1 / 50

ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานของ กรมการข้าว ปี ๒๕๕๕ วันที่ ๗ ตุลาคม 2554 เวลา ๐๙.๐0 น.

ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานของ กรมการข้าว ปี ๒๕๕๕ วันที่ ๗ ตุลาคม 2554 เวลา ๐๙.๐0 น. ณ ห้องประชุมรวงข้าว (201) กรมการข้าว ชั้น 2. ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ. 1.1 คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการในการทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมการข้าว. เรื่องเดิม

Télécharger la présentation

ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานของ กรมการข้าว ปี ๒๕๕๕ วันที่ ๗ ตุลาคม 2554 เวลา ๐๙.๐0 น.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานของประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติงานของ กรมการข้าว ปี ๒๕๕๕ วันที่ ๗ ตุลาคม 2554 เวลา ๐๙.๐0 น. ณ ห้องประชุมรวงข้าว (201) กรมการข้าว ชั้น 2

  2. ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

  3. 1.1 คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการในการทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมการข้าว เรื่องเดิม คำสั่งกรมการข้าว ที่ 57/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมการข้าว ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมการข้าวทำหน้าที่ร่วมตรวจราชการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานระดับกรม เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด จึงได้แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมการข้าวให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการตรวจราชการของกรมการข้าวอีกหน้าที่หนึ่ง

  4. การดำเนินงาน นอกจากกรมการข้าวจะมีภารกิจสำคัญในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ แล้วยังมีภารกิจสำคัญเพิ่มมากขึ้น เช่น โครงการตามนโยบายรัฐบาลโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ซึ่งกรมการข้าวเป็นผู้แทนในคำสั่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัด ทั้งนี้กรมการข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว และศูนย์วิจัยข้าวเป็นผู้แทนดำเนินการในคำสั่งแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลกรมการข้าวจึงขอยกเลิกคำสั่งกรมการข้าว ที่ 57/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมการข้าว ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 และได้มีคำสั่งกรมการข้าว ที่ 441/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมการข้าว ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ตามบัญชีรายละเอียดการแต่งตั้งข้าราชการให้ทำหน้าที่ผู้ตรวจราชการ แนบท้ายคำสั่ง ดังนี้

  5. ทั้งนี้ จากการประชุมผู้บริหารกรมการข้าว ครั้งที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 มีมติที่ประชุม ดังนี้ ๑. นายกู้เกียรติ สร้อยทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว ทำหน้าที่หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมการข้าว ๒. โดยให้เริ่มปฏิบัติงานได้ทันที โดยงานที่เร่งรัดดำเนินการ ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

  6. 2.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 2.1.1 การเตรียมการปฏิบัติงานเพื่อรองรับโครงการฯ 1. รัฐบาลได้กำหนดให้ดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ซึ่งกษ. โดย กสก. มีหน้าที่หลักในการขึ้นทะเบียน การประชาคม และการออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2554/55 กรมการข้าวร่วมเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกำกับดูและการรับจำนำข้าว และคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัด 2. การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ กษ .ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 ประธาน ทปษ.รมว.กษ. (นายบรรหาร ศิลปะอาชา) มีข้อคิดเห็นว่า กษ. ต้องมีหน่วยเฉพาะกิจเพื่อติดตามการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีในทุกโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ แนวทางดำเนินงานต้องเร็ว รอบคอบ และชัดเจน และมีมติที่ประชุมให้ กษ. แต่งตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการดำเนินงานโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

  7. ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ

  8. 2.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 2.1.1 การเตรียมการปฏิบัติงานเพื่อรองรับโครงการฯ 1. รัฐบาลได้กำหนดให้ดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ซึ่งกษ. โดย กสก. มีหน้าที่หลักในการขึ้นทะเบียน การประชาคม และการออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2554/55 กรมการข้าวร่วมเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกำกับดูและการรับจำนำข้าว และคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัด 2. การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ กษ .ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 ประธาน ทปษ.รมว.กษ. (นายบรรหาร ศิลปะอาชา) มีข้อคิดเห็นว่า กษ. ต้องมีหน่วยเฉพาะกิจเพื่อติดตามการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีในทุกโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ แนวทางดำเนินงานต้องเร็ว รอบคอบ และชัดเจน และมีมติที่ประชุมให้ กษ. แต่งตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการดำเนินงานโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

