1 / 129

Chapter 14 Open Source tools for Knowledge Management

Chapter 14 Open Source tools for Knowledge Management. เราจะ Map ไปสู่ IT ได้อย่างไร ?.

brant
Télécharger la présentation

Chapter 14 Open Source tools for Knowledge Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 14 Open Source tools for Knowledge Management

  2. เราจะ Map ไปสู่ IT ได้อย่างไร? • คำถามที่คนทำงานทางด้าน IT จะต้องตอบให้ได้ก่อนว่า แต่ละกิจกรรมหรือกระบวนการของ KM นั้น มัน Map ไปสู่โลกของ IT ได้อย่างไร ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้ เราจะมองไม่เห็นว่า เราจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยการทำ KM ที่ตรงไหนและทำได้อย่างไร เราจะมองเห็นแค่ระบบงานของ IT ระบบหนึ่งเท่านั้น จะไม่สามารถมองออกว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของ KM • ลองดูจากรูปถัดไป ซึ่งเป็นระบบ E-Service ลองตอบคำถามตนเองว่า ตรงไหนคือ KM?!?

  3. Example of E-Service Function ที่ใช้งาน Input/Output Database สิ่งที่น่ากลัวของ IT ก็คือ มองไม่เห็น KM แต่มองระบบทั้งหลายเป็นเพียงแค่ ระบบหนึ่ง ๆ เท่านั้น

  4. คำถาม (คน) กระบวนการ

  5. กระบวนการFunction Knowledge Capture Knowledge Development Knowledge Sharing Knowledge Utilization

  6. Function Technology

  7. มองย้อนกลับ

  8. การมองย้อนกลับไปกลับมาแบบนี้จะทำให้เราเห็นถึงประโยชน์ของ Tool ทางด้าน IT ที่เรานำมาใช้ในท้ายที่สุด เราไม่ได้มองฆ้อนและตะปูซึ่งเป็นเครื่องมือ แต่ละชิ้นว่ามันมีประโยชน์อะไร แต่เรามอง ว่าเรานำมามันใช้เพื่อยึดไม่สองแผ่นให้ติดกัน ตามที่เราต้องการ

  9. Knowledge Management Culture • เกี่ยวกับ คน (People) • ดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรไปสู่วัฒธรรมการแบ่งปันความรู้ • เกี่ยวกับกระบวนการ (Process) • สร้าง core business process อย่างต่อเนื่อง ทำความเข้าใจช่องว่าง (gaps) ที่เกิดขึ้น และ ใช้ best practices เพื่อสร้างกระบวนการต่าง ๆ ที่ดีที่สุด (best-of-breed processes) • กำหนดแนวทาง ในการแบ่งปันความรู้และการฝึกอบรม

  10. เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Technology) • จัดหาเครื่องมือเกี่ยวกับการจำลองแบบและการพยากรณ์ต่าง ๆ • จัดทำ Job and Skill repository • จัดหาระบบต่าง ๆ ที่ใช้ที่คว้าจับความรู้ (Knowledge Capture) และ นำกลับมาใช้ (Knowledge Retrieval) • รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่และทำการจัดเก็บเป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Store) • ใช้ระบบ Expert systems เพื่อเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำด้วยมือให้เป็นระบบอัตโนมัติ

  11. เกี่ยวกับเนื้อหา (Content) • กำหนดองค์ความรู้และประเภทที่องค์กรต้องการ • สร้างแนวทางการจัดหมวดหมู่ความรู้ (Knowledge Taxonomy) • กำหนดขอบข่ายของเนื้อหาขององค์ความรู้ (role-based knowledge content)และความปลอดภัย • ดังนั้นสิ่งที่เรา (คนทางด้าน IT) ต้องนั่งพิจารณา ก็คือ สี่ด้านนี้ คือ คน กระบวนการ เทคโนโลยี และ เนื้อหา

  12. นอกจาก Explicit และ Tacit Knowledge แล้ว …. • ความรู้ภายในที่เห็นไม่ชัด (Implicit Knowledge) เป็นการสร้างองค์ความรู้ และประสบการณ์ขึ้นภายในองค์กร เช่น ในภัตตาคารอาจมีกระบวนการพิเศษในการทำอาหารให้ถูกใจลูกค้า กระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกออกมา แต่เป็น know how ที่เกิดขึ้นในองค์กร

