1 / 26

การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตต่อเหล็กเสริม ( Bond Strength )

การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตต่อเหล็กเสริม ( Bond Strength ).

aderyn
Télécharger la présentation

การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตต่อเหล็กเสริม ( Bond Strength )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตต่อเหล็กเสริม (Bond Strength)

  2. การทดสอบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดของเหล็กเสริมชนิดกลมและชนิดข้ออ้อยที่ฝังในก้อนคอนกรีตตัวอย่างด้วยวิธีการดึง (Pull-Out Test) ทั้งนี้เพราะโครงสร้างคอนกรีตทั่วไปส่วนใหญ่มักมีการเสริมเหล็กเพื่อช่วยในการรับแรง ไม่ว่าจะเป็นการเสริมเหล็กธรรมดาหรือลวดเหล็กก็ตาม ดังนั้นกำลังในการยึดเหนี่ยว (Bond Strength) ของคอนกรีตกับเหล็กเสริมที่เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถรับแรงได้เต็มประสิทธิภาพตามที่ออกแบบไว้ บทนำ

  3. กำลังในการยึดเหนี่ยว (Bond Strength) เกิดจากการยึดติด (Adhesion) และแรงเสียดทาน (Friction) ของเหล็กเสริมกับซีเมนต์เพสท์ที่แข็งตัวแล้ว แต่มีความยากในการวัดค่าที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น - ขณะที่คอนกรีตได้รับการบ่มและแข็งตัวจะเกิดการหดตัว ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างเหล็กเสริมและคอนกรีตลดลงส่งผลให้แรงยึดเหนี่ยวลดลง - คอนกรีตมีการแตกร้าวหรือน้ำซึมผ่านได้ง่ายก็จะทำให้เกิดการกัดกร่อนเหล็กเสริมทำให้แรงยึดเหนี่ยวลดลง ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

  4. - ตำแหน่งในการเสริมเหล็ก เช่น บริเวณใต้เหล็กบนอาจมีช่องอากาศเนื่องจากการเยิ้ม ทำให้แรงยึดเหนี่ยวลดลง - การใส่สารผสมเพิ่ม เช่น สารกักกระจายฟองอากาศ ทำให้แรงยึดเหนี่ยวลดลง (รูปแสดงการเกิด Bond และ Adhesion ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก)

  5. ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงยังไม่มีวิธีการวัดกำลังในการยึดเหนี่ยว (Bond Strength) ที่เป็นมาตรฐานแต่อย่างไรก็ตามการทดสอบด้วยการดึง (Pull-Out Test), ASTM C 234) ถือเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเปรียบเทียบค่ากำลังในการยึดเหนี่ยวของคอนกรีตซึ่งทำโดย การหล่อก้อนตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 15 X 15 X 15 ซม. แล้วฝังเหล็กเสริมไว้ต่อจากนั้นทำการดึงเหล็กเสริมออก ด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงเพื่อหาแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดของคอนกรีต กับเหล็กเสริม โดยกำลังในการยึดเหนี่ยวสูงสุด (Maximum Bond Strength) สามารถหาได้จากแรงดึงสูงสุดหารด้วยพื้นที่ของเหล็กเสริมที่สัมผัสกับคอนกรีต

  6. ในทางปฏิบัตินั้นถือว่ากำลังยึดเหนี่ยวของคอนกรีต (Bond Strength) มีความสัมพันธ์กับกำลังอัดของคอนกรีต คือ เมื่อกำลังอัดของคอนกรีตเพิ่มขึ้นกำลังยึดเหนี่ยวของคอนกรีตจะเพิ่มตาม และกำลังยึดเหนี่ยวของเหล็กข้ออ้อยจะมากกว่าเหล็กกลม ดังรูปที่ 1 และพบว่ากำลังในการยึดเหนี่ยวลดลงอย่างมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่ไม่เท่ากันของเหล็กและคอนกรีต

  7. รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังยึดเหนี่ยวกับกำลังอัดของคอนกรีต (จากหนังสือ Concrete Structure,Properties, and Materials; Mehta & Monteiro) ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังยึดเหนี่ยวกับกำลังอัดของคอนกรีต

  8. มาตรฐานที่ใช้ ASTM C 234 Standard Test Method for Comparing Concrete on the Basis of the Bond Developed with Reinforcing Steel การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตต่อเหล็กเสริม

