1 / 77

บทที่ 2 ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ

บทที่ 2 ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 4 53 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เนื้อหา. การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

corinthia
Télécharger la présentation

บทที่ 2 ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. เนื้อหา • การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ • ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ • ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • หลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะ • ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ • การวิเคราะห์ดุลยภาพกรณีสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะ • การตั้งราคาสินค้าสาธารณะ

  3. การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจการกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

  4. อาร์.เอ. มัสเกรฟ ก็ได้กำหนดเป้าหมายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือ (1) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร (2) หน้าที่ในการกระจายรายได้ (3) หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพและ (4)การเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ • 1. รัฐบาลทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรก็ด้วยเหตุผลคือ1) เป็นความต้องการของสังคม (social or community wants) 2) เป็นความต้องการที่เป็นคุณ (merit wants) 3) ป้องกันการผลิตการบริโภคสินค้าที่ทำลายคุณธรรม (demerit goods) 4) ป้องกันและ/หรือควบคุมการผลิตที่ก่อให้เกิดต้นทุนภายนอกแก่สังคม และส่งเสริมและ/หรือให้การอุดหนุน (subsidy) แก่การผลิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ภายนอกแก่สังคม5) ทำการผลิตสินค้ากึ่งสาธารณะ (quasi-public goods) 6) ป้องกันการผูกขาดตัดตอน 7) การผลิตสินค้าบางอย่างต้องใช้เทคนิคการผลิตระดับสูง เงินทุนเป็นจำนวนมาก และต้องอาศัยความชำนาญงาน

  5. 2. กระจายความเป็นธรรม เป็นการก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ ผลผลิต และการได้รับบริการของรัฐ เป็นต้น รัฐบาลทำได้โดยใช้นโยบายภาษีอากรโดยยึดหลักความสามารถ (ability-to-pay) นโยบายการใช้จ่ายโดยการผลิตสินค้าสาธารณะและกึ่งสาธารณะให้กระจายไปสู่ชนบทหรือกลุ่มชนที่มีรายได้ต่ำ นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแรงงานและเกษตรกร นโยบายการจ่ายเงินเพื่อประกันสังคม นโยบายการจ่ายเงินโอนให้แก่คนวัยชรา เป็นต้น • 3. หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ (economic stabilization) ของรัฐบาลไม่เพียงแต่จะมีหน้าที่ในภาวะเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพเท่านั้น แม้แต่ในภาวะเศรษฐกิจปกติ รัฐบาลยังต้องรักษาระดับการออม การลงทุน อัตราดอกเบี้ย ค่าจ้าง ประสิทธิภาพการผลิต อัตราการเพิ่มของประชากรให้สัมพันธ์กับอัตราการเติบโตที่เหมาะสมด้วย ในภาวะเศรษฐกิจเกิดการตกต่ำหรือเกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลต้องพยายามปรับระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยให้มีความยืดหยุ่น

  6. 4. หน้าที่ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการคลังในอันที่จะยกระดับการออม การลงทุน และการสะสมทุนให้สูงขึ้น นอกจากนี้ นโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานก็จะไปประสานกับนโยบายการคลังดังกล่าว และร่วมผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น

  7. ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

  8. นโยบาย หมายถึง หลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ • นโยบายใดๆก็แล้วแต่จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ • (1) วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย (policy targets or goals) • (2) เครื่องมือด้านนโยบาย (policy tools or instruments) และ • (3) หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  9. นโยบายการคลัง Fiscal Policy Revenue Tax Expenditure Debt Growth Stability Income Distribution Economic Target

  10. นโยบายการเงิน Monetary Policy -Open Market Operation -Rediscount Rate -Legal Reserve -Bank Rate -Growth -Stability -Income Distribution Economic Target

  11. นโยบายการเงินทำงานอย่างไรนโยบายการเงินทำงานอย่างไร

  12. ช่องทางต่าง ๆ ของกลไกการทำงานของนโยบายการเงิน

  13. ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับการกำหนดนโยบายหรือความล้มเหลวของนโยบายปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับการกำหนดนโยบายหรือความล้มเหลวของนโยบาย • การกำหนดนโยบายขาดองค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 3 ประการ • ผู้กำหนดนโยบายมักจะเพิกเฉยต่อความสัมพันธ์ของเป้าหมายของนโยบาย (policy targets) และเครื่องมือของนโยบาย (policy instruments) • การขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเอง กล่าวคือ นโยบายที่กำหนดขึ้นมาเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งจะไปขัดแย้งกับเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง

  14. การขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเองการขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเอง • การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรม • การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ

  15. การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรมการขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรม • เป้าหมายการกระจายความเป็นธรรม • โครงสร้างภาษีให้มีอัตราก้าวหน้า • ผู้มีความสามารถมากจะเป็นผู้เสียสละรายได้หรือเสียภาษีมากกว่าผู้มีความสามารถน้อย • รัฐนำไปใช้จ่ายโดยการผลิตสินค้าสาธารณะหรือจัดทำโครงการการใช้จ่ายให้กระจายไปยังกลุ่มชนที่มีรายได้น้อย • ในทัศนะของผู้มีรายได้มากและเสียภาษีมากด้วยนั้น จึงเห็นว่าการจัดสรรทรัพยากรของรัฐบาลไม่ได้ยึดหลักประสิทธิภาพ • การใช้จ่ายของรัฐบาลไม่ได้ยึดหลักผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและผลตอบแทนของผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

  16. การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • ภาวการณ์ที่เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ เช่น การเกิดภาวะเงินเฟ้อ และการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะการว่างงาน • การรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในภาวะเศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อทำได้โดยการลดการใช้จ่าย ส่วนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็กระทำในลักษณะตรงกันข้ามคือการเพิ่มการใช้จ่าย • แต่ในบางครั้งรัฐบาลไม่สามารถทำได้ทั้งสองกรณี เพราะความจำเป็นของรัฐบาลที่จะใช้จ่ายเพื่อผลิตสินค้าสาธารณะ (การจัดสรรทรัพยากร)

  17. การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจการขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ในภาวะเกิดเงินเฟ้อ กล่าวคือ ถ้ามองในแง่ของสัดส่วนการบริโภคต่อรายได้หรือแนวโน้มในการบริโภคเพิ่ม (marginal propensity to consumer : MPC) ของผู้มีรายได้แล้ว จะเห็นว่าค่าแนวโน้มการบริโภคเพิ่มของผู้มีรายได้มากจะต่ำกว่าของผู้มีรายได้น้อย เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจในภาวะเงินเฟ้อแล้ว จะต้องเก็บภาษีผู้มีรายได้น้อยเป็นสัดส่วนต่อรายได้มากกว่าผู้มีรายได้มาก เพื่อจะลดระดับการบริโภคโดยส่วนรวม ลักษณะเช่นนี้เป็นการขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายรายได้และการรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ

  18. การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ • ต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูงแล้ว ระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องเพิ่มอัตราการสะสมทุนให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มระดับการออม ในกรณีเช่นนี้จะเห็นว่าแนวโน้มในการออมเพิ่ม (marginal propensity to save : MPS) ของผู้มีรายได้สูงจะมากกว่าของผู้มีรายได้ต่ำ ถ้าต้องการเพิ่มระดับการออมให้สูงขึ้นจะต้องทำโครงสร้างภาษีให้มีลักษณะถดถอย นั่นคือ เก็บภาษีคนจนมากกว่าคนรวย

  19. ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ

  20. จุดมุ่งหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคคืออะไร การมีอัตราการว่างงานต่ำและความมีเสถียรภาพ • เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคว่าควรจะบรรลุเป้าหมายของเงินเฟ้อ การว่างงาน และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • สมมติให้ผู้กำหนดนโยบายทำให้ฟังก์ชันการสูญเสียสวัสดิการสังคมน้อยที่สุดตามรูปแบบต่อไปนี้

  21. L คือการสูญเสียสวัสดิการสังคมที่เป็นผลมาจากการเบี่ยงเบนจากระดับที่เป็นเป้าหมายของตัวแปรที่เป็นจุดมุ่งหมายของเศรษฐกิจมหภาค เช่น ต้นทุนของการมีการว่างงานสูงเกินไป • ตัวแปรที่เป็นจุดมุ่งหมายได้แก่ ระดับของการว่างงาน (U) อัตราเงินเฟ้อ ( )และอัตราการเจริญเติบโตของรายได้แท้จริง ( ) • ระดับเป้าหมายของตัวแปรเหล่านี้ได้แก่ , และ ตามลำดับ • ข้อสมมติที่สำคัญสำหรับการปัญหาทางด้านนโยบายแบบนี้ก็คือผู้กำหนดนโยบายทำให้ฟังก์ชันการสูญเสียสวัสดิการสังคมมีค่าน้อยที่สุด

  22. ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • ทัศนะเกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ (The Public-Choice View) • ทฤษฎีถือพรรคถือพวก (The Partisan Theory)

