1 / 33

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design. ดร . แดง แซ่เบ๊. บทนำ. วิชาจลนศาสตร์เคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมี (Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design ) . ครอบคลุมความรู้ต่างๆ เช่น ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์เคมี

calvin
Télécharger la présentation

จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design ดร.แดง แซ่เบ๊

  2. บทนำ

  3. วิชาจลนศาสตร์เคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมี (Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design) ครอบคลุมความรู้ต่างๆ เช่น • ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์เคมี • การเลือกประเภทและขนาดของเครื่องปฏิกรณ์เคมี • สภาวะที่เหมาะสมในการดำเนินการของเครื่องปฏิกรณ์เคมี • อัตราการเกิดปฏิกิริยา • การหาสมการเพื่อแสดงอัตราการเกิดปฏิกิริยา • กลไกการเกิดปฏิกิริยา และขั้นตอนที่เป็นตัวจำกัดของอัตราการเกิดปฏิกิริยา

  4. ประโยชน์ที่สำคัญที่ได้จากการเรียนวิชาประโยชน์ที่สำคัญที่ได้จากการเรียนวิชา เลือกประเภทและสภาวะการดำเนินงานของเครื่องปฏิกรณ์ที่เหมาะสม ให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้สารตั้งต้นที่ทำปฏิกิริยาเกิดไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งทำได้โดยให้เกิดปฏิกิริยาข้างเคียงน้อยที่สุด เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการมีผลิตภัณฑ์อื่นผสมอยู่น้อยทำให้กระบวนการลดภาระในการแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการได้ ส่งผลให้บริษัทได้กำไรสูงสุด

  5. ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์เคมี 1) การดำเนินการแบบกะ (Batch) 2) การดำเนินการแบบต่อเนื่อง (Continuous) 3) การดำเนินการแบบกึ่งต่อเนื่องหรือกึ่งกะ (Semi-continuous or semi-batch)

  6. การดำเนินการแบบกะ (Batch process) แสดงการดำเนินการแบบกะในช่วงเวลาต่างๆ

  7. การดำเนินการแบบต่อเนื่องการดำเนินการแบบต่อเนื่อง (Continuous process) แสดงการดำเนินการแบบต่อเนื่อง

  8. การดำเนินการแบบกึ่งต่อเนื่องหรือกึ่งกะ (Semi-continuous or semi-batch) แสดงการดำเนินการแบบกึ่งต่อเนื่องหรือกึ่งกะ

  9. เครื่องปฏิกรณ์ต่างๆ

  10. เครื่องปฏิกรณ์แบบกะ (Batch reactor) • โดยเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงหรือใช้สำหรับการทดสอบกระบวนการใหม่ที่ยังไม่ถูกพัฒนาในระดับอุตสาหกรรม • ข้อดีของเครื่องปฏิกรณ์เคมีแบบกะ คือ ผลผลิตที่ได้มีค่าคอนเวอร์ชั่นสูง • ข้อเสีย การใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบกะนี้จะให้กำลังการผลิตต่ำและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อครั้งสูง

  11. เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวน (Continuous stirred tank: CSTR) • เครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้จะถูกใช้มากในอุตสาหกรรม • ในเครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนมีใบกวนช่วยกวนสารทำปฏิกิริยาให้มีอุณหภูมิและความเข้มข้นเท่ากันตลอด • ข้อดี ง่ายต่อการควบคุมอุณหภูมิ • ข้อเสีย ค่าคอนเวอร์ชั่นของสารตั้งต้นต่อปริมาตรของเครื่องปฏิกรณ์จะมีค่าน้อยสุดเมื่อเทียบกับปฏิกิริยาไหลต่อเนื่อง

  12. เครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล (Plug flow reactor: PFR) แบบท่อเดี่ยว • แบบหลายท่อ ภายในเครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหล ความเข้มข้นจากสารทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยากต่อการควบคุมอุณหภูมิภายในท่อให้เท่ากันตลอดแนวยาว จึงมักเกิดการกระจายอุณหภูมิตามแนวยาว

  13. เครื่องปฏิกรณ์แบบแพ็คเบด(Packed bed reactor: PBR) • เครื่องปฏิกรณ์สำหรับเกิดปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์ (heterogeneous reaction) ซึ่งปฏิกิริยาเกิดขึ้นที่ผิวหน้าของตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับมวลน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา

  14. การเกิดปฏิกิริยา • ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนคุณลักษณะของสาร (chemical identity) โดยอาจเกิดการเปลี่ยนจำนวนอะตอม การเปลี่ยนโครงสร้าง (Structure) หรือรูปแบบของสารนั้น (configuration) การเกิดปฏิกิริยาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ • ปฏิกิริยาการสลายตัว (decomposition) • ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) • ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (isomerization)