  9. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ(Universal Testing Machine) (รูปที่2อุปกรณ์ทดสอบแรงยึดเหนี่ยวและเครื่องทดสอบแรงดึง)

  10. 1. หล่อก้อนตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 15 X 15 X 15 ซม. แล้วฝังเหล็กข้ออ้อยหรือเหล็กกลมที่ต้องการทดสอบลงไป เมื่อก้อนตัวอย่างแข็งตัวแล้ว 24 ซม. จึงถอดแบบและบ่อมภายในห้องบ่ม เพื่อรอการทดสอบที่ 28 วันต่อไป 2. วัดเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริมโดย Micrometer และระยะที่ฝังเหล็กลงไปในก้อนตัวอย่างคอนกรีตด้วยไม้บรรทัดเหล็ก วิธีการทดสอบ

  11. 3.ติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบแรงยึดเหนี่ยวเข้ากับก้อนตัวอย่าง 3.ติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบแรงยึดเหนี่ยวเข้ากับก้อนตัวอย่าง

  12. 4.ติดตั้งก้อนตัวอย่างเข้ากับหัวจับเครื่องทดสอบกำลังดึง และ Dial Micrometer เพื่อวัดระยะเลื่อนของเหล็กเสริม

  13. 5.วัดความยาวของเหล็กที่ปลายจนถึงส่วนที่ปลายอีกด้านที่สัมผัสคอนกรีตและจากหัวจับถึงด้านที่สัมผัสคอนกรีต5.วัดความยาวของเหล็กที่ปลายจนถึงส่วนที่ปลายอีกด้านที่สัมผัสคอนกรีตและจากหัวจับถึงด้านที่สัมผัสคอนกรีต 6.เปิดเครื่องเพื่อดึงเหล็กเสริม โดยควบคุมแรงดึงให้ไม่เกิน 5.78 กก./ตร.ซม./วินาที

  14. 7.ทำการทดสอบจนกว่าแรงที่ใช้ดึงเหล็กเสริมถึงจุดสุดสุด หรือเมื่อคอนกรีตเริ่มชำรุดแยกออกจากกันหรือเมื่อระยะลื่นมีค่ามากกว่า 2.5 มม. บันทึกค่าแรงดึงสูงสุด

  15. 8.คำนวณหากำลังยึดเหนี่ยวสูงสุด (Maximum Bond Stress) กำลังยึดเหนี่ยวสูงสุด= แรงดึงสูงสุด พื้นที่เหล็กเสริมที่สัมผัสคอนกรีต 9.ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างเหล็กข้ออ้อยกับเหล็กกลม

  16. ผลการทดสอบพบว่าในการหากำลังยึดเหนี่ยวของเหล็กเสริมนั้น เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ -เหล็กข้ออ้อยจะ ไม่มีการครูดหรือลื่นไถลเมื่อมีการทดสอบ -ส่วนเหล็กเส้นกลมนั้นมีการลื่นไถลเล็กน้อยเมื่อมีการทดสอบ -ซึ่งถ้าหากมีการเพิ่ม คุณภาพคอนกรีตให้มีค่ากำลังอัดที่มากขึ้นก็จะสามารถทำให้ค่าของกำลังยึดเหนี่ยวในเหล็กเสริมเพิ่มมากขึ้นด้วย ผลการทดสอบ

  17. -เหล็กเสริมข้ออ้อยมีค่าหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงกว่าในเหล็กเส้นกลมเรียบ เท่ากับ 60 % -และเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. มีค่าหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงกว่าเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 19 มม.เท่ากับ 30 %

  18. เทคโนโลยีคอนกรีตที่สามารถเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้กับคอนกรีตเทคโนโลยีคอนกรีตที่สามารถเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้กับคอนกรีต

  19. ซึ่งเส้นใยสังเคราะห์บางชนิดสามารถใช้เพื่อเพิ่มแรงดึงและแรงยึดเหนี่ยวให้กับคอนกรีตนอกเหนือจากการเสริมเหล็กได้ ซึ่งเส้นใยสังเคราะห์บางชนิดสามารถใช้เพื่อเพิ่มแรงดึงและแรงยึดเหนี่ยวให้กับคอนกรีตนอกเหนือจากการเสริมเหล็กได้ -เส้นใยสังเคราะห์ถูกผลิตขึ้นโดยเฉพาะเพื่อใช้สำหรับงานวิศวกรรมคอนกรีต ซึ่งสังเคราะห์จากวัสดุที่สามารถทนต่อสภาวะที่เป็นด่างสูงของคอนกรีตได้ในระยะยาวซึ่งต่างกับเส้นใยธรรมชาติที่ไม่คงทน การใช้เส้นใยสังเคราะห์ในคอนกรีต Synthetic Fibers for Concrete

