1 / 60

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. หัวข้อการบรรยาย. 1. ภาพรวมของรายได้ท้องถิ่น 2. เหตุผลความจำเป็นของการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ 3. หลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4. สาระสำคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.

Télécharger la présentation

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

  2. หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมของรายได้ท้องถิ่น 2. เหตุผลความจำเป็นของการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ 3. หลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4. สาระสำคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  3. 1. ภาพรวมของรายได้ท้องถิ่น

  4. 1. ภาพรวมของรายได้ท้องถิ่น - มูลค่า รายได้ของ อปท. ทั่วประเทศ หน่วย : ล้านบาท

  5. 1. ภาพรวมของรายได้ท้องถิ่น - สัดส่วน “อปท. จัดเก็บเองได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ” หน่วย : ร้อยละ รายได้ของ อปท. ทั่วประเทศ

  6. ท่านอยากเห็นการซื้อขายที่ดินเก็งกำไรหมดจากเมืองไทย หรือลดอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ? ท่านอยากเห็นคนที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นร้อย เป็นพันไร่ ในขณะที่เกษตรกรและคนจนจำนวนมากไม่มีที่ทำกินหรืออยู่อาศัย ถูกทำโทษโดยภาครัฐหรือไม่ ? ท่านอยากเห็นการเมืองท้องถิ่นมีภาคลักษณ์เชิงลบเปลี่ยนเป็นการเมืองท้องถิ่นที่สะอาดและประชาชนมีบทบาทในการตรวจสอบและมีส่วนร่วมในการ พัฒนาท้องถิ่นของตนหรือไม่ ? ท่านอยากเห็นนักการเมืองท้องถิ่นน้ำดีเข้าไปบริหารจัดการท้องถิ่นแทนนักการเมืองน้ำเน่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่ ? ท่านอยากเห็นท้องถิ่นมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นโดยมีงบประมาณที่เพียงพอต่อโครงการลงทุนและพัฒนาของท้องถิ่นหรือไม่ ? 10 ประเด็นคำถามที่ผู้คนในสังคมมักจะถาม(FAQ) คำตอบคือ “ ต้องเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง! ”

  7. 10 ประเด็นคำถามที่ผู้คนในสังคมมักจะถาม(FAQ) • ท่านอยากเห็นการใช้เงินงบประมาณของท้องถิ่น มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และประชาชน ในท้องถิ่น มีบทบาทและส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและวงเงินงบประมาณท้องถิ่นหรือไม่ ? • ท่านอยากเห็นรัฐบาลมีงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ? • ท่านอยากเห็นรัฐบาลลดบทบาทการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการด้านการคลังของท้องถิ่นหรือไม่ ? • ท่านอยากเห็นโครงสร้างภาษีทั้งระบบของประเทศมีความเป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยมีความโน้มเอียงในการจัดเก็บจากกลุ่มคนรวยหรือ กลุ่มที่มีทรัพย์สินมากกว่ากลุ่มคนจนหรือไม่ ? • ท่านอยากเห็นระบบภาษีที่เก็บบนฐานทรัพย์สินที่ แท้จริงเกิดขึ้นในเมืองไทยหรือไม่ ? คำตอบคือ “ ต้องเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง! ”

  8. 2. เหตุผลความจำเป็นของการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้

  9. 2. เหตุผลความจำเป็นของการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ ระบบภาษีทรัพย์สินปัจจุบันมีปัญหา ! ระบบภาษีทรัพย์สิน ภาษีการโอนเปลี่ยนมือทรัพย์สิน ภาษีการถือครองทรัพย์สิน ภาษีผลได้จากทรัพย์สิน หรือผลได้จากทุน 1. ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ 1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 2. ภาษีบำรุงท้องที่

  10. ฐานภาษี ● ใช้ฐานค่ารายปีหรือค่าเช่าต่อปี ประเมินภาษี ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับ การจัดเก็บภาษีเงินได้จากรายได้ค่าเช่า ● มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เท่ากันแต่ค่ารายปีแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้เช่าและ ผู้เช่า ● กรณีไม่มีค่าเช่าเนื่องจากเจ้าของ โรงเรือนใช้โรงเรือนประกอบการ พาณิชย์ การประเมินค่ารายปีขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน อัตราภาษี อัตราภาษีร้อยละ 12.5 ของ ค่าเช่ารายปี เป็นอัตราภาษีที่ สูงเกินไป จึงจูงใจให้อยาก หลบเลี่ยงภาษี ปัญหาของภาษีโรงเรือนและที่ดิน

