1 / 57

AGM Assessment Project

AGM Assessment Project. หลักสูตร การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัด AGM 2551 รัชมาลย์ สุจิตจร ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต. 27 พฤศจิกายน 2550. หัวข้อการบรรยาย. ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551 หลักเกณฑ์การประเมิน AGM แนวปฏิบัติตาม AGM Checklist ข้อเสนอแนะ FAQ.

Télécharger la présentation

AGM Assessment Project

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. AGM Assessment Project หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัด AGM 2551 รัชมาลย์ สุจิตจร ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต.27 พฤศจิกายน 2550

  2. หัวข้อการบรรยาย • ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551 • หลักเกณฑ์การประเมิน AGM • แนวปฏิบัติตาม AGM Checklist • ข้อเสนอแนะ • FAQ

  3. ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551

  4. ข้อมูลทั่วไปของโครงการ AGM • ความเป็นมา • 2548: CG-ROSC เสนอแนะให้ไทยปรับปรุงเรื่องสิทธิของผู้ถือหุ้น • 2549: ก.ล.ต.+สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (“LCA”) +สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (“TIA”) ริเริ่มโครงการประเมิน AGM • วัตถุประสงค์ของโครงการ: ส่งเสริมให้ บจ. ให้ความสำคัญกับการจัด AGM ที่มีคุณภาพ

  5. โครงการ AGM ปี 2551 การดำเนินการ • TIA ส่งอาสาพิทักษ์สิทธิ์เข้าประชุม AGM ของ บจ. ทุกแห่ง + ประเมินผลตามแบบ AGM Checklist • บจ. ประเมินผล AGM ด้วยตนเองตามโปรแกรม AGM self assessment + ส่งผลให้ กลต. ภายใน 3 สัปดาห์หลังจากประชุม • กลต. สอบทานผลประเมินของ TIA และ บจ. + สรุปผล • ส่งผลการประเมินใน บจ. • กลต. ออกข่าว + ประกาศชื่อ บจ. ที่ได้คะแนน ≥ 70 คะแนนทาง website

  6. โครงการ AGM ปี 2551 (ต่อ) ข้อแตกต่างจากโครงการ AGM ปี 2550 • ปรับปรุงแบบ AGM Checklist และคู่มือ AGM ให้ชัดเจนมากขึ้น (ไม่ได้เพิ่มเกณฑ์ใหม่) • กำหนดการถ่วงน้ำหนักคะแนนในแต่ละข้อย่อยเพื่อให้บริษัททราบ% ถ่วงน้ำหนักในแต่ละข้อย่อย (โดยการถ่วงน้ำหนักคะแนนในแต่ละ part A B และ C อยู่ที่ 50-40-10 และโบนัส 10 เหมือนเดิม) • ปรับปรุงโปรแกรม AGM self assessment ให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น

  7. โครงการ AGM ปี 2551 (ต่อ) • บจ. ที่ปิดรอบบัญชี 31 ธค. 2550 + บจ. ที่ปิดรอบบัญชีระหว่างปี 2550 • ยังมีสถานะเป็น บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ + ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม NPG (Non-Performing Group) ขอบเขตการประเมิน

  8. โครงการ AGM ปี 2551 (ต่อ) • บจ. ในกลุ่ม SET100 ทุกบริษัทได้ผลประเมิน ≥ 80 คะแนนขึ้นไป • ผลประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุมได้คะแนนเฉลี่ย ≥65% เป้าหมาย

  9. หลักเกณฑ์การประเมิน AGM

  10. หลักเกณฑ์การประเมิน

  11. ช่วงก่อนวันประชุม AGM  ควรให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอและภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้ง อำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิออกเสียงแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถ เข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้

  12. วิเคราะห์ผลประเมิน Part A : ก่อนวันประชุม การจัดส่งเอกสารประกอบ การเปิดเผยข้อมูลประกอบในแต่ละวาระ การเผยแพร่เอกสารการประชุมบนเว็บไซต์บริษัท (สาระครบถ้วน,ไทย+อังกฤษ, 30 วัน) การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเสนอเพิ่มวาระและเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการ

  13. วันประชุม AGM  ควรดำเนินการประชุมอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ตามข้อกำหนดขั้นต่ำ ตามกฎหมาย พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัดและแนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล

  14. วันประชุม AGM (ต่อ)

  15. วิเคราะห์ผลประเมิน Part B : วันประชุม บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วม ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและวาระที่กำหนดไว้ บริษัทควรกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดประชุมโดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ถือหุ้นที่จะเข้าประชุม บริษัทควรมีความโปร่งใสในการตรวจสอบการนับคะแนนเสียง บริษัทควรประกาศแจ้งข้อมูลที่สำคัญให้ผู้ถือหุ้นทราบตั้งแต่เริ่มต้นการประชุม กรรมการและผู้บริหารบริษัททุกคนควรเข้าประชุม บริษัทจัดให้ผู้ถือหุ้นได้ลงคะแนนเสียงอย่างโปร่งใสและให้สิทธิออกเสียงในเรื่องสำคัญๆ แยกออกจากกัน

  16. ช่วงหลังวันประชุม AGM  รายงานการประชุมควรมีสาระสำคัญครบถ้วน และเผยแพร่ให้ตรวจสอบได้

  17. วิเคราะห์ผลประเมิน Part C : หลังวันประชุม ผลคะแนนเสียง ประเด็นอภิปรายที่สำคัญและการชี้แจงโดยสรุป ส่งรายงานการประชุมต่อ ตลท.ภายใน 14 วัน รายชื่อกรรมการ/ผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุม เผยแพร่รายงานการประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 14 วัน แจ้งมติที่ประชุม + ผลคะแนนเสียงต่อ ตลท.

  18. คะแนนพิเศษ (Bonus Points)  เป็นแนวปฏิบัติตามหลักการ CG ที่ดี

  19. แนวปฏิบัติตาม AGM Checklist

  20. ส่วน A ช่วงก่อนวันประชุม AGM 1. การเปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุม • วาระเลือกตั้งกรรมการ • วาระค่าตอบแทนกรรมการ • วาระแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี • วาระการจ่ายเงินปันผล 2. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท 3. การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเพิ่มวาระก่อนการประชุม

  21. กรณีทั่วไป ชื่อ - นามสกุล ประวัติ (อายุ การศึกษา การอบรม ประสบการณ์ทำงาน) ประเภทกรรมการที่จะเสนอแต่งตั้ง หลักเกณฑ์/วิธีการสรรหา การถือหุ้นในบริษัท การดำรงตำแหน่งในกิจการอื่น กรณีเสนอแต่งตั้งกรรมการรายเดิม จำนวนวาระ/จำนวนปีที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัท จำนวนครั้ง/สัดส่วนการเข้าประชุมในรอบปีที่ผ่านมา กรณีเสนอแต่งตั้งกรรมการอิสระ นิยามกรรมการอิสระที่บริษัทกำหนดขึ้น ระบุว่านิยามกรรมการอิสระที่บริษัทกำหนดขึ้นเท่ากับหรือเข้มกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำของ ก.ล.ต. ระบุการมี/ไม่มีส่วนได้เสียของกรรมการอิสระ 1. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระเลือกตั้งกรรมการ

  22. ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ ชื่อ :นายหนึ่ง มีมั่งคั่ง อายุ : 40 ปี สัญชาติ :ไทย การศึกษา :ปริญญาโท MBA การอบรมหลักสูตรกรรมการ :หลักสูตร DCP 39/2004 จาก IODประสบการณ์การทำงาน : 2547 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ และ บมจ. เอบีซี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 2545 - 2546 กรรมการ บมจ. หนึ่งสองสาม 2544 - 2545 CFO บมจ. สี่ห้าหก ประเภทกรรมการที่จะเสนอแต่งตั้ง : กรรมการอิสระ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการสรรหาแล้วการถือหุ้นในบริษัท : ไม่มี การเป็นกรรมการในบริษัทอื่น : ไม่มีจำนวนปีที่เป็นกรรมการ : 3 ปี การเข้าประชุม :คณะกรรมการบริษัท 15/15ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ 4/4 ครั้ง

  23. ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ (การดำรงตำแหน่ง ในกิจการอื่น)

  24. ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ(การมีส่วนได้เสียของกรรมการอิสระ)

  25. 1. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระค่าตอบแทนกรรมการ • หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอค่าตอบแทน • ค่าตอบแทนของกรรมการ - องค์ประกอบของค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนของกรรมการที่จะขออนุมัติในครั้งนี้ โดยแยกเป็นค่าตอบแทนของกรรมการและค่าตอบแทนของกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ • ข้อมูลเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนในปีที่ผ่านมา

  26. ตัวอย่าง - วาระค่าตอบแทนกรรมการ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัทได้พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ ได้กลั่นกรองและพิจารณาอย่างละเอียดถึงความเหมาะสมประการต่าง ๆ แล้ว โดยเปรียบเทียบอ้างอิงจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน รวมถึงพิจารณาจากการขยายตัวทางธุรกิจและการเติบโตทางผลกำไรของบริษัทแล้วเห็นสมควรกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทตามอัตราที่ปรากฏในตาราง

  27. ตัวอย่าง - วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) ค่าตอบแทนกรรมการ

  28. ตัวอย่าง - วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) ค่าตอบแทนกรรมการชุดย่อย

  29. ตัวอย่าง - วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) สำหรับกรณีที่บริษัทไม่มีวาระพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ กรณีที่บริษัทไม่ได้ให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายปี แต่อนุมัติเป็นช่วงเวลา เช่น ปี 2549-2551 เท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน การดำเนินการ: บริษัทควรเสนอเป็นวาระเพื่อทราบ โดยเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับค่าตอบแทนกรรมการที่ได้อนุมัติไว้ด้วย (อาจอ้างอิงข้อมูล จากรายงานประจำปีก็ได้)

  30. 1. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม – วาระแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี • ชื่อผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี • มีการเสนอรายชื่อผู้สอบบัญชีไว้อย่างน้อย 2 คน • ความสัมพันธ์หรือส่วนได้เสียที่อาจทำให้ขาดความเป็นอิสระ • จำนวนปีของการเป็นผู้สอบบัญชี/สาเหตุที่เปลี่ยนผู้สอบบัญชี • ผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อย/บริษัทร่วมสังกัดสำนักงานเดียวกับผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือไม่ • ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีที่จะขออนุมัติในครั้งนี้ และข้อมูลการเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนฯ ในปีที่ผ่านมาโดยแยกเป็นค่าสอบบัญชี (audit fee) และค่าบริการอื่น (non-audit fee) • ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ (audit committee)

  31. ตัวอย่าง - การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี โดยการเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญพิจารณาอนุมัติให้แต่งตั้ง 1. นายแม่นยำ ชำนาญเลข (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 000000เป็นผู้ลงลายมือชื่อในงบการเงินของบริษัทฯ มาแล้วเป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2547 โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้สอบบัญชีได้เป็นอย่างดีตลอดมา) และ/หรือ 2. นางคำนวณ ถ้วนถี่ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 999999) แห่งบริษัท เอบีซี การบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2550 โดยทั้งสองท่านไม่มีความสัมพันธ์หรือส่วนได้เสียกับบริษัท/บริษัทย่อย/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใด จึงมีความเป็นอิสระในการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ

  32. ตัวอย่าง - กรณีเปลี่ยนผู้สอบบัญชี ตัวอย่างการระบุสาเหตุของการเสนอให้เปลี่ยนผู้สอบบัญชี ตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ในเรื่องการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีทุกรอบระยะเวลาบัญชี 5 ปี ซึ่งนาย....ผู้สอบบัญชีจากบริษัท....เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในงบการเงินของบริษัท มาตั้งแต่ปี 2546-2550 รวม 5 ปี จึงครบวาระที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี

  33. ตัวอย่าง - การกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี คณะกรรมการบริษัท โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบ เห็นควรเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติค่าสอบบัญชี ประจำปี 2551 เป็นเงินจำนวน 2,000,000 บาทซึ่งเท่ากับค่าตอบแทนในปี 2549 และ 2550 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปัจจุบันนายแม่นยำฯ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งของบริษัทฯ คือ บริษัท A จำกัด และบริษัท B จำกัด ซึ่งมีค่าสอบบัญชี รวม 2 บริษัท จำนวน 500,000 บาท สำหรับค่าบริการอื่น(non-audit fee) บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการรับบริการอื่นจากสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา

  34. 1. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระการจ่ายเงินปันผล • นโยบายการจ่ายเงินปันผล • อัตราเงินปันผลที่เสนอจ่ายเทียบกับกำไรสุทธิ • ข้อมูลเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมา • เหตุผลที่บริษัทมีอัตราการจ่ายเงินปันผลไม่เป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผล หรือเหตุผลที่บริษัทไม่จ่ายเงินปันผล (สำหรับบริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผล)

  35. ตัวอย่าง - วาระการจ่ายเงินปันผล กรณีไม่จ่ายเงินปันผล ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท กำหนดให้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิแต่เนื่องจากผลการดำเนินงานในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา บริษัทมีผลประกอบการขาดทุน คณะกรรมการบริษัทจึงพิจารณาเห็นสมควรงดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานในรอบปี 2550

  36. ตัวอย่าง - วาระการจ่ายเงินปันผล (ต่อ) กรณีบริษัทจ่ายเงินปันผลไม่เป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผล ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท กำหนดให้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิแต่เนื่องจากการประชุมวิสามัญประจำปี เมื่อ..............มีมติอนุมัติให้บริษัทลงทุนสร้างโรงงานใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิต บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องการกันเงินสำรองเพื่อขยายธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการจึงพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินปันผลในรอบปี 2550 ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ ในขณะที่การจ่ายเงินปันผลในรอบปีที่ผ่านมา เท่ากับสัดส่วนร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งปีนี้เสนอจ่ายเงินปันผลในอัตราที่ลดลงจากปีก่อนเท่ากับ 40% ((20/50)*100 ))

  37. ตัวอย่าง - วาระจ่ายเงินปันผล (ต่อ) ข้อมูลการเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมา

  38. 2. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท 1. เผยแพร่เอกสารการประชุมบน website ของบริษัทล่วงหน้า ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 30 วัน ยกเว้นรายงานประจำปีเผยแพร่ ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน 2. เผยแพร่ข้อมูลบน website ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ3. แจ้งการเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัทผ่านข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ

  39. 2. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท - ประเภทข้อมูล • แผนที่ของสถานที่จัดประชุม • รายละเอียดวาระการประชุม • รายงานประจำปี • แบบหนังสือมอบฉันทะ (Proxy form) • ข้อมูลกรรมการอิสระที่สามารถเป็นผู้รับมอบฉันทะ • คำอธิบายการแสดงหลักฐานก่อนเข้าประชุม • ข้อบังคับบริษัท (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุม)

  40. 3. การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเพิ่มวาระก่อนการประชุม • กำหนดหลักเกณฑ์/วิธีการเสนอเพิ่มวาระของผู้ถือหุ้น • เผยแพร่หลักเกณฑ์ดังกล่าวบน website บริษัท • แจ้งการเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัทผ่านข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ

  41. ตัวอย่าง - การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเพิ่มวาระก่อนการประชุม • ผู้ถือหุ้นที่จะมีสิทธิในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นต้องถือหุ้นบริษัท อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 0.5% • ผู้ถือหุ้นต้องกรอกแบบฟอร์มตามที่กำหนด และส่งให้บริษัทพร้อมเอกสารหลักฐาน ที่ครบถ้วนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 • บริษัทขอสงวนสิทธิที่จะไม่บรรจุเรื่องต่อไปนี้เป็นวาระการประชุม • เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท • เรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจของบริษัทที่จะดำเนินการได้ • เรื่องที่เสนอมีความคลุมเครือ/ไม่ชัดเจน • กรรมการอิสระของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอ ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และบริษัทจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ถือหุ้นทราบภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทว่า เรื่องดังกล่าวได้รับการบรรจุเป็นวาระการประชุมหรือไม่