  9. การดำเนินงาน 1. กรมการข้าวได้มีหนังสือมอบหมายผู้แทนกรมการข้าวปฏิบัติงานในคำสั่งคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด ให้ผู้ราชการจังหวัดทุกจังหวัด ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศูนย์วิจัยข้าว และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกศูนย์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการมอบหมายดังกล่าวเป็นไปตามตามคำสั่งกรมการข้าว ที่ 254/2551 เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนกรมการข้าว จำนวน 76 จังหวัด ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2551 และคำสั่งกรมการข้าว ที่193/2554 เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนกรมการข้าว (แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 (เอกสารแนบ หน้า 38) 2. กรมการข้าวได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 หลักเกณฑ์และการกำกับดูแลการเปิดจุดรับจำนำข้าวเปลือกนอกพื้นที่ของโรงสี และมาตรกรรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ให้ศูนย์วิจัยข้าว และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกศูนย์เรียบร้อยแล้ว (เอกสารแนบ หน้า 27)

  10. การดำเนินงาน (ต่อ) 3. ประเด็นให้ กษ. แต่งตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการดำเนินงานโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ ได้แก่ 1) พิจารณาระบบการรับจำนำ การประชาสัมพันธ์ การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการรับจำนำ การออกหนังสือรับรองเกษตรกร การรับรองโรงสี/โกดังกลาง การกำกับดูแลรับจำนำที่โรงสี/ตลาดกลาง การจัดสรรใบประทวนให้แก่โรงสี/ตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัด การตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสี/ตลาดกลางก่อนการรับมอบข้าวเปลือกจำนำ การตรวจสอบโกดังกลางก่อนรับมอบข้าวสาร และการตรวจสอบปริมาณข้าวสารคงเหลือกที่โกดังกลาง จนถึงระบายข้าวเปลือก กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการรับจำนำในพื้นที่ เป็นไปด้วยความรวดเร็วรัดกุม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งป้องการสวมสิทธิและการปลอมปนข้าว เพื่อให้ประโยน์ตกแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง

  11. การดำเนินงาน (ต่อ) 2) เสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว และผู้ส่งออกของจังหวัด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์ต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวของจังหวัด และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มีหน่วยงานของ กษ. ในพื้นที่ ประกอบด้วย เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และผู้แทนกรมการข้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 4. เพื่อให้การดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 เป็นไปด้วยเรียบร้อย จึงขอให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวและศูนย์วิจัยข้าวเตรียมความพร้อม ศึกษาหาความรู้ในการทดสอบความชื้นเมล็ดพันธุ์ข้าว การตรวจสอบชนิดข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ (เปอร์เซ็นต์ข้าว)

  12. กขช คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติประธาน : นายกรัฐมนตรี คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ด้านการผลิต ประธาน : รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ด้านการตลาด ประธาน : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิ สาระผล) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว ประธาน : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิ สาระผล) คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด ประธาน : ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ประธาน : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิ สาระผล) คณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการรับจำนำข้าว ประธาน : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิ สาระผล)

  13. บทบาทกรมการข้าวกับ กขช. กขช. อธิบดีกรมการข้าวเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ อนุ กขช.ด้านการผลิต อธิบดีกรมการข้าวเป็นอนุกรรมการและ เลขานุการ อนุ กขช.ด้านการตลาด อธิบดีกรมการข้าวเป็นผู้แทนหลักในนาม ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุกรรมการติดตามกำกับ ผอ.ศูนย์วิจัยข้าว/ผอ.ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด เป็นผู้แทนกรมการข้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