  11. ฐานภาษี 1. ใช้ราคาปานกลางของที่ดิน ปี 2521 – 2524 ในการประเมินภาษี เป็นผลทำให้ - ภาระภาษีต่ำมาก - มีการซื้อที่ดินกักตุนไว้เพื่อ การเก็งกำไร - ท้องถิ่นมีรายได้จากภาษีนี้น้อยมาก 2. ที่ดินที่จะต้องเสียภาษีมีน้อย เพราะ มีการยกเว้นและลดหย่อนที่ดินอยู่ อาศัยของตนตั้งแต่ 50 ตร.ว. ถึง 5 ไร่ อัตราภาษี อัตราภาษีมีลักษณะถดถอย - ราคาปานกลางของที่ดินต่ำกว่าไร่ละ 30,000 บาท อัตราภาษีส่วนใหญ่เฉลี่ยร้อยละ 0.50 - ราคาปานกลางของที่ดินเกินไร่ละ 30,000 บาท อัตรา ภาษีร้อยละ 0.25 ปัญหาของภาษีบำรุงท้องที่

  12. 3. หลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  13. หลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • ให้มีการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม • ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. • ให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

  14. 4. สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....

  15. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี อำนาจการจัดเก็บภาษี ทรัพย์สินที่จัดเก็บภาษี ทรัพย์สินที่มิได้จัดเก็บภาษี ฐานภาษี การลดหรือยกเว้นภาษี การคำนวณฐานภาษี อัตราภาษี แนวทางการปฏิบัติจัดเก็บภาษี การคัดค้านและอุทธรณ์ การประเมินภาษี บทเฉพาะกาล สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....

  16. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษี - ผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง - ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ

  17. อำนาจการจัดเก็บภาษี - ให้ อปท. มีอำนาจจัดเก็บภาษีจากที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในเขต อปท. นั้น - ภาษีที่จัดเก็บในเขต อปท. ใด ให้เป็นรายได้ของ อปท. นั้น

  18. ทรัพย์สินที่จัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่จัดเก็บภาษี • ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่เป็นน้ำด้วย • สิ่งปลูกสร้าง หมายความว่า โรงเรือน อาคาร ตึก คลังสินค้า และแพ และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา

  19. (1) ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติ ของแผ่นดิน (2) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์ (3) ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการ ของรัฐหรือสาธารณะ โดยมิได้ หาผลประโยชน์ (4) ทรัพย์สิที่เป็นที่ทำการของสหประชาชาติ ทบวงการชำนาญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ หรือองค์การระหว่าง ประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ ต้องยกเว้นภาษี (5) ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสถานทูต หรือ สถานกงสุล ของต่างประเทศ (6) ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย (7) ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใด หรือทรัพย์สินที่เป็นศาลเจ้าโดยมิได้ใช้หาผลประโยชน์ (8) ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะ หรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน (9) ทรัพย์สินของเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เฉพาะส่วน ที่ได้ยินยอมให้ทางราชการใช้หรือประชาชนใช้ โดยมิได้หาผลประโยชน์ (10) ทรัพย์สินตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ทรัพย์สินที่ยกเว้นการจัดเก็บภาษี

  20. ฐานภาษี มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง รวมกับมูลค่าของทรัพย์สินอื่นอันติดกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ทั้งนี้ ให้หักค่าบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุด ร้อยละ 1 ต่อปี แต่ไม่เกินร้อยละ 10

  21. การลดและยกเว้นภาษี • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายด้วยเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป • กรณีที่มีเหตุทำให้ที่ดินได้รับความเสียหายหรือสิ่งปลูกสร้างถูกทำลายจนต้องซ่อมแซมในส่วนสำคัญ • ยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน โดยมูลค่าทรัพย์สินที่ถือครองไม่เกินมูลค่าที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา • ยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ในการประกอบเกษตรกรรมไม่เกิน มูลค่าที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

  22. การคำนวณฐานภาษี • ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน • ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรวมกับราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ ไม่รวมเครื่องจักร • ห้องชุดใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด • มูลค่าทรัพย์สินอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

  23. อัตราภาษี กำหนดโดยคณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีทั้งหมด 3 อัตรา ● อัตราภาษีทั่วไปสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน ร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี ● อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยของตน โดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์ไม่เกินร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี ● อัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้ประกอบเกษตรกรรมไม่เกิน ร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี

  24. อัตราภาษี กรณี อปท. มีเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาท้องถิ่นของตน ให้ อปท. มีอำนาจออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้น จากอัตราภาษีที่คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีกำหนด แต่ไม่เกินเพดานอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด

  25. อัตราภาษี อัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ● ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตาม ควรแก่สภาพที่ดิน ใน 3 ปีแรกให้เสียภาษีในอัตรา ไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีทั่วไปที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดไว้ แต่ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี ทั้งนี้ ตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา และหากยังมิได้ทำประโยชน์อีก ให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน ร้อยละ 2 ของฐานภาษี

  26. - ตัวอย่าง -ฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศ

  27. ฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศ

  28. ฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศ

  29. ฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศ

  30. ฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศฐานและอัตราภาษีทรัพย์สินต่างประเทศ

  31. องค์ประกอบ: 1. ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ 2. สำนักงบประมาณ 3. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4. อธิบดีกรมที่ดิน 5. อธิบดีกรมธนารักษ์ 6. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง 7. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 8. ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ การกระจายอำนาจให้แก่ อปท. 9. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 10. นายกเมืองพัทยา 11. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่งแต่งตั้งไม่เกิน 3 คน 12. ผู้แทนนายกเทศมนตรีหรือนายก อบต. ในคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. 13. สศค. เป็นกรรมการและเลขานุการและ กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  32. คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • กำหนดอัตราภาษีในทุกรอบระยะเวลา 4 ปี • พิจารณากำหนดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • เสนอแนะการลดอัตราภาษีสำหรับทรัพย์สินบางประเภท • ติดตามการบังคับใช้กฎหมาย สภาพปัญหาและอุปสรรค เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมาย และปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษี ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ:

  33. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษีคณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษี • คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษี ประจำจังหวัด • คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษี ประจำ กทม.

  34. คณะอนุกรรมการฯ ประจำจังหวัด ประกอบด้วย 1. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ 2. สรรพากรพื้นที่หรือผู้แทน 3. ธนารักษ์พื้นที่หรือผู้แทน 4. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้แทน 5. โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหรือผู้แทน 6. ผู้แทนนายกเทศมนตรี 3 คน ผู้แทน นายก อบต. 5 คน 7. ท้องถิ่นจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการฯ ประจำ กทม. ประกอบด้วย 1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ 2. ผู้แทนกรมสรรพากร 3. ผู้แทนกรมธนารักษ์ 4. ผู้แทนกรมที่ดิน 5. ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง 6. ข้าราชการ กทม. เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษี

  35. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษีคณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษี อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ: • รวบรวมข้อมูลภาษีที่รับชำระ มูลค่าที่ดินสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุดของผู้เสียภาษีทุกราย • ประมวลผลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล • เสนอแนะจัดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเก็บภาษี • จัดส่งข้อมูลให้แก่คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  36. แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี • การสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • การประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษี • การแจ้งการประเมินและส่งแบบแสดงรายการภาษี • การชำระภาษี • การคัดค้านและการอุทธรณ์การประเมินภาษี • บทเฉพาะกาล

  37. การสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • ประกาศกำหนดระยะเวลาที่จะทำการสำรวจ • แต่งตั้งพนักงานสำรวจ • สำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขต อปท. เพื่อทราบประเภท จำนวน และขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  38. การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • ให้พนักงานสำรวจจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของผู้เสียภาษีแต่ละราย โดยแสดงประเภท จำนวน และขนาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการประเมินภาษี และตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ • ประกาศบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ผู้เสียภาษีตรวจสอบความถูกต้อง หากพบข้อผิดพลาดจะได้ร้องขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้

  39. การประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีการประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษี พนักงานประเมินต้องทราบข้อมูล ดังต่อไปนี้ • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือห้องชุด การซื้อขายโรงเรือน • ขนาดที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินต่อตารางวา หรือต่อไร่ • ประเภทและขนาดของสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุดในอาคารชุด • ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุด • อายุโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

  40. การแจ้งการประเมินภาษีและส่งแบบแสดงรายการเสียภาษี การแจ้งการประเมินภาษีและส่งแบบแสดงรายการเสียภาษี • พนักงานประเมินจะแจ้งการประเมินและส่งแบบแสดงรายการภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีล่วงหน้าก่อนวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น โดยระบุรายละเอียดการประเมินภาษี • พนักงานประเมินมีอำนาจเรียกผู้เสียภาษีหรือผู้เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดมาใช้ตรวจสอบ

