1 / 43

พระพุทธศาสนาแห่งละโว้ (Buddhist Era 15 – 18)

พระพุทธศาสนาแห่งละโว้ (Buddhist Era 15 – 18). 1. ละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบัน เคยเป็นแหล่งความเจริญทางวัฒนธรรมแห่งอาณาจักรโบราณหลายอาณาจักร เริ่มตั้งแต่ทวารวดี ขอม อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน โดยได้ทิ้งร่องรอยเกราบวกับศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ต่างๆเอาไว้ 2. การแผ่ขยายอำนาจและอิทธิพล

Télécharger la présentation

พระพุทธศาสนาแห่งละโว้ (Buddhist Era 15 – 18)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระพุทธศาสนาแห่งละโว้(Buddhist Era 15 – 18)

  2. 1. ละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน เคยเป็นแหล่งความเจริญทางวัฒนธรรมแห่งอาณาจักรโบราณหลายอาณาจักร เริ่มตั้งแต่ทวารวดี ขอม อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน โดยได้ทิ้งร่องรอยเกราบวกับศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆเอาไว้ 2. การแผ่ขยายอำนาจและอิทธิพล • ในพศต.ที่11-15 อิทธิพลของอาณาจักรทวารวดีได้แผ่ไปถึงละโว้ • ส่วนพวกขอม (ฟูนัน , เจนละ หรือเขมร) ได้แผ่ขยายอำนาจไปยังตะวันตก(ของขอม) • ส่วนอาณาจักรศรีวิชัยก็ได้แผ่ขยายอำนาจไปทางใต้ จึงส่งผลให้อาณาจักรทวารวดีหายไป พระพุทธศาสนาแห่งละโว้(Buddhist Era 15 – 18)

  3. บางกลุ่มเชื่อว่า ในพศต.ที่15-16 ซึ่งเป็นสมัยพระเจ้าอนุรุทธหรือพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้เกิดศึกพุกามจึงทำให้นครปฐม (อาณาจักรทวารวดี) ได้ลดบทบาทไป โดยที่ประชาชนและพระสงฆ์ได้ถูกกวาดต้อนไปพร้อมทั้งศิลปะสาขาต่างๆกลับไปยังพม่า จากนั้นก็ทิ้งดินแดนนี้ให้แก่พวกขอมเข้ามาครอบครองภายหลัง 3. ยุคที่ขอมรุ่งเรืองที่สุดในภูมิภาคนี้ จะอยู่ในช่วงพศต.ที่ 15-18 • โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่2 (พศต.ที่15) สามารถขยายอำนาจได้ตั้งแต่กัมพูชา ตลอดจนถึงภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางของไทยในปัจจุบัน • ดินแดนของไทยในอดีต จะอยู่ในฐานะเป็นอาณานิคมหรือประเทศราชของขอมหรือเขมรโบราณ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้ (ประเทศราช) ซึ่งปกครองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด

  4. *** เกร็ดความรู้ *** • พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587-1620 ) • ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกาม ผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม • เป็นกษัตริย์ที่ทรงนำพระพุทธศาสนาเข้ามาในพม่าเป็นพระองค์แรก • คนไทยจะรู้จักพระองค์ในพระนามว่า พระเจ้าอนุรุทธ หรือ พระเจ้าอนิรุทธ

  5. พระเจ้าอโนรธามังช่อ • ทรงอัญเชิญพระไตรปิฎก • และพระเถระมายังพุกาม • ทรงสร้างเจดีย์มากมาย • หลายองค์ในทุกที่ที่ • พระองค์เสด็จไปถึง • ซึ่งเจดีย์องค์ที่มีชื่อเสียง • ที่สุดที่พระองค์ทรงสร้าง • คือ เจดีย์ชเวสิกอง

  6. 4. อำนาจการปกครองของขอมในบริเวณแถบนี้ เริ่มตั้งแต่จ.นครพนม ฝั่งขวาแม่น้ำโขงถึงเมืองเพชรบุรี (ทางใต้ของไทย) ตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ขอมตั้งเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย เป็นประเทศราช ทางภาคอีสานทั้งหมด โดยมีสกลนคร พิมายเป็นเขตปกครอง ทางทิศตะวันตก อิทธิพลของขอมแพร่มาถึงสุพรรณบุรี สิงห์บุรี ทางทิศใต้ อิทธิพลของขอมแพร่มาถึงเพชรบุรี *** อิทธิพลของขอมไม่ได้เข้าไปในลุ่มแม่น้ำปิง เพราะอารยธรรมทวารวดียังคงมีอิทธิพลอยู่ในบริเวณดังกล่าวอยู่มาก 5. ละโว้ มาจากคำว่า ลวปุระ = เมืองพระลพ ซึ่งเป็นชื่อพระโอรสองค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ ดังนั้นจึงมีเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระรามในเมืองนี้ด้วย เช่น