  15. สมดุลมวลและสมดุลพลังงานสมดุลมวลและสมดุลพลังงาน สสารไม่สูญหายไปไหน  พลังงานไม่สูญหายไปไหน กฎทรงมวล กฎข้อที่ 1 เทอร์โมไดนามิกส์

  16. อัตราการเกิดปฏิกิริยา

  17. อัตราการเกิดปฏิกิริยา ชนิดของปฏิกิริยา (Type of Reaction) 1.) แบ่งตามวัฏภาคของปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้อง • ปฏิกิริยาเอกพันธุ์ (Homogeneous reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในวัฏภาคเดียวกัน มองตาเปล่าเป็นเนื้อเดียวกัน • ปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์ (Heterogeneous reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดในหลายวัฏภาค เป็นสารที่แยกเฟสกัน

  18. ชนิดของปฏิกิริยา (Type of Reaction) 2.)แบ่งตามจำนวนสมการปริมาณสัมพันธ์ • ปฏิกิริยาเดี่ยว (Single reaction) คือปฏิกิริยาที่สามารถเขียนด้วยสมการปริมาณสัมพันธ์เพียงสมการเดียวในการแสดงความสัมพันธ์ของสารที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา • ตัวอย่าง • พหุปฏิกิริยา (Multiple reaction) คือปฏิกิริยาที่ต้องใช้หลายสมการปริมาณสัมพันธ์ในการแสดงความสัมพันธ์ของสารที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาโดยสามารถแบ่งได้เป็น • ปฏิกิริยาแบบอนุกรม (Series reaction) • ปฏิกิริยาแบบขนาน (Parallel reaction)

  19. ชนิดของปฏิกิริยา (Type of Reaction) 3.)ปฏิกิริยาย้อนกลับไม่ได้และปฏิกิริยาย้อนกลับได้ • ปฏิกิริยาย้อนกลับไม่ได้ (irreversible reaction) คือกระบวนการของปฏิกิริยาที่เกิดในทิศทางเดียวต่อเนื่องจนกระทั่งสารตั้งต้นถูกใช้หมดไป และไม่มีสมดุลเคมีเกิดขึ้น • ปฏิกิริยาย้อนกลับได้ (reversible reaction) คือกระบวนการของปฏิกิริยาที่เกิดในทิศทางไปข้างหน้าและสามารถย้อนกลับในทิศทางตรงข้าม ขึ้นกับความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ สัมพันธ์กับความเข้มข้นที่สมดุล A +B C +D A +B C +D

  20. นิยามของอัตราเร็วของปฏิกิริยานิยามของอัตราเร็วของปฏิกิริยา อัตราเร็วปฏิกิริยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจำนวนโมลของสารต่อหน่วยเวลาต่อหน่วยปริมาตรของสารผสม นิยาม 2 ใช้ในรูปน้ำหนักของของแข็ง นิยาม 1 ใช้ ปริมาตรของของไหล นิยาม 4 คิดเทียบกับปริมาตรของของแข็งในระบบ แก๊ส-ของแข็ง นิยาม 3 คิดเทียบกับพื้นที่ผิวของของแข็ง นิยาม 5 คิดเทียบกับปริมาตรของถังปฏิกรณ์ (reactor)

  21. ตัวอย่างเครื่องยนต์กระสวยขนาดตามรูป ขับเคลื่อนโดยใช้เชื้อเพลิงเหลวซึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนเหลว และออกซิเจนเหลวตามอัตราส่วนทางเคมี ห้องเผาไหม้มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว 75 cm และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 cm ระหว่างการเผาไหม้เกิดไอเสียในปริมาณ 108 kg/s จงหาอัตราเร็วของปฏิกิริยาของไฮโดรเจนและออกซิเจน

  22. กฏอัตราเร็วปฏิกิริยา (reaction rate law) กฎอัตราเร็วของปฏิกิริยาเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ของอัตราเร็วของปฏิกิริยากับค่าคงที่ปฏิกิริยาและค่าความเข้มข้นของสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง = อันดับของปฏิกิริยาของสาร A = อันดับของปฏิกิริยาของสาร B อันดับของปฏิกิริยารวม (n) = +

  23. เช่น การสังเคราะห์ phosgene ในวัฏภาคก๊าซดังสมการแสดงปฏิกิริยาเคมี CO +Cl2 COCl2 อัตราเร็วของปฏิกิริยาคือ ซึ่งเราอ่านกฎอัตรานี้ว่า การเกิดฟอสจีนเป็นปฏิกิริยาอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับก๊าซ CO เป็นปฏิกิริยาอันดับที่ 1.5 เมื่อเทียบกับก๊าซ Cl2 อันดับทั้งหมดของปฏิกิริยาเป็น 5/2

