี้ - วงเงินตั้งแต่ห้าพันบาทให้สร้างใบ PO - ถ้าเกินห้าพันไม่สร้าง PO กรณี จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ - การซื้อทรัพย์สินฯ ให้เบิกอย่างช้าไม่เกินห้าวันนับจากกรรมการตรวจรับงานถูกต้องหรือนับจากวันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานย่อย -ข้อ 25 ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสาร และค่าโทรคมนาคม ให้เบิกกับเจ้าหนี้โดยตรง - ข้อ 26 การเบิกเงินสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือกรณีอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ - ข้อ 27 การเบิกเงินที่จะต้องจ่ายในวันสิ้นเดือนให้เบิกภายในวันที่ 15 ของเดือน

  10. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 4 การเบิกเงินของส่วนราชการที่มีสำนักงานไปต่างประเทศ ข้อ 28 - 30

  11. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ ( ข้อ 31 – 49 ) ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินยืม - ข้อ 31 ต้องถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีหรือตามที่ได้รับจากกระทรวงการคลังโดยผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่าย - ข้อ 33 ผู้อนุมัติสั่งอนุมัติจ่ายในหลักฐานการจ่าย - ข้อ 34 การจ่ายต้องมีหลักฐานการจ่ายไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ - ข้อ 35 ถ้ายังไม่จ่ายเงินห้าม เรียกหลักฐานการจ่าย

  12. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) • ข้อ 36 ถ้าข้าราชการ ลูกจ้าง หรือผู้รับบำนาญมารับเงินไม่ได้ให้ใช้ ใบมอบฉันทะและถ้าเป็นบุคคลอื่นให้ใช้ใบมอบอำนาจ • การจ่ายเงินกรณีโอนสิทธิเรียกร้องให้เป็นไปตามกระทรวงการคลังกำหนด • ข้อ 37 เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องประทับตรา “ จ่ายเงินแล้ว ”โดยลงมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายด้วยตัวบรรจงพร้อม วัน เดือน ปี กำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายทุกฉบับ

  13. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) • ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นภาษาไทยและให้ผู้ใช้สิทธิขอเบิกเงินลงลายมือชื่อรับรองคำแปลด้วย ข้อ 38 การจ่ายเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกการจ่ายไว้ในระบบ

  14. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักฐานการจ่าย • ข้อ 39 การจ่ายเงินทุกครั้งต้องใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน หรือใบรับรองการจ่ายเงินหรือเอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลัง กำหนดเป็นหลักฐานการจ่าย

  15. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) • - ข้อ 40การโอนเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยตรงให้ใช้รายงานตามที่กระทรวงการคลังกำหนดเป็นหลักฐานการจ่าย • ข้อ 41 ใบเสร็จรับเงินอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้1. ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน • 2. วัน เดือน ปี ที่รับเงิน • 3. รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร • 4. จำนวนเงินทั้ง ตัวเลข และตัวอักษร • 5. ลายมือชื่อผู้รับเงิน

  16. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 42 ถ้าไม่สามารถเขียนใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้ไปสำคัญรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย ข้อ 43หากจ่ายเงินแล้วได้รับใบเสร็จไม่ครบถ้วนทุกรายการ ให้ทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินเบิกและทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงิน ข้อ 44 ถ้าใบเสร็จรับเงินหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จมาเบิกแทนได้โดยการให้ผู้รับเงินรับรองเป็นเอกสารเป็นการเบิกแทน

  17. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) • หากไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้ให้ผู้ขอเบิกทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผลของการสูญหายและรับรองว่ายังไม่เคยทำใบเสร็จมาเบิกและแม้พบภายหลังที่ก็จะไม่ทำมาเบิกจ่ายอีก เสนอผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้นอธิบดีหรือเทียบเท่า (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการ ( ในส่วนภูมิภาค ) เพื่ออนุมัติให้ใช้ใบรับของนั้นเป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินได้ และเมื่อจ่ายเงินให้ทำใบสำคัญรับเงิน และลงชื่อรับเงินในใบเสร็จรับเงินนั้น

