1 / 12

M a h i d o l U n i v e r s i t y

M a h i d o l U n i v e r s i t y. การเข้ามาของพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่ดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน. http://www.9wat.net/Backg3.php. พระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายครั้ง ดังนี้ 1. ครั้ง พระโสณะและพระอุตระ (พ.ศ. 238 ไม่เกิน พ.ศ. 300 )

Télécharger la présentation

M a h i d o l U n i v e r s i t y

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. M a h i d o l U n i v e r s i t y การเข้ามาของพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่ดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน http://www.9wat.net/Backg3.php

  2. พระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายครั้ง ดังนี้ • 1. ครั้ง พระโสณะและพระอุตระ (พ.ศ. 238 ไม่เกิน พ.ศ. 300) • 2. พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกาม (พ.ศ. 1600) • 3. พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกา มีการเข้ามา 5 ครั้ง • - ท่านพระราหุลเถระชาวลังกาที่พำนักที่นครศรีธรรมราชนำเข้ามายังสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1700-1800 • - พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาเข้ามายังเทืองเมาะตะมะของรามัญ แล้วเข้ามายังสุโขทัยขึ้นไปถึงล้านนา (ประมาณ พ.ศ. 1874) • - พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกาโยตรงเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1967) • - พระพุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาโยตรงเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2008) • - พระพุทธศานาเถรวาทแบบลังกาสายมอญ (2108) • ต่อไปนี้เป็นการอธิบายภาพรวมของการเข้ามาของแต่ละสายโดยย่อ

  3. M a h i d o l U n i v e r s i t y 1. พระพุทธศาสนาเถรวาทสายพระโสณะ และพระอุตตระ เกิดจากหลังสังคายนาครั้งที่ 3 ไม่นาน ประมาณ พ.ศ. 238 แต่ก่อน พ.ศ. 300 หลักฐานที่พบในประเทศไทย พระปฐมเจดีย์ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่า คือสุวรรณภูมิที่คัมภีร์โบราณของพระพุทธศาสนากล่าวถึง ซึ่งในยุคนั้นเป็นที่อยู่ของชนเผ่า มอญ ซึ่งต่อมาปรากฎนามอาณาจักรทวารวดี หลักฐานสำคัญอื่นๆ เช่น รูปธรรมจักรศิลา ภาษาที่ใช้จารึกพระธรรมเป็นภาษามคธ พบการสลักแท่นพุทธอาสน์และพบการแกะสลักรอยพระพุทธบาท

  4. 2. พระพุทธ ศาสนาเถรวาทสายพุกาม เข้ามาในช่วง พ.ศ. ๑๖๐๐ สายนี้เข้ามาสู่ไทยด้วยอิทธิพลของพระเจ้าอนุรุธมหาราช ผู้ได้อำนาจในพม่าและตั้งเมืองหลวงขึ้นที่เมืองพุกาม และทรงรับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากพวกรามัญ ที่พระองค์ทรงรบชนะ แล้วนำไปเผยแผ่ในเมืองพุกามของพระองค์ ดังนั้นจึงชื่อว่าพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกาม นิกายนี้เข้ามาสู่ดินแดนไทยทางล้านนา ภาคเหนือของไทย ลพบุรี และทวารวดี ในสมัยนี้เองที่พระเจ้าอนุรธมหาราชโปรดให้คัดลอกพระไตรปิฎกจากลังกา และพระพุทธศาสนาเถรวาทในภูมิภาคนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากพระไตรปิฎกนี้สืบๆกันมา พวกรามัญหรือมอญสืบสายพระพุทธศาสนาเถรวาทจากครั้งพระโสณและพระอุตตระ และพระเจ้าอนุรุธมหาราชไปรับมาจากรามัญและมีชื่อใหม่ตามภูมิประเทศคือพุกาม จึงเรียกว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกาม (จริงแล้วคือเถรวาทที่สืบจากสมัยท่านโสณะและท่านอุตระที่เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมินั่นเอง)