  14. คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด หน้าที่สำคัญ • ๑. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก • พิจารณาวางระบบการรับจำนำ • การประชาสัมพันธ์ • การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการรับจำนำ • การออกหนังสือรับรองเกษตรกร • การรับรองโรงสี/โกดังกลาง • การกำกับดูแลการรับจำนำที่โรงสี/ตลาดกลาง • การจัดสรรใบประทวนให้แก่โรงสี/ตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัด

  15. หน้าที่สำคัญ (ต่อ) • การตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสี/ตลาดกลางก่อนรับมอบ • ข้าวเปลือกจำนำ • การตรวจสอบโกดังกลางก่อนรับมอบข้าวสารและการตรวจสอบปริมาณ • ข้าวสารคงเหลือที่โกดังกลาง • การระบายข้าวเปลือก • กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการรับจำนำในพื้นที่ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว • รัดกุมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด • ป้องกันการสวมสิทธิ์และการปลอมปนข้าว • ๒. เสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร • ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว และผู้ส่งออกของจังหวัด

  16. การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ • ๑. เป้าหมาย • ข้าวเปลือก ๒๕ ล้านตัน • ๒. ระยะเวลาดำเนินการ • ๒.๑ จำนำ • ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ • ยกเว้นภาคใต้ • ๑ กุมภาพันธ์ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ • ๒.๒ ไถ่ถอน • ๔ เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

  17. ๓. ชนิดข้าวและราคาข้าวเปลือก ๑๐ ชนิด (ความชื้นไม่เกิน ๑๕%) บาท/ตัน ๑. ข้าวเปลือกหอมมะลิ (๔๒ กรัม) ๒๐,๐๐๐ ๒. ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (๔๐ กรัม) ๑๘,๐๐๐ (ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ๒๓ จังหวัด) ๓. ข้าวเปลือกปทุมธานี (๔๒ กรัม) ๑๖,๐๐๐ ๔. ข้าวเปลือกเหนียว ๑๐% เมล็ดยาว ๑๖,๐๐๐ ๕. ข้าวเปลือกเหนียว ๑๐% เมล็ดสั้น ๑๕,๐๐๐ ๖. ข้าวเปลือกเจ้า ๑๐๐% ๑๕,๐๐๐ ๗. ข้าวเปลือกเจ้า ๕% ๑๔,๘๐๐ ๘. ข้าวเปลือกเจ้า ๑๐% ๑๔,๖๐๐ ๙. ข้าวเปลือกเจ้า ๑๕% ๑๔,๒๐๐ ๑๐. ข้าวเปลือกเจ้า ๒๕% ๑๓,๘๐๐ *ปรับเพิ่ม – ลดราคาตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ ๒๐๐ บาท

  18. วิธีการ • ๑. อคส. และ อ.ต.ก. รับสมัครโรงสี/ตลาดกลาง เข้าร่วมโครงการ • ๒. เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อออกใบรับรองผลการขึ้น • ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี ๒๕๕๔/๕๕ • ๓. เกษตรกรนำข้าวไปจำนำที่โรงสีและตลาดกลางที่มี ธงสีฟ้า กขช. เท่านั้น • (รับจำนำเฉพาะใบประทวน จำนำยุ้งฉางจะพิจารณาเป็นกรณี) • เวลารับจำนำ ๐๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน • จำนำข้าวได้ในพื้นที่จังหวัดของตนเท่านั้นยกเว้นพื้นที่ตำบลติดกัน • ห้ามโรงสี/ตลาดกลางรับจำนำข้าวเขต และเปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่ • ยกเว้นบางจังหวัดที่มีโรงสีหรือตลาดกลางเข้าร่วมโครงการจำนำไม่ • เพียงพอให้บริการประชาชน

  19. วิธีการ (ต่อ) • เกษตรกรจะได้รับใบประทวนซึ่งออกโดย อคส./อ.ต.ก. ภายใน ๓ วัน • กรณีเกษตรกรอยู่ไกลสามารถให้สถาบันเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลที่ • เกษตรผู้นั้นเป็นสมาชิกอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร โครงการ • ให้บริการรวบรวมข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะนำมาจำนำกับโรงสีหรือ • ตลาดกลาง ทั้งนี้ให้หักค่าขนส่งและค่าบริการจัดการเกษตรกรได้ไม่เกิน • ตันละ ๒๐๐ บาท

