1 / 9

Basic Electronics for Automation Engineering

Basic Electronics for Automation Engineering. Student Name:Thanik Kittisattayakul Student ID: 53010690 (2S) Program: Automation Engineering Homework no.: 1 Date of Assignment: May 31, 2011 Date of Submission: June 5, 2011 . ไดโอด (diode).

ashlyn
Télécharger la présentation

Basic Electronics for Automation Engineering

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Basic Electronics for Automation Engineering • Student Name:ThanikKittisattayakulStudent ID: 53010690(2S) • Program: Automation Engineering • Homework no.: 1 • Date of Assignment: May 31, 2011 • Date of Submission: June 5, 2011

  2. ไดโอด(diode) • เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้ว ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว ส่วนไดโอดแบบหลอดสุญญากาศ (Vacuum tube diode) ถูกใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท เป็นหลอดสุญญากาศที่ประกอบด้วยขั้วอิเล็ดโทรดสองขั้ว ซึ่งจะคือแผ่นตัวนำ (plate) และแคโทด (cathode)

  3. ชนิดของไดโอด (diode) ไดโอด แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไดโอดแบบสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) - ไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี (Light Emitting Diode ; LED) - โฟโตไดโอด (Photo Diode) - ไดโอดกำลัง (Power Diode) - ไดโอดวาแรกเตอร์หรือวาริแคป (Varactor or Varicap Diode) - ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) และไดโอดแบบหลอดสุญญากาศ (Vacuum tube diode) ใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท

  4. ไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี(Light Emitting Diode ; LED) LED เป็นไดโอดที่ใช้สารประเภทแกลเลี่ยมอาร์เซ็นไนต์ฟอสไฟต์(Gallium Arsenide Phosphide ; GaAsP) หรือสารแกลเลี่ยมฟอสไฟต์(Gallium Phosphide ; GaP) มาทำเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด p และ n แทนสาร Si และ Geสารเหล่านี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรง การเกิดแสงที่ตัว LED นี้เราเรียกว่า อิเล็กโทรลูมินิเซนต์ (Electroluminescence) ปัจจุบันนิยมใช้ LED แสดงผลในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกา เป็นต้น

  5. โฟโตไดโอด หรือ ไดโอดรับแสง(Photo Diode) โฟโตไดโอด เป็นไดโอดที่อาศัยแสงจากภายนอกผ่านเลนซ์ ซึ่งฝังตัวอยู่ระหว่างรอยต่อ p-n เพื่อกระตุ้นให้ไดโอดทำงาน การต่อโฟโตไดโอดเพื่อใช้งานจะเป็นแบบไบอัสกลับ ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้โฟโตไดโอดทำงานในทันทีทันใด แต่ต้องการให้ไดโอดทำงานเฉพาะเมื่อมีปริมาณแสงสว่างมากพอตามที่กำหนดเสียก่อน กล่าวคือ เมื่อเลนซ์ของโฟโตไดโอดได้รับแสงสว่างจะเกิดกระแสรั่วไหล ปริมาณกระแสรั่วไหลนี้เพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสง มักใช้กับวงจรตรวจจับสัญญาณ หรือในวงจรควบคุมระยะไกล หรือที่เรียกว่า รีโมท

  6. ไดโอดกำลัง (Power Diode) ไดโอดกำลัง เป็นไดโอดที่ออกแบบให้บริเวณรอยต่อมีช่วงกว้างมากกว่าไดโอดทั่วไป เพื่อนำไปใช้กับงานที่มีกำลังไฟฟ้าสูง กระแสสูงและทนต่ออุณหภูมิสูงได้ เช่น ประกอบเป็นวงจรเรียงกระแส ในอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อพิกัดกระแสไฟฟ้ามีค่าหลายร้อยแอมแปร์ ทำให้ไดโอดมีอุณหภูมิขณะทำงานสูง โดยทั่วไปจึงนิยมใช้ร่วมกับตัวระบายความร้อน (Heat Sinks)เพื่อเพิ่มพื้นที่ระบายความร้อนภายในตัวไดโอดกำลัง

  7. ไดโอดวาแรกเตอร์หรือวาริแคป (Varactor or Varicap Diode) ไดโอดวาแรกเตอร์หรือวาริแคปเป็นไดโอดที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถปรับค่าคาปาซิแตนซ์เชื่อมต่อ (Ct) ได้โดยการปรับค่าแรงดันไบอัสกลับ ไดโอดประเภทนี้มีโครงสร้างเหมือนกับไดโอดทั่วไป ขณะแรงดันไบอัสกลับ (Reverse Bias Voltage ; Vr) มีค่าต่ำ Depletion Region จะแคบลงทำให้ Ct ตรงรอบต่อมีค่าสูง แต่ในทางตรงข้ามถ้าเราปรับ Vrให้สูงขึ้น Depletion Region จะขยายกว้างขึ้น ทำให้ Ct มีค่าต่ำ จากลักษณะดังกล่าว เราจึงนำวาริแคปไปใช้ในวงจรปรับความถี่ เช่น วงจรจูนความถี่อัตโนมัติ (Automatic Fine Tunning ; AFC) และวงจรกรองความถี่ซึ่งปรับช่วงความถี่ได้ตามต้องการ (Variable Bandpass Filter) เป็นต้น

  8. ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) ซีเนอร์ไดโอดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr)น้อยกว่า Vzเล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง หรือโวลเทจเรกูเลเตอร์

  9. การตรวจสอบไดโอด เราสามารถตรวจสอบได้ว่าการต่อไดโอดของเราเป็นความต้านทานด้าน ฟอร์เวิร์ด หรือ ความต้านทานด้านรีเวิร์ด โดยใช้มัลติมิเตอร์ ถ้าเป็นแบบฟอร์เวิร์ด ค่าความต้านทานที่อ่านได้จะมีค่าอยู่ในช่วง 1-200 โอห์ม (ความต้านทานต่ำ) แต่ถ้าเป็นแบบรีเวิร์ด ค่าความต้านทานที่อ่านได้จะอยู่ในช่วง 0.5-300 เมกะโอห์ม (ความต้านทานสูง) ความต้านทานด้านรีเวิร์ด ความต้านทานด้านฟอร์เวิร์ด หมายเหตุ มัลติมิเตอร์ที่ใช้ขั้วบวกจะให้เอาต์พุตลบ (–) ขั้วลบจะให้เอาต์พุตบวก (+)

More Related