1 / 56

Failure Mode and Effects Analysis

Failure Mode and Effects Analysis. การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ. QFD + FMEA + Error Proofing. ในการออกแบบนั้น เรามีเครื่องมืออยู่หลายตัวด้วยกัน แต่ที่มักนำมาใช้ คือ การจัดตั้งทีม (เพื่อทำการระดมความคิด) การะดมความคิด (Brain Storming)

cody
Télécharger la présentation

Failure Mode and Effects Analysis

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Failure Mode and Effects Analysis การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ Sanmin-SCI Systems Thailand

  2. QFD + FMEA + Error Proofing • ในการออกแบบนั้น เรามีเครื่องมืออยู่หลายตัวด้วยกัน แต่ที่มักนำมาใช้ คือ • การจัดตั้งทีม(เพื่อทำการระดมความคิด) • การะดมความคิด (Brain Storming) • QFD (Quality Function Deployment) ออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า • FMEA (Failure Mode and Effects Analysis) ป้องกันปัญหาก่อนลงมือผลิต • Error Proofing ป้องกันปัญหาระหว่างการผลิต • สีน้ำเงินนั้น ได้กล่าวไปแล้ว เราจะมาดูในส่วนของ FMEA Sanmin-SCI Systems Thailand

  3. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) • How is quality designed into the system? • Customer-driven specifications • FMEA • Design of experiments Concept Design • How is testing maximized? • Reliability growth • FMEA • DOE • What kind of tests are effective? Development • How is testing maximized? • Reliability growth • FMEA • DOE • What kind of tests are effective? Validation Test • How can the process be kept in control and improving? • FMEA • Statistical Process Control Process Sanmin-SCI Systems Thailand

  4. ยิ่งทำ FMEA ดีเท่าใดก็เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรเท่านั้น • เมื่อเราดูทางแนวแกน Effective FMEA Activity จะเห็นว่า ยิ่งทำ FMEA มีประสิทธิผลเท่าใด ก็จะเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร (Enterprise Value) มากขึ้นเท่านั้น Sanmin-SCI Systems Thailand

  5. ทุกขั้นตอนมี FMEA เข้าไปแทรกอยู่ • FMEA จะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบตามแนวความคิด การพัฒนาขึ้นมา การทดสอบ และ การผลิต • FMEA ย่อมาจาก Failure Mode and Effect Analysis ถ้าเราลองแยกคำจะได้ว่า • Failure = ข้อบกพร่อง สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด คำว่า Mode = ลักษณะ • ดังนั้น Failure Mode ก็คือ ลักษณะข้อบกพร่อง (ที่เรารับรู้ได้ด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น มองเห็น ได้กลิ่น สัมผัส ใช้เครื่องมือวัด เป็นต้น) เมื่อมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น มันย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ (เช่น ไม่พึงพอใจ บาดเจ็บ เกิดความเสียหายเป็นต้น) ซึ่งก็คือ Effect นั่นเอง ดังนั้น เราต้องการวิเคราะห์ ค้นหา จึงใช้คำว่า Analysis เข้าไป กลายเป็น Failure Mode and Effect Analysis Sanmin-SCI Systems Thailand

  6. ใช้ FMEA เพื่อแก้ปัญหา (อันจะเกิดขึ้นในอนาคต) • ลองนึกดูว่า ถ้าเราจะทำอะไรสักอย่างในอนาคต แล้วรู้ว่าข้อบกพร่องที่(อาจ)เกิดนั้นคืออะไร เราก็จะน่าจะหาว่า สาเหตุใดที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องนั้น ๆ ขึ้นมา ดังนั้น ถ้าเราขจัดสาเหตุนั้นออกไปได้ ข้อบกพร่องมันก็ไม่เกิด Sanmin-SCI Systems Thailand

  7. FMEA คือ อะไร ?(1) • จากนิยามใน EIA/JEP131 (Feb 1998) หน้า 3 กล่าวว่า: • Failure mode and effects analysis คือ การดำเนินงานเป็นกลุ่มที่เป็นระบบเพื่อ ค้นหา (recognize), วิเคราะห์ (evaluate) และ จัดลำดับความสำคัญ แนวโน้มที่ ผลิตภัณฑ์/กระบวนการหนึ่ง ๆ อาจเกิดข้อบกพร่อง(failure) และ ผลกระทบต่าง ๆ (effects)ของมัน และทำการบ่งชี้(identify) การกระทำที่สามารถขจัด หรือ ลด โอกาสที่มีแนวโน้มที่ข้อบกพร่องขึ้นอาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบไปยังลูกค้า (customer) • จุดมุ่งหมายหลักของ FMEA สามารถกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า คือ การขจัดสาเหตุ หรือ ลดโอกาสที่จะทำให้เกิดข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ในอนาคตออกไป Sanmin-SCI Systems Thailand

  8. FMEA คือ อะไร?(2) • ตามนิยาม “ข้อบกพร่อง หรือ Failure” ก็คือ • 1) ความสูญเสียซึ่งความสามารถของอุปกรณ์หนึ่ง ๆ ในการที่จะเป็นไป ตามข้อกำหนดทางไฟฟ้า (Electrical Specification) หรือ ข้อกำหนด ของประสิทธิภาพทางกายภาพ (Physical Performance Specification) ตามที่กำหนดไว้ (โดยการออกแบบ หรือ การทดสอบก็ดี) • 2) อุปกรณ์หนึ่ง ๆ เกิดความบกพร่อง (Failed) • เมื่อข้อบกพร่องเกิดขึ้น มันต้องแสดงลักษณะออกมาให้เราเห็น เช่น โครงสร้างทางกายภาพเปลี่ยนไป ได้แก่ บิ่น หัก แตก ไหม้ หรือ สภาพทางไฟฟ้าเปลี่ยนไป เช่น ลัดวงจร เปิดวงจร เป็นต้น ลักษณะข้อบกพร่องที่มองเห็นหรือวัดได้ เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้เป็น Failure Mode Sanmin-SCI Systems Thailand

  9. FMEA คือ อะไร ? (3) • ทีนี้เมื่อมีลักษณะข้อบกพร่องเกิดขึ้นแล้ว ข้อบกพร่องนี้ย่อมทำให้เกิด ปัญหาขึ้นกับลูกค้า หรือ ส่งผลกระทบต่อลูกค้ามากบ้าง น้อยบ้าง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Effects • สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อเราใส่เทคนิคเพื่อทำการวิเคราะห์หรือ Analysis เข้าไปเราจะเขียนรวมกันได้เป็น Failure Mode and Effects Analysis เขียนย่อ ๆ เป็น FMEA Sanmin-SCI Systems Thailand

  10. Failure Mode and Effects Sanmin-SCI Systems Thailand

  11. FMEA คืออะไร ? (4) • จึงสามารถกล่าวได้ว่า FMEA คือ กิจกรรมที่มีการจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ และ เป็นไปเพื่อ: • ก) พิจารณาและประเมินลักษณะข้อบกพร่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นของ ผลิตภัณฑ์กระบวนการ เครื่องจักร และ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาจาก ข้อบกพร่องนั้น • ข) จากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมที่สามารถกำจัด หรือ ลดโอกาสเกิดข้อบก พร่องข้างต้น • ค) แล้วจัดทำกระบวนการที่กล่าวผ่านมาแล้วข้างต้นให้เป็นเอกสาร • และข้อสำคัญ FMEA เป็นกระบวนการที่ต้องกระทำก่อนล่วงหน้า ก่อน เหตุการณ์เกิดขึ้นเสมอ เช่น FMEA เชิงกระบวนการ หรือ Process FMEA ต้องทำก่อนกระบวนการผลิตจะเกิดขึ้น ไม่ใช่ทำในระหว่างกำลังผลิต หรือ ผลิตเสร็จแล้ว Sanmin-SCI Systems Thailand

  12. ลองมาดูนิยามของศัพท์บางคำก่อนนิยาม (1) • 1) สาเหตุ (Cause) สาเหตุหนึ่ง ๆ ในที่นี้หมายถึง องค์ประกอบจำเพาะแบบหนึ่ง ๆ (Specific element) ที่เป็นผลมาจาก การออกแบบ หรือ กระบวนการ มีข้อบกพร่องที่กล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าออกแบบผิด มันย่อมก่อให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นมาแน่ ๆ เมื่อมองในมุมกลับ การออกแบบถูกต้องแล้ว ถ้ากระบวนการผลิตไม่เป็นไปที่ได้ออกแบบไว้ ก็เกิดข้อบกพร่องขึ้นมาเช่นกัน ดังนั้น เมื่อเกิดข้อบกพร่องขึ้นมาแล้ว (ซึ่งก็คือผล) มันย่อมมาจากต้นเหตุ หรือ สาเหตุแน่ ๆ • 2) คุณสมบัติวิกฤต (Critical Characteristics) คุณสมบัติวิกฤต คือ คุณสมบัติพิเศษ(Special characteristic) ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยพิจารณาจากผลกระทบกับลูกค้าในแง่ของความปลดอดภัย และ/หรือ สามารถส่งผลให้ เกิดการไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งรัฐ (non-compliance with government regulations) ดังนั้น มันจึงต้องการการควบคุมเป็นพิเศษ เพื่อมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ Sanmin-SCI Systems Thailand