  18. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) - ข้อ44 กรณีหลักฐานการจ่ายของส่วนราชการสูญหายให้ถือปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด - ข้อ45 หากหลักฐานการจ่ายผิดต้องแก้ไขโดยวิธีการขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่และให้ผู้รับเงินลงนามกำกับชื่อทุกแห่ง - ข้อ46 หลักฐานการจ่ายให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยมิให้สูญหายหรือเสียหายได้ทั้งนี้เมื่อ สตง.ตรวจสอบให้เก็บอย่างเอกสารธรรมดา

  19. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน - ข้อ 47 การจ่ายเงินให้จ่ายเงินเช็ค ยกเว้น เงินทดรองราชการซึ่งเก็บไว้เป็นเงินสด หรือการจ่ายเงินให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด หรือการจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าห้าพันบาทจะจ่ายเป็นเงินสดได้ - การจ่ายเงินผ่านธนาคารหรือด้วยวิธีอื่นใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

  20. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) - ข้อ 48 การเขียนเช็คให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1. การจ่ายให้เจ้าหนี้หรือผู้ที่รับเงินในกรณีซื้อทรัพย์สินจ้างทำของ หรือเช่าทรัพย์ให้สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ให้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ และขีดคร่อมด้วย 2. การจ่ายเช็คให้กับผู้รับเงินนอกจากกรณีตาม ข้อ (1) ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิ์รับเงิน

  21. หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 48 3. ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการและขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเป็นเงินสด ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้าโดยยังมิได้เขียนหรือผู้รับเงิน วันที่ออกเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ข้อ 49 การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร ให้เขียนหรือพิมพ์ขีดเส้นและชิดคำว่าบาท หรือขีดเส้นหน้าจำนวนตัวเลขและตัวอักษรโดยไม่มีช่องว่างให้เติมได้ และให้ขีดเส้นหลังชื่อสกุล ชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด “หรือผู้ถือ” โดยมิให้มีการเขียนข้อบุคคลอื่นเติมได้

  22. หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม ( ข้อ 50 – 63 ) - ข้อ 50 รูปแบบของสัญญายืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์และสัญญา ค้ำประกัน เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด - ข้อ 51 ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินยืม - ข้อ 52 การจ่ายเงินยืมจ่ายได้เฉพาะผู้ยืม และมีผู้อนุมัติจ่ายหรือมอบฉันทะ - ข้อ 53 ให้ยืมเท่าที่จำเป็นและห้ามอนุมัติให้ยืมรายใหม่เมื่อยังไม่ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นก่อน

  23. หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) • ข้อ 55 เงินนอกงบประมาณให้ยืมได้ตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น หรือกรณีอื่นซึ่งจำเป็นและเร่งด่วนแก่ราชการและได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ • ข้อ 56 สัญญาต้องทำ 2 ฉบับ ส่วนราชการ 1 ฉบับ ผู้ยืม 1 ฉบับ • ข้อ 57 ถ้ายืมคาบเกี่ยวมีงบประมาณให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณที่ยืม (1) ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการคาบเกี่ยวได้ 90 วัน นับแต่วันเริ่มปีงบประมาณใหม่

  24. หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) • ข้อ 57 (2) เงินยืมสำหรับราชการอื่น ให้ใช้จ่ายคาบเกี่ยวได้ 30 วัน นับจากวันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ • ข้อ 58 การจ่ายเงินยืมให้แก่บุคคลใดในสังกัด ทำได้เฉพาะงบรายจ่ายดังต่อไปนี้ 1. รายการค่าจ้างชั่วคราว 2. รายการค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

  25. หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) 3. รายการค่าสาธารณูปโภคเฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข 4. งบกลางเฉพาะสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรหรือ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว สำหรับลูกจ้างชั่วคราวซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นงวดแน่นอน 5. งบรายจ่ายอื่นที่จ่ายลักษณะเดียวกันกับ (1) (2) หรือ (3) ข้อ 59 การจ่ายเงินยืมในราชอาณาจักรในการเดินทางไปราชการต้องไม่เกิน 90 วัน ถ้าเกินต้องขอตกลงกระทรวงการคลัง