  20. วิธีการ (ต่อ) • ๔. เกษตรกรนำใบประทวนไปจำนำกับ ธ.ก.ส. • รับเงินภายใน ๓ วันทำการ • ๕. โรงสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งมอบโกดังกลางตามหลักเกณฑ์และ • มติของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำ • ๖. ตลาดกลางเก็บรักษา ข้าวสารไว้ในโกดังที่ อคส./อ.ต.ก. กำหนดเป็นโกดังกลาง • ๗. ระบายข้าวเปลือกและข้าวสารตามมติคณะอนุฯ ระบายข้าวสาร

  21. คลังกลางเก็บข้าวเปลือกคลังกลางเก็บข้าวเปลือก - บริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าวฯร่วมกับเจ้าหน้าที่ อคส./อ.ต.ก. และตลาดกลางตรวจรับข้าวเปลือกเก็บตามมาตรฐานที่กำหนด - เก็บรักษาดูแลคุณภาพปริมาณเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด - ระบายจำหน่ายตามความจำเป็นเหมาะสม จุดรับจำนำ (โรงสี/ตลาดกลาง) - อคส./อ.ต.ก. - ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน - ตรวจรับมอบข้าวเปลือกจากเกษตรกร - ออกใบประทวนสินค้าให้เกษตรกรภายใน ๓ วัน - ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด - รายงานผลฝ่ายเลขานุการ กรมส่งเสริมการเกษตร - ขึ้นทะเบียน - ออกหนังสือรับรองเกษตรกร เกษตรกร - หนังสือรับรองเกษตรกร - เอกสารหลักฐาน - นำข้าวเปลือกของตนเอง โกดังกลางข้าวสาร - บริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าวสารร่วมกับเจ้าหน้าที่ อคส./อ.ต.ก. ตรวจรับข้าวสารตามมาตรฐานที่กำหนด - เก็บรักษา ดูแลคุณภาพ ปริมาณเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด - ระบายข้าวสารตามเวลาที่เหมาะสม ธ.ก.ส. - รับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า - ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน - จัดทำสัญญาและจ่ายเงินภายใน ๓ วัน การรับจำนำใบประทวนข้าวเปลือก

  22. การกำกับดูแล • ๑. จุดรับจำนำและจัดเก็บ • - มีผู้ช่วยปฏิบัติงานของ อคส./อ.ต.ก. จุดละ ๒ คนตัวแทนเกษตรกรจุดละ ๒ คน ข้าราชการที่จังหวัดแต่งตั้งจุดละ ๑ คน • อำนวยความสะดวกและให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ • ๒. ส่วนภูมิภาค • - คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ • วางระบบการรับจำนำ • ประชาสัมพันธ์ • กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาในพื้นที่

  23. การกำกับดูแล (ต่อ) • ๓. ส่วนกลาง • - ฝ่ายเลขานุการ กขช. กรมการค้าภายใน • กำหนดแนวทางการปฏิบัติและกำกับดูแลและประสานหน่วยงานที่ • เกี่ยวข้องกับพื้นที่จังหวัดที่มีเขตติดต่อชายแดนเพื่อป้องกันการลักลอบการ • นำข้าวเปลือกจากประเทศเพื่อนบ้านมาเข้าร่วมโครงการ • กำหนดหลักเกณฑ์การวัดความชื้นข้าวเปลือกและสิ่งเจือปน • ๔. กระทรวงมหาดไทย • กำกับดูแลการทำงานของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดอย่างใกล้ชิด • ๕. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • กำกับดูแลการออกหนังสือรับรองของกรมส่งเสริมการเกษตร

  24. ประเด็นการเตรียมความพร้อมของผู้แทนกรมการข้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบประเด็นการเตรียมความพร้อมของผู้แทนกรมการข้าวในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ • เข้าร่วมประชุม • เข้าร่วมดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ • ทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการรับจำนำ • ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษ • - การทดสอบความชื้นข้าวเปลือก • - การตรวจสอบชนิดข้าวเปลือก (จำนวนกรัมต้นข้าว, เปอร์เซ็นต์ข้าว) • ศวข. แพร่ • ศวข. พิษณุโลก • ศวข. อุบลราชธานี • ศวข. สกลนคร • ศวข. ปทุมธานี • ศวข. ปราจีนบุรี (รอยืนยัน) • ศวข. พัทลุง (รอยืนยัน)

  25. 2.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 2.1.๒ กระบวนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และการออกใบรับรองเกษตรกร นำเสนอโดยกรมส่งเสริมการเกษตร

  26. 2.๒ การช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ กรณีเสียหายเนื่องจากประสบอุทกภัยและกรณีจำหน่ายผลผลิตไปก่อนเริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีทประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ได้พิจารณาการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรที่เพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2554/55 ที่เก็บเกี่ยว และขายผลผลิตก่อนเริ่มโครงการรับจำนำ และการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรที่พื้นที่เพาะปลูกเสียหายเกินกว่า ร้อยละ 50 มีมติ ดังนี้

  27. 1) ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ กรณีเสียหายเนื่องจากประสบอุทกภัยและกรณีจำหน่ายผลผลิตไปก่อนเริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๔/๕๕ ซึ่งเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวและขายผลผลิตช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 25๕๔ (ก่อนโครงการรับจำนำเริ่ม ๗ ตุลาคม 25๕๔) ทำให้เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวและขายผลผลิตเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ รัฐบาลจึงให้การเยียวยาเกษตรกรที่ขายผลผลิตในช่วงเวลาดังกล่าว (๔.๕๕๔ ล้านตัน) ในอัตราตันละ ๑,๔๓๗ บาท เป็นเงินรวม ๖,๕๔๔ ล้านบาท 2) ช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกรที่เพาะปลูกในปี ๒๕๕๔/๕๕ ที่ประสบอุทกภัยและพื้นที่เพาะปลูกเสียหายมากกว่า ๕๐% ทั้งประเทศ ประมาณ ๗๐% ของพื้นที่ ๕.๒๓๒ ล้านไร่ (คิดเป็น ๓.๖๖๒ ล้านไร่) รายละไม่เกิน ๑๐ ไร่ ในอัตราไร่ละ ๑๐ กิโลกรัม หรือเป็นมูลค่าไร่ละ ๑๘๐ บาท (เมล็ดพันธุ์ข้าวกิโลกรัมละ 18 บาท) วงเงินงบประมาณ ๖๕๙.๑๖ ล้านบาท กรณีการช่วยเหลือค่าเมล็ดพันธุ์เห็นควรมอบหมายให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณ ปี 2554 งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้ กษ. โดยกรมการข้าว เป็นผู้นำไปช่วยเหลือกเกษตรกรต่อไป

  28. การดำเนินงาน ในส่วนของกรมการข้าว เนื่องจากราคาเมล็ดพันธุ์ข้าว เนื่องจากรัฐบาลกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 15,000 บาท ส่งผลกระทบให้ต้นทุนรับซื้อเมล็ดพันธุ์ดิบจากเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวสูงขึ้น และต้องจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงกว่ากิโลกรัมละ 18 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554กรมการข้าวจะขอหารือสำนักงบประมาณถึงความเป็นจริง และจะเสนอคณะรัฐมนตรีทบทวนการเพิ่มราคาการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงกว่าเดิม