  23. ทัศนะเกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ (The Public-Choice View) • กล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะทำเพื่อให้ตัวเองได้รับประโยชน์สูงสุดหรือได้รับสวัสดิการสูงสุดมากกว่าที่จะทำเพื่อสังคม • ทัลล็อค (Gordon Tullock) ผู้แสดงทัศนะของทางเลือกสาธารณะได้กล่าวไว้ว่า “ข้าราชการก็เหมือนกับคนอื่นๆ ถ้าข้าราชการเป็นคนธรรมดาสามัญเขาก็จะตัดสินใจโดยส่วนใหญ่ (ไม่ใช้ทั้งหมด) ในรูปที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเขาเองไม่ใช่ต่อสังคมทั้งหมด” • ภายใต้กรอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ สิ่งที่เป็นตัวแทนของฟังก์ชันการสูญเสียที่เหมาะสมที่ผู้กำหนดนโยบายหาทางทำให้น้อยที่สุดคือ

  24. โดยที่ VL เป็นการสูญเสียจากการออกเสียง และ เป็นน้ำหนักที่ให้กับการสูญเสียการออกเสียง • ผู้กำหนดนโยบายถูกสมมติว่าได้รับความพอใจสูงสุดจากการได้รับการออกเสียงในจำนวนที่เท่ากันกับที่คนอื่นสูญเสียจากการออกเสียง ตัวแปรจุดมุ่งหมายของเศรษฐกิจมหภาคเข้ามาในภาพเพราะพฤติกรรมของระบบเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการออกเสียง • ผู้กำหนดนโยบายกระทำเพื่อให้การแพ้โหวตมีค่าน้อยที่สุด

  25. สมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมในการโหวตเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในทฤษฎีนี้มีดังนี้สมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมในการโหวตเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในทฤษฎีนี้มีดังนี้ • 1. ผู้ออกเสียง (โหวต) เป็นคนสายตาสั้น พฤติกรรมในการโหวตจะได้รับอิทธิพลมากจากสภาพของระบบเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ไตรมาสก่อนการเลือกตั้ง • 2. การว่างงานจะให้ผลกับการแพ้โหวตมากกว่าที่จะเป็นภาวะเงินเฟ้อ • 3. การลำเอียงในเรื่องของการขาดดุลของกระบวนการงบประมาณ “... นักการเมืองจะตอบสนองโดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้มากกว่าจากภาษี โดยการทำให้เกิดงบประมาณขาดดุลซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์ปกติ...”

  26. ตัวอย่างกิจกรรม

  27. จากข้อมูลข้างบน และความรู้ข่าวสารที่นักศึกษาทราบเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ของประเทศไทยครั้งที่ผ่านมา (13 กุมภาพันธ์ 2548) ทั้งในส่วนของพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง ผลการเลือกตั้ง ให้นักศึกษาวิเคราะห์การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและเครื่องมือทางการคลัง ตลอดจนมาตรการอื่น ๆ มีผลต่อการเลือกตั้งอย่างไร? อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างและวาดรูปภาพประกอบ

  28. ทฤษฎีถือพรรคถือพวก (The Partisan Theory) • นักการเมืองเป็นผู้นำแห่งการกระตุ้นตามอุดมคติของพรรคการเมืองที่แข่งขันกัน • พรรคการเมืองก็เป็นตัวแทนที่หลากหลายของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความชอบเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคที่แตกต่างกัน • ลักษณะตามธรรมดาสามัญของแบบจำลองการถือพรรคถือพวก มีพรรคเสรีนิยม (หรือพรรคแรงงาน) และพรรคอนุรักษ์นิยม พรรคเสรีนิยมเน้นที่การจ้างงานและการจัดสรรการกระจายรายได้ใหม่ ในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมให้เรื่องการมีเสถียรภาพของราคามีความสำคัญมากที่สุด

  29. เกิดวัฏจักรของพรรคการเมืองเมื่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเปลี่ยนไป ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองไหนจะได้ครองอำนาจ • ในกรณีนโยบายการคลัง แบบจำลองการถือพรรคถือพวกทำนายว่าถ้าพรรคเสรีนิยมได้รับเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือการจ้างงาน นโยบายการคลังยิ่งขยายตัวมากเท่าไรมันก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อยิ่งเพิ่มขึ้น ถ้าพรรคเสรีนิยมสูญเสียอำนาจลงในเวลาต่อมา นโยบายการคลังจะเข้มงวดขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมหาทางสู้กับภาวะเงินเฟ้อ การว่างงานจะเพิ่มขึ้น และอาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

  30. หลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะ

  31. หลักเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการประเมินนโยบายที่สำคัญมี 4 ประการ • ประการแรก ความเป็นธรรม (Equity) • ประการที่สอง ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic efficiency) • ประการที่สาม การชักนำของรัฐบาล (Paternalism) • ประการที่สี่ เสรีภาพส่วนบุคคล (Individual freedom)