  26. ข้อ 60 กำหนดการส่งใช้เงินยืม 1. เดินทางไปประจำต่างสำนักงาน คืนภายใน 30 วันนับจาก วันที่ได้รับเงิน 2. ไปราชการชั่วคราวคืนภายใน 15 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง 3. นอกจาก 1 หรือ 2 ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับเงิน

  27. ข้อ 61 เมื่อรับคืนใบสำคัญเมื่อล้างหนี้ • บันทึกการรับคืนในสัญญายืม พร้อมออกใบรับใบสำคัญ / ใบเสร็จรับเงิน ข้อ 62 หากชำระคืนล่าช้า ผู้อนุมัติให้ต้องติดตามใช้ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน นับจากวันครบกำหนด • ถ้าปฏิบัติตามระเบียบไม่ได้ให้พิจารณาสั่งการบังคับตามสัญญายืมเงิน

  28. หมวดที่ 6 ( ข้อ 64 - 78 ) การรับเงินของส่วนราชการ ข้อ 64 ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ 66 ต้องทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน - ให้จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จประจำปีงบประมาณ - ห้ามขูดลบแก้ไขเพิ่มเติม จำนวนเงิน / ชื่อผู้ชำระเงิน - เก็บรักษาใบเสร็จไว้ในที่ปลอดภัย

  29. การรับเงิน ข้อ 73 ให้รับเป็นเงินสด เว้นแต่การรับเป็นเช็ค ดร๊าฟ หรือ วิธีการอื่นตามกระทรวงการคลังกำหนด • ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่รับเงิน • ให้บันทึกข้อมูลรับเงินในระบบภายในวันที่รับเช็ค • หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรตรวจสอบจำนวนที่จัดเก็บและหลักฐานที่บันทึกไว้ในระบบ ข้อ 77 สิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้นำเงินทั้งหมดพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงินและเอกสารในวันนั้นส่งเจ้าหน้าที่การเงิน

  30. หมวดที่ 7 ( ข้อ 79 – 94 ) การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ ข้อ 79 ให้เก็บเงินในตู้นิรภัย ข้อ 82 ให้แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน ข้อ 88 ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

  31. หมวดที่ 8 ( ข้อ 95 – 100 ) การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง -ข้อ 95 เงินเบิกจากคลัง หากจ่ายไม่หมดต้องคืนคลังภายในสิบห้าวันทำการนับจากวันรับเงินจากคลัง -ข้อ 96 นำส่งเงินเหลือจ่าย ภายในปีงบประมาณ / ก่อนสิ้นระยะเวลากันเป็นเงินเบิกเกินส่งคืน หากส่งหลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

  32. หมวดที่ 9 ( ข้อ 101 - 102 ) การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ 101 กันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน กันได้ 6 เดือน นับจาก วันสิ้นปีงบประมาณ - กันเงินแบบไม่มีหนี้ผูกพัน ให้ตกลงกระทรวงการคลังเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ขอกันเงินได้ ข้อ 102 การขอกันเงินต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ

  33. หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ • - ข้อ 103 ให้บันทึกบัญชีตามแบบระบบบัญชีของส่วนราชการ • ข้อ 104 ทุกสิ้นวัน ให้ตรวจสอบเงินสด เช็คคงเหลือและรายงานเงินคงเหลือประจำวันตามแบบกรมบัญชีกลางกำหนด • สิ้นปีงบประมาณ ให้จัดทำรายงานการเงินเสนอให้หน้าส่วนราชการ • - ข้อ 105 ให้อำนวยตามสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ สตง. และผู้ตรวจสอบภายใน

  34. หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ - ข้อ 107 หากส่วนราชการใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการโดยด่วน - ข้อ 108 หากปรากฏ เงินขาดบัญชี สูญหาย ให้หัวหน้าส่วนราชการ / ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานกระทรวงเจ้าสังกัดทราบ และดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิด ทางละเมิดหรือความผิดทางอาญาแผ่นดินให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด

More Related