  13. S/W ที่เกี่ยวข้องกับ KM

  14. เรามาดูกันทางด้าน Explicit Knowledge กันก่อน

  15. 1) Bookmarking หรือ การคั่นหน้า • คั่นหน้า หรือ บุ้กมาร์ก (bookmark) คือคำสั่งหนึ่งที่ใช้บันทึกการเชื่อมโยงไปที่ยูอาร์แอล (URL) ใดๆ ในเบราว์เซอร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการจดจำตำแหน่งของหน้านั้นๆ โดยเก็บค่าคั่นหน้าไว้ในเครื่องของผู้ใช้ เปรียบเทียบเหมือนการสอดที่คั่นหนังสือในหน้าที่อ่านค้างไว้ • โปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ต เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ คั่นหน้าจะเรียกว่า เฟเวอริต (favorite) เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีความสามารถใหม่เรียกว่า ไลฟ์บุ๊กมาร์ก (live bookmark คั่นหน้าแบบถ่ายทอดสด) ในโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ และโปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ตตัวใหม่ซึ่งมีความสามารถในการอ่านอาร์เอสเอส (RSS) ที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายในเว็บนั้น เช่น การอ่านหัวเรื่อง หรือการอ่านหัวข้อบล็อก โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูในเว็บ • (ลองอ่านใน http://support.mozilla.com/th/kb/Live+Bookmarks)

  16. ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาคั่นหน้าที่แยกต่างหากและได้รับความนิยมมากได้แก่ เว็บไซต์ delicious (อ่านว่า ดิ-ลิ-เชียส) ปรับปรุงระบบการใช้คั่นหน้าโดยเก็บข้อมูลบนเว็บเพื่อสะดวกในการใช้ คั่นหน้าออนไลน์ (online bookmark) และเชื่อมโยงระหว่างคั่นหน้าของผู้ใช้แต่ละบุคคล • Delicious ในชื่อเดิม del.icio.us (ดิลิเชียส - delicious) เป็นชื่อเว็บไซต์สำหรับเก็บเว็บบุกมาร์ก เชื่อมยังกันในลักษณะเครือข่ายชุมชน (social networking) ที่ได้รับความนิยมสูง เปิดบริการสิ้นปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) พัฒนาระบบโดยโจชัว สแคชเทอร์ (Joshua Schachter) บริษัทยาฮู!ได้ซื้อดิลิเชียสในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548

  17. Social Bookmarking

  18. ลักษณะการทำงานคือ ผู้ใช้สามารถเก็บบุกมาร์กไว้บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ไหนก็ได้ ซึ่งแตกต่างจากการเก็บบุกมาร์กธรรมดาที่เรียกใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ คุณสมบัติเด่นที่แตกต่างจากเว็บบุกมาร์กทั่วไปคือ มีการเชื่อมโยงรายชื่อบุกมาร์กเข้ากับบุกมาร์กของผู้ใช้รายอื่น ซึ่งทำให้รู้ว่าเว็บนั้นมีผู้ใช้กี่คนที่ได้ทำบุกมาร์กไว้ การทำงานของระบบจะสร้างจาวาสคริปต์ไว้ที่แถบบุกมาร์กของผู้ใช้ และเมื่อผู้ใช้ต้องการบันทึกหรือเรียกใช้บุกมาร์ก เพียงแค่กดปุ่มนั้นและบุกมาร์จะถูกเซฟอัตโนมัติเข้าสู่อินเทอร์เน็ต คุณสมบัติอื่นของดีลิเชียส คือความสามารถในการแท็กแต่ละบุกมาร์กเพื่อเป็นการจัดหมวดหมู่อัตโนมัติ และความสามารถในการฟีด ส่งข้อมูลบุกมาร์กล่าสุดเข้าสู่แหล่งข้อมูลอื่นเพื่อดูได้ว่าเว็บไหนกำลังเป็นที่นิยมที่มีผู้ใช้บันทึกมากที่สุด

  19. การใช้งานเว็บทั้งหมดเป็นการใช้ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน และผู้พัฒนาโปรแกรมที่ต้องการพัฒนาต่อสามารถดาวน์โหลดAPIได้ นอกจากนี้มีเว็บไซต์ de.lirio.us เปิดให้ใช้โดยเป็นเว็บโอเพนซอร์สของดีลิเชียส • ลองไปเล่นดูครับที่ http://delicious.com/

  20. 2) CMS • 1) CMS คือ อะไร ? • ความหมายของ Content Management System (CMS) (แปลเป็นไทยว่า ระบบจัดการเนื้อหา) • เริ่มต้นจาก อินเทอร์เน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นมา โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น และการพัฒนาของภาษาหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นมามากเช่นกัน • ถ้าจะกล่าวถึงเมื่ออดีต ภาษา HTML คงเป็นภาษาที่ยอดนิยมในการที่จะทำการสร้างเว็บเพจหรือเว็บไซต์ขึ้นมา แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษาในการทำเว็บไซต์ขึ้นมาอีกมากมาย และภาษาที่นิยมมากตัวหนึ่งจนมาถึงปัจจุบันก็คือภาษา PHP เนื่องจากสามารถโหลดมาใช้งานได้ง่ายและมีตัวอย่างให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งสิ่งนี้เองก็เป็นต้นกำเนิดของการทำเว็บไซต์แนวใหม่ที่เรียกว่า CMS

  21. CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ พร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร (News and Article) , ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review) , ระบบจัดการสมาชิก(Member) ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) , ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download) , ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner) , ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น และผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ(Module) อาทิ Forum, Chatroom, Form mail เข้าไปได้ในภายหลังจากการติดตั้ง

  22. ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal, Joomla เป็นต้น • ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)

  23. Joomla

  24. ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel (เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การจัดการระบบผ่านเว็บ (Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า (Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Information), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

  25. 2) ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ CMS ในวงการต่างๆ • ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น • 2.1) การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า • 2.2) การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร • 2.3) การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัคคีทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น

  26. 2.4) การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง • 2.5) การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา • 2.6) การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

  27. 3) CMS ทำงานอย่างไร? • ลักษณะการทำงานของ Content Management System (CMS) เป็นระบบจัดการที่แบ่งแยกการทำงานระหว่างเนื้อหา (Content) ออกจาก การออกแบบ (Design) โดยการออกแบบเว็บเพจ จะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น

  28. ส่วนประกอบของ CMS • 1) Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์(Look & feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์ • 2) ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ • 3) ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์

  29. Theme ของ Joomla

  30. 4) ทำไมถึงต้องใช้ CMS • ข้อดีของ CMS มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์(Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์(Users) • 1) ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์ • 2) ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง • 3) ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ • 4) CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังช่วยจัดระดับการใช้งานสำหรับแต่ละส่วนงานของเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเข้ามาเซ็ตการใช้งานของระบบที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง เพราะสามารถทำได้โดยผ่านเว็บบราวเซอร์

  31. นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Add-ons เข้ามาเสริมการทำงานได้ ส่วนนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาได้

  32. 5) การพิจารณาเลือกใช้ CMS • 1) ความยากง่ายในการใช้งาน • 2) ความยืดหยุ่นในการพัฒนา • 3) ความสามารถในการทำงาน • 4) อื่นๆ ได้แก่ เทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการ และราคา • เนื่องจาก CMS นี้เป็นระบบ ดังนั้นจึงถูกสร้างขึ้นมาโดยภาษาใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น PHP, ASP, Java, Python ฯลฯ การสร้าง CMS นั้นก็มีจุดประสงค์ ทั้งที่สร้างขึ้นมาใช้งานเอง และสร้างขึ้นมาแล้วทำการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ใช้งานด้วย ฉะนั้น CMS แบบหลังนี้จะมีลักษณะเป็น Open Source และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และจะเป็นภาษา PHP เนื่องจากเป็นภาษาที่ฟรีนั่นเอง

  33. สำหรับ CMS ที่จะกล่าวถึงจะเป็น CMS ที่เขียนขึ้นด้วยภาษา PHP ซึ่งแหล่งข้อมูลของภาษา PHP ที่ใหญ่ที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น http://sourceforge.net/index.php ที่มีให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะดาวน์โหลดหรือเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ซึ่งก็มีการแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน และที่สำคัญเป็นซอฟต์แวร์แบบ OpenSource ด้วย โดย CMS นั้นก็มีอยู่หลายตัวหลายประเภทให้เลือกใช้งาน (ดูจากภาคผนวก) ซึ่งจากตาราง(ภาคผนวก) ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ CMS เท่านั้น ซึ่งก็ยังมีตัว CMS อื่นๆ อีกมากหมาย ซึ่งก็สามารถที่จะค้นหาและทำการดาวน์โหลดมาทดสอบการใช้งานได้