  41. การชำระภาษี • ให้ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษี ภายในเดือนเมษายนของทุกปี • กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของต่างเจ้าของกัน ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบฯ พร้อมชำระภาษี • ผู้เสียภาษีอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นแบบฯ และ ชำระภาษีแทนตนได้

  42. 1. ผู้จัดการมรดกหรือทายาทในกรณี ที่ผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย 2. ผู้จัดการทรัพย์สินในกรณี ผู้เสียภาษีเป็นคนสาบสูญ 3. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็น ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี 4. ผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีที่ ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคล 5. ผู้ชำระบัญชี ในกรณีผู้เสียภาษี เป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการชำระบัญชี 6. เจ้าของรวมคนหนึ่งคนใด ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีเป็น ของบุคคลหลายคนรวมกัน ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี

  43. การผ่อนชำระภาษี ● ผู้เสียภาษีอาจผ่อนชำระภาษีเป็นงวด งวดละเท่า ๆ กันก็ได้ จำนวนเงินภาษีที่จะมีสิทธิผ่อนชำระ หลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผ่อนชำระให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ● ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด ให้หมดสิทธิผ่อนชำระและเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือน ของเงินที่ค้างชำระ

  44. 1. ผู้เสียภาษีมีสิทธิคัดค้านและขอให้ ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนการประเมิน หรือการเรียกเก็บภาษีได้ภายใน 30 วัน และ แจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้เสียภาษี 2. ผู้บริหารท้องถิ่นต้องพิจารณาคำร้อง ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และแจ้งคำสั่ง พร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้เสียภาษี 3. กรณีผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบกับคำร้อง ให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้เสียภาษี และให้ ผู้เสียภาษีชำระภาษีภายใน 15 วัน 4. กรณีผู้บริหารท้องถิ่นไม่เห็นชอบกับ คำร้องของผู้เสียภาษี ให้ผู้เสียภาษีนั้นมีสิทธิ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ การประเมินภาษีฯ 5. คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรฯ มีอำนาจ เรียกผู้อุทธรณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดมาแสดง ไม่รับ อุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ เพิกถอนหรือแก้ไขการ ประเมินของพนักงานประเมิน หรือให้ผู้อุทธรณ์ ได้รับลดหรือยกเว้นภาษีหรือได้คืนภาษี 6. คณะกรรมการวินิจฉัยการอุทธรณ์ฯ ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พนักประเมินได้รับอุทธรณ์ 7. ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย อุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน การคัดค้านและการอุทธรณ์การประเมินภาษี

  45. องค์ประกอบ: 1. ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เป็นประธานกรรมการ 2. สรรพากรพื้นที่หรือผู้แทน 3. ธนารักษ์พื้นที่หรือผู้แทน 4. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้แทน 5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งแต่งตั้งอีก ไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ 6. ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็น เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีประจำจังหวัด

  46. องค์ประกอบ: 1. ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือ ผู้แทนเป็นประธานกรรมการ 2. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือผู้แทน 3. อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน 4. อธิบดีกรมธนารักษ์หรือผู้แทน 5. อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้แทน 6. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือผู้แทน 7. ปลัดกรุงเทพมหานคร 8. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการและ กรรมการโดยตำแหน่งแต่งตั้งอีกจำนวน ไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ 9. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีกรุงเทพมหานคร

  47. บทเฉพาะกาล 1. ให้ใช้กฎหมายปัจจุบันต่อไปเฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่ ก่อนวันที่กฎหมายภาษีใหม่ใช้บังคับ 2. อภัยโทษทางภาษีโดยการยกเว้นเงินเพิ่ม ความรับผิด ทางอาญา ถ้าได้มาขอเสียภาษีที่ค้างชำระให้ครบถ้วน 3. มีการบรรเทาภาระภาษีอันเกิดจากผลกระทบในการจัดเก็บ ภาษีตามร่างกฎหมายใหม่ 4. บัญญัติให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดเก็บภาษี

  48. 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  49. ประโยชน์ที่ได้รับจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประโยชน์ที่ได้รับจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1. ทำให้ระบบภาษีการถือครองทรัพย์สินดีขึ้น 2. ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. 3. จัดเก็บภาษีได้ทั่วถึงทำให้เกิดความเป็นธรรมระหว่าง ผู้เสียภาษี 4. ลดการกักตุนที่ดินเพื่อการเก็งกำไร 5. อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น

  50. ผลต่อรายได้ท้องถิ่น หน่วย : ล้านบาท

More Related