1 / 30

บท ที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

บท ที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. 4122608A โปรแกรมประยุกต์ด้าน วิทยาศาสตร์ อ.ชาณิภา ซ่อนกลิ่น. ความหมายของการสุ่มตัวอย่าง.

chanda-kim
Télécharger la présentation

บท ที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4122608A โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ อ.ชาณิภา ซ่อนกลิ่น

  2. ความหมายของการสุ่มตัวอย่างความหมายของการสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง (Random sample) คือ การทำให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนเพื่อใช้ศึกษาข้อมูลประชากรในการดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จะมีวิธีการสุ่มที่หลากหลายที่นำมาใช้ และสอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากร

  3. คำสำคัญที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 2. กลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร

  4. ประชากร • ประชากร (population) หมายถึง กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแหล่งข้อมูลของงานวิจัย หรือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการรวบรวมข้อมูลของตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมมนุษย์ สัตว์ พืช ที่มีคุณลักษณะตรงตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดในงานวิจัย เช่น ประชากรของนักวิชาการสาธารณสุข ประชากรวรรณกรรมของสุนทรภู่ ซึ่งขอบเขตของประชากรจะกำหนดให้ชัดเจนตามจุดมุ่งหมายของผู้วิจัยในแต่ละครั้งไป หากการกำหนดไม่ชัดเจนผลการวิจัย จะไม่สามารถนำมาสรุปอ้างอิงเป็นตัวแทนของประชากรได้

  5. กลุ่มตัวอย่าง • กลุ่มตัวอย่าง (sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยสุ่มมาในงานวิจัย ในการวิจัยผู้วิจัยอาจศึกษาจากประชากรหรือศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วหากประชากรมีขนาดใหญ่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแทนการศึกษาจากประชากรประชากรมีคุณสมบัติใด ๆ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาก็ต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นนั้นด้วย กลุ่มตัวอย่าง ประชากร

  6. เหตุผลของการเลือกกลุ่มตัวอย่างเหตุผลของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง • ลดค่าใช้จ่าย • ประหยัดเวลาและแรงงาน • ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้ทันเวลา • การรวบรวมข้อมูลมีความยืดหยุ่น • มีความถูกต้องแม่นยำ และเชื่อมั่น • สามารถเก็บข้อมูลได้กว้างขวางและลึกซึ้งกว่า • จากการใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่าง สามารถนำค่าสถิติจากตัวอย่างมาแปลและสรุปผลเป็นของประชากรเป้าหมายได้

  7. ขั้นตอนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างขั้นตอนการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ทราบจำนวนประชากรและหน่วยย่อย หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่าง

  8. ขั้นตอนในการสุ่มตัวอย่างขั้นตอนในการสุ่มตัวอย่าง • การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการวิจัยให้ละเอียด เพื่อให้ทราบว่าประชากรคือใคร คุณสมบัติที่จะศึกษาคืออะไร • ระบุขอบเขตและลักษณะของประชากรที่ศึกษา • กำหนดหน่วยของตัวอย่าง • ประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง • กำหนดวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งควรเลือกโดยวิธีสุ่ม • ลงชื่อปฏิบัติจริงเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่าง

  9. วิธีสุ่มตัวอย่าง

  10. 1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น 1.1 การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ(Accidental Sampling) การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เป็นวิธีที่ยึดเอาความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้เลือกเป็นที่ตั้ง การสุ่มไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เช่น สอบถามข้อมูลจากผู้ที่กำลังเดินเข้าตึกแห่งหนึ่ง จำนวน 10 คน การรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกแต่มีจุดอ่อนในด้านความเป็นตัวแทนทีดีของประชากร ผลการวิจัยจึงมีข้อจำกัดในการอ้างอิงไปยังประชากรเพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงไปยังประชากร จึงไม่ควรใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนี้

  11. 1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น 1.2 การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) ผู้เลือกได้กำหนดสัดส่วนและจำนวนตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการแต่ละกลุ่มที่ต้องการศึกษา เช่น จำแนกตามเพศ อายุการศึกษา ความสามารถทางด้านกีฬา เป็นต้น ขนาดตัวอย่างไม่เป็นไปตามสัดส่วนของประชากรเมื่อผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่างไว้จำนวนเท่าใดแล้ว จะรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างจนครบตามจำนวนที่กำหนดโดยไม่ได้ใช้วิธีการสุ่ม ผลการวิจัยที่ค้นพบมีข้อจำกัดในการอ้างอิงไปยังประชากร ความคาดเคลื่อนของผลการวิจัยจะเพิ่มขึ้น

  12. 1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น 1.3 การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างโดยขั้นแรกจะเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะพิเศษ แล้วถามตัวอย่างนั้นให้ช่วยเสนอรายชื่อตัวอย่างที่มีลักษณะดังกล่าวออกไปอีก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างแบบโยงกันเป็นทอดๆคล้ายลูกโซ่ เช่น การพิจารณาคดีการศึกษาความเป็นมาของวัตถุโบราณ เป็นต้น

  13. 1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น1.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น 1.4 การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการเจาะจงของผู้วิจัยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ผู้วิจัยคาดว่าจะทำให้สมมติฐานที่ทดสอบ มีนัยสำคัญทางสถิติ วิธีนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างที่มีความลำเอียง ผลการวิจัยที่ค้นพบจึงมีข้อจำกัดในการสรุปอ้างอิงไปยังประชากร