  29. 2.๓ การเตรียมเมล็ดพันธุ์เพื่อรองรับสถานการณ์อุทกภัย เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ดังนี้ ให้ช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกรที่เพาะปลูกในปี ๒๕๕๔/๕๕ ที่ประสบอุทกภัยและพื้นที่เพาะปลูกเสียหายมากกว่า ๕๐% ทั้งประเทศ ประมาณ ๗๐% ของพื้นที่ ๕.๒๓๒ ล้านไร่ (คิดเป็น ๓.๖๖๒ ล้านไร่) รายละไม่เกิน ๑๐ ไร่ ในอัตราไร่ละ ๑๐ กิโลกรัม หรือเป็นมูลค่าไร่ละ ๑๘๐ บาท (เมล็ดพันธุ์ข้าวกิโลกรัมละ 18 บาท) วงเงินงบประมาณ ๖๕๙.๑๖ ล้านบาท การดำเนินงาน สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 และแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้

  30. 2.๓ การเตรียมเมล็ดพันธุ์เพื่อรองรับสถานการณ์อุทกภัย แนวทางการช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 จากการรายงานพื้นที่ปลูกข้าวประสบอุทกภัย ปี 2554 ได้รับความเสียหาย 7.027 ล้านไร่ กษ. ได้ประมาณการพื้นที่เสียหายมากกว่าร้อยละ 50 ประมาณร้อยละ 70ของพื้นที่เสียหาย (7.027 ล้านไร่) ที่จะได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 4.92 ล้านไร่ ถ้าจะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 10 กิโลกรัม หรือ 15 กิโลกรัม จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ ดังนี้ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 49,200,000 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,307,942,640 บาท โดยแบ่งการช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะที่ 1 (ปลูกได้ทันทีหลังน้ำลด/นาปรัง) เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 24,344,160 กิโลกรัมๆ 24 บาท เป็นเงิน 584,259,840 บาท

  31. 2. ระยะที่ 2 (ปลูกในช่วงนาปี) จำนวน 24,855,840 กิโลกรัม เป็นเงิน 723,682,800 บาท โดยแบ่งเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 3,665,400 กิโลกรัม ๆ ละ 24 บาท เป็นเงิน 87,969,600 บาท และเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง จำนวน 21,190,440 กิโลกรัม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 635,713,200 บาท การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กรมการข้าวมีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554) รวมจำนวน 62,570,000 กิโลกรัม รายละเอียด ดังนี้ - เมล็ดพันธุ์คงคลัง จำนวน 3,130,000 กิโลกรัม - คาดว่าจะมี (เดือนพฤศจิกายน 2554 – เดือนพฤษภาคม 2555) จำนวน 49,440,000 กิโลกรัม รวมจำนวน 62,570,000 กิโลกรัม

  32. โดยแยกตามชนิดพันธุ์ข้าวได้ ดังนี้ - ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 37,240,000 กิโลกรัม - ข้าวไวต่อช่วงแสง จำนวน 25,330,000 กิโลกรัม รวมจำนวน 62,570,000 กิโลกรัม แนวทางการแก้ไขปัญหา จากรายงานการผลิตของกรมการข้าว ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554 มีเมล็ดพันธุ์คงคลังจำนวน 13,130,000 กิโลกรัม และคาดว่าจะมีอีกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 - พฤษภาคม 2555 อีกจำนวน 62,570,000 กิโลกรัม การช่วยเหลือ อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ในพื้นที่เสียหายที่จะได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 4.92 ล้านไร่ จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 49,200,000 กิโลกรัม กรมการข้าวมีเมล็ดพันธุ์เพียงพอให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2

  33. 2.๔ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยด้านข้าว เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ลงมติว่า ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์ อัตรา กรอบวงเงิน และขั้นตอนการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ปี 2554 กรณีพิเศษ ตามที่ กษ. เสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณที่จะดำเนินการเพื่อการนี้ ถ้ามีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเป็นการเร่งด่วนให้ กษ. พิจารณาปรับแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 หรือจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นลำดับแรกก่อน ส่วนที่เหลือให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ปี 2555 ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้ กษ. ตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณก่อนการดำเนินการต่อไป โดยในการดำเนินการดังกล่าวให้ กษ. พิจารณาดำเนินการทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานของทางราชการ โดยพิจารณาถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ รวมทั้งระมัดระวังเรื่องการเบิกจ่ายเงินซ้ำซ้อนและคำนึงถึงระดับความเสียหายของแต่ละพื้นที่ โดยให้เร่งรัดดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายหนักก่อนด้วย

