300 likes | 630 Vues
ทิศทางการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (ภายใต้นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555 - 2559). ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา/ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. 18 มีนาคม 2556.
E N D
ทิศทางการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ(ภายใต้นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555 - 2559) ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา/ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 18 มีนาคม 2556
นโยบายแห่งชาติด้านยาฉบับแรก พ.ศ.2524 และฉบับที่สอง พ.ศ.2536สาระสำคัญครอบคลุม - การส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล- การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศ ยาสมุนไพรและยาแผนโบราณ - การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ - การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา
การจัดทำนโยบายแห่งชาติด้านยาการจัดทำนโยบายแห่งชาติด้านยา
นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. ๒๕๕๔ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ • วิสัยทัศน์ • ประชาชนเข้าถึงยาถ้วนหน้า ใช้ยามีเหตุผล ประเทศพึ่งตนเอง • เป้าประสงค์ • เพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ได้มาตรฐาน โดยการประกันคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา การสร้างเสริมระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การส่งเสริมการเข้าถึงยาจำเป็นให้เป็นไปอย่างเสมอภาค ยั่งยืน ทันการณ์ การสร้างกลไกการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ และอุตสาหกรรมยามีการพัฒนาจนประเทศสามารถพึ่งตนเองได้
เป้าหมายและตัวชี้วัด เป้าหมาย ๑.ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และทันการณ์ในทุกระบบประกันสุขภาพ ด้วยราคาที่เป็นธรรม ตลอดจนใช้ประโยชน์จากมาตรการป้องกันผลกระทบตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรการยืดหยุ่นตามความตกลงว่าด้วยสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานความตกลงระหว่างประเทศ ๒.พัฒนาระบบ กลไก และเครื่องมือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านยาของภาครัฐ ๓.พัฒนาอุตสาหกรรมยาที่ผลิตในประเทศให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถพึ่งตนเองได้และแข่งขันทางการค้าได้ ๔.ระบบและกลไกการควบคุมยาของประเทศมีการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อประกันคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ แบ่งเป็น ๔ ด้าน คือ • (1) การเข้าถึงยา ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ย่อย • (2) การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประกอบด้วย ๗ ยุทธศาสตร์ย่อย • (3) การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยา ชีววัตถุ และสมุนไพร เพื่อการพึ่งพาตนเอง ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ย่อย • (4) การพัฒนาระบบการควบคุมยาเพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ย่อย
กรอบประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559
ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การเข้าถึงยา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และทันการณ์ ในราคาที่เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายของประชาชน ตลอดจนฐานะเศรษฐกิจของประเทศ เป้าหมายของยุทธศาสตร์ ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และทันการณ์ในทุกระบบประกันสุขภาพ ด้วยราคาที่เป็นธรรม ตลอดจนใช้ประโยชน์จากมาตรการป้องกันผลกระทบตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรการยืดหยุ่นตามความตกลงว่าด้วยสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานความตกลงระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๑ การเข้าถึงยา ตัวชี้วัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การเข้าถึงยา • (1) กระทรวงสาธารณสุข • (2) กระทรวงการคลัง • (3) กระทรวงต่างประเทศ • (4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • (5) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • (6) สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน • (7) กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ • (8) กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๒ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน เป็นไปอย่างสมเหตุผล ถูกต้องและคุ้มค่า เป้าหมายของยุทธศาสตร์ พัฒนาระบบ กลไก และเครื่องมือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านยาของภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๒ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตัวชี้วัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาสมเหตุผล • (1) กระทรวงสาธารณสุข • (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • (3) กระทรวงพาณิชย์ • (4) กระทรวงศึกษาธิการ • (5) กระทรวงการคลัง • (6) กระทรวงอุตสาหกรรม • (7) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาสมเหตุผล (ต่อ) • (8) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • (9) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • (10) สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน • (11) กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี • (12) สภาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมยา สมุนไพร และชีววัตถุ เพื่อการพึ่งตนเอง วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยา ชีววัตถุ และสมุนไพรภายในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายของยุทธศาสตร์ พัฒนาอุตสาหกรรมยาที่ผลิตในประเทศให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถพึ่งตนเองได้และแข่งขันทางการค้าได้
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมยาฯ เพื่อการพึ่งตนเอง ตัวชี้วัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ด้านที่ 3 การพัฒนาอุตสาหกรรมยาฯ • (1) กระทรวงการคลัง • (2) กระทรวงสาธารณสุข • (3) กระทรวงพาณิชย์ • (4) กระทรวงอุตสาหกรรม • (5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • (3) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • (4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • (6) กระทรวงศึกษาธิการ • (7) กระทรวงการต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๔ การพัฒนาระบบการควบคุมยาเพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา วัตถุประสงค์ เพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา โดยพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการควบคุมยาของประเทศ เป้าหมายของยุทธศาสตร์ ระบบการควบคุมยาของประเทศมีการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อประกันคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา
ยุทธศาสตร์ด้านที่ ๔ การพัฒนาระบบการควบคุมยาเพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา ตัวชี้วัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ยุทธศาสตร์ด้านที่ 4 การพัฒนาระบบควบคุมยาฯ • (1) กระทรวงสาธารณสุข • (2) กระทรวงศึกษาธิการ • (3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อเสนอบทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติข้อเสนอบทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เภสัชกรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (Coordination/Facilitator) • การเข้าถึงยา • กำกับดูแลระบบบริหารเวชภัณฑ์และการจัดหายาในภาพรวมจังหวัด ทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ ด้วยความโปร่งใส ตามหลักธรรมภิบาล • เป็นผู้บริหารจัดการหรือเชื่อมโยงในการแก้จัดการแก้ปัญหายาขาดแคลน • การใช้ยาสมเหตุผล • พัฒนาศักยภาพ (empowerment) ให้ประชาชนในพื้นที่มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือการดูแลตนเองโดยไม่ต้องใช้ยา • การพัฒนาอุตสาหกรรมยา ชีววัตถุ และยาสมุนไพร เพื่อการพึ่งพาตนเอง • พัฒนาสถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการด้านสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GMP • ส่งเสริมการใช้ยาชื่อสามัญ • การพัฒนาระบบควบคุมยา ฯ • จัดระบบการขึ้นทะเบียนยา/ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา • การเฝ้าระวังด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการโฆษณา และพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังกับเภสัชกรในโรงพยาบาลหรือเภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยงานรัฐอื่นในจังหวัด • พัฒนาระบบควบคุมยาตามหลักสากลให้สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา