881 likes | 2.71k Vues
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2) นก . (Computer Network Systems) โดย อ.สมบูรณ์ ภู่พงศกร. บทที่ 5 การเข้ารหัสและการมอดูเลตสัญญาณ. การเข้ารหัสและการมอดูเลตสัญญาณ. การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion).
E N D
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2) นก.(Computer Network Systems) โดย อ.สมบูรณ์ ภู่พงศกร บทที่ 5การเข้ารหัสและการมอดูเลตสัญญาณ
การเข้ารหัสและการมอดูเลตสัญญาณการเข้ารหัสและการมอดูเลตสัญญาณ
การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion)
การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion) ยูนิโพลา (Unipolar) กำหนดให้แรงดันไฟฟ้าที่เป็นศูนย์ใช้แทนบิต 0 นอกนั้นเป็นบิต 1
การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion) ยูนิโพลา (Unipolar) ปัญหาที่เป็นสาเหตุให้มีการใช้วิธีนี้น้อยกว่าวิธีอื่น มี 2 ประการคือ 1.กระแสไฟฟ้ามีค่าความถี่เป็น 0 จะไม่สามารถเดินทางผ่านตัวกลางได้ 2. การทำซิงโครไนต์เซชัน (Synchronization) การที่จะทำให้ฝั่งรับสามารถตรวจจับจุดเริ่มต้นและ สิ้นสุด ในแต่ละบิตได้จะต้องมีการเปลี่ยนบิตข้อมูลโดยการแปลงค่าสัญญาณของแรงดันไฟฟ้าให้แตกต่างกันทุกครั้งของการส่งบิตข้อมูลแต่ละบิต ไม่เช่นนั้นฝั่งรับจะไม่สามารถตรวจจับการเริ่มต้นของบิตถัดไปได้
การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion) ยูนิโพลา (Unipolar) วิธีแก้ปัญหานี้คือ ใช้การแยกสายสัญญาณเป็นแบบคู่ขนาน โดยช่องทางหนึ่งเป็นการพัลต์สัญญาณคลื่นนำใช้สัญญาณนาฬิกาควบคุม และอนุญาตให้อุปกรณ์ฝั่งรับทำการสร้างจังหวะควบคุมเข้ากับสัญญาณคลื่นนำก่อนการส่งข้อมูล แต่วิธีนี้ต้องใช้สายสัญญาณเป็น 2 เท่า ทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย จึงไม่เป็นที่ยอมรับในการใช้งานทั่วไป
การแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital-To-Digital Conversion) • 1.2 โพลา (Polar) • การแปลงรหัสใช้แรงดันไฟฟ้าเป็น 2 ระดับ คือ ค่าบวกและค่าลบ ทำให้ไม่เกิดไฟฟ้ากระแสตรงที่มีค่าความถี่เป็น 0
NRZ ( Nonreturn to zero ) มี 2 แบบ • NRZ-L ( Nonreturn to Zero, Level ) • แรงดันไฟฟ้าบวกแทนบิต 0 แรงดันไฟฟ้าลบ แทนบิต 1 • NRZ-I (Nonreturn to Zero, Invert) • การเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าระหว่างบวกกับลบแทนบิต 1 • ถ้าแรงดันไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงจะแทนบิต 0
RZ ( Return to zero ) encoding สัญญาณจากค่าบวกไปค่าศูนย์(Positive - to - Zero) แทนบิต 1 สัญญาณจากค่าลบไปค่าศูนย์ (Negative - to - Zero) แทนบิต 0
Biphase encoding เป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาการควบคุมจังหวะการส่งและรับสัญญาณสอดคล้องตรงกันได้ดีที่สุด โดยให้สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงกลางของบิตและไม่ให้แรงดันไฟฟ้าตกลงไปที่ 0 แต่ให้ลงไปยังขั้วตรงกันข้าม มี การเข้ารหัส 2 แบบคือ 1. แบบแมนเชสเตอร์ นำมาใช้ในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายLAN แบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) 2. แบบดิฟเฟอเรนต์แมนเชสเตอร์ นำมาใช้ในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายLAN แบบโทเคนริง (Token Ring )