  34. เรื่องเดิม (ต่อ) ๒. ให้ กษ. ประสานงานกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศมาช่วยในการตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายให้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยและ กษ. เร่งให้มีการดำเนินการสำรวจพื้นที่เสียหายของเกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่น้ำลดลงสู่ปกติแล้ว เพื่อให้เกษตรกรได้รับเงินช่วยเหลือรวดเร็วทันกับการเพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้รอบคอบและรัดกุมเพื่อให้เกิดการแอบอ้างใช้สิทธิ รวมทั้งประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรในขณะที่ยังประสบกับปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งหามาตรการเยียวยาอื่น ๆ ภายหลังน้ำลดด้วย และให้กระทรวงการคลังเร่งดำเนินการประกันภัยพืชผลการเกษตรให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกร ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเยียวยาของรัฐบาลในอนาคตด้วย และความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณากำหนดมาตรการเร่งรัดการตรวจสอบความเสียหายและการเร่งจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

  35. เรื่องเดิม (ต่อ) หลักเกณฑ์ อัตรา และขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยปี 2554 กรณีพิเศษ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ 1) การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 กรณีพิเศษ ตั้งแต่เริ่มฤดูฝน ปี 2554 เริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 เนื่องจากการเกิดอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายต่อภาคเกษตร สะสมมาตั้งแต่ต้นฤดูการเพาะปลูกปี 2554 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านพืชกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านประมงกับกรมประมง ด้านปศุสัตว์กับกรมปศุสัตว์ 2) อัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีพิเศษ ด้านพืช ช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ ปี 2554 และช่วยเหลือตามพื้นที่เสียหายจริงร้อยละ 100 * ข้าว อัตราไร่ละ 2,222 บาท * พืชไร่อัตราไร่ละ 3,150 บาท * พืชสวนอื่นๆ อัตราไร่ละ 5,098 บาท

  36. เรื่องเดิม (ต่อ) กรณีพืชสวนอื่น ๆ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตแต่ไม่ตายและยังอยู่ในสภาพพื้นที่ให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ ให้ช่วยในอัตราไร่ละ 2,549 บาท กรณีพื้นที่เกษตรถูกดินทับถม ได้รับความเสียหาย ให้ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 7,000 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ 3) กรอบวงเงินการช่วยเหลือ รวม 8,175.5458 ล้านบาท เฉพาะด้านพืช คิดเป็น 7,741.8994 ล้านบาท พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3.18 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 2.71 ล้านไร่ พืชไร่ 0.38 ล้านไร่ พืชสวนและพื้นอื่น ๆ 0.09 ล้านไร่ คิดเป็น 7,717.8702 ล้านบาท

  37. 2.๕ การสำรวจข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน นำเสนอโดยเจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว

  38. 2.๖ การจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2555 เรื่องเดิม เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จะบังคับใช้ไม่ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไปพลางก่อน เพื่อให้ส่วนราชการ สามารถใช้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยมีวิธีปฏิบัติโดยสังเขป ดังนี้ 1) จัดสรรวงเงินเต็มจำนวน สำหรับค่าใช้จ่ายในงบบุคลากรและงบดำเนินงานที่เบิกจ่ายในลักษณะรายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าตอบแทนพนักงานราชการ และ ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น 2) จัดสรรวงเงินตามความจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สำหรับภารกิจพื้นฐานตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน หรือเพื่อดำเนินงานในกรณีที่มีความจำเป็นหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ 3) การโอนจัดสรรงบประมาณในข้อ 1 และ 2 จะดำเนินการได้ภายหลังสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณแล้ว ทั้งนี้คาดว่าไม่เกินวันที่ 15 ตุลาคม 2554