  5. พุกาม เมืองทะเลแห่งเจดีย์

  6. 3. พระพุทธศาสนาแบบลังกา เข้ามา 5 ครั้ง ดังนี้ • 3.1 ท่านพระราหุลเถระชาวลังกาที่พำนักที่นครศรีธรรมราชนำเข้ามายังสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1700-1800 ท่านราหุลเข้ามายังเมืองพุกามของพม่าพร้อมคณะจากนั้นท่านแยกมาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช พ่อขุนรามแห่งเมืองสุโขทัยศรัทธาในความรู้และการปฏิบัติจึงอาราธนามายังเมืองสุโขทัย • 3.2 พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาเข้ามายังเทืองเมาะตะมะของรามัญ แล้วเข้ามายังสุโขทัยขึ้นไปถึงล้านนา (ประมาณ พ.ศ. 1874) สายนี้เข้ามายังสมัยสุโขทัย เพราะพระสงฆ์สุโขทัยศึกษาเล่าเรียนที่เมืองเมาะตะมาะที่สืบมาจากลังการอีกทอดหนึ่ง พระเถระแห่งเมืองเมาะตะมะชื่อ พระอุทุมพรบุปผามหาสวามี มีกิตติศัพท์ถึงสุโขทัย พระสงฆ์จากสุโขทัยคือ พระอโนมทัสสี และพระสุมมนะ ไปยังเมืองเมาะตะมะนี้ ศึกษาเล่าเรียน อยู 4 ปั กลับมายังสุโขทัยอีก 10 ปี ได้พาพระจากสุโขทัยไปบวชแบบรามัญที่เมาะตะมะอีก 8 รูป กลับมาสืบลังกาวงศ์แบบมอญ

  7. 3.3 พระพุทธศาสนาแบบเถรวามจากลังกาโยตรงเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1967) เกิดจากพระสงฆ์จากเชียงใหม่ 25 รูป และพระเขมรอีก 8 รูป ไปยังลังกา และบวชใหม่ ณ สีมาน้ำ ต่อมาออกมาจากลังกาเพราะเกิดเหตุการณ์ข้าวยากหมากแพง พร้อมชวนพระจากลังกามา 2 รูปชื่อ พระมหาวิกรมพาหุ และพระอุดมปัญญา โดยมากับสำเภาของพระเถระจากกรุงศรีอยุธยาที่ไปเยือนลังกา คือพระพรหมุนีเถระ และพระโสมะเถระแล้วกลับมายังกรุงศรีอยุธยา พระเถระชาวลังกาทั้งสอง ได้อุปสมบทให้กุลุบุตรและสอนตามแบบลังกาวงศ์ จากนั้นไปอุปสมบทและเผยแผ่ที่เมืองศรีสัชชนาลัยและไปยังเมืองเชียงใหม่ในกาลต่อมา ไปยังนครลำปาง เชียงราย เชียงแสน และกลับมาเชียงราย ทำให้เถรวาทแบบลังกาวงศ์มั่นคงในล้านนา • 3.4 พระพุทธศาสนาแบบเถรวามจากลังกาโยตรงเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2008) เกิดขึ้นในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์โปรดให้นิมนต์พระเถระจากลังกาโดยตรงใน พ.ศ. 2008 พระองค์ทรงผนวชในวงศ์นี้อยู่ 8 เดือน พระองค์ทรงให้นิมนต์พระสงฆ์จากเชียงใหม่มาร่วมสังฆกรรมคือการทรงผนวชของพระองค์ด้วยนี้ด้วย

  8. 3.5 - พระพุทธศานาเถรวาทแบบลังกาสายมอญ (2108) • เกิดในสมัยพระนเรศวรมหาราชทราบจากพระมหาเถระคันฉ่องแห่งรามัญว่า พระเจ้าหงสาวดี ออกแผนลวงให้ไปพม่าและจะลอบปลงพระชนม์พระนเรศวรฯ จึงทราบและทรงประกาศอิสรภาพ กลับมายังอยุธยาและโปรดให้พระเถระคันฉ่องพร้อมคณะสงฆ์และประชาชนชาวมอญหรือรามัญเข้ามาด้วย • สรุป พระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามายังไทย ทั้งสายเดิมหรือเรียกว่า สายปาฏลีบุตร สายพุกาม สายลังกา สายมอญ ล้วนแต่สืบสายจาก สายปาฏลีบุตร คือสายที่พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูต ๙ สาย ซึ่งสาย ที่ ๙ มีท่านโสณะและท่านอุตระมายังสุวรรณภูมิ และสายที่ ๙ คือท่านมหินทะเถระไปยังลังกา นั่นก็คือพุทธศาสนาเถรวาทดั้งเดิมจากอินเดียที่สืบจากพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนั่นเอง

More Related