1 / 34

การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิต ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ( GMP)

การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิต ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ( GMP). รณชัย ยอดดำเนิน เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี. หัวข้อ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP หลักการของ GMP

creola
Télécharger la présentation

การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิต ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ( GMP)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) รณชัย ยอดดำเนิน เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

  2. หัวข้อ • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร • การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • หลักการของ GMP • ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีการแก้ไข

  3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหารความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร • อันตรายในอาหารเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมี, ชีวภาพ (สิ่งมีชีวิต) หรือวัตถุทางกายภาพ ที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค • การปนเปื้อนในอาหาร แบ่งออกเป็น • การปนเปื้อนทางกายภาพ • การปนเปื้อนทางเคมี • การปนเปื้อนทางชีวภาพ

  4. การปนเปื้อนลงสู่ผลิตภัณฑ์อาหารการปนเปื้อนลงสู่ผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้ปฏิบัติงาน(หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง), วัตถุดิบ, สัตว์, แมลง ดิน, ฝุ่น แหล่งที่มาของสิ่งปนเปื้อน อวัยวะของผู้ปฏบัติงาน(หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง), อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต พาหะ, สิ่งที่นำพาการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์

  5. การปนเปื้อนทางกายภาพ • เกิดจากวัสดุทางกายภาพ ที่โดยปกติไม่พบในอาหารชนิดนั้นๆ • อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต, จากผู้ปฏิบัติงาน หรือจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ • ตรวจพบได้ง่าย • ก่อให้เกิดอันตรายแบบฉับพลัน

  6. ตัวอย่างของสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพตัวอย่างของสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพ

  7. การปนเปื้อนทางเคมี • ตั้งใจใส่ลงไป เพื่อกระบวนการผลิต หรือรสชาติของอาหาร หรือจากสารเคมีอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่ใส่มากเกินกว่าที่กำหนด ทำให้เป็นอันตราย • ปนเปื้อนลงไปโดยไม่ตั้งใจ • ตรวจพบได้ง่าย กรณีที่มีการปนเปื้อนในปริมาณมาก • สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง หรืออาจสะสมในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ ขึ้นกับชนิดและปริมาณของสารเคมี

  8. การปนเปื้อนทางชีวภาพ • การปนเปื้อนสิ่งมีชีวิต หรือสารพิษต่างๆที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น โดยทั่วไปมักเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อโรค เชื้อรา พยาธิต่างๆ • สามารถปนเปื้อนได้จากผู้ผลิตอาหาร และจากสิ่งแวดล้อม • โดยทั่วไป สิ่งมีชีวิตที่ปนเปื้อนมักจะไม่ทนต่อความร้อน กระบวนการผลิตที่ถูกต้อง โดยให้ความร้อนที่เหมาะสม จะสามารถลดอันตรายจากการปนเปื้อนชนิดนี้ได้

  9. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) • เป็นหลักการที่ใช้ในการผลิตอาหารให้ปลอดภัยโดยป้องกันการปนเปื้อนทั้ง 3 ประเภท ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัยกับผู้บริโภค • กฎหมายระบุให้ผลิตภัณฑ์อาหาร 57 ชนิด จะต้องได้มาตรฐาน GMP (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 193 (พ.ศ. 2543) และครอบคลุมชนิดของผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่กฎหมายนี้ควบคุม เช่น น้ำดื่ม น้ำแข็ง เครื่องดื่ม นม นมถั่วเหลือง ขนมปัง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

  10. หลัก GMP ทั้ง 6 ข้อ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3 การควบคุมกระบวนการผลิต 4 การสุขาภิบาล 5 การบำรุงรักษาและทำความสะอาด 6 บุคลากร

  11. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • สถานที่ตั้งและอาคารผลิต • หลักการ • ต้องไม่ตั้งอยู่ในที่ ที่สามารถก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิต • อาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างที่ง่ายต่อการบำรุงรักษา ทำความสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา *** หากไม่เป็นไปตามข้อดังกล่าว จะต้องมีวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการปนเปื้อนต่างๆ

  12. สถานที่ตั้งและอาคารผลิตสถานที่ตั้งและอาคารผลิต • ปัญหาที่พบ • มีพื้นที่อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีอาคารผลิต ควรทำอย่างไร • วิธีการแก้ไข • เลือกบริเวณให้เหมาะสม โดยไม่อยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย ห้องน้ำ แหล่งสกปรก แล้วกำหนดขนาดของพื้นที่ให้เหมาะสมกับอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ • พิจารณาถึงวิธีการผลิตที่จะใช้ เพื่อจะได้จัดทำรูปแบบอาคารให้เหมาะสม และถ้ามีการติดตั้งเครื่องจักร จะต้องพิจารณาร่วมกับการจัดวางเครื่องจักรให้ง่ายต่อการทำงานและการทำความสะอาดด้วย • ทำการกำหนดรูปแบบ และสร้างอาคาร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ก่อสร้างได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ GMP

  13. สถานที่ตั้งและอาคารผลิตสถานที่ตั้งและอาคารผลิต • ปัญหาที่พบ • มีอาคารอยู่แล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไร ให้เป็นไปตาม GMP • วิธีการแก้ไข • ทำความสะอาด กำจัดสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกจากภายในอาคาร รวมทั้งบริเวณโดยรอบ • กำหนดวิธีการผลิตคร่าวๆ เพื่อจะได้จัดแบ่งพื้นที่ภายในอาคารได้เป็นสัดส่วน และวางผังการผลิตภายในอาคาร โดยให้เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ เข้าสู่การผลิตแต่ละขั้นตอนจนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นเส้นตรง ตัวแอล (L) หรือไม่ซ้อนทับกัน • พิจารณาว่า อาจมีสิ่งใดจากตัวอาคาร หรือภายนอก ปนเปื้อนได้บ้าง แล้วทำการปรับปรุงเพื่อป้องกัน เช่น ติดม่านพลาสติก ติดกระจก กั้นห้อง ทำฝ้าเพดาน

  14. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • หลักการ • ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำฏิกิริยากับอาหารอันอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภค และเพียงพอต่อการใช้งาน • การออกแบบติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต้องเหมาะสม และคำนึงถึงการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและทั่วถึง

  15. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • ปัญหาที่พบ • อุปกรณ์ที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ไม่ทราบว่าเหมาะสมหรือไม่ • วิธีการแก้ไข • พิจารณาจากกระบวนการผลิต ว่าควรเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทใด โดยทั่วไป อุปกรณ์ที่ใช้กับการผลิตอาหารควรทำมาจากสแตนเลส เนื่องจากทนต่อความร้อน ความเย็น กรด ด่าง ไม่เป็นสนิม และไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร • อุปกรณ์ควรเป็นชนิดที่ใช้กับอาหาร ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีลักษณะโค้ง มน ไม่มีมุม ซอก หรือความขรุขระ ซึ่งจะทำให้ทำความสะอาดยาก

  16. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • ปัญหาที่พบ • ไม่รู้จะติดตั้งเครื่องจักรที่มีอยู่ หรือที่จะซื้อมาใหม่อย่างไร • วิธีการแก้ไข • ควรแยกเครื่องจักรที่มีความร้อน ออกจากความเย็น ติดตั้งให้ง่ายต่อการทำงาน และทำความสะอาดได้โดยรอบ การเดินระบบท่อน้ำ ไฟฟ้า น้ำทิ้ง ต้องง่าย ไม่เกะกะ ถ้าเป็นเครื่องที่ไม่สามารถปกปิดได้ เช่นหม้อต้ม ไม่ควรอยู่ใกล้สิ่งที่อาจปนเปื้อนได้ เช่น หน้าต่าง ประตู หรือใต้หลอดไฟ

  17. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การควบคุมกระบวนการผลิต • หลักการ • มีการคัดเลือกวัตถุดิบและส่วนผสมที่สะอาด คุณภาพดี และมีวิธีการล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกก่อนนำมาใช้งาน มีการเก็บรักษาและหมุนเวียนใช้งานอย่างเหมาะสม • น้ำ ไอน้ำ และน้ำแข็งที่สัมผัสสกับอาหาร ต้องมีคุณภาพเช่นเดียวกับน้ำดื่ม • มีการควบคุมกระบวนการผลิตที่จำเป็น อย่างเหมาะสม และมีการจดบันทึก

  18. การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • ไม่ทราบว่าจะจัดการกับวัตถุดิบอย่างไรดี • วิธีการแก้ไข • คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่เราคิดว่าดี แล้วจดข้อกำหนดนั้นไว้ เพื่อใช้คัดเลือกครั้งต่อๆไป หรือเลือกซื้อจากแหล่งที่มีการรับรองคุณภาพ • ล้างทำความสะอาดก่อนนำมาใช้งาน ทุกครั้ง • เก็บรักษาในสภาวะที่สามารถเก็บได้นาน เช่น แช่เย็น หรือเก็บในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับชื้น ไม่วางกับพื้น ไม่มีสัตว์และแมลงรบกวน • ของที่ซื้อมาก่อน ให้นำออกไปใช้ก่อน จะได้ไม่เป็นของเก่าเก็บ อาจเสื่อมเสีย

  19. การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • จะจัดการเรื่องคุณภาพน้ำอย่างไรให้เหมาะสม • วิธีการแก้ไข • การซื้อน้ำดื่มมาใช้ในการผลิต เป็นการเพิ่มต้นทุน จึงควรนำน้ำที่ใช้มาปรับคุณภาพให้เทียบเท่าน้ำดื่ม และนำมาใช้ผลิตจะดีกว่า • ถ้าเป็นน้ำประปา (กปภ.) จะได้มาตรฐานอยู่แล้ว เพียงแค่นำมาใส่ภาชนะ รอให้คลอรีนระเหยจนหมดก็ใช้ได้ หรือหากเดินท่อไว้นานแล้ว อาจติดเพียงเครื่องกรองกลิ่น สี ตะกอน อย่างง่ายก็เพียงพอ • หากเป็นน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ จะต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำ และติดตั้งเครื่องปรับคุณภาพให้เหมาะสม (จะต้องทราบคุณภาพน้ำ ก่อนเลือกเครื่องทุกครั้ง)

  20. การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • จะควบคุมกระบวนการผลิตอย่างไร อะไรบ้าง และจดบันทึกอย่างไร • วิธีการแก้ไข • สิ่งที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่จะต้องถูกควบคุม เช่น เติมอะไรไปบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ ใช้อุณหภูมิเท่าไหร่ในการผลิต เวลานานเท่าไหร่ และจดบันทึกไว้ทุกๆครั้งที่ทำการผลิต เพื่อการตรวจสอบ หากผลิตภัณฑ์มีปัญหา (หรือหากมี เจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ)

  21. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การสุขาภิบาล • หลักการ • มีห้องสุขาและอ่างล้างมือหน้าห้องอย่างถูกสุขลักษณะและ เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่างครบถ้วน และแยกจากบริเวณผลิต • มีอ่างล้างมือและอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอในบริเวณผลิต • มีวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลง • มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดอย่างเพียงพอ และมีระบบกำจัดอย่างเหมาะสม • มีทางระบายน้ำทิ้ง หรือวิธีการระบายน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม

  22. การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • ห้องสุขา และอ่างล้างมือ อย่างไรจึงจะเพียงพอ และเหมาะสม • วิธีการแก้ไข • กรณีมีคนงาน 5-10 คน มีห้องสุขาเพียง 1-2 ห้องก็เพียงพอ ถ้ามากกว่านี้ ก็เพิ่มตามสัดส่วน 10 / 1 (โดยคร่าวๆ) • อ่างล้างมือที่เหมาะสม คือ เปิด-ปิดน้ำได้โดยไม่ต้องใช้มือ มีสบู่เหลว หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ มีผ้าสะอาด หรือกระดาษสำหรับเช็ดแห้ง

  23. การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • จะป้องกัน กำจัดสัตว์และแมลงอย่างไร • วิธีการแก้ไข • ปิดช่องเปิดต่างๆให้เรียบร้อย ด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ม่านพลาสติก มุ้งลวด • หากเป็นแมลงบิน อาจใช้ไฟล่อเข้าช่วย ถ้าเป็นแมลงคลาน หรือสัตว์พาหะ อาจใช้วิธีการกำจัดแหล่งอาศัย หรือกำจัดที่ตัวสัตว์พาหะนั้นๆ หากใช้สารเคมี ต้องใช้ให้ห่างจากบริเวณผลิต ถ้าจำเป็นต้องใช้ในบริเวณผลิต ต้องหยุดการผลิตตามข้อกำหนดของสารเคมีนั้นๆ

  24. การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • จะจัดการกับการระบายน้ำอย่างไร • วิธีการแก้ไข • พื้นที่การทำงาน จะต้องมีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำระบายออกไป (นิยมให้ออกไปด้านข้าง หรือด้านหลัง หรือไหลจากสกปรก ไปหาสะอาด เช่น ไหลจากส่วนของผลิตภัณฑ์ ไปหาจุดเริ่มต้นของการผลิต) • หากมีท่อระบายน้ำในพื้นที่ผลิต ควรอยู่ด้านข้าง และมีฝาปิด (อาจเป็นตะแกรงตาถี่ๆ) • ท่อระบายน้ำภายนอกอาคาร ต้องมีฝา หรือตะแกรงปิด • ต้องมีการทำความสะอาดท่อระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

