1 / 78

สาระและแนวทางปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

สาระและแนวทางปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540. โดย อาจารย์เธียรชัย ณ นคร ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ในฐานะคณะทำงานเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม. หน้าถัดไป >>.

ashlyn
Télécharger la présentation

สาระและแนวทางปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาระและแนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 โดย อาจารย์เธียรชัย ณ นคร ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ในฐานะคณะทำงานเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม หน้าถัดไป >>

  2. การมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการบริหารงานของรัฐของประชาชนการมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการบริหารงานของรัฐของประชาชน • “สิทธิในการรับรู้” ของสาธารณชน กับ “ความจำเป็นในการเก็บรักษาความลับของข้อมูลข่าวสาร” ของรัฐ • “เสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร” ของสื่อมวลชน กับ “อำนาจในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร” ของรัฐ (Freedom of the Press and Censorship) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  3. กฎหมายรับรองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของต่างประเทศกฎหมายรับรองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของต่างประเทศ • Freedom of the Press Act 1949 ของประเทศสวีเดน • Freedom of Information Act 1966ของประเทศสหรัฐอเมริกา • The Law of July 17, 1978 ของประเทศฝรั่งเศส • Access to Information Act 1982ของประเทศแคนาดา และ Freedom of Information and Privacy Act 1967 ของมลรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา • Freedom of Information Act 1982ของประเทศออสเตรเลีย • Official Information Act 1982ของประเทศนิวซีแลนด์ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  4. เหตุผลในการรับรองสิทธิในการรับรู้ของสาธารณชนตามที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายของต่างประเทศเหตุผลในการรับรองสิทธิในการรับรู้ของสาธารณชนตามที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายของต่างประเทศ • เพื่อรับรองสิทธิของสาธารณชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยกำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สาธารณชนได้รับรู้หรือตรวจสอบ เว้นแต่กฎหมายจะได้กำหนดข้อยกเว้นไว้เป็นการเฉพาะ • เพื่อเป็นการยืนยันหรือมุ่งเน้นถึงความรับผิดชอบของรัฐบาล/ ระบบราชการโดยตรงต่อประชาชน • เพื่อเปิดโอกาสและส่งเสริมให้สาธารณชนได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจหรือการบริหารงานของรัฐในด้านต่างๆ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  5. เหตุผลในการรับรองสิทธิในการรับรู้ของสาธารณชนตามที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายของต่างประเทศ (ต่อ) • เพื่อคุ้มครองข้อมูลข่าวสารของราชการบางประเภท ซึ่งจำต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับหรือจำเป็นต้องปกปิดไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หรือประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม • เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล โดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของส่วนราชการหรือที่ส่วนราชการได้จัดทำขึ้น << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  6. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง • Secrecy Act 1980ของประเทศสวีเดน ที่กำหนดข้อจำกัดของของ Freedom of the Press Act 1949 • National Security Act 1947และExecutive Order ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจำกัดสิทธิในการรับรู้ตาม Freedom of Information 1966 • Privacy Act 1978ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองดูแลของรัฐบาลกลาง << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  7. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • The Law of July 3, 1979on Archivesของประเทศฝรั่งเศส ที่กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่สำคัญบางประเภท • The Law of July 11, 1979 on the giving reason for Administrative actsของประเทศฝรั่งเศส ที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องให้เหตุผลประกอบการทำคำสั่งหรือการใช้ดุลยพินิจของตน << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  8. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • The Archives Act 1983ของประเทศออสเตรเลีย ที่รับรองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนงานจดหมายเหตุ เพื่อเป็นการเสริมสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารตาม Freedom of Information Act 1982 • The Archives Act 1957 ของประเทศนิวซีแลนด์ ที่อนุญาตให้มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนงานจดหมายเหตุที่มีอายุเกินกว่า 25 ปี << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  9. พัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยพัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารในประเทศไทย • บทความเรื่อง “ความเป็นอิสระของข่าวสาร” • ข้อเสนอของนักวิชาการเกี่ยวกับการออกกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในการรับรองสิทธิในการรับรู้ของสาธารณชน • การจัดตั้งคณะกรรมการในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการยกร่างกฎหมาย (คณะกรรมการกำหนดแนวทางในการปรับปรุงบทบาทของระบบราชการในการพัฒนา) • การจัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงระบบบริหารราชการ ในสมัยรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุนและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  10. พัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารในประเทศไทย (ต่อ) • การเสนอร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. .... โดยพรรคพลังธรรม • การสนับสนุนให้มีกฎหมายข้อมูลข่าวสารในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชา • การผ่านกฎหมายข้อมูลข่าวสารในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  11. สาระของพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540และแนวปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  12. หลักการตามรัฐธรรมนูญ • รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ • สิทธิของประชาชนที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐ • สิทธิของประชาชนในการได้รับคำชี้แจงและเหตุผลจากรัฐ • หลักการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  13. เจตนารมณ์ของกฎหมาย • เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐอย่างกว้างขวาง เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ส่งเสริมให้รัฐบาลเป็นไปโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น และเพื่อคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  14. ประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการต่อประชาชนประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการต่อประชาชน • สามารถกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารงานของรัฐ • ประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินงานหรือกระบวนการ ตัดสินใจที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเอง หรือชุมชน • ส่วนราชการมีความโปร่งใสในการบริหารงานและมีระบบงานข้อมูลข่าวสารที่สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  15. หลักการเบื้องต้นของกฎหมายหลักการเบื้องต้นของกฎหมาย • เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น (กรณีข้อมูลข่าวสารของราชการโดยทั่วไป) • ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น (กรณีข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  16. ประเภทของข้อมูลข่าวสารประเภทของข้อมูลข่าวสาร • ข้อมูลข่าวสารของราชการโดยทั่วไป(มาตรา 7 มาตรา 9 และ มาตรา 11) • ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของราชการ(มาตรา 14 มาตรา 15 มาตรา 16 และ มาตรา 43) • ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล(มาตรา 4) • เอกสารประวัติศาสตร์(มาตรา 26) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  17. “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ (มาตรา 4) • “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน (มาตรา 4) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  18. “ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของราชการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อบุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใด และสมควรมีวิธีรักษามิให้รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (มาตรา 16) • “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 4) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  19. “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย (มาตรา 4) • “เอกสารประวัติศาสตร์” - ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือ มีอายุครบกำหนดตามวรรคสองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสาร นั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า (มาตรา 26) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  20. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน • ส่วนราชการต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบางประเภท(มาตรา 7) • ส่วนราชการต้องจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารบางประเภทเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจค้นได้ด้วยตนเอง(มาตรา 9) • การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนตามความต้องการเฉพาะราย(มาตรา 11) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  21. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเผยแพร่โดยการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7) • การจัดองค์กรและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ • สถานที่ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร • กฎ หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่มีสภาพอย่างกฎ • ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  22. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดเตรียมให้ประชาชนไว้ให้ประชาชนตรวจดู (มาตรา 9) • ผลการพิจารณาที่มีผลโดยตรงต่อประชาชน • นโยบายและการตีความ • แผนงาน โครงการและงบประมาณ • คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน • สิ่งพิมพ์ที่มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจานุเบกษา • สัญญาสำคัญของรัฐ เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาที่ลักษณะผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ • มติคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือครม. • ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  23. การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนตามความต้องการเฉพาะราย(มาตรา 11) • นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า ตามมาตรา ๒๖ แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  24. การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนตามความต้องการเฉพาะราย(มาตรา 11) • ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวมหรือจัดให้มีขึ้นใหม่ เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอมิใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ขอ หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  25. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย • ข้อมูลข่าวสารที่ห้ามเปิดเผยตามมาตรา 14 • ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยได้ตามมาตรา 15 ถ้าการเปิดเผยนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ • ความมั่นคงของรัฐ • การบังคับใช้กฎหมาย • ความเป็นอิสระในการทำงานของเจ้าหน้าที่ • ความปลอดภัยของประชาชน • ส่วนได้เสียอันพึงคุ้มครองของบุคคลอื่น << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  26. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย (ต่อ) • การใช้ดุลพินิจตามมาตรา 15 ต้องคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบกัน • การมีคำสั่งไม่เปิดเผยตามมาตรา 15 ถือเป็นดุลพินิจโดยเฉพาะของ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา • ถ้าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอ เจ้าหน้าที่ต้องให้เหตุผลของการปฏิเสธประกอบคำสั่งด้วย • การมีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 18 << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  27. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย (ต่อ) • คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง • ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายหรือประโยชน์อื่นใดของบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถกำหนดเงื่อน ไขหรือข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นได้ตามความเหมาะสม (มาตรา 20) • การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อาจกระทบต่อส่วนได้เสียของบุคคลใด ต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นคัดค้านก่อน (มาตรา 17) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  28. ระเบียบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยระเบียบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ พ.ศ. 2544 << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  29. ความหมายของข้อมูลข่าวสารลับความหมายของข้อมูลข่าวสารลับ “ข้อมูลข่าวสารลับ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 ที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับเอกชนซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับ ชั้นลับมาก หรือชั้นลับที่สุด ตามระเบียบนี้โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและประโยชน์แห่งรัฐประกอบกัน << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  30. ประเภทของชั้นความลับ ข้อ 12 ชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ (1) ลับที่สุด (TOP SECRET) (2) ลับมาก (SECRET) (3) ลับ (CONFIDENTIAL) ข้อ 13 ลับที่สุด หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด ข้อ 14 ลับมาก หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง ข้อ 15 ลับ หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  31. การกำหนดชั้นความลับ ข้อ 15 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดชั้นความลับ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับนั้นด้วยว่าเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด ในการนี้อาจมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวได้ตามความจำเป็นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือให้แก่ราชการส่วนภูมิภาค ในกรณีที่สามารถมอบอำนาจได้ตามกฎหมาย << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  32. การกำหนดชั้นความลับ (ต่อ) ข้อ 19 การกำหนดให้ข้อมูลข่าวสารลับอยู่ในชั้นความลับใด ให้พิจารณาถึง องค์ประกอบต่อไปนี้ เช่น (1) ความสำคัญของเนื้อหา (2) แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร (3) วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ (4) จำนวนบุคคลที่ควรรับทราบ (5) ผลกระทบหากมีการเปิดเผย (6) หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในฐานะเจ้าของเรื่องหรือผู้อนุมัติ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  33. การปรับลดชั้นความลับ ข้อ 23 การปรับชั้นความลับ ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจกำหนดชั้นความลับของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องเห็นควรให้ทำการปรับชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับใดให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทำการปรับชั้นความลับและแจ้งให้หน่วยงานของรัฐอื่นที่ได้รับการแจกจ่ายทราบเพื่อให้มีการแก้ไขชั้นความลับโดยทั่วกันด้วย ถ้าสามารถกำหนดระยะเวลาในการปรับชั้นความลับล่วงหน้าได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเดิมแสดงข้อความการปรับชั้นความลับไว้บนปกหน้าหรือหน้าแรกของข้อมูลข่าวสารแต่ละฉบับ โดยแสดงไว้ใกล้กับเครื่องหมายแสดงชั้นความลับเดิมเพื่อให้ทราบว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ล่วงหน้านั้นจะปรับชั้นความลับได้โดยไม่ต้องยืนยันให้ทราบอีก << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  34. การทะเบียน ข้อ 25 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับขึ้นภายในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบเรียกว่า “นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ” และจะแต่งตั้งผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับตามความเหมาะสมด้วยก็ได้ ข้อ 27 นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับอย่างน้อยต้องจัดให้มีทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับประกอบด้วย ทะเบียนรับ ทะเบียนส่ง และทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับแยกต่างหากจากทะเบียนงานสารบรรณตามปกติของหน่วยงานของรัฐ ทะเบียนควบคุมข้อมูลข่าวสารลับ ใช้สำหรับบันทึกทางทะเบียนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับที่หน่วยงานจัดทำขึ้นใช้งานหรือได้ส่งออกหรือได้รับมา รวมทั้งบันทึกการปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับนั้น ทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับให้ถือว่าเป็นข้อมูลข่าวสารลับด้วย << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  35. การทำลายข้อมูลข่าวสารชั้นลับการทำลายข้อมูลข่าวสารชั้นลับ • ข้อ 46 ในกรณีที่การเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารลับชั้นลับที่สุดจะเสี่ยงต่อการรั่วไหลอันจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะพิจารณาสั่งทำลายข้อมูลข่าวสารลับชั้นลับที่สุดนั้นได้ หากพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำลาย • หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะสั่งทำลายข้อมูลข่าวสารลับนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้ส่งข้อมูลข่าวสารลับให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิจารณาก่อนว่าไม่มีคุณค่าในการเก็บรักษา << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  36. ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล • ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น • ต้องพยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  37. หลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ต่อ) • จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารตาม มาตรา 23 (3) (ก) • ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ • จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  38. หลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ต่อ) • หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ (มาตรา 24) เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามมาตรา 24 (1) – (8) • ภายใต้บังคับของมาตรา 14 และ 15 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน เมื่อบุคคลนั้นมีคำร้องขอ หน่วยงานของรัฐต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทน ได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น (มาตรา 25 วรรคแรก) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  39. หลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ต่อ) • ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ก็มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ (มาตรา 25 วรรคสาม) • ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ บุคคลนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร (มาตรา 25 วรรคสี่) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  40. เอกสารประวัติศาสตร์ • ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดตามมาตรา 26 วรรคสองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า (มาตรา 26) << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  41. เอกสารประวัติศาสตร์ (ต่อ) • กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งให้แยกประเภท ดังนี้ (1) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อครบเจ็ดสิบห้าปี (2) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 15 เมื่อครบยี่สิบปี << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  42. เอกสารประวัติศาสตร์ (ต่อ) • การขยายเวลาการส่งข้อมูลข่าวสารให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (1) หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วยแต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้ • การกำหนดให้ส่งข้อมูลข่าวสารให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติตามมาตรา 26 มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  43. ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเอกสารประวัติศาสตร์ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเอกสารประวัติศาสตร์ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2548 << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  44. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย • ข้อ 57.3 หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา และมีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป หรือตามที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนด << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  45. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 58 ทุกปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ 20 ปี นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้นที่เก็บไว้ ณ ส่วนราชการใด พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี ให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร ภายในวันที่ 31 มกราคม ของปีถัดไป เว้นแต่หนังสือดังต่อไปนี้ 58.1 หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ 58.3 หนังสือที่ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราชการนั้นให้จัดทำบัญชีหนังสือครบ 20 ปีที่ขอเก็บเอง ส่งมอบให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  46. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 59 บัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี และบัญชีหนังสือครบ 20 ปีที่ขอเก็บเอง อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้ส่วนราชการผู้มอบและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรผู้รับมอบยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละฉบับ • ข้อ 60 หนังสือที่ยังไม่ถึงกำหนดทำลาย ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีความสำคัญ อาจฝากให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เก็บไว้ แทนได้ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  47. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 60.3 เมื่อกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจหนังสือและรับฝากหนังสือแล้วให้ลงนามในบัญชีฝากหนังสือ แล้วคืนต้นฉบับให้ส่วนราชการผู้ฝากเก็บไว้เป็นหลักฐาน • หนังสือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ถือว่าเป็นหนังสือของส่วนราชการผู้ฝาก หากส่วนราชการผู้ฝากต้องการใช้หนังสือหรือขอคืน ให้ทำได้โดยจัดทำหลักฐานต่อกันไว้ให้ชัดแจ้ง • เมื่อถึงกำหนดการทำลายแล้ว ให้ส่วนราชการผู้ฝากดำเนินการตามข้อ 66 << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  48. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 66 ภายใน 60 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เก็บไว้เองหรือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ • ข้อ 69.2 ถ้าเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรทำลาย ให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลายให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณาก่อน เว้นแต่หนังสือประเภทที่ส่วนราชการนั้นได้ขอทำความตกลงกับกรมศิลปากรแล้ว ไม่ต้องส่งไปให้พิจารณา << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  49. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 70 ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณารายการในบัญชีหนังสือขอทำลายแล้วแจ้งให้ส่วนราชการที่ส่งบัญชีหนังสือทำลายทราบดังนี้ • ข้อ 70.1 ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นชอบด้วย ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการทำลายหนังสือต่อไปได้ หากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่แจ้งให้ทราบอย่างใดภายในกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้นได้ส่งเรื่องให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร ให้ถือว่ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และให้ส่วนราชการทำลายหนังสือได้ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

  50. หมวด 3 การเก็บรักษา ยืม และทำลาย (ต่อ) • ข้อ 70.2 ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นว่าหนังสือฉบับใดควรจะขยายเวลาการเก็บไว้อย่างใดหรือให้เก็บไว้ตลอดไป ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นทราบ และให้ส่วนราชการนั้นๆ ทำการแก้ไขตามที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แจ้งมา หากหนังสือใดกองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร เห็นควรให้ส่งไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ก็ให้ส่วนราชการนั้นๆ ปฏิบัติตาม • เพื่อประโยชน์ในการนี้ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จะส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมตรวจสอบหนังสือของส่วนราชการนั้นก็ได้ << ย้อนกลับ หน้าถัดไป >>

More Related