  39. การดำเนินงาน 1. กรมการข้าวเสนอแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไปพลางก่อน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว ตามหนังสือกรมการข้าวที่ กษ 2602/2210 ลงวันที่ 15 กันยายน 2554 ให้สำนักงบประมาณพิจารณา จำนวน 2 แผนงาน ประกอบด้วย 1) แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ผลผลิตการผลิตสินค้าข้าวได้รับการส่งเสริมและพัฒนา วงเงินทั้งสิ้น 791,601,400 บาท ประกอบด้วย งบบุคลากร 305,250,000 บาท งบดำเนินงาน 482,279,000 บาท งบเงินอุดหนุน 1,572,400 บาท และงบรายจ่ายอื่น 2,500,000 บาท 2) แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นงบดำเนินงาน จำนวน 3,150,000 บาท

  40. การดำเนินงาน (ต่อ) สำนักงบประมาณเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไปพลางก่อน ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0709/24083 ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 พร้อมจัดสรรงบประมาณตามงบรายจ่าย จำนวน 1 ใน 3 ของปี 2554 ยกเว้น งบบุคลากร จัดสรรให้กึ่งหนึ่ง 2. เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรมการข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง กรมการข้าวจึงได้จัดสรรงบประมาณโดยมีแนวทางการจัดสรรงบประมาณปี 2554 ไปพลางก่อน ดังนี้ 1) จัดสรรจากผลการเบิกจ่ายของหน่วยงานจากข้อมูลในระบบ GFMIF ณ วันที่ 31 มกราคม 2554 (รวมวงเงิน PO) 2) จัดสรรตามโครงการ โดยพิจารณาจากข้อมูลแผนการจัดสรรปี 2554 ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 30

  41. การดำเนินงาน (ต่อ) 3) โครงการสำคัญกรมการข้าว 10 โครงการ จะพิจารณาจัดสรรเพิ่มเติมให้หลังจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักได้จัดทำแผนการดำเนินงานที่ชัดแจนแล้ว 4) ผลการประชุมผู้บริหารกรมการข้าว ครั้งที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 มีมติที่ประชุม (1) ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแผนงาน กิจกรรมโครงการสำคัญกรมการข้าว 10 โครงการให้ชัดเจนก่อน และให้ส่งข้อมูลให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว ภายในวันที่ 25 ตุลาคม 2554 เพื่อจะได้บูรณาการกิจกรรมให้เหมาะสม และพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป (2) ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแผนการฝึกอบรม สัมมนา แผนพัฒนาบุคลากร ของทุกโครงการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไปพลางก่อน และให้ส่งข้อมูลให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว ภายในวันที่ 25 ตุลาคม 2554

  42. ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา

  43. 3.1 การเยียวยาช่วยเหลือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน และกลุ่มเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ข้อเสนอเพื่อพิจารณา 1. สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นการเตรียมความช่วยเหลือเยียวยาส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยและเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้หน่วยงานที่กำกับดูแลศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวและศูนย์วิจัยข้าวสำรวจความเสียหายและรวบรวมข้อมูลประกอบ ส่งให้กรมการข้าวพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป 2. เห็นควรให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป

  44. ระเบียบวาระที่ 4 อื่นๆ (ถ้ามี)

  45. 4.1 กฐินกรมการข้าว ปี 2554 ตามที่กรมการข้าวได้จัดงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมการข้าว ประจำปี 2554 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 ณ วัดอ่างทองวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง นั้น ทั้งนี้กรมการข้าวได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานต่างๆทราบแล้ว ซึ่งในส่วนของกรมการข้าวได้แจ้งเชิญชวนให้หน่วยงานในส่วนกลางและศูนย์ 50 ศูนย์ ร่วมบริจาคทรัพย์และทำบุญข้าวสารได้จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554

  46. 4.๒ ชี้แจงมาตรฐานวิธีการทดสอบชนิดข้าวเปลือก นำเสนอโดยคุณกัญญา เชื้อพันธุ์ นักวิชาเกษตรชำนาญพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

  47. สวัสดี

More Related