  13. นิยาม (2) • 3) วิกฤต (Criticality) อัตราวิกฤต (Critical rating) คือ ผลคูณของอัตราของความรุนแรงของผล กระทบ (Severity rating,S) กับ อัตราของโอกาสที่จะเกิดสาเหตุที่ทำให้ เกิดข้อบกพร่อง (Occurrence ratings,O) หรือ เขียนได้เป็น Criticality = (S) x (O) ตัวเลขนี้ ใช้แสดง ถึงลำดับความสำคัญของหัวข้อต่าง ๆ และถูก นำมาใช้ช่วยในการวางแผนคุณภาพ • 4) การควบคุมในปัจจุบัน (Current Controls) การควบคุมในปัจจุบัน (ทั้งการออกแบบ และ กระบวนการผลิต) เป็น กลไกในการ ป้องกันสาเหตุที่ทำ ให้เกิดลักษณะข้อบกพร่อง(Failure Mode)ไม่ให้เกิดขึ้น หรือ ใช้ในการตรวจจับ (detect) ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้หลุดไปถึงมือลูกค้า • 5) ลูกค้า (Customer) ลูกค้าหมายถึง หน่วยงาน บุคคล หรือ กระบวนการ (ไม่ว่าจะเป็นภายใน หรือ ภายนอกองค์กรก็ตาม) ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้เกิดลักษณะข้อบกพร่องขึ้น Sanmin-SCI Systems Thailand

  14. นิยาม (3) • 6) การตรวจจับ (Detection) การตรวจจับ คือ การประเมิน(assessment)แบบหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า การควบคุมในปัจจุบัน(การออกแบบ หรือ กระบวนการ) จะตรวจจับสาเหตุที่ทำให้เกิดลักษณะบกพร่อง หรือ ลักษณะบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้หลุดไปถึงมือลูกค้า • 7) ผลกระทบ (Effect) ผลกระทบอย่างหนึ่ง หมายถึง ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับในเวลาต่อมา (หลังจากลูกค้าใช้สินค้าแล้ว) ลูกค้าอาจหมายถึง สถานีการทำงานถัดไป สถานีการทำงานย่อย หรือ ผู้ใช้สินค้าปลายทาง (end user) Sanmin-SCI Systems Thailand

  15. นิยาม (4) • 8) ลักษณะข้อบกพร่อง (Failure Mode) ลักษณะข้อบกพร่องบางครั้ง สามารถอธิบายในเชิงประเภทของข้อบกพร่องต่าง ๆ แนวโน้มที่จะเกิดลักษณะข้อบกพร่องอันหนึ่ง จะถูกอธิบายในแง่ที่ว่า ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการหนึ่ง ๆ ไม่เป็นไปตามฟังก์ชันที่ต้องการ(ตามที่ได้ออกแบบไว้ หรือ ไม่มีประสิทธิภาพตามต้องการ) เมื่อเทียบกับความต้องการต่าง ๆความอยากได้ต่าง ๆ และความคาดหวังทั้งของลูกค้าภายในและภายนอกองค์กร • 9) องค์ประกอบของ FMEA (FMEA Element) องค์ประกอบต่าง ๆ ของ FMEA คือการบ่งชี้ หรือ วิเคราะห์ในกระบวนการทำ FMEA ตัวอย่างทั่ว ๆ ไปได้แก่ ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่นำมาพิจารณาลักษณะข้อบกพร่องต่าง ๆ (Failure modes) สาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะข้อบกพร่อง (Causes) ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา (Effectes) การควบคุมต่าง ๆ (Controls) และ การกระทำต่าง ๆ (Actions) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่อง องค์ประกอบต่าง ๆ จะอยู่ที่หัวของแต่ละคอลัมน์ของฟอร์มของ FMEA Sanmin-SCI Systems Thailand