  34. การใช้งาน CMS นั้นหลังจากที่ทำการดาวน์โหลดมาใช้งานก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับปรุงตัว CMS นั้นๆ ได้ตามความต้องการ แต่ห้ามนำไปขายเนื่องจากตัว CMS เป็น Open Source ที่แจกจ่ายให้ใช้งานกันฟรีๆ อยู่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการใช้งาน หรือถ้ามีการแก้ไข ปรับปรุงตัว Code ก็สามารถที่จะส่งไปยังต้นสังกัดของผู้ที่พัฒนาก็ได้ เพื่อที่จะให้ปรับปรุงส่วนเพิ่มเติมลงไป เช่น คำสั่งใช้งานภาษาไทย, การแสดงผลภาษาไทย เป็นต้น

  35. 6) ประเภทของ CMS • 1) Web log- เป็น CMS ส่วนของการบันทึกเผยแพร่ส่วนบุคคล Weblog (วี บล็อก) หรือ web log(เว็บ- ล็อก) นิยมเรียกสั้นๆ ว่า Blogs (บล็อก) ซึ่งคำว่า Weblog นั้นก็มาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย Weblog เป็นเว็บประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบง่ายๆ โดยมากจะเป็นในลักษณะเว็บไซต์ส่วนตัวคนสร้างบล็อก (Blogger หรือ Weblogger) ต้องการบรรยายเหตุการณ์ส่วนตัวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ความในใจ ชีวิติครอบครัว เหตุการณ์ประทับใจในชีวิต ฯลฯ

  36. Weblog ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้าน HTML มากนัก เนื่องจากมีการออกแบบเครื่องมือให้เป็นแบบ WYSIWYG editor (what you see it what you get) ซึ่งเครื่องมือที่ดูและเข้าใจง่ายๆ คล้ายกับเครื่องมือหรือสัญลักษณ์ในโปรแกรมการพิมพ์งานทั่วๆ ไป ทำให้ผู้ที่สร้างเอกสารสามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว โดยเนื้อหาใน Weblog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ • • หัวข้อ (Title) เป็นหัวข้อสั้นสั้นๆ • • เนื้อหา (Post หรือ Content) เป็นเนื้อหาหลักที่คนสร้าง Blog ต้องการที่จะบอกให้คุณทราบ • • วันที่เขียน (Date) เป็นวัน เดือน ปี ที่เขียน

  37. 2) e-Commerce (อีคอมเมิร์ช) - เป็น CMS ส่วนของการทำร้านค้า Online สามารถที่จะใช้ในการซื้อของ ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มรายการสินค้า ราคา ทำหน้าร้านได้ กำลังได้รับความิยมขึ้นมาเรื่อยๆ • 3) e-Learning – เป็น CMS ที่ใช้ในการทำงานสื่อการเรียนการสอน หรือ CAI แต่สามารถที่จะทำเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สามารถสร้างแบบทดสอบต่างๆ ได้ แต่ในบ้านเรายังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากคนที่ทำต้องมีความรู้ในเรื่องของเว็บไซต์และการจัดการเนื้อหาอยู่พอสมควร • 4) Forums (กระดานข่าว)– เป็น CMS ที่ใช้ในการตั้งกระทู้ถามตอบปัญหาหรือทำเป็นชุมชนต่างๆ โดยจะมีการแบ่งเป็นหัวข้อหรือหมวดต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม ซึ่งส่วนมากแล้วตัว Forums นี้มักจะไปผูกกับตัว CMS อื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน แต่ในขณะเดียวกันนั้นผู้ใช้งานก็สามารถที่จะติดตั้งใช้งาน Forums แบบเพรียวๆ ก็ได้เหมือนกัน