  20. -เราสามารถใส่เส้นใยสังเคราะห์เพิ่มลงไปในระหว่างการผสมคอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำจากผู้ผลิตโดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมคอนกรีตที่ได้ออกแบบไว้แล้ว โดยเส้นใยสังเคราะห์สามารถผสมร่วมกับสารผสมเพิ่มอื่นๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาผสมคอนกรีต, ซิลิก้าฟูม หรือปูนซีเมนต์พิเศษต่างๆ

  21. คอนกรีตเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตอ่อนแอและเกิดรอยร้าวขึ้น เนื่องจากแรงเค้น (Stress) ที่เกิดขึ้นมีเกิดมีมากกว่ากำลังที่คอนกรีตจะรับได้ในขณะนั้น  รอยแตกร้าวที่มีขนาดเล็กจะถูกหยุดการขยายตัวโดยคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นใยสังเคราะห์ อีกทั้งเส้นใยสังเคราะห์ยังช่วยยับยั้งการพัฒนาการเกิดรอยแตกร้าวจากการทรุดตัวของคอนกรีต เส้นใยสังเคราะห์ทำหน้าที่อย่างไรในสภาวะอายุคอนกรีตเริ่มต้น

  22. เส้นใยสังเคราะห์ที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอนั้นจะช่วยลดการเกิดโพรงอากาศที่เรียงตัวต่อเนื่องในทิศทางเดียวกัน (CapillaryPores) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคายน้ำขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีตสด โดยเส้นใยสังเคราะห์จะทำให้ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำต่ำลง ส่งผลให้ช่วยลดการเกิดรอยแตกร้าวแบบพลาสติก รวมทั้งสามารถลดการเยิ้ม (Bleeding) ของคอนกรีตสดลงได้

  23. การใช้เส้นใยสังเคราะห์มีส่วนทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วดีขึ้นด้วย โดยคอนกรีตที่ผสมเส้นใยสังเคราะห์จะมีคุณสมบัติในการลดการซึมผ่านของน้ำ เพิ่มความทนทานต่อการขัดสีและต้านทานการแตกร้าวจากแรงกระแทก เส้นใยสังเคราะห์ทำหน้าที่อย่างไรในสภาวะที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว

  24. ความสามารถในการต้านทานต่อการแตกร้าวจากแรงกระแทกจะถูกปรับปรุงเพิ่มขึ้นโดยสังเกตจากคอนกรีตธรรมดาที่ไม่ได้ผสมเส้นใยสังเคราะห์เมื่อได้รับแรงอัดจะชำรุดและแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตามแนวที่เริ่มแตกร้าว ส่วนคอนกรีตที่ผสมเส้นใยสังเคราะห์จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการแตกละเอียดเนื่องจากเส้นใยที่ผสมอยู่ภายในเนื้อคอนกรีตจับตัวกันอย่างซับซ้อนและเหนียวแน่นทานการแตกร้าวจากแรงกระแทก

  25. เพื่อลดรอยแตกร้าวเนื่องจากการแตกร้าวแบบพลาสติก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบเพื่อทดแทนเหล็กเสริมรับการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ (Wire Mesh) เพิ่มคุณสมบัติในการยึดเกาะตัวให้กับคอนกรีตที่ต้องเทในที่ลาดชันสูง อาทิเช่น Shotcreteหรืองาน Slipform ลดรอยแตกร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวของคอนกรีตสด เพิ่มคุณสมบัติในการลดการซึมผ่านของน้ำให้ต่ำลง เป็นวัสดุผสมคอนกรีตที่สามารถทนทานต่อด่างและสารเคมีได้ดี การประยุกต์การใช้งานที่เหมาะสม

  26. http://www.cte.kmutt.ac.th:8080/civillabpro/pdf/M16.pdf http://www.cte.kmutt.ac.th:8080/civillabpro/MatLab16.htm http://library.kmutnb.ac.th/projects/edu/TTC/ttc0105t.html http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0131 เอกสารอ้างอิง

More Related