  16. นิยาม (6) • 10) ฟังก์ชัน (Function) ฟังก์ชันหนึ่ง ๆ อาจเป็นจุดมุ่งหมายใด ๆ ที่ต้องการจากผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการฟังก์ชันของ FMEA จะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ถูกอธิบายอยู่ในรูปแบบทางวิศวกรรมที่อ้างอิงอยู่บนข้อกำหนดทางวิศวกรรม • 11) โอกาสในการเกิดข้อบกพร่อง (Occurrence) โอกาสในการเกิดข้อบกพร่อง คือ การประเมินแบบหนึ่ง ที่เกี่ยวกับโอกาสที่สาเหตุหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ลักษณะข้อบกพร่อง(ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของเหตุข้างต้น)เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่กำลังพิจารณา และ ใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ Sanmin-SCI Systems Thailand

  17. นิยาม (7) • 12) ตัวเลขแสดงลำดับชั้นของความเสี่ยง (Risk Priority Number) ตัวเลขแสดงลำดับชั้นของความเสี่ยง คือ การคูณกันระหว่าง ตัวเลขที่แสดงอัตราของความรุนแรงกับอัตราของโอกาสในการเกิดข้อบกพร่อง และ อัตราของการตรวจจับ หรือ เขียนได้เป็น RPN = (S) x (O) x (D) ตัวเลขที่ได้นี้แสดงลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ • 13) ความรุนแรง (Severity) ความรุนแรง คือ การประเมินถึงระดับความจริงจัง(serious)ของผลกระทบอันเกิดจากแนวโน้มที่จะเกิดลักษณะข้อบกพร่องที่ลูกค้า Sanmin-SCI Systems Thailand

  18. FMEA Worksheet Sanmin-SCI Systems Thailand

  19. FMEA Worksheet Sanmin-SCI Systems Thailand

  20. การกรอกข้อมูล • 1. Level of analysis (ระดับของการวิเคราะห์) • การวิเคราะห์นั้นสามารถทำได้ทั้งในระดับ project, product, system, subsystem หรือ component ก็ได้สิ่งสำคัญก็คือต้องชัดเจนว่าจะทำในระดับใด เพื่อจะได้คุมให้นิ่งอยู่นระดับเดิมตลอดเวลา • 2. Date & prepared by (วันที่ที่ทำ & ผู้จัดทำเอกสาร) • วันที่ทำ FMEA และ ผู้จัดทำเอกสาร • 3. FMEA number & reference information (หมายเลขและสารสนเทศอ้างอิง) • หมายเลขกำกับ และสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้อ้างอิงในภายหลัง • 4. System / component / function (ระบบ/องค์ประกอบ/ฟังก์ชัน) • ใส่ชื่อ/หมายเลขของเรื่องที่กำลังพิจารณา Sanmin-SCI Systems Thailand

  21. 5. Potential Failure Modes (แนวโน้มของลักษณะข้อบกพร่อง) • นัยของ component, subsystem หรือ system ที่ใช้งานซึ่งอาจเกิดข้อบกพร่อง ดังนั้นกลุ่มต้องช่วยกันระดมความคิดเพื่อหาแนวโน้มของลักษณะข้อบกพร่องทั้งหมด (all potential modes of failure) ควรถามคำถามปลายเปิดและเป็นไปแบบกว้าง ๆ เช่น How can it fail? Under what conditions? What types of use? etc. • 6. Potential Effects of Failure (แนวโน้มของผลกระทบที่เกิดจากข้อบกพร่อง) • แต่ละลักษระข้อบกพร่องนั้น จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง ผลกระทบนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปเมื่อผู้เกี่ยวข้องต่างกันหรือไม่? ผลลัพธ์คืออะไรถ้าระบบหรืออุปกรณ์เกิดข้อบกพร่อง? ควรให้รายละเอียดตามความจำเป็น • ลักษระข้อบกพร่องหนึ่ง ๆ อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบขึ้นมาหลาย ๆ กรณีได้. Sanmin-SCI Systems Thailand

  22. 7. Severity rating (อัตราความรุนแรง) • แต่ละผลกระทบอันเกิดจากข้อบกพร่องต้องนำมากำหนดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ (potential seriousness) มักจะกำหนดตารางขึ้นมาโดยใช้สเกล 1 ถึง 5 (หรือ 10) scale ค่าเหล่านี้สมาชิกต้องตกลงกันก่อน เช่น: Sanmin-SCI Systems Thailand