  38. 5) Groupware – เป็น CMS ที่ออกแบบมาเพื่อที่จะช่วยการทำงานในองค์หรือหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์กัน และมีความรวดเร็วในการทำงาน สามารถที่จะช่วยเหลือกัน สามารถทำงานเป็นทีมและควบคุมการทำงานได้ โดยการทำงานก็จะผ่านระบบเน็ตเวิร์คหรืออีเมลล์หรือระบบเว็บออนไลน์ ซึ่งการติดต่อสื่อสารนั้นก็จะสามารถติดติดได้เป็นกลุ่มๆ หรือเฉพาะบุคคลก็ได้ พร้อมทั้งข้อมูลที่ต้องการแจ้งสามารถใช้เป็นรูปภาพ ข้อความ หรืออื่นๆ ได้ แล้วแต่ว่าความสามารถของ Groupware CMS จะทำได้ขนาดไหน • 6) Image Galleries (อัลบั้มภาพ)– เป็น CMS ที่กำลังได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดย CMS ประเภทนี้จะใช้ในการจัดการอัลบั้มภาพหรือทำ Galleries ก็จะมีฟังก์ชันในการใช้งานโดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของภาพ สามารถกำหนดขนาดภาพ ขนาดไฟล์ หรือบางตัวสามารถที่จะทำการย่อภาพลงมาตามที่กำหนดได้เอง หรือทำเป็น Thumbnail ก็ได้

  39. 7) Portals (CMS)– เป็น CMS ที่เป็นหน้าตาหลักของเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ ซึ่งการทำงานนั้นก็อาจจะทำงานด้วยตัวของมันเองได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเอาตัวอื่นๆ เข้ามารวมผนวกเพิ่มไปได้ เช่น CMS ตัวนี้ก็จะมีส่วนของการจัดการเนื้อหาอยู่ แต่ก็จะมี Forums (กระดานข่าว) หรือ Image Galleries (อัลบั้มภาพ) ผนวกเข้าไปด้วยเพื่อทำให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น • 8) วิกิ (Wiki) คือ เว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย เหมือนกับการเขียนบทความร่วมกัน คำว่า "วิกิ" นี้ ยังสามารถใช้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อสร้างเว็บไซต์ดังกล่าวอีกด้วย ลักษณะของตัววิกิจะออกไปแนวสารานุกรมหรือแหล่งความรู้จำนวนมากๆ มากกว่า โดยจะเป็นการระดมความเห็นจากหลายๆ คนมาใช้งาน ซึ่งตัวอย่างของไทยก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://th.wikipedia.org

  40. 7) เริ่มตัวไหน เลือกอะไรดี • จากที่ทราบแล้วว่า CMS (Content Management System) คือระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว และทำงานได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่ โดย CMS ส่วนมากแล้วจะกระทำในลักษณะของ Web Base คือทำงานผ่านเว็บออนไลน์ ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมก็จะกระทำการจัดการต่างๆ ผ่านทางเมนูที่ทาง CMS มีมาให้ก็ทำให้สามารถทำงานได้ทุกๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้

  41. ด้วยความที่ว่าตัว CMS จะเป็น Open source และเปิดให้โหลดใช้งานได้ฟรี จึงได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมามากว่า โดยตัว CMS เองก็สามารถที่จะทำการเพิ่มเติม แก้ไข เปลี่ยนแปลงตัวข้อมูลหรือตัวโปรแกรมได้อยู่แล้ว นอกจากนี้แล้วยังมีฟังก์ชันต่างๆ มาให้ด้วย เช่น ห้องสนทนา, กระดานข่าว, ถาม/ตอบ เป็นต้น แต่ส่วนมากแล้วตัว CMS ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้นก็จะมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการจัดการเนื้อหา, กลุ่ม E-Learning และกลุ่ม E-Commerce ซึ่ง 2 กลุ่มหลังนี้บ้านเรายังไม่ค่อยเป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าไร จะทำและใช้งานกันเฉพาะกลุ่มๆ