Biphase encoding 1 แมนเชสเตอร์ การเปลี่ยนจากค่าลบไปค่าบวก แทนบิต 1 และจากค่าบวกไป ค่าลบแทนบิต 0 2 ดิฟเฟอเรนต์แมนเชสเตอร์ ใช้จุดเริ่มต้นของช่วงบิตในการแยกแยะบิต ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแทนบิต 0 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแทนบิต 1
Bipolar encoding AMI ( Bipolar Alternate Mark Inversion )
Bipolar encoding AMI ( Bipolar Alternate Mark Inversion ) ระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นศูนย์ที่แทนบิต 0 และการสลับค่าแรงดันไฟฟ้าเป็นค่าบวกและค่าลบ แทนบิต 1
Bipolar encoding AMI ( Bipolar Alternate Mark Inversion ) กรณีที่มีข้อมูลเป็นบิต 0 ต่อเนื่องกันหลาย ๆ บิต ฝั่งรับตรวจจับสัญญาณได้ยาก ซึ่งแก้ปัญหานี้ได้ 2 แบบคือ 1. แบบB8ZS ( Bipolar 8-Zero substitution) ใช้ในแถบอเมริกาเหนือ 2. แบบHDB3 (High-Density bipolar 3 ) ในแถบยุโรปและญี่ปุ่น
Bipolar encoding AMI ( Bipolar Alternate Mark Inversion ) 1. แบบB8ZS ( Bipolar 8-Zero substitution)
Bipolar encoding AMI ( Bipolar Alternate Mark Inversion ) 2.แบบHDB3 (High-Density bipolar 3 )
Analog-To-Digital Conversion 1.PAM (Pulse Amplitude Modulation) วิธีนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลที่เรียกว่า PCM (Pulse code modulation) โดยในขั้นแรกของการแปลงสัญญาณเรียกว่า PAM Pulse (Amplitude Modulation) เป็นเทคนิคที่จะทำการแซมปลิงสัญญาณอนาลอก คือการวัดค่าแอมปลิจูดในแต่ละช่วงที่ห่างเท่า ๆ กัน
Analog-To-Digital Conversion 1.PAM (Pulse Amplitude Modulation) เป็นเทคนิคที่จะทำการแซมปลิงสัญญาณอนาลอก คือการวัดค่าแอมปลิจูดในแต่ละช่วงที่ห่างเท่า ๆ กัน แสดงการแปลงรูปแบบสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณ PAM
Analog-To-Digital Conversion 2. PCM (Pulse code modulation) จะทำการปรับเปลี่ยนสัญญาณพัลส์ (Pulse) ที่ได้จากเทคนิค PAM ให้มาอยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอลที่สมบูรณ์ โดยจะทำการควอนไตซ์ ( Quantizes ) สัญญาณพัลส์จากแบบ PAM กล่าวคือการทำ ควอนไตซ์เซชัน หมายถึงวิธีการกำหนดค่าในแต่ละช่วงของการแซมเปิลสัญญาณอนาลอกออกมาในรูปค่าคงที่ การควอนไตซ์ ( Quantizes ) สัญญาณพัลส์จากแบบ PAM
Analog-To-Digital Conversion 3. กำหนดค่าแซมเปิลสัญญาณและขนาดของการควอนไตซ์ (Quantize) โดยแต่ละค่าจะถูกแปลงเป็น 7 บิต และมีบิตที่ 8 ใช้แสดงค่าเครื่องหมายบวกหรือลบ แสดงค่าแซมเปิลสัญญาณและขนาดของการควอนไตซ์(Quantize)สัญญาณ
Analog-To-Digital Conversion รูปของสัญญาณดิจิตอลแบบยูนิโพลาโดยแสดงผลที่ได้ใน 3 แซมเปิลแรก แสดงผลของการมอดูเลตรหัสพัลส์ให้อยู่ในรูปของสัญญาณแบบ Unipolar