  24. ปฏิกิริยามูลฐานและปฏิกิริยาอมูลฐานปฏิกิริยามูลฐานและปฏิกิริยาอมูลฐาน • ปฏิกิริยามูลฐาน (Elementary reaction) คือ ปฏิกิริยาเคมีที่สามารถเขียนกฎอัตราเร็วปฏิกิริยาได้โดยอาศัยค่าปริมาณสารสัมพันธ์เคมี คือ • ซึ่ง a , b เป็นค่าปริมาณสารสัมพันธ์จากปฏิกิริยาโดยกฏอัตราคิดเฉพาะสารตั้งต้นเท่านั้น aA + bB  cC + dD จะได้ว่าา -rA = kACaACbB 2) ปฏิกิริยาอมูลฐาน (Nonelementary reaction) คือ ปฏิกิริยาเคมีที่กฎอัตราไม่สามารถเขียนให้เป็นไปตามปริมาณสารสัมพันธ์เคมี เช่น 1A + 2B 2C + 3D -rA = kAC1AC1B

  25. ผลของอุณหภูมิต่ออัตราเร็วของปฏิกิริยาผลของอุณหภูมิต่ออัตราเร็วของปฏิกิริยา อารีเนียส (Arrhenius) ได้ทำการศึกษาผลของของค่าคงที่ปฏิกิริยาและอุณหภูมิพบว่า มีความสัมพันธ์กันดังสมการ A = ค่าคงที่ของArrhenius หรือแฟกเตอร์ความถี่ ( frequency factor) Ea = พลังงานก่อกัมมันต์ (Activation Energy) K = ค่าคงที่ปฏิกิริยา (reaction constant) R = ค่าคงที่ของแก๊สอุดมคติ (Gas constant)= 8.314 J mol-1 K-1 T = อุณหภูมิสัมบูรณ์ (Absolute temperature , K)

  26. ความชัน= -Ea/R ln k1 ln k1 1/T 1/T1 ก) กราฟแสดงการหาค่า Activation Energy และความสัมพันธ์ของอัตราเร็วปฏิกิริยาที่ขึ้นกับอุณหภูมิ

  27. ตัวอย่างในการทดลองหาค่าคงที่ของปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส tert-butyl bromide พบว่าที่อุณหภูมิ 25 C วัดค่าคงที่ปฏิกิริยา (k) ได้ 1.45 x 10 –5 s-1และที่อุณหภูมิ 50 Cวัดค่า k ได้ 22 x 10 –5 s-1 จากข้อมูลเหล่านี้ จงคำนวณค่าพลังงานก่อกัมมันต์ (Ea) ของปฏิกิริยา

  28. ตัวอย่าง จาการทดลองพบว่าปฏิกิริยาตามสมการ CH3I+C2H5OH CH3OC2H5+HI เป็นปฏิกิริยาอันดับสองมีค่าคงที่ของปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิแสดงดังตารางจงคำนวณหาค่าพลังงานก่อกัมมันต์ (Ea) และ frequency factor (A) ของปฏิกิริยาข้างต้น

  29. ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ (Reversible reaction) ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารที่สภาวะสมดุล ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่สามารถเกิดขึ้นได้เองหรือไม่ที่สภาวะที่กำหนดและยังสามารถบอกได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดที่สภาวะการทำปฏิกิริยาต่างๆ ปฏิกิริยา aA + bB cC + dD ความเข้มข้นที่สมดุลสามารถอธิบายได้จากค่าคงที่สมดุล (Equilibrium constant) ที่อาศัยพื้นฐานตามหลักทางเทอร์โมไดนามิกส์ ที่แสดงได้ดังนี้

  30. ค่าคงที่สมดุลเป็นฟังก์ชั่นกับอุณหภูมิ ซึ่งสามารถอธิบายได้จาก K = ค่าคงที่ของปฏิกิริยาสมดุล = ค่า Gibbs ของการเกิดปฏิกิริยา R = ค่าคงที่ของแก๊สอุดมคติ (Gas constant)= 8.314 J mol-1 K-1 T = อุณหภูมิสัมบูรณ์ (Absolute temperature , K)

  31. ค่าคงที่สมดุลเป็นฟังก์ชั่นกับอุณหภูมิ ซึ่งสามารถอธิบายได้จากสมการของ Van’t Hoff’s equation เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและค่าความจุจำเพาะ =0 ดังนั้นค่าคงที่สมดุลพิจารณาได้จากสมการดังนี้

  32. ตัวอย่าง จงคำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา Water gas shift reaction ดังสมการ ที่เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 1000 K ความดัน 10 บรรยากาศ ข้อมูล ที่อุณหภูมิ 1000 K ค่า Gibb’s free energy ของแต่ละสารดังต่อไปนี้

More Related