  42. จากข้อมูลก็จะทำให้เห็นว่า CMS นั้นมีอยู่หลายตัว หลายประเภทมาก แล้วจะใช้งานตัวไหนดี บอกได้เลยว่าไม่มี CMS ตัวไหนตรงตามความต้องการ 100% มักจะขาดโน่นนิด นี่หน่อย แต่ก็ใช้การปรับแต่งและประยุกต์เอามากกว่า ซึ่งสิ่งที่ไม่พอใจกันมากที่สุดของ CMS ก็คือ เรื่องของธีม (Theme) หรือหน้าตาของเว็บไซต์นั่นเอง ส่วนฟังก์ชันหรือโมดูลอื่นๆ ก็พอรับกันได้ • สิ่งแรกที่ต้องการใช้งานสำหรับ CMS ก็คือ ต้องทดสอบโดยการทำเว็บ Server ไว้ที่เครื่องตนเองแล้วลองเล่นดูอย่างน้อยสักตัวหรือสองตัวก็พอ โดยหาข้อมูลว่าตัวไหนที่มีความน่าสนใจ ซึ่งในบ้านเราแล้วตัวที่น่าสนใจก็มี PHP-Nuke, Mambo, PHP-Fusion และน้องใหม่ Joomla ที่มาแรง ดังนั้นในองค์กรต่างๆ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการมีเว็บไซต์หรือสื่อข้อมูลออนไลน์ CMS ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำสามารถตอบสนองความต้องการได้ ไม่ต้องการผู้ดูแลมาก • ตัว CMS ที่ชื่อว่า Membo และ Joomla ที่เป็นที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

  43. 8) ลำดับการดำเนินงาน • เมื่อเราเลือกตัว CMS ได้แล้วก็ต้องมาดูว่าระบบการจัดการเนื้อหาเป็นอย่างไร? • ระบบการจัดการเนื้อหามักมีระบบการจัดการลำดับการดำเนินงานของเนื้อหาที่เรียกว่า Workflow ซึ่งลำดับการดำเนินงานนั้นโดยมากจะประกอบไปด้วย • 8.1) ขั้นตอนการนำเนื้อหาเข้าระบบ (Ingestion หรือ Creation) เป็นการตระเตรียมสร้างเนื้อหาซึ่งจะต้องมีการวางแผนก่อนว่าเว็บที่เราจะทำนั้นจะเป็นเว็บไซต์หรือเนื้อหาเป็นอย่างไร เกี่ยวกับอะไร เน้นไปทางด้านไหน กลุ่มคนแบบไหนที่ต้องเข้ามาใช้งานเว็บ ซึ่งเมื่อได้เนื้อหาหรือเป้าหมายของเว็บแล้วก็ทำการรวบรวมเนื้อหาจัดทำเข้าระบบ

  44. 8.2) ขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา (Staging หรือ Approval) เป็นส่วนของการตรวจสอบเนื้อหาว่าถูกต้องหรือไม่ ตรงตามความต้องการหรือไม่ จัดหมวดหมู่เป็นอย่างไร คำผิดมีหรือไม่ รวมไปถึงการทดสอบการใช้งานระบบด้วยว่าพร้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็จะต้องจำลองพฤติกรรมของผู้ใช้งานด้วยว่าจะออกมาในแนวทางไหนเพื่อที่จะได้เตรียมรับมือการใช้งานได้ถูก

  45. 8.3) ขั้นตอนการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ (Delivery หรือ Publishing) เป็นขั้นตอนสุดท้ายและยากลำบากมากที่สุดในการทำเว็บ เนื่องจากต้องทำให้คนรู้จักเว็บเรา แต่ถึงกระนั้นก็ตามจะต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์หรือ Domain ก่อนพร้อมทั้งหาพื้นที่ใช้งานหรือโฮส (Hosting) โดยส่วนมากแล้วบริษัทที่รับทำจะทำควบคู่กันไปเลย ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ใช้งานก็ต้องศึกษารายละเอียดให้รอบครอบว่ารายละเอียดของการใช้งานเป็นอย่างไร มีข้อกำหนดอะไรบ้าง เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลในการจัดทำ เนื่องจากถ้าไม่ใช้ Host ของตนเองก็ต้องไปเช่าพื้นที่ที่มีบริการอย่างมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ

  46. 9) วงจรชีวิตของเนื้อหา • วงจรชีวิตของเนื้อหาภายในระบบการจัดการเนื้อหา ประกอบด้วย • 9.1) การจัดโครงสร้างหรือการจัดหมวดหมู่ (Organization) เป็นการจัดประเภทให้แก่เนื้อหาสาระว่าเป็นประเภทใด ควรมีโครงสร้างแบบใด เป็นการกำหนด Schema ให้แก้เนื้อหาว่าต้องมีองค์ประกอบเช่นใดบ้าง • 9.2) ลำดับขั้นดำเนินงาน (Workflow) เป็นกฎเกณฑ์หรือนโยบาย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระ ของเจ้าของหรือผู้เขียน ของผู้เผยแพร่และของผู้ร่วมมือ เป็นลำดับขั้นตอนของการผ่านร่างของเนื้อหา ก่อนที่จะออกเผยแพร่สู่สาธารณะ • 9.3) การสร้างสรรค์ (Creation) เป็นการนำเข้าข้อมูล การเขียน จับภาพ อัดเสียง รวบรวม เปลี่ยนแปลง แก้ไข เนื้อหาสาระที่อยู่ภายในระบบให้ตรงตามความต้องการ