  32. ความเป็นธรรม (Equity) • ในความรู้สึกโดยทั่วๆไปนโยบายของรัฐบาลควรเป็นนโยบายที่เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน กล่าวคือ ผลของนโยบายนั้นมีประโยชน์แก่ปะชาชนทุกคนเหมือนๆกัน นโยบายใดก็ตามที่ไม่มีใครพูดเลยว่า “ไม่มีความเป็นธรรม” ย่อมเป็นนโยบายที่พึงปรารถนา • ธรรม แต่มีน้อยคนที่ตีความหรือให้ความหมายในแนวเดียวกัน เช่น • ในกรณีที่รัฐบาลใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ • กรณีที่รัฐบาลยกเว้นภาษีดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาล

  33. ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic efficiency) • ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะที่ดีที่สุดแบบพาเรโต (Pareto optimality) เป็นหลักเกณฑ์ที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้ในการประเมินนโยบายอย่างแพร่หลาย • การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ภาวะที่เป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพยากรทำให้คนใดคนหนึ่งมีความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยปราศจากการทำให้ใครคนใดคนหนึ่งมีความเป็นอยู่เลวลง

  34. การชักนำของรัฐบาล (Paternalism) • แนวคิดเกี่ยวกับการชักนำการบริโภคสินค้าหรือการบังคับให้ประชาชนบริโภคสินค้าบางอย่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการไม่อิงความพอใจของผู้บริโภค ได้รับอิทธิพลจากลัทธิการปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Paternalism) โดยรัฐบาลได้กำหนดรูปแบบในการจัดหาสินค้าและบริการให้ประชาชนบริโภค • โดยนโยบายประเภทนี้จะอยู่บนพื้นฐานของข้ออ้างที่ว่า ประชาชนไม่สามารถเลือกอย่างฉลาด เพราะประชาชนมิได้อยู่ในสภาพที่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ตนต้องการ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าและบริการกับสวัสดิการของผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 5 ประการ

  35. ประชาชนไม่สามารถเลือกอย่างฉลาด ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 5 ประการ • ประการแรก ความไม่รู้ (ignorance) • ประการที่สอง ความไม่แน่นอน (uncertainty) • ประการที่สาม การขึ้นต่อกัน (interdependence) • ประการที่สี่ ความลำบากในการประเมิน (evaluation difficulties) • ประการที่ห้า การขาดประสิทธิภาพและการขาดเหตุผลของครัวเรือน (household inefficiency and irrationality)

  36. เสรีภาพส่วนบุคคล (Individual freedom) • การที่รัฐบาลกำหนดขอบเขตทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ปล่อยให้การจัดการทางเศรษฐกิจเป็นไปโดยความสมัครใจ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจปล่อยให้เป็นเป็นไปตามผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตามราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย แนวคิดดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบ Normative โดยเชื่อว่า การปล่อยให้กลไกทางเศรษฐกิจทำงานโดยมีการแข่งขันแบบเสรีจะดีที่สุด • หากรัฐบาลปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจประกอบพฤติกรรมทางเศรษฐกิจจะทำให้หารจัดสรรการใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสังคมได้รับความพอใจหรือสวัสดิการสูงสุด

  37. ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ

  38. ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะสินค้าและบริการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะสินค้าและบริการ • ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะความต้องการ

  39. ความเบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะความเบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะ • พิจารณาได้โดยดูจากลักษณะของสินค้าว่ากลไกตลาดหรือกลไกราคาสามารถจัดสรรสินค้าหรือบริการได้หรือไม่ • ถ้าสินค้าหรือบริการใดที่กลไกตลาดหรือกลไกราคาทำหน้าที่ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพแล้ว สินค้าหรือบริการนั้นมักเรียกว่าเป็น “สินค้าเอกชน” • ถ้าสินค้าหรือบริการใดที่ไม่สามารถใช้กลไกตลาดหรือกลไกราคาทำหน้าที่จัดสรรได้เลย สินค้าหรือบริการนั้นมักเรียกว่าเป็น “สินค้าสาธารณะ”

  40. ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการ หลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะสินค้าจาก 2 ลักษณะ 1) ลักษณะการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน (Exclusion principle) 2) ลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumption)

