1 / 1

ฟาร์ม ฉ. ดินชุดบุณฑริก ปริมาณฝน เฉลี่ย 1,500-1,700 มม./ปี เป็นฟาร์มขนาดกลาง เกษตรกรมีฐานะปานกลาง

ฟาร์ม ฉ. ดินชุดบุณฑริก ปริมาณฝน เฉลี่ย 1,500-1,700 มม./ปี เป็นฟาร์มขนาดกลาง เกษตรกรมีฐานะปานกลาง นายทองดี กวดขัน อายุ 52 ปี.

Télécharger la présentation

ฟาร์ม ฉ. ดินชุดบุณฑริก ปริมาณฝน เฉลี่ย 1,500-1,700 มม./ปี เป็นฟาร์มขนาดกลาง เกษตรกรมีฐานะปานกลาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฟาร์ม ฉ. ดินชุดบุณฑริก ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,500-1,700 มม./ปี เป็นฟาร์มขนาดกลาง เกษตรกรมีฐานะปานกลาง นายทองดี กวดขัน อายุ 52 ปี สภาพทั่วไปของฟาร์ม:สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 63 หมู่ 8 บ้านหนองเรือ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริกจังหวัด อุบลราชธานี หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดแหล่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตดินชุดบุณฑริก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย1,500-1,700 มิลลิเมตร ต่อปี ลักษณะฟาร์ม: พื้นที่ทำการเกษตร 40 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ดอน บริเวณโดยรอบเป็นป่าเสื่อมโทรม ดินมีลักษณะร่วนปนทราย เกษตรกรมีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 5 คน มีแรงงานในครอบครัว 2 คน เพื่อกรีดยางและดูแลรักษาสวนยางพารา กิจกรรมในฟาร์ม: เป็นการปลูกพืชหลักสองชนิดคือข้าวและยางพารา พื้นที่ปลูกยาง 2 แปลง แปลงแรกมีพื้นที่ 4 ไร่ (ปลูกเริ่มแรก 6 ไร่ ไฟไหม้ ช่วงก่อนเปิดกรีด 2 ไร่) เปิดกรีดเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากนั้นมีการปลูกซ่อม ส่วนแปลงที่สองยังไม่ได้เปิดกรีด พื้นที่ 16 ไร่ แปลงที่สามใช้ทำนามีพื้นที่ 20 ไร่ จากข้อมูลในตารางดินในฟาร์มตัวอย่างมีปริมาณอินทรียวัตถุ โพแทสเซียมและ ฟอสฟอรัส อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานของดินทั่วไป pH อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเป็นกรด จึงสรุปได้ว่าดินในแปลงตัวอย่างมี pH ที่เหมาะสมในการปลูกยางพารา (pH 4.4-5.5 ) ข้อเสนอแนะ: ควรมีการจัดการเรื่องธาตุอาหารในดินโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพารา การวิเคราะห์การเจริญเติบโตยางพาราแปลงตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างต้นยางพาราในแปลงตัวอย่าง เพื่อวัดการเจริญเติบโตพบว่าขนาดลำต้นมีเส้นรอบต้นเฉลี่ย 55.8 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ย 13.42 เมตร ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย 6 เมตร และเปอร์เซ็นต์แสงส่องพื้นเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 2 ต้นทุนการผลิตยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปัจจุบัน การปลูกยางพารา : เกษตรกรมีการปลูกยางพารา 2 แปลงพื้นที่แปลงปลูกแรกมีพื้นที่ 4 ไร่ ปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2536 พันธุ์ RRIM600 แปลงที่สองมีพื้นที่ 16 ไร่ ปลูกปี พ.