  7. ทะเลสาบชุบศร ซึ่งกษัตริย์ขอมทุกพระองค์เมื่อจะทำพิธีบูชาอภิเษกจะต้องเอาน้ำจากที่นี้ไปทำพิธี เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ • ลิงหรือหนุมาน (เสนาของพระราม) ปัจจุบัน อดีต

  8. ศิลปะและศาสนา 1. การได้อิทธิพลที่ส่งผลต่อการนับถือศาสนาในดินแดนส่วนนี้ • อิทธิพลจากฟูนัน • อิทธิพลจากทวารวดี >>> เถรวาท • อิทธิพลจากศรีวิชัย >>>มหายาน (มนตรยาน) • พราหมณ์นิกายศิวเวท 2. ตำนานจามเทวีวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ ได้เล่าถึงพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดีซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างละโว้กับหริภุญชัยไว้ว่า “ พระเจ้าจักกวัตติแห่งกรุงละโว้รับเชิญจากประชาชนในภาคเหนือซึ่งมีฤาษีวาสุเทพเป็นประธาน ให้พระราชธิดาขึ้นไปเป็นนางพระยาปกครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) โดยความตกลงพระทัยของพระนางจามเทวีกับพระสวามี พระนางเสด็จจากกรุงละโว้โดยทางเรือ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ราชบัณฑิต โหราจารย์ หมอยา นายช่างฝีมือต่างๆ ในพ.ศ. 1205”

  9. 3. พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานน่าจะมีบทบาทมากกว่าเถรวาทเพราะอิทธิพลมาจากขอม • 4. ยุคนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรกอย่างมาก เนื่องจากก่อนจะมานับถือศาสนาพุทธ ขอมได้รับลัทธิงูมาก่อน • ลักษณะพระพุทธรูปที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองที่ 1 (ศิลปะแบบใหม่) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ผสมผสานระหว่างทวารวดีกับขอม • ส่วนศิลปะลพบุรี เป็นศิลปะเลียนแบบมาจากขอมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น • 5. อิทธิพลของพระพุทธศาสนามหายาน ซึ่งจะนิยมสร้างพระเครื่องมากกว่า เช่น

  10. อโรคยาศาลา • ปรากฏให้เห็นขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  เช่นเดียวกับธรรมศาลาเพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นตามรายทางโบราณของอาณาจักรขอมสมัยพระนคร ซึ่งเชื่อมกับปราสาทนครธม และปราสาทหินอื่นๆ • พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงโปรดให้สร้างอโรคยาศาลขึ้นจำนวน ๑๐๒ แห่งตามหัวเมืองสำคัญทั่วราชอาณาจักร ที่ได้แผ่พระราชอำนาจไปถึงและทรงโปรดให้สร้างเป็นปราสาทหินเอาไว้ ในบริเวณประเทศไทยได้พบอโรคยาศาลแล้วอย่างน้อย 20แห่ง กระจายอยู่ทั่วไป โดยพบมากในเขตอีสานใต้

  11. อโรคยาศาลา ในกลุ่มปราสาทตาเหมือน บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

  12. พระกริ่งพรหมมุนี สังฆราชแพ วัดสุทัศน์

  13. ลักษณะของพระกริ่ง เป็นแบบพระพุทธรูปมหายานทางประเทศธิเบต และปรากฏว่าในประเทศเขมร ก็มีพระกริ่งแบบนี้เหมือนกัน เราเรียกกันว่า “กริ่งพระปทุม” • ประเพณีนิยมสร้างพระกริ่งของไทย คงจะได้ครูจากเขมรเป็นแน่แท้ และมีการสร้างกันในยุคกรุงสุโขทัยแล้ว ที่กล่าวว่าตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้เดิมเป็นของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ดังนั้นในสมัยนั้นวัดป่าแก้วก็นับถือกันว่าเป็นสำนักอรัญญิกาวาส – สมถธุระวิปัสสนาธุระ • อันที่จริงพระกริ่งก็คือ พระปฏิมาไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายานยิ่งนัก • ปรากฏพระประวัติมาในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ “พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชามูลปณิธานสูตร”

  14. พระนารายณ์ทรงปืน

  15. พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์ที่มีรูปลักษณ์เป็น "พระแผง" องค์ค่อนข้างเขื่อง ปรากฏทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน และมีขึ้นมากมายหลายกรุ ลักษณะองค์พระจะมี "พระปางนาคปรก" เป็นประธาน • เป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากขอมบายน โดยดูได้จากการมีลักษณะของพระพุทธรูปปางนาคปรกที่ประทับอยู่กึ่งกลางนั้นเป็นเช่นเดียวกับ "พระชัยพุทธมหานาถ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกที่องค์ชัยวรมันที่ 7 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นรวม 23 องค์ และพระราชทานให้นำไปประดิษฐานไว้ทั่วปริมณฑลแห่งอำนาจของพระองค์ ซึ่งต่อมาได้เรียกศิลปะเขมรในยุคดังกล่าวนี้ว่า “ศิลปะลพบุรี”

  16. พระร่วงทรงปืน

  17. พระหูยาน

  18. ศิลปะของละโว้จะผสมระหว่างแบบพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกับพราหมณ์ศิลปะของละโว้จะผสมระหว่างแบบพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกับพราหมณ์ สถานที่ก่อสร้างทางศาสนาโดยมากทำด้วยอิฐศิลาแลงและหิน ที่สร้างด้วยอิฐถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมาก็เป็นศิลาแลง และเมื่อขอมมีกำลังมากขึ้นก็สร้างด้วยหิน ศิลปะการสร้างศาสนสถานได้ครูมาจากอินเดียและศรีวิชัย ต่อมาก็ดัดแปลงเป็นของตนเอง ความแตกต่างระหว่างพระปรางค์เทวสถานและพุทธสถาน 1) แบบศาสนาพราหมณ์ มักยกฐานพระปรางค์ให้สูงลอยเด่น เข่น ปราสาทเขาพระวิหาร 2) แบบพุทธศาสนา มักสร้างบนพื้นราบๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย พระปรางค์ 3 ยอด (ลพบุรี) อาณาจักรละโว้ ประชาชนนับถือศาสนาพราหมณ์(โดยเฉพาะศิวเวท) และพระพุทธศาสนาผสมกัน แต่ด้วยการที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลทางวัฒนธรรมของทวรวดีดั้งเดิม จึงส่งผลให้มีพุทธศาสนามหายานแบบมนตรยานและเถรวาท (แบบทวารวดี)

  19. ศาสนสถานทางพระพุทธศาสนาศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา

  20. ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา

  21. พระปรางค์พิมาย

  22. เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย • มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลาง เมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม • สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม • ใน พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

  23. พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี

  24. พระปรางค์สามยอด • ตั้งอยู่กลางเมืองลพบุรี สร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะขอมที่มีชื่อเรียกกันว่า “ศิลปะแบบลพบุรี” • สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยาน (มหายาน) ประจำเมืองละโว้ เพื่อประดิษฐานรูปพระวัชรสัตว์นาคปรก พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่นิยมสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานของกัมพูชาในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในกัมพูชา

  25. ตราประจำจังหวัดลพบุรีตราประจำจังหวัดลพบุรี รูปพระนารายณ์ประทับบน พระปรางค์สามยอด หมายถึง การระลึกถึง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้สร้างเมือง ลพบุรีขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2208 และสร้าง ความเจริญให้กับแผ่นดินลพบุรีไว้มากมาย ส่วนพระปรางค์สามยอดถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เป็นสัญลักษณ์ ของเมืองลพบุรีนั่นเอง

  26. พระพุทธรูปปางต่างๆที่นิยมสร้างในสมัยละโว้พระพุทธรูปปางต่างๆที่นิยมสร้างในสมัยละโว้ ปางสมาธิ

  27. ปางสมาธิ • เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธินั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย) • จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบทประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัด กันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)

  28. ปางมารวิชัย

  29. “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” • พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องที่ใหญ่และงดงามที่สุดในเมืองไทย • เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และคุ้มครองบ้านคุ้มครองเมือง ทำให้ข้าศึกเกิดความเกรงกลัวไม่ทำลายวัดนี้ได้ • อยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเคยเป็นวัดที่พม่าใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาและอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  30. ปางประทานอภัย

  31. ปางประทานอภัย เป็นชื่อเรียกของพรพุทธรูปที่มีลักษณะ ยกพระหัตถ์เบื้องขวาตั้งหันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า มีทั้งท่ายืน ท่าเดิน และท่าขัดสมาธิ (หรือเรียกปางลักษณะนี้ว่าเป็น ปางห้ามญาติ หรือ ปางโปรดสัตว์) ประวัติ พระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชแทน พระเจ้าอชาตศัตรูยังทรงช่วยสนับสนุนพระเทวทัต ส่งนายขมังธนูไปปลงพระชนม์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังจากที่พระมเหสีคลอดพระราชโอรสจึงมีความดีใจเป็นล้นพ้นและสำนึกตัวว่า ได้ทำบาปมหันต์ที่ปลงพระชนม์ชีพพระราชบิดา จึงเสด็จมาสารภาพความผิดและขอพระราชทานอภัยโทษกับพระพุทธองค์ ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและทรงบำรุงพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 1

  32. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์

  33. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นพระปางลีลาทำเป็นพระยืน มีรูปพระอินทร์อยู่ 2 ข้างเป็นเครื่องประกอบ หรือทำเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เป็นกิริยาทรงแสดงธรรม ประวัติ หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นสุดพรรษาพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยบันไดแก้วมณี ที่ท้าวสักกเทวราชเนรมิตน้อมถวาย โดยมีเหล่าพรหมและเทวดาจำนวนมากส่งเสด็จและยังมีปัญจสิขเทพบุตรทรงพิณ ขับร้องด้วยเสียงอันไพเราะ มาตลีเทพบุตรถือของหอมและดอกไม้ทิพย์โปรยปรายในระหว่างทาง พระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา จึงมีประเพณีตักบาตรเทโว เพื่อรับเสด็จพระพุทธองค์ในวันออกพรรษาสืบมาจนถึงปัจจุบัน

  34. ปางปาเลไลยก์

  35. ปางปาเลไลยก์ (ปาลิเลยยกะ) • น่าจะดัดแปลงมาจากปางปฐมเทศนาแบบทวารวดี • เป็นพระประจำวันของคนที่เกิดวันพุธกลางคืน หรือ วันราหู (ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินจนถึงเช้าตรู่วันพฤหัสบดี) • พระพุทธรูปปางนี้มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ หย่อนพระบาททั้งสองทอดลงมาเหยียบบนพื้น พระพาหา(แขน)ทั้งสองวางบนพระเพลา(เข่า) หงายพระหัตถ์ขวา เป็นกิริยารับหม้อน้ำจากพญาช้างปาลิไลยกะ ซึ่งเป็นช้างอยู่ในป่า หลีกหนีจากโขลง มาคอยปรนนิบัติพระพุทธองค์ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำลง แสดงกิริยาไม่รับรวงผึ้งจากลิง เนื่องจากรวงผึ้งมีแมลงผึ้งอยู่ ลิงต้องกลับไปเอาแมลงผึ้ง และตัวลูกอ่อนออกหมดก่อน แล้วนำไปถวายใหม่ พระองค์จึงทรงรับประเคน • ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ พระพุทธรูปปางนี้มีมูลเหตุมาจากการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับในป่าป่ารักขิตวัน ในละแวะบ้านปาลิเลยยกะ (อ่านว่า ปา-ลิ-ไล-ยะ-กะ = ป่าเลไลย์)

  36. พระโพธิสัตว์

  37. พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) ศิลปะศรีวิชัย (พศต.ที่ ๑๔ - ๑๕) พบที่วัดพระบรมธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

  38. พระอวโลกิเตศวร • พระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน

  39. รูปนางภควดีปัญญาบารมี ทำเป็นรูปนางยกมือขวาถือหนังสือ มือซ้ายถือดอกบัว ซึ่งมักเข้าใจกันว่าเป็นรูปนางอุมาภควดี

  40. พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ปรากฏอยู่ในอาณาจักร 2 แห่ง ที่สำคัญที่สุด อาณาจักรศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1300)

  41. ดินแดนละโว้ (ราว พ.ศ. 1550)

  42. THE END

More Related