Analog-To-Digital Conversion • เทคนิค PCM จะแยกการกระทำเป็น 4 ขั้นด้วยกันคือ • การทำ PAM • การทำควอนไตซ์เซชัน • การแปลงรหัสเลขฐานสอง • การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล
Analog-To-Digital Conversion แสดงกระบวนการแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลแบบ PCM
อัตราการแซมปลิงสัญญาณ (Sampling Rate) โดยทฤษฎีของไนควิสท์ (Nyquist Theorem ) กำหนดให้ใช้ อัตราการแซมปลิงสัญญาณอย่างน้อยเป็น 2 เท่าของค่าความถี่สูงสุดของสัญญาณต้นฉบับ
อัตราการแซมปลิงสัญญาณ (Sampling Rate) ตัวอย่างที่ 5.3 จงหาค่าอัตราการแซมปลิงสัญญาณ ที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) เท่ากับ 10,000 Hz(1,000 ถึง 11,000 Hz) วิธีทำ อัตราการแซมปลิงสัญญาณเป็น 2 เท่าของค่าความถี่สูงสุดของสัญญาณ ฉะนั้น อัตราการแซมปลิงสัญญาณ = 2 x 11,000 = 22,000 ครั้งต่อวินาที
จำนวนบิตต่อแซมเปิล (Bits per Sample) • การกำหนดว่าจะใช้จำนวนกี่บิตต่อแซมเปิลขึ้นอยู่กับว่าต้องการค่าที่มีความเที่ยงตรงขนาดไหน ถ้าใช้บิตต่อแซมเปิลมากผลที่ใด้ก็จะใกล้กับค่าต้นแบบมากเท่านั้น ตัวอย่างที่ 5.4 ในการแซมเปิลสัญญาณต้องการความเที่ยงตรงในแต่ละแซมเปิลไม่น้อยกว่า 12 ระดับ (+0 ถึง +5 และ –0 ถึง –5 ) จงหาจำนวนบิตที่ส่งในแต่ละแซมเปิล วิธีทำ คำตอบคือ จำนวน 4 บิตต่อแซมเปิล โดยที่ 1 บิตแรกแทนเครื่องหมาย และอีก 3 บิตถัดมาแทนข้อมูล
อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Bit Rate) • คำนวณได้จากสูตร • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล = อัตราการแซมปลิงสัญญาณ X จำนวนบิตต่อแซมเปิล ตัวอย่างที่ 5.6 ในการดิจิไตซ์สัญญาณเสียงของมนุษย์ สมมุติให้เป็น 8 บิตต่อแซมเปิล จงหาอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล วิธีทำ ความถี่เสียงมนุษย์อยู่ระหว่าง 0 ถึง 4000 Hz จะได้ว่า อัตราการแซมปลิงสัญญาณ = 4000 x 2 = 8000 แซมเปิลต่อวินาที อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล = อัตราการแซมปลิงสัญญาณ X จำนวนบิตต่อแซมเปิล = 8000 x 8 = 64,000 bps = 64 Kbps
3.Digital-to-Analog Conversion • การมอดูเลตสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอก
3.Digital-to-Analog Conversion ASK (Amplitude Shift Keying) FSK (Frequency Shift Keying) PSK (Phase Shift Keying) QAM (Quadrature Amplitude Modulation)
3.Digital-to-Analog Conversion • Bit rate • หมายถึงอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล • คือจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งภายใน 1 วินาที หน่วยเป็น bps (bit per second) • Baud rate • คือจำนวนหน่วยของสัญญาณที่ส่งใน 1 วินาที • - Bit rate ใช้เมื่อต้องการทราบว่าในการส่งข้อมูลแต่ละแพ็กเกตจะใช้เวลาเท่าใด • - Baud rate ใช้พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการแบนวิดท์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณ • ถ้ายิ่งมีการใช้สัญญาณจำนวนน้อย ใช้แบนด์วิดท์ (Bandwidth)น้อย แต่ส่งบิตข้อมูลได้มาก หมายถึงว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพดี
3.Digital-to-Analog Conversion • ตัวอย่างที่ 5.6 • ถ้าคลื่นนำของสัญญาณอนาลอกแทนด้วย 4 บิตต่อหนึ่งสัญญาณ ถ้าส่งสัญญาณจำนวน 1000 สัญญาณต่อวินาที จงหาค่า Bit Rate และ Baud Rate • วิธีทำ • Baud rate = จำนวนสัญญาณต่อวินาที = 1000 Baud ต่อวินาที • Bit Rate = Baud Rate x จำนวนบิตต่อสัญญาณ • = 1000 x 4 = 4000 bps
3.Digital-to-Analog Conversion • ตัวอย่างที่ 5.7 • ถ้า Bit Rate ของสัญญาณเป็น 3000 bps ถ้าคลื่นนำในแต่ละสัญญาณ แทนด้วย 6 บิต ต่อหนึ่งสัญญาณ จงหา Baud Rate • วิธีทำ • Baud rate = Bit Rate / จำนวนบิตต่อสัญญาณ • = 3000 / 6 = 500 Buad ต่อวินาที
3.Digital-to-Analog Conversion • สัญญาณแคเรียร์ (Carrier Signal) • ข้อมูลดิจิตอลกับสัญญาณคลื่นนำโดยเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่งคือแอมปลิจูด(Amplitude),ความถี่ (Frequency) และ เฟส (Phase) • การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่าการมอดูเลชัน(Modulation) หรือ Shift Keyingและเรียกสัญญาณข้อมูลว่า สัญญาณมอดูเลต (Modulating Signal)
3.Digital-to-Analog Conversion • 3.1 ASK (Amplitude Shift Keying) • สัญญาณคลื่นนำจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าไปตามการแทนค่าบิต 0 และ 1 • โดยที่ค่าความถี่และค่าเฟส มีค่าคงที่ ในขณะที่ค่าแอมปลิจูดมีการเปลี่ยนแปลง
3.Digital-to-Analog Conversion • 3.1 ASK (Amplitude Shift Keying) • ค่าแบนวิดท์ของสัญญาณแบบ ASK คือ • ค่าที่อยู่ในช่วง fc – Nbaud /2 และ fc + Nbaud /2 • เมื่อ fc หมายถึงสัญญาณแคเรียร์ ที่อยู่กลางช่วงความถี่
3.Digital-to-Analog Conversion • 3.1 ASK (Amplitude Shift Keying) • การหาค่าแบนวิดท์ ในแบบ ASK สามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้ • BW = (1+d ) x Nbaud => BW = Nbaud เมื่อ d= 0 • เมื่อ BWหมายถึงค่าแบนวิดท์ (Bandwidth ) • Nbaud หมายถึง Baud Rate • d หมายถึงองค์ประกอบที่ขึ้นอยู่กับสายสัญญาณ (ค่าต่ำสุดเท่ากับ 0) • จะเห็นว่าค่าแบนวิดท์ต่ำสุดที่ต้องการใช้ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับค่า Baud Rate และสัญญาณแคเรียร์มีเพียงความถี่เดียว แต่กระบวนการมอดดูเลตสัญญาณจะเป็นสัญญาณเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมของสัญญาณหลาย ๆ สัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกัน
3.Digital-to-Analog Conversion • 3.1 ASK Bandwidth = Baud Rate ตัวอย่างที่ 5.8 จงหาค่าแบนด์วิทด์ต่ำสุดของการส่งสัญญาณแบบASK ด้วยอัตราเร็ว 2000 Bps ในโหมดการสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา วิธีทำ ใน ASK จะได้ว่า Buad Rate เท่ากับ Bit Rate ฉะนั้นจะได้ว่า Baud Rate เท่ากับ 2000 และค่าแบนวิดท์ต่ำสุดที่ต้องการใช้ในการส่งข้อมูลเท่ากับค่า Baud Rate นั่นคือ ค่าแบนวิดท์ต่ำสุดของการส่งสัญญาณแบบ ASK เท่ากับ 2000 Hz
