1 / 31

แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551

แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551. 1. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด 2. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ คลินิก รพ.เอกชน สถานบริการนวดเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

Télécharger la présentation

แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551

  2. 1. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด 2. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ คลินิก รพ.เอกชน สถานบริการนวดเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ 3. งานพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย เครือข่ายการ คบ. เผยแพร่และตรวจสอบการโฆษณา 4. งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พัฒนาบริการ ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร 5. งานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ( OTOP )

  3. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์

  4. 1.การลดและขจัดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ที่ไม่เหมาะสมสถานการณ์ปัญหา- การจำหน่ายยาลูกกลอนที่ไม่มีทะเบียน - ยาแผนปัจจุบันปลอมปนในยาแผนโบราณ- ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลยาก และโรคหนังเน่า 1. ผลิตภัณฑ์ด้านยา

  5. สเตียรอยด์คืออะไร ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไต การแพทย์ ใช้เป็นสารในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าว กฎหมายกำหนดเป็น “ยาควบคุมพิเศษ ” เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง

  6. อันตรายของสเตียรอยด์ • การติดเชื้อ ภูมิต้านทานลด • กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน • แผลในกระเพาะอาหาร • กระดูกผุ(Osteoporosis) • ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลยาก น้ำตาลสูง กว่าปกติ

  7. แหล่งสเตียรอยด์ที่สำคัญแหล่งสเตียรอยด์ที่สำคัญ • ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน • ยาชุด • ยาพระ • ยานี้มี อย.

  8. มิติที่ 1 การประชาคมชาวบ้านหรือชุมชน มิติที่ 2 การทำงานในรูปแบบเครือข่าย - เครือข่าย อสม. - เครือข่าย อย.น้อย - เครือข่ายวิทยุชุมชน - เครือข่ายผู้นำชุมชน มิติที่ 3 การประชาสัมพันธ์ และสื่อสารกับสังคม มิติที่ 4 การกำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมาย

  9. 2. การดำเนินงานความปลอดภัยด้านยา (Drug Safety) “ ยาปลอดภัย ผู้ป่วยปลอดภัย ” Drug Safety Patient Safety สถานการณ์ปัญหา ประเทศไทย ปี 2547 - มีการแพ้ยา ร้อยละ 9 ของผู้ใช้ยา - พิการ ร้อยละ 23 - เสียชีวิต ร้อยละ 11

  10. แนวทางการดำเนินงาน จัดระบบการบริหารจัดการด้านยาให้รัดกุม คือ 1. จัดระบบตรวจทานยาก่อนจ่ายทั้งชื่อยาและคำสะกดชื่อ 2. หลีกเลี่ยงการรับคำสั่งด้วยปากเปล่า 3. ให้อ่าน ตรวจทานชื่อยา และการสั่งใช้ทุกครั้งให้ตรงกับผู้ป่วย 4. ให้เข้มงวดการพิจารณายาตัวใหม่ที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล 5. ให้พัฒนาระบบการรวบรวมและจัดทำคู่มือ กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึง ประสงค์ทางยา และเหตุการณ์พึงสังวรณ์จากการใช้ยา 6. มีเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านยา โดยตรง ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลมีระบบเตือนภัยและการป้องกันอย่าง รวดเร็ว

  11. ผลิตภัณฑ์อาหาร 1. การเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร 1. อาหารตระกูลเส้น ( เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ก๋วยจั๊บ ขนมจีน) 2. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ไส้กอก ลูกชิ้น หมูยา แหนม ฮอทดอก กุนเชียง 3. ผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก 4. ถังน้ำเย็น ถังก๋วยเตี๋ยวโรงเรียน ปลอดภัยไร้สารตะกั่ว 6. เฝ้าระวังความอาหารจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด 5. ปลาส้ม 7. แตงโมไร้สารเคมี

  12. นโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอางนโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอาง นโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอาง 1. กำหนดเป็นกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิต /ผู้นำเข้าจะต้องมาดำเนินการ แจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต่อ อย. ก่อนวางจำหน่าย 2. ส่งเสริมให้การผลิตเครื่องสำอางปฏิบัติตามแนวทาง GMP 3.ให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการรับแจ้งรายละเอียดเครื่องสำอาง การตรวจประเมิน GMP และการตรวจสอบติดตามผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางภายหลังออกสู่ตลาด 4. การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบใดๆ ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

  13. ตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า มีความปลอดภัยจากสารห้ามใช้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก baseline ปี 2550

  14. แนวทางการดำเนินงาน  เฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางกลุ่มเสี่ยง  ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนร้านจำหน่าย  ตรวจติดตามดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน  รณรงค์ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ผิดกฎหมายและอันตรายที่เกิดกับผู้ใช้