  14. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น • 2.1 การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) • เป็นวิธีสุ่มตัวอย่างโดยหน่วยตัวอย่างทุกหน่วยของประชากร • หน่วยของประชากรมีโอกาสถูกสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยเท่าเทียมกัน • กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาวิจัยจึงเป็นกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมาโดยปราศจากอคติ เหมาะสำหรับในกรณีคุณลักษณะของหน่วยตัวอย่างทุกหน่วยของประชากรมีความคล้ายคลึงกันมาก • ใช้วิธีการจับสลาก – ใช้ในกรณีที่จะเลือกตัวอย่างไม่มากนัก • ใช้ตารางเลขสุ่ม – ใช้กับประชากรที่มีขนาดใหญ่

  15. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น 2.2 การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เป็นวิธีสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเป็นช่วงๆโดยมีบัญชีรายชื่อของประชากรทุกหน่วย ทำการสุ่มหาตัวสุ่มเริ่มต้น แล้วนับไปตามช่วงการสุ่ม เช่น ต้องการสุ่มพนักงาน 200 คน จากทั้งหมด 1,000 คน ดังนั้นจึงสุ่มทุก 5 คนเอามา 1 คน สมมติสุ่มผู้ที่เป็นตัวอย่างแรกหมายเลข 002 คนที่สองที่ตกเป็นตัวอย่างคือ หมายเลข 007 สำหรับคนที่สามและคนถัดไปคือ 012,017,…..,997 รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 200 คน

  16. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น 2.3 การสุ่มแบบชั้นภูมิ(Stratified Sampling) เป็นวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกออกเป็นกลุ่ม พวก หรือชั้น ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา เช่น ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศ ทางการปกครอง ทางเพศ ทางศาสนา เป็นต้น โดยที่แต่ละกลุ่มมีลักษณะประชากรภายในกลุ่มเดียวกันคล้ายคลึงกัน และลักษณะต่างกลุ่มกันจะแตกต่างกัน ในการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มจะสุ่มตามสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง อาจจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมขั้นต่อไปจึงสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างง่ายให้ได้ขนาดตัวอย่างครบตามจำนวนสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ได้มีความเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด รวมทั้งมีความเป็นตัวแทนประชากรแต่ละชั้นด้วย

  17. 2.3 การสุ่มแบบชั้นภูมิ(Stratified Sampling)

  18. 2.3 การสุ่มแบบชั้นภูมิ(Stratified Sampling)

  19. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น 2.4 การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เหมาะสำหรับประชากรของงานวิจัยที่มีขนาดใหญ่มาก ประชากรจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ กระจายตามภูมิภาคต่างๆ คุณลักษณะของหน่วยตัวอย่างภายในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันมาก แต่คุณลักษณะของหน่วยตัวอย่างระหว่างกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันมาก หากประชากรมีขนาดใหญ่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาจากทุกหน่วยของประชากรในแต่ละภูมิภาค เช่น การศึกษาเกี่ยวกับครัวเรือนในประเทศไทย ผู้วิจัยอาจแบ่งครัวเรือนออกเป็นกลุ่มโดยใช้ตำบลเป็นหลัก แล้วทำการสุ่มตำบลเมื่อสุ่มได้ตำบลใดก็ทำการศึกษารวบรวมจากทุกครัวเรือนในตำบลนั้น

  20. 2.4 การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)

  21. 2.4 การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เหมาะสำหรับการแบ่งเขตการปกครอง

  22. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น2.วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น 2.5 การสุ่มแบบหลายชั้น (Multistage Sampling) หมายถึง การเลือกหรือสุ่มมากกว่า 1 ครั้ง หรือหมายถึงการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster) ที่มีหลายขั้นตอน หรือการสุ่มแบบชั้นภูมิแบบผสม ระหว่างแบบแบ่งกลุ่มกับแบบชั้นภูมิก็ได้

  23. ข้อดี-ข้อเสียของวิธีสุ่มตัวอย่างข้อดี-ข้อเสียของวิธีสุ่มตัวอย่าง

  24. ข้อดี-ข้อเสียของวิธีสุ่มตัวอย่างข้อดี-ข้อเสียของวิธีสุ่มตัวอย่าง

  25. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) 1. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ 1.1 หลักร้อย ใช้กลุ่มตัวอย่าง 15 – 30 % 1.2 หลักพัน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 10 – 15 % 1.3 หลักหมื่น ใช้กลุ่มตัวอย่าง 5 – 10 %

  26. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) 2. ใช้ตาราง Krejcie & Morgan (ตารางสำเร็จรูป)

  27. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) 3. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณ n = P (1 - P) Z­2 d2 ใช้สูตร W.G. cochran (1953) n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ p แทน สัดส่วนของประชากรที่ผู้วิจัยต้องการจะสุ่ม ซึ่งสามารถนำค่าสถิติในอดีตมาใช้แทนได้ Z แทน ความมั่นใจที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ เช่น Z ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่าเท่ากับ 1.96 (มั่นใจ 95%) Z ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 มีค่าเท่ากับ 2.58 (มั่นใจ 99% ) d แทน สัดส่วนของความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้

  28. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) 3. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณ ใช้สูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane ,1973) n = N 1 + Ne 2 เมื่อ nแทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง Nแทน ขนาดของประชากร eแทน ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่าง

  29. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) ข้อความคำนึงในการเลือกขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 1. ความเหมือนกัน (Homogeneity) 2. ขนาดของประชากร (Size of Population) 3. ต้นทุน (Cost) 4. ความแม่นยำ (Precision)

  30. แบบฝึกหัด 1. จงสรุปข้อดีและข้อเสียของวิธีการสุ่มตัวอย่างแต่ละแบบมาพอสังเขป 2.ถ้าการสุ่มตัวอย่างของบริษัทขายรถยนต์แห่งหนึ่ง เป็นการสุ่มโดยเลือกรถยนต์ที่มีสีอ่อนมา 250 คัน และสีเข้มมา 250 คัน เป็นการสุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มแบบใด เพราะเหตุใด จงอธิบาย

More Related