ศ. 2549 พันธุ์ RRIM600 วิเคราะห์การลงทุนและผลตอบแทนในการปลูกยางพารา (ตัวอย่างแปลงปลูกที่ 1) การปลูก :พื้นที่ปลูก 4 ไร่ ปลูกเมื่อเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2536 พันธุ์ RRIM600 ต้นพันธุ์เป็นต้นยางชำถุง 2 ฉัตร แหล่งต้นพันธุ์จาก สกย. ระยะห่างในการปลูก 2.5 x7 เมตร ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรร็อคฟอตเฟส รองก้นหลุม การกำจัดวัชพืช :แต่ละปีจะมีการกำจัดวัชพืชปีละ 2 ครั้ง และในครั้งที่ 2 จะทำพร้อมกับการทำแนวกันไฟในช่วงปลายฤดูฝนของทุกปีโดยใช้รถไถเดินตามไถรอบๆแปลงในปี 1-4 จะจ้างแรงงานดายหญ้าร่วมกับการไถพรวนกำจัดวัชพืช ปีที่ ห้า ถึงปัจจุบันจ้างแรงงานดายหญ้าร่วมกับใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม (ไกลโฟเสต) การใส่ปุ๋ย : จะใส่ปีละ 2 ครั้ง ทุกปีในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝน ในปีที่ 1-7 ใช้สูตร 18-4-5 ในปีที่ 7-14ใช้สูตร 15-7-18 ปีละ 40 กระสอบ เกษตรกรก็มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลค้างคาวทุกปี ปีละ3 กระสอบ การกรีด: เกษตรกรกรีดและทำยางแผ่นเอง และในขบวนการกรีดมีการกรีดยางที่ประณีต โดยจะทำการเปิดหน้ายางในเดือนเมษายนและกรีดเดือนพฤษภาคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี ในการกรีดจะแบ่งขนาดลำต้นเพื่อกรีดยาง ½ ของลำต้นและใช้เวลาในการกรีดยางปกติจะกรีด 2 วัน หยุด 1 วัน ยกเว้นในช่วงที่ฝนตกชุก ผลผลิตฟาร์มตัวอย่าง เกษตรกรมีการขายผลผลิต 2 ครั้งต่อเดือน ในรูปของยางแผ่นและขี้ยางที่สหกรณ์รับซื้อยางพาราอำเภอบุณฑริก และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอำเภอบุณฑริกโดยภาพรวมผลผลิตยางแผ่นในเดือนแรกจะได้ประมาณ 7-10 แผ่น (1 แผ่น ประมาณ 1.3 กิโลกรัม) ขี้ยาง ประมาณ 90-100 กิโลกรัม ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15 – 20 แผ่นต่อวัน ในช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม – เดือนมกราคม) ผลผลิตยางพารามีปริมาณมากที่สุดประมาณ 20-25 แผ่นต่อวัน เกษตรกรจะหยุดกรีดเมื่อยางเริ่มผลัดใบในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ – มีนาคม ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้นในดินด้วย ช่วงเดือนสุดท้ายของการกรีดผลผลิตจะอยู่ประมาณ 20 แผ่นต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณผลผลิตก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปริมาณฝนด้วย สรุปและวิจารณ์ผล จากการศึกษาฟาร์มตัวอย่าง พบว่าแม้เกษตรกรจะมีการใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาตามคำแนะนำ แต่ยางพาราก็ยังมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จากการสังเกตพบว่าเกษตรกรรายนี้มีความใส่ใจและดูแลสวนยางเป็นอย่างดีโดยเฉพาะขบวนการกรีดมีความประณีต ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าตอบแทนและต้นทุนการผลิตเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น เนื่องจากต้องรอข้อมูลผลผลิตและจำนวนวันกรีดรายเดือนจากสหกรณ์รับซื้อยางพาราและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอำเภอ บุณฑริก ซึ่งอยู่ระหว่างการติดต่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูล โดยการสรุปวิเคราะห์ผลที่สมบูรณ์จะเสร็จสิ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัยฯ สิ้นปี 2549 ตารางที่ 1 ผลวิเคราะห์เคมีดินในฟาร์มตัวอย่าง

More Related