  41. 1) ลักษณะการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน(Exclusion principle) 1.1) การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Excludability) - หมายความว่า เราสามารถที่จะใช้กลไกราคา หรือมาตรการบางอย่างเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้สินค้าหรือบริการนั้น ถ้าหากเขาผู้นั้นไม่ยอมจ่ายเงินหรือค่าตอบแทนแลกเปลี่ยนอย่างอื่น เพื่อแลกกับการใช้หรือการบริโภคสินค้านั้น -ผู้ต้องการใช้ต้องมีสิ่งตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งแสดงถึงความปรารถนาต่อสินค้าและบริการนั้น -ทำให้รู้ว่าประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการอะไร ปริมาณเท่าไร และมีคุณภาพอย่างไร -กลไกตลาดหรือกลไกราคาจึงทำหน้าที่จัดสรรได้เป็นอย่างดี -ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ กางเกงยีนส์ เสื้อยืด

  42. 1.2) การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้(nonexcludability) -หมายความว่า เราไม่สามารถใช้กลไกราคาหรือมาตรการอย่างอื่นมาเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะได้จ่ายค่าตอบแทนในการใช้สินค้าและบริการนั้นหรือไม่ก็ตาม -การผลิตหรืออุปทานสินค้าเป็นอุปทานร่วม (Joint supply) และการบริโภคเป็นแบบบริโภคร่วมกัน (Joint Consumption) -กลไกตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรสินค้าและบริการดังกล่าวได้ -ไม่ทราบความต้องการแท้จริงของประชาชนต่อสนค้าและบริการนั้น -ไม่สามารถเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้สินค้าและบริการได้โดยตรง แต่จะเรียกเก็บทางอ้อมในรูปการจัดเก็บภาษีอากร -ตัวอย่าง บริการกำลังป้องกันประเทศ บริการรักษาความสงบภายในประเทศ

  43. เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้

  44. 2) ลักษณะเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumpution) 2.1) ลักษณะเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumpution) -หมายความว่า สินค้าหรือบริการนั้นเมื่อถุกบริโภคหรือใช้โดย คนใดคนหนึ่งแล้ว จะเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น หรือทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ - เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เช่น อาหารที่โรงอาหาร รถเบนส์สปอร์ต -เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ เช่น ถนนหลวง ถนนหนองคาย-โพนพิสัยช่วงบั้งไฟพญานาค การใช้บริการโรงพยาบาล บริการสวนสาธารณะช่วงที่มีการจัดงาน

  45. 2.2) ลักษณะไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-rival consumpution) -หมายความว่า สินค้าหรือบริการนั้นเมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดย คนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น หรือไม่ทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ - เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เช่น บริการป้องกันประเทศ -เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่ทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ เช่น การเปิดเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ -ไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตบริการนั้นเพิ่มขึ้น หรือต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มขึ้นเท่ากับศูนย์ (Zero Marginal Cost)

  46. เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์

  47. การแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการการแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการ

  48. 1) เสื้อผ้า (ตัว) มะละกอ (ผล) น้ำอัดลม (ขวด) 2) อากาศ (สำหรับหายใจ) ปลา (ในแม่น้ำ) แก๊ซธรรมชาติ (ใต้ดิน) 3) น้ำประปา สวนสนุก ภาพยนตร์ที่ฉายในโรง 4) การป้องกันประเทศ (ทหาร) การรักษาความปลอดภัยของชีวิต/ทรัพย์สิน (ตำรวจ) การควบคุมสภาพแวดล้อมไม่ให้มีมลภาวะ 1 = สินค้าเอกชน (Private goods) 2 = สินค้าสาธารณะแบบไม่แท้ (Impure public goods) 3 = สินค้าโทลหรือกึ่งสาธารณะ (Toll goods or Impure private goods) 4 = สินค้าสาธารณะ (Public goods)

  49. ข้อสังเกตการจัดสรรสินค้าและบริการข้อสังเกตการจัดสรรสินค้าและบริการ • สินค้าเอกชน กลไกราคาทำงานได้เต็มที่ • สินค้าสาธารณะแบบแท้ กลไกราคาไม่สามารถทำงานได้ • สินค้าสาธารณะแบบไม่แท้ และสินค้ากึ่งสาธารณะ กลไกราคาทำงานได้บ้าง แต่ไม่เต็มที่

  50. สินค้าและบริการต่อไปนี้เป็นสินค้าชนิดใด?สินค้าและบริการต่อไปนี้เป็นสินค้าชนิดใด? • UBC (โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก) • บริการอินเตอร์เน็ต • Air Asia & Low Cost Airline • บริการการรถไฟ • บริการรถทัวร์ของบริษัทนครชัยแอร์จำกัด • คอนเสิร์ต Michel Learn to Rock • การดำเนินการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของรัฐบาล (FTA)

More Related