  15. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ จำนวนสถานพยาบาลเอกชน จังหวัดยโสธรมีทั้งหมด 69 แห่ง ได้แก่ 1. คลินิก 67 แห่ง 2. รพ.เอกชน 2 แห่ง ตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากบริการสุขภาพ ตรวจ ควบคุม กำกับมาตรฐานสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาล และคลินิก ร้อยละ 100

  16. แนวทางการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 • การเป็นผู้อนุญาตตามกฎหมาย • ตรวจมาตรฐานประจำปี รพ.เอกชน และคลินิกทุกแห่ง • สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง ผู้กระทำผิดกฎหมาย และดำเนินคดีต่อ ผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย • รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานพยาบาล และดำเนินการตามขั้นตอน

  17. แนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับงานธุรกิจบริการสุขภาพแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับงานธุรกิจบริการสุขภาพ •  การตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ เพื่อให้สถานประกอบการจัดให้มีไว้ซึ่งมาตรฐาน • การพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้สถานประกอบการสามารถ จัดบริการได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการและตามมาตรฐานสากล

  18. 3. งานแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

  19. สภาพปัญหา • การแพทย์แผนไทยขาดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง • - ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น • - กระแสความนิยมการใช้การแพทย์ทางเลือกที่เพิ่มสูงขึ้น

  20. การแพทย์แผนไทย เป้าประสงค์ ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ถ่ายทอดและคุ้มครองภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรอย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ - คนไทยแข็งแรง - พัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก

  21. การแพทย์แผนไทย ตัวชี้วัด • ร้อยละ 7.5ของประชาชนที่มีหลักประกันสุขภาพได้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ • ร้อยละ 90ของ รพท. / รพช. มีการให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ • ร้อยละ 93ของ สอ. มีการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยระดับ 1ขึ้นไป

  22. การแพทย์แผนไทย แนวทางการดำเนินงานด้านการแพทย์ ปีงบ51 • การพัฒนาคุณภาพบริการในสถานบริการสุขภาพของรัฐ • 2. การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย • 3. ส่งเสริมการพึ่งตนเองของประชาชน • 4. การประชาสัมพันธ์ • 5. การใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

  23. การใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันการใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน • มิติที่ 1 สร้างการรับรู้นโยบายและแนวทาง • มิติที่ 2 สร้างการพร้อมใช้ • มิติที่ 3 สร้างการยอมรับ

  24. 4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย อย.น้อย คือ การที่เด็กที่อยู่ในวัยเรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ตระหนักถึงเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคอาหาร มารวมกลุ่มกันตั้งเป็น “ ชุมชนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ”

  25. วัตถุประสงค์ 1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ ไปยังเพื่อนและครอบครัว 2. นักเรียน อย.น้อย นำกิจกรรมไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา พฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน เป้าหมาย โรงเรียนมัธยม โรงเรียนขยายโอกาส 100% โรงเรียนอาชีวะ 2 แห่ง

  26. 5. งานส่งเสริม OTOP ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะพหุภาคี กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุมชน ภายใต้หลักสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของผู้บริโภค ประการที่สอง สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ- ชุมชน และท้องถิ่น มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ประการสุดท้าย ให้สังคมมีความเข้มแข็ง ดำรงชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

  27. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ปีงบประมาณ 2551 1. กลุ่มเป้าหมาย 2. ผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชน 3. พหุภาคีระดับต่างๆ 4. ประชาชนผู้บริโภค

  28. ผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชนผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชน แผนงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 1. ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนมีคุณภาพ ปลอดภัย 2. กลุ่มผู้ผลิตชุมชนได้รับใบอนุญาต/ขึ้นทะเบียน/ใบรับรอง ได้รวดเร็ว 3. กลุ่มผู้ผลิตชุมชนปฏิบัติผิดกฏหมายลดลง (หลังได้รับใบอนุญาต/ขึ้นทะเบียน/ใบรับรอง) 4. ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนมีศักยภาพในการส่งออกมากขึ้น

  29. พหุภาคีระดับต่างๆ แผนงานพัฒนาองค์การและวิชาการ 1. พหุภาคีทุกระดับมีนโยบายในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ชัดเจนและเหมาะสม 2. พหุภาคีทุกระดับมีการประสานความร่วมมือระหว่างกัน ในการดำเนินงาน 3. ระบบการทำงานของพหุภาคีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีการสื่อสารและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 4. ระเบียบ กฏหมายที่เป็นอุปสรรคได้รับการปรับปรุง แก้ไขให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

  30. ประชาชนผู้บริโภค แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 1. ประชาชนผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชุมชนได้อย่างถูกต้องและพิทักษ์ตนเองได้ 2. ประชาชนผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชุมชนที่ถูกต้อง เหมาะสม 3. ประชาชนผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเมื่อเกิดความเสียหาย จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน

  31. จบการนำเสนอ

More Related