3.Digital-to-Analog Conversion • 3.1 ASK Bandwidth = Baud Rate ตัวอย่างที่ 5.9 กำหนดค่าแบนด์วิทด์ของการส่งสัญญาณแบบ ASK เท่ากับ 5000 Hz จงหาค่า Buad Rate และ Bit Rate วิธีทำ ใน ASK จะได้ว่า Buad Rate เท่ากับ ค่าแบนด์วิดท์ ฉะนั้นจะได้ว่า Buad Rate เท่ากับ 5000 แต่ค่า Buad Rate เท่ากับ Bit Rate จะได้ว่า Bit Rate เท่ากับ 5000 Bps
3.1 ASK Bandwidth = Baud Rate ตัวอย่างที่ 5.10 กำหนดค่าแบนวิดท์ของการส่งสัญญาณแบบ ASK เท่ากับ 10,000 Hz (1,000 Hz ถึง11,000 Hz) จงหาค่าความถี่แคเรียร์และค่าแบนด์วิดท์ของการส่งสัญญาณในโหมดการสื่อสารสองทางเต็มอัตราในแต่ละทิศทางโดยสมมุติว่าไม่มีช่องว่างของความถี่ (Gap) ระหว่างช่องสัญญาณ วิธีทำ การส่งในโหมดฟูลดูเฟล็กซ์ แบบ ASK ค่าแบนวิดท์ ในแต่ละทิศทางคือ BW = 10,000 / 2 = 5000 Hz คลื่นความถี่แคเรียร์ คือค่าความถี่อยู่ตรงกลางของแต่ละช่องสัญญาณ จะได้ว่า fc(Forward) = 1000 + 5000/2 = 3500 Hz fc(Backward) = 11,000 - 5000/2 = 8500 Hz
3.1 ASK Bandwidth = Baud Rate วิธีทำ การส่งในโหมดฟูลดูเฟล็กซ์ แบบ ASK ค่าแบนวิดท์ ในแต่ละทิศทางคือ BW = 10,000 / 2 = 5000 Hz คลื่นความถี่แคเรียร์ คือค่าความถี่อยู่ตรงกลางของแต่ละช่องสัญญาณ จะได้ว่า fc(Forward) = 1000 + 5000/2 = 3500 Hz fc(Backward) = 11,000 - 5000/2 = 8500 Hz
3.2 FSK (Frequency Shift Keying) ค่าความถี่จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าบิตข้อมูล 0 และ 1 โดยที่ค่าความถี่ในแต่ละช่วงสัญญาณคงที่ และทั้งค่าแอมปลิจูดและค่าเฟส คงที่
3.2 FSK BW = Baud Rate + ( fc1 - fc0 ) ตัวอย่างที่ 5.11 จงหาค่าแบนด์วิดท์ต่ำสุดของการส่งสัญญาณที่เข้ารหัสแบบ FSK ด้วยอัตราเร็ว 2000 Bps ในโหมดการส่งแบบการสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา โดยที่ความแตกต่างของสัญญาณแคเรียร์เท่ากับ 3000 Hz วิธีทำ ใน FSK ถ้า fc1 และ fc0 เป็นสัญญาณแคเรียร์ จะได้ว่า ค่าแบนวิดท์คือ BW = Baud Rate + ( fc1 - fc0 ) เพราะว่า Buad Rate เท่ากับ Bit Rate ดังนั้นจะได้ว่าแบนวิดท์คือ BW = Bit Rate + ( fc1 - fc0 ) = 2000 + 3000 = 5000 Hz
3.2 FSK BW = Baud Rate + ( fc1 - fc0 ) ตัวอย่างที่ 5.12 จงหาอัตราเร็วสูงสุดของการส่งสัญญาณที่เข้ารหัสแบบ FSK ถ้าค่าแบนด์วิดท์ของตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลเป็น 12,000 Hz และความแตกต่างระหว่างสัญญาณ แคเรียร์อย่างน้อยที่สุดเท่ากับ 2000 Hz ในโหมดการส่งแบบการสื่อสารสองทางเต็มอัตรา วิธีทำ เพราะว่าในโหมดการส่งแบบการสื่อสารสองทางเต็มอัตรา จะใช้แบบด์วิดท์ในแต่ละทิศทางเท่ากับ 12000/2 = 6000 Hz ใน FSK ถ้า fc1 และ fc0 เป็นสัญญาณแคเรียร์ จะได้ว่า ค่าแบนวิดท์คือ BW = Baud Rate + ( fc1 - fc0 ) Baud Rate = BW - ( fc1 - fc0 ) = 6000 – 2000 = 4000 และเพราะว่า Buad Rate เท่ากับ Bit Rate ดังนั้นจะได้ว่าอัตราเร็วสูงสุดคือ 4000 Bps
3.3 PSK (Phase Shift Keying) ใน PSK ค่าเฟสจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าบิตข้อมูล 0 และ 1 ส่วนค่าแอมปลิจูดสูงสุดและค่าความถี่คงที่ ในขณะที่ค่าเฟสเปลี่ยนแปลง
3.3 PSK (Phase Shift Keying) แสดงวิธีที่เรียกว่า 2-PSK หรือ Binary PSK เพราะว่ามีการใช้ค่าเฟสแตกต่างกัน 2 