  47. 9.4) การจัดเก็บ (Repository) หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ การจัดเก็บลงฐานข้อมูล การบันทึกลงสื่อ เพื่อให้คงอยู่ไว้ซึ่งข้อมูลภายในระบบ • 9.5) การกำหนดเวอร์ชัน (Versioning) เป็นการควบคุมการเปลี่ยนแปลง โดยให้มีหมายเลขการเปลี่ยนแปลง หรือการกำหนดวันที่เปลี่ยนแปลง และจัดเก็บสำรองข้อมูลดังเดิมไว้ เผื่อทำการเรียกคืนข้อมูล หรือแก้ไขกลับ และเพื่อให้รู้ถึงสถานะการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล • 9.6) การเผยแพร่ (Publishing) เป็นการนำเนื้อหาสาระออกเผยแพร่สู่สาธารณะ ด้วยการจัดส่งไปยังตัวบุคคล การเผยแพร่ในที่สาธารณะ เป็นต้น • 9.7) การเก็บเอกสาร (Archives) คือการจัดเก็บเนื้อหาที่ถูกใช้งานแล้ว หรือหมดอายุแล้ว โดยนำมาจัดเก็บเพื่อนำไว้ใช้เป็นฐานความรู้ หรือไว้ใช้เพื่อเตรียมนำเสนอใหม่

  48. 10) ประเภทของระบบการจัดการเนื้อหา • ระบบการจัดการเนื้อหานั้นมีหลายประเภทสามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น • 1) ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ เป็นระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บไซท์ • 2) ระบบการจัดการเนื้อหาทางธุรกรรม เป็นระบบที่ช่วยจัดการธุรกรรมสำหรับอี-คอมเมิร์ช เรื่องของสินค้า ระบบหน้าร้าน • 3) ระบบการจัดการเนื้อหาแบบประสาน เป็นระบบที่ใช้ช่วยจัดการเอกสารและเนื้อหาภายในองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้ • 4) ระบบการจัดการเนื้อหาสิ่งพิมพ์ ใช้สำหรับช่วยจัดการงานสิ่งพิมพ์และวงจรชีวิตของเนื้อหา เช่น เอกสารการใช้งาน หนังสือ เป็นต้น

  49. 5) ระบบการจัดการเรียนรู้ ใช้จัดการวงจรชีวิตของเนื้อหาสาระบนระบบเรียนรู้บนเว็บ เช่น จัดการแบบทดสอบ จัดการแบบการเรียนการสอน เป็นต้น • 6) ระบบจัดการเอกสารที่เป็นภาพ ใช้จัดการเอกสารที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบของรูปภาพ เช่น การถ่ายสำเนาเป็นต้น • 7) ระบบการจัดการเนื้อหาระดับองค์กร เป็นระบบที่ใช้จัดการเอกสาร เนื้อหาสาระต่างๆ ภายในองค์กร อาจจะเป็นได้ทั้งระบบเว็บแอพพลิเคชันหรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนไคลเอนท์ก็ได้

  50. ฉะนั้นเมื่อเราทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการติดตั้งเพื่อใช้งาน โดยจะมีอยู่ 2 แบบ คือการจำลองเครื่อง PC เป็นเครื่อง Server เพื่อทดสอบการใช้งาน และการติดตั้งที่ Server จริง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจำลองติดตั้งใช้งานที่เครื่อง PC ก่อน โปรแกรมที่ใช้สำหรับจำลองเครื่องพีซี เป็น เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย • • Apache Web Server เพื่อใช้ในการทำเป็น Web Server • • Internet Information Service (IIS) • • PHP Script Language เพื่อใช้ในการทำงานกับภาษา PHP • • MySQL Database ใช้เป็นฐานข้อมูลให้กับ CMS • • phpMyAdmin Database Manager ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล

More Related