  42. ส่วน B วันประชุม AGM วัน เวลา สถานที่ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น • ไม่จัดประชุมในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา) หรือวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ที่ติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป (เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่) • เริ่มประชุมในช่วงเวลา 8.30 – 16.00 น. • จัดประชุมอยู่ในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ • จัดให้มีอากรแสตมป์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้น (อาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายโดยตรงจากผู้ถือหุ้นก็ได้)

  43. ส่วน B วันประชุม AGM (ต่อ) กรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงทุกคนควรเข้าประชุม AGM (1) ประธานกรรมการ (2) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (3) ประธานคณะกรรมการชุดย่อยอื่น (ถ้ามี) (4) ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท (เช่น CEO MD) (5) ผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินของบริษัท (6) ผู้สอบบัญชีของบริษัท

  44. ส่วน B วันประชุม AGM (ต่อ) สัดส่วนของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม > 90% ของกรรมการทั้งหมด • จำนวนกรรมการทั้งหมดพิจารณาจากรายชื่อกรรมการตามระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SETSMART) • กรณีบริษัทมีกรรมการไม่ถึง 10 ท่าน อนุโลมให้มีกรรมการขาดประชุมได้ 1 ท่าน

  45. ส่วน B วันประชุม AGM (ต่อ) บริษัทควรแจ้งข้อมูลต่อไปนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นการประชุม • จำนวน/ สัดส่วน ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและผู้ถือหุ้นที่มอบฉันทะ • วิธีปฏิบัติในการนับคะแนน โดยแยกอธิบายวิธีการนับคะแนนของผู้ที่มาประชุมด้วยตนเอง และของผู้รับมอบฉันทะ • วิธีลงคะแนนเสียง เช่น cumulative voting หรือ 1 share: 1 vote

  46. ส่วน B วันประชุม AGM (ต่อ) บัตรลงคะแนนเสียง (Ballot) • บัตรลงคะแนนเสียงควรมีรายละเอียด ดังนี้ ชื่อผู้ถือหุ้น ชื่อผู้รับมอบฉันทะ จำนวนหุ้น จำนวนเสียง ช่องให้ผู้ถือหุ้นเลือกว่าจะลงคะแนน เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือ งดออกเสียง • บริษัทควรแจกบัตรลงคะแนนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มาประชุมตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการออกเสียงลงคะแนน

  47. ส่วน C ช่วงหลังวันประชุม AGM สาระสำคัญของมติที่ประชุม บริษัทได้แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านระบบ ELCID ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันทำการถัดไป โดยมติดังกล่าวควรระบุผลของมติ (เห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ) และผลของการลงคะแนนเสียง (เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย/งดออกเสียง) ในแต่ละวาระ • ระบุผลของมติ • ระบุผลของการลงคะแนนเสียง

  48. ส่วน C ช่วงหลังวันประชุม AGM (ต่อ) สาระสำคัญของรายงานการประชุม • รายชื่อกรรมการ/ผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุม • ผลของมติ (เห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ) และผลของการลงคะแนนเสียง (เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย/งดออกเสียง) ในแต่ละวาระ • ประเด็นอภิปรายและการชี้แจงของบริษัท

  49. ตัวอย่าง - มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การแจ้งมติที่ประชุม(วาระเลือกตั้งกรรมการ) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาเพื่อมีมติแต่งตั้งกรรมการ 3 ราย ดังนี้

  50. ส่วน D - Bonus Points การจัดให้มี inspectorเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการลงคะแนนเสียงว่าเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัทได้อย่างไร ? • หน้าที่ inspector • ดูแลกระบวนการตรวจสอบเอกสารของผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม • สอบทานองค์ประชุม • ดูแลว่าผู้ที่มีส่วนได้เสียไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียง • สอบทานวิธีการลงคะแนนและการนับคะแนนเสียงให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท/ประธานที่ประชุมแจ้ง • ดูแลให้มีการเก็บบัตรลงคะแนนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม และตรวจสอบผลของมติ และผลของการลงคะแนนเสียงจากบัตรลงคะแนนว่าถูกต้อง

More Related