  23. Severity Rating • Rating Criteria • 5 (9-10) มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือมีปัญหาด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ สูง เช่นมีแนวโน้มเกิดอันตรายถึงชีวิต หรือ ลูกค้าไม่พึงพอใจมากที่สุด4 (7-8) มีแนวโน้มที่ลูกค้าไม่พึงพอใจสูง เช่นมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือ การใช้งานตามฟังก์ชันหลักหยุดชะงักหรือใช้ไม่ได้3 (5-6) มีแนวโน้มลูกค้าไม่พึงพอใจปานกลาง เช่น มีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย การใช้งานไม่สะดวกสบายหรือเกิดการล่าช้า2 (3-4) ลูกค้าสังเกตุเห็นแนวโน้มที่อาจเกิดข้อบกพร่องและอาจไม่พึงพอใจเล็กน้อยเช่น หงุดหงิด รำคาญใจ เป็นต้น1 (1-2) ลูกค้าอาจมองไม่เห็นข้อบกพร่อง เช่น ตรวจจับไม่ได้ (ลูกค้าไม่รู้ว่ามีข้อบกพร่อง) Sanmin-SCI Systems Thailand

  24. 8. Critical? (วิกฤติ) • ช่องนี้เอาไว้ให้ทำการระบุ potentially critical failures ซึ่งต้องการชี้ให้เห็นอย่างรวดเร็ว (เช่นเรื่องความปลอดภัย เรื่องการขาย เป็นต้น) • 9. Potential Cause / Mechanisms of Failure (แนวโน้มของสาเหตุ/กลไกของข้อบกพร่อง) • แต่ละลักษณะข้อบกพร่องจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริง(root cause) ดังนั้นทีมต้องใช้เวลาในการหาแนวโน้มของสาเหตุที่แท้จริงต่าง ๆ หรือกลไกที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง โดยการถามคำถามต่าง ๆ เช่น ' what is the likely cause of the failure mode? ' Possible causes could include: Wrong tolerances, poor alignment, operator error, component missing, fatigue, defective components, maintenance required, environment etc. Sanmin-SCI Systems Thailand

  25. 10. Occurrence Ranking (ความถี่ห่างในการเกิด) • และยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงโอกาสของแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่อง (likelihood of the potential failure occurring) จากหัวข้อที่ผ่านมานั้นมากน้อยเพียงใดโดยการกำหนดสเกล 1 to 5 (or 10) ขึ้นมาเช่นกัน เช่น : Sanmin-SCI Systems Thailand

  26. Rating Criteria • 5 (9-10) โอกาสที่จะเกิดขึ้นสูงมาก (Very high probability of occurrence)4 (7-8) โอกาสที่จะเกิดขึ้นสูง (High probability of occurrence)3 (5-6) โอกาสที่จะเกิดขึ้นปานกลาง (Moderate probability of occurrence)2 (3-4) โอกาสที่จะเกิดขึ้นต่ำ (Low probability of occurrence)1 (1-2) มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก (Remote probability of occurrence) • This section is critical in the FMEA procedure and each of the responses categorized as very high or high should be considered and addressed. Sanmin-SCI Systems Thailand

  27. 11. Current design controls (การควบคุมการออกแบบในปัจจุบัน) • มีการควบคุมการออกแบบใด ๆ หรือไม่ เพื่อลดหรือขจัดแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่อง เช่น มีฉลากปิด มีคำสั่งให้ทำ เป็นต้น • หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า เมื่อข้อบกพร่องเกิดขึ้นแล้ว เราจะตรวจพบมันก่อนที่จะถึงมือลูกค้าหรือไม่ Sanmin-SCI Systems Thailand

  28. 12. Detection rating (อัตราการตรวจพบ) • ระบบที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถตรวจจับข้อบกพร่องข้างต้นได้หรือไม่ หมายความว่า ถ้าข้อบกพร่องเกิดขึ้นแล้ว เราจะตรวจพบก่อนถึงมือลูกค้าหรือไม่ ถ้าตรวจจับได้แน่นอน เราก็มั่นใจหรือวางใจได้ เราก็กำหนดให้เท่ากับ 1 ในทางกลับกัน ถ้าตรวจจับไม่ได้เลย ก็แสดงว่า ข้อบกพร่องเหล่านั้น ย่อมหลุดจากเราไปถึงมือลูกค้าแน่นอน อย่างนี้ก็กำหนดให้เท่ากับ 5 (หรือ 10): Sanmin-SCI Systems Thailand