  25. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การบำรุงรักษาและทำความสะอาด • หลักการ • มีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอาคารสถานที่ผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้อยู่ในสภาพสะอาดถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่เหมาะสม • มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเป็นประจำ • สารเคมีที่ใช้ในการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อต้องแยกเก็บให้เป็นสัดส่วน และแยกออกจากสารที่ใช้ในการผลิต และบริเวรผลิต

  26. การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • ปกติก็มีการทำความสะอาดอยู่แล้ว จะเพียงพอ และเหมาะสมหรือไม่ • วิธีการแก้ไข • มีการกำหนดระยะเวลา และวิธีการทำความสะอาดอย่างชัดเจนในแต่ละพื้นที่ แต่ละอุปกรณ์ เช่น • ทำความสะอาดบริเวณผลิตทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการผลิต ด้วยการเก็บกวาดขยะ และถูพื้นด้วยน้ำสะอาด • ทำความสะอาดหม้อต้ม ด้วยน้ำสะอาด และน้ำยาล้างจาน แล้วคว่ำให้แห้ง ทุกครั้งหลังการใช้งาน

  27. การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • จะตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมืออะไรบ้าง และอย่างไร • วิธีการแก้ไข • เครื่องมือที่ต้องตรวจสอบ คือ เครื่องมือที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ นาฬิกาจับเวลา อุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด • วิธีการตรวจสอบอย่างง่ายทำได้โดยตรวจสอบการทำงานกับอุปกรณ์อีกชิ้น เช่น เครื่องชั่ง 2 เครื่อง ตรงกันหรือไม่ วิธีการนี้สามารถทำได้สม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จึงทำการส่งตรวจสอบที่หน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง หรือสถาบันการศึกษาใกล้เคียง

  28. การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • จะมีวิธีการควบคุมการใช้สารเคมี และแยกเก็บอย่างไร • วิธีการแก้ไข • สารเคมีทุกชนิด จะต้องมีการทำบัญชี ว่ามีอยู่เท่าไหร่ ใช้ไปในแต่ละครั้งเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ • ที่ภาชนะบรรจุ จะต้องมีรายละเอียดว่าเป็นสารเคมีชนิดใด อันตรายหรือไม่ และวิธีการเก็บรักษาหรือป้องกันอันตรายทำอย่างไร • แยกเก็บให้ห่างจากสิ่งที่ใช้ในการผลิตอาหาร โดยควรแยกไว้ในอีกพื้นที่โดยเฉพาะ และมีป้ายบอก หรือป้ายเตือน

  29. การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • บุคลากร • หลักการ • ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่ารังเกียจ หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน • ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำการผลิตหรือเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดี • มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไปในการผลิตอาหาร

  30. บุคลากร • ปัญหาที่พบ • จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เกี่ยวกับการป้องกันพนักงานซึ่งอาจมีโรคติดต่อ หรือบาดแผล • วิธีการแก้ไข • ผู้ประกอบการจะต้องให้พนักงานตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเก็บผลตรวจสุขภาพไว้ • กรณีที่พบว่าพนักงานเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ให้ย้ายไปทำหน้าที่อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต จนกว่าจะรักษาหายขาด • กรณีที่พบว่าพนักงานมีบาดแผล ให้ปิดบาดแผลให้เรียบร้อย แล้วให้ไปทำหน้าที่อื่นๆจนกว่าบาดแผลจะหาย

  31. บุคลากร • ปัญหาที่พบ • หลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดีคืออะไร • วิธีการแก้ไข • หลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดี คือวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ร่างกายของเราสะอาดอยู่เสมอ เช่น ไม่แคะ แกะ เกา ทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ใช้เสื้อผ้าที่สะอาด หรืออาจมีการใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกคลุมผมเพื่อป้องกันเศษผมหลุดร่วง ไม่สวมใส่เครื่องประดับในระหว่างการผลิต

  32. ตัวอย่าง การปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดีในการผลิต

  33. ตัวอย่าง ข้อห้ามในการผลิต เพื่อสุขลักษณะที่ดี

  34. บุคลากร • ปัญหาที่พบ • ควรปฏิบัติอย่างไรในหัวข้อการฝึกอบรม • วิธีการแก้ไข • ผู้ประกอบการควรจัดให้มีการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอาจเชิญวิทยากรจากภายนอกมาอบรม แล้วเก็บเอกสารการอบรมไว้เป็นหลักฐาน • หัวข้อที่จำเป็นจะต้องอบรม คือ วิธีการผลิต สุขลักษณะในการผลิต กระบวนการผลิต เพื่อเน้นย้ำความเข้าใจ

More Related