1 / 17

Urinary Tract Infection Updated Guigeline

Urinary Tract Infection Updated Guigeline. พญ .สุ มิศรา อา รีย์ วัฒนานนท์ กุมารแพทย์ รพ.หนองคาย 20 พ.ย. 2556. แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะใน ผู้ป่วย เด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี.

byron-gay
Télécharger la présentation

Urinary Tract Infection Updated Guigeline

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Urinary Tract InfectionUpdated Guigeline พญ.สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์ กุมารแพทย์ รพ.หนองคาย 20 พ.ย. 2556

  2. แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี • ร้อยละ 36-46 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กไทย พบความผิดปกติของ ระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย • ความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่ - โรคปัสสาวะไหลย้อน (vesicoureteral reflux, VUR) - ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น posterior urethral valveureteropelvicjunction obstructionureterovesicaljunction obstruction • การติดเชื้อซ้ำอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต(renal scarring) ความดันโลหิตสูงและโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

  3. แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี • พิจารณาตรวจหาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • แนวทางการตรวจทางรังสี • การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

  4. 1. พิจารณาตรวจหาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ในกรณีต่อไปนี้ 1.1 ผู้ป่วยมีอาการที่บ่งชี้ถึงโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ 1.ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ร้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะรดที่นอนที่มาเป็นภายหลัง (secondary enuresis) ปัสสาวะมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ เช่น ขุ่น มีตะกอน มีเลือดปน * โดยผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ * 2. อาการปวดหรือกดเจ็บที่บริเวณท้อง ท้องน้อย หลังหรือบั้นเอว 1.2 ผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ (fever without localizing sign)* โดยเฉพาะรายที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี *

  5. 2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.1 การตรวจปัสสาวะ (urinalysis) • การตรวจ leukocyte esterase และ nitrite โดยแถบ dipstick ถือว่าผิดปกติหากให้ผลบวก • การตรวจนับเม็ดเลือดขาว ถือว่าผิดปกติหากเม็ดเลือดขาว>5 เซลล์/high power field (pyuria) • การย้อมแกรมปัสสาวะ (ใช้ปัสสาวะที่เพิ่งเก็บใหม่ ย้อม Gram’s stain โดยไม่ปั่น) ถือว่าผิดปกติหากพบเชื้อแบคทีเรีย>1 ตัว/oil power field * การตรวจเบื้องต้นเป็นการตรวจคัดกรอง แต่หากพบความผิดปกติตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น *

  6. 2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ : (gold standard) * ข้อบ่งชี้ ควรเพาะเชื้อในปัสสาวะเมื่อ : 1. ผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ ร่วมกับมีลักษณะป่วยหนัก หรือจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะอย่างเร่งด่วน ให้เก็บปัสสาวะตรวจ uaพร้อมกับการเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ 2. ผู้ป่วยมีความผิดปกติจากการตรวจua 3. ผู้ป่วยมีผล uaเป็นปกติ แต่ไม่สามารถแยกโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้แน่ชัดควรส่งตรวจเพาะเชื้อในปัสสาวะ ก่อนให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทุกราย

  7. 2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ: วิธีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและการแปลผลเพาะเชื้อ 1. Suprapubicaspiration - เป็นวิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุด แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ <2 ปี - โดยเฉพาะเด็กชายที่มี phimosisหรือเด็กหญิงที่มี labial adhesion หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ urethral catheterization ได้ - หากผลเพาะเชื้อพบ uropathogenไม่ว่าปริมาณเท่าใด ถือว่ามีแบคทีเรียในปัสสาวะจริง

  8. 2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ2.การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเพาะเชื้อในปัสสาวะ: วิธีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและการแปลผลเพาะเชื้อ 2. Urethral catheterization -ใช้ได้ในเด็กอายุ<3 ปี หรือเด็กที่ยังควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ - ถือว่ามีแบคทีเรียในปัสสาวะเมื่อเพาะเชื้อได้ >104CFU/mL 3. Clean-catch, midstream void -ใช้ได้ในเด็กอายุ >3 ปี - ถือว่ามีเชื้อในทางเดินปัสสาวะเมื่อเพาะเชื้อได้ >105CFU/mL

  9. 3. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 3.1 ชนิดของยาปฏิชีวนะ - การให้ยาปฏิชีวนะ (empirical therapy) ควรให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ amoxicillin, co-trimoxazole, third และ fourth generation cephalosporins, aminoglycoside, amoxicillin-clavulanateเป็นต้น - เมื่อทราบผลเพาะเชื้อแล้ว ควรปรับยาตามความไวของเชื้อ 3.2 วิธีบริหารยา - แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยไข้สูง หรือรับประทานไม่ได้ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอายุ <3 เดือน จนกว่าไข้ลงจึงเปลี่ยนเป็นยาชนิดรับประทาน

  10. 3. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 3.3 ระยะเวลาในการให้ยา - ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือผู้ป่วยที่มีไข้สูง ควรได้รับยาปฏิชีวนะรวม 7-14 วัน - ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ 3-7 วัน

  11. 4. แนวทางการตรวจทางรังสี 4.1 กรณีผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก (First febrile UTI) - ตรวจอัลตราซาวน์ระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ - ไม่ตรวจ voiding cystourethrogram (VCUG) ทุกราย การตรวจ VCUG แนะนำให้ปฏิบัติ หรือพิจารณาให้ปฏิบัติ แสดงดังตารางที่ 1

  12. ตารางที่ 1 แนวทางการส่งตรวจ VCUG ในผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก

  13. 4. แนวทางการตรวจทางรังสี 4.2 กรณีผู้ป่วยที่มีไข้และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ (>1 episodes of febrile UTI) - หากยังไม่เคย ให้ตรวจอัลตราซาวน์ระบบทางเดินปัสสาวะ - หากยังไม่เคย ให้ตรวจ VCUG

  14. 5. การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ • ไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นประจำแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นครั้งแรก • ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำแก่เด็กที่แนะนำให้ตรวจ และพิจารณาให้ตรวจ VCUG ดังตารางที่ 1 โดยให้ยาจนกว่าจะได้ผล VCUG * ในอดีตแนะนำให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีทุกรายที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะครั้งแรก แต่จากข้อมูลการศึกษาระยะหลังพบว่า การให้และการไม่ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมีโอกาสการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำไม่แตกต่างกันและไม่สามารถลดการเกิดแผลเป็นที่ไตได้ อีกทั้งอาจทำให้เพิ่มอัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย *

  15. ตารางที่ 2 ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำในเด็ก

  16. Thank You

More Related