  29. Rating Criteria • 5 (9 or 10) โอกาสที่จะตรวจพบแนวโน้มของสาเหตุข้อบกพร่องไม่มีเลย4 (7 or 8) โอกาสที่จะตรวจพบแนวโน้มของสาเหตุข้อบกพร่องมีน้อยมาก3 (4, 5 or 6) โอกาสที่จะตรวจพบแนวโน้มของสาเหตุข้อบกพร่องมีปานกลาง2 (2 or 3) โอกาสที่จะตรวจพบแนวโน้มของสาเหตุข้อบกพร่องค่อนข้างสูง1 (1) สามารถระบุถึงแนวโน้มของสาเหตุข้อบกพร่อง(คือตรวจพบแน่นอน) • If the FMEA is being carried out at a 'project' level, then it can be beneficial to consider this value as 'reactability'. Will it be possible to react to the failure rapidly enough to reduce its impact sufficiently? Sanmin-SCI Systems Thailand

  30. 13. Risk Priority Number (RPN) (ตัวเลขอันแสดงถึงลำดับความสำคัญ) • กำหนดตัวเลขอันแสดงถึงลำดับความสำคัญ หรือ 'Risk Priority Number' อันได้ผลคูณของ severity, occurrence และ detection ratings: • RPN = Severity rating x Occurrence rating x Detection rating • จำง่าย ๆ คือ • RPN= S*O*D • ค่า RPN ที่ได้จะใช้แสดงถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ทั่วไปแล้วค่า RPN สูง ๆ และ ค่า severity rating สูง ๆ จะต้องพิจารณาทำการแก้ไขก่อนเสมอ Sanmin-SCI Systems Thailand

  31. 14. Recommended actions (การดำเนินการที่ถูกแนะนำให้ทำ) • กำหนดการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา (root cause) ซึ่งจะทำให้ ลดผลกระทบ หรือ โอกาสในการเกิด หรือการตรวจจับ • 15. Responsibility (การสนองตอบ) • การดำเนินการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา จะกระทำโดยใคร แผนกใด หรือฝ่ายใด และจะดำเนินการเสร็จสิ้นวันใด • 16. Additional columns if wanted: (เพิ่มเติมคอลัมน์ตามความต้องการ) • ผู้ใช้บางคนเพิ่มคอลัมน์เข้ามาเพื่อบันทึกสิ่งที่ทำลงไป (เพื่อแก้ปัญหา) หรือ บันทึกสถานะในการดำเนินการ (status of action) Sanmin-SCI Systems Thailand

  32. FMEA มีกี่ประเภท • หัวข้อที่ผ่านมาเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายและคำศัพท์ของ FMEA ไปบ้างแล้ว ลองมาไปถึงประเภทของ FMEA โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น: 1) Concept FMEA (มองในเชิงแนวความคิด) 2) System FMEA (มองในเชิงฟังก์ชัน) 2) Design FMEA (มองในเชิงอุปกรณ์) 3) Process FMEA (มองในเชิงกระบวนการผลิต) 4) Machinery FMEA (มองในเชิงเครื่องจักรที่ใช้ผลิต) 5) Supplier FMEA (มองในเชิงผู้ป้อนวัตถุดิบให้เรานำมาใช่ผลิต) 6) Service FMEA (มองในเชิงการให้บริการหลักการขาย) Sanmin-SCI Systems Thailand

  33. FMEA ของ Ford Motor Company Sanmin-SCI Systems Thailand

  34. ข้อจำกัดของ FMEA • แม้ว่าวิธีการของ FMEA จะเป็นเทคนิคที่มีมีประสิทธิผลมาก ในเชิงการวิเคราะห์ข้อบกพร่องเชิงระบบ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ได้แก่ ก) การตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดจากคน(human error)มีข้อจำกัด ข) มุ่งเน้นไปที่สถานการณ์เดียวของปัญหา ค) การตรวจสอบการรบกวนจากภายนอกมีข้อจำกัด ง) ผลต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการทำงาน (mode of operation) Sanmin-SCI Systems Thailand

  35. ขั้นตอนในการทำ FMEA ทั่ว ๆ ไป Sanmin-SCI Systems Thailand

  36. จะเริ่มด้วยการกำหนดกระบวนการที่เราต้องการ Focus ก่อนเสมอ • ท่านจะทำ FMEA ท่านต้องเริ่มจากการกำหนดกระบวนการ หรือ เขียน Process Flow ก่อนเสมอ • เมื่อเขียนแล้ว ท่านควรรู้ว่า อินพุต และ เอาต์พุตของแต่ละบล็อก คือ อะไร • สิ่งเหล่านี้ท่านเรียนไปแล้วทั้งสิ้น Sanmin-SCI Systems Thailand

  37. ตัวอย่างของ Process FMEA • สมมติว่า บริษัทหนึ่งต้องการเสนอที่แขวนเสื้อดังรูป โดยใช้ สกรูสองตัวยึดขอแขวนเสื้อเอาไว้ ขั้นตอนการทำ FMEA จะเป็นดังนี้ • เราจะพิจารณาในเชิงของกระบวนการติดตั้งที่แขวนเสื้อ เราจึงถือว่า อุปกรณ์ทุกอย่างมีความแข็งแรง (เช่น ขอแขวนรับน้ำหนักเสื้อได้ตามที่ออกแบบไว้ ไม่หักหรือชำรุดเสียหาย) และผ่านขั้นตอนในการทำ Design FMEA มาแล้ว Sanmin-SCI Systems Thailand

  38. ขั้นตอนในการทำ Design & Process FMEA(1) Sanmin-SCI Systems Thailand

  39. ขั้นตอนในการทำ Design & Process FMEA(2) Sanmin-SCI Systems Thailand

  40. 1) Describe Product & define function • 1) เริ่มจากระดมความคิด เพื่อทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์เสียก่อน การนำเสนอ ควรจะอยู่ในรูปแบบของ ฟังก์ชันของชิ้นส่วนนั้น ๆ ตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นให้บ่งชี้ฟังก์ชัน (Identify Function ซึ่งหมายถึง สิ่งที่เราสนใจที่จะทำ การวิเคราะห์ในตัวผลิตภัณฑ์) ให้ชัดเจนมากขึ้น ควรให้อยู่ในเทอม หรือ รูปแบบทางวิศวกรรม • จากตัวอย่างนี้ สิ่งที่บริษัทนี้เสนอก็คือ ขอแขวนเสื้อแบบยึดผนัง โดยใช้สกรู สองตัวยึดที่แขวนเสื้อให้แนบกับผนัง ทำให้มีความแข็งแรง • ฟังก์ชันหลักของผลิตภัณฑ์ก็คือ แขวนเสื้อ (รับน้ำหนักได้) Sanmin-SCI Systems Thailand

  41. 2) Identify Potential Failure Modes • 2) จากนั้นทำการบ่งชี้ลักษณะข้อบกพร่อง ซึ่งหมายถึง ทำการแยกแยะการเกิด ลักษณะข้อบกพร่องขึ้น ในฟังก์ชันข้างต้น แนวโน้มที่จะทำให้เกิดลักษณะ ข้อบกพร่อง ควรอธิบายให้อยู่ในรูปแบบที่ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการซึ่งผิด ปกติออกไปจากฟังก์ชันที่ต้องการ (ซึ่งก็คือ สิ่งที่ออกแบบไว้ หรือ ประสิทธิ ภาพที่ต้องการไม่เป็นไปตามความต้องการ) อันได้แก่ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งที่ อยากได้ สิ่งที่คาดหวัง ทั้งลูกค้าทั้งภายนอกและภายใน (คำว่าลูกค้าในที่นี้ หมายถึง การประกอบย่อย หรือ กระบวนการย่อย หรือ ผู้ใช้ที่ต้องเกี่ยวพันใน ขั้นตอนต่อไป รวมถึงลูกค้าท้ายสุดที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้) • จากตัวอย่างนี้ แนวโน้มลักษณะข้อบกพร่องที่เป็นไปได้ก็คือ ที่แขวนเสื้อหลุด ออกมาจากผนัง (Comes off wall) • จะสังเกตว่า เราจะไม่พิจารณาในเชิงขอแขวนหัก Sanmin-SCI Systems Thailand

  42. 3 Describe Effects of Failure • 3) จากนั้น ทำการบ่งชี้ผลกระทบที่เกิดจากการเกิดลักษณะข้อบกพร่อง หมายถึง ทำการแยกแยะว่า เมื่อเกิดข้อบกพร่องขึ้นแล้ว ผลที่ลูกค้าจะได้ รับในภายหลัง (เมื่อใช้งานไปแล้ว) คืออะไร? • จากตัวอย่างนี้ เมื่อที่แขวนเสื้อหลุดออกมาจากผนัง ผลกระทบต่อลูกค้า ก็คือ เสื้อจะตกลงมาสู่พื้น (Coat falls on floor) ทำให้เสื้อยับ หรือ สกปรก ซึ่งลูกค้าย่อมไม่พึงพอใจเป็นอย่างมาก Sanmin-SCI Systems Thailand

  43. Simplified Block Diagram แขวนเสื้อ Main Function Sub-function Sub main function Components ยึดติดกำแพง ขอเกี่ยว สกรู Failure Mode Cause End effect Local Effect Sanmin-SCI Systems Thailand

  44. 4) & 5) Determine Causes • 4) บ่งชี้สาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ หมายถึงทำการแยกแยะว่า มีแนวโน้มอะไรบ้าง ที่เป็นสาเหตุให้เกิด ข้อบกพร่องข้างต้น จะมีกี่สาเหตุก็ตาม เอามาให้หมด • 5) บ่งชี้ root cause หมายถึง บ่งชี้ให้ชัดเจนลงไปเลยว่า เกิดจากอะไรกันแน่ (ในข้อ 4 นั้น เป็นการมองในหลาย ๆ ประเด็น แล้วนำมาเลือกให้ชัดเจนในข้อ 5 อีกครั้งหนึ่ง) • จากตัวอย่างนี้ หลังจากหา root cause แล้วพบว่า เป็นไปได้สองกรณีคือ สกรูเล็กเกินไป (Screw too small) และ ใส่สกรูแค่ตัวเดียว (One screw omitted) (ทั้งนี้เราถือว่า ตัวแขวนมีการตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนการออกแบบ แล้ว) Sanmin-SCI Systems Thailand

  45. เรานำผังก้างปลามาช่วยก็ได้เรานำผังก้างปลามาช่วยก็ได้ Sanmin-SCI Systems Thailand

  46. 6) & 7) Define Severe and Occurrence • 6) หาค่าของความรุนแรงจากตารางเกี่ยวกับ Severity Rating หมายถึง กำหนดระดับความรุนแรง ที่จะส่งผลกระทบต่อลูกค้า หมายถึง เมื่อลูกค้าพบสิ่งบกพร่องจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองจริงจังในระดับใด ในที่นี้ให้ 7 ทั้งคู่ (ดูจากหน้า 23 และ หน้าถัดไปประกอบกัน)  7) หาค่าโอกาสในการเกิดข้อบกพร่องข้างต้นโดยใช้ตาราง Occurrence Rating ในที่นี้ให้ 5 และ 2 (สกรูเล็กเป็นไปได้ปานกลาง จึงให้ 5 ส่วนลูกค้าขันสกรูตัวเดียวนั้น เป็นไปได้น้อย) Sanmin-SCI Systems Thailand

  47. ตัวอย่างของตารางแสดงความรุนแรงตัวอย่างของตารางแสดงความรุนแรง Sanmin-SCI Systems Thailand

  48. ตัวอย่างของตารางแสดงโอกาสในการเกิดตัวอย่างของตารางแสดงโอกาสในการเกิด Sanmin-SCI Systems Thailand

  49. 8) Design Verification • 8) บ่งชี้แนวทางการควบคุมการออกแบบ หรือ กระบวนการ หรือที่เรียกว่า current control นั่นเอง ในที่นี้ (ในกรณีที่สกรูเล็กเกินไป) มีคำแนะนำให้ใช้สกรูให้ถูกต้อง (Advise fitter of screw size) ในเอกสารการจัดซื้อ (ในกรณีที่ใส่สกรูตัวเดียว) ให้ลูกค้าตรวจสอบงานที่ติดตั้ง (Customer checks work) ในคู่มือ Sanmin-SCI Systems Thailand

  50. 9) Define Detection • 9) หาอัตราการตรวจจับ โดยใช้ตาราง Detection Rating หมายถึง หาความสามารถในการตรวจจับ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถตรวจจับสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดลักษณะข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น ก่อนถึงมือ ลูกค้าได้หรือไม่ • (ในกรณีที่สกรูเล็ก) เมื่อซื้อเข้ามาแล้ว ก็จะใช้เลย จึงไม่มีการตรวจจับซ้ำ แต่ถ้าทำการวัดเสียก่อนก็จะตรวจพบ จึงให้ 7 • ส่วนการขันสกรูตัวเดียวนั้น เมื่อลูกค้าขันสกรูก็จะรู้ทันที จึงให้ 3 Sanmin-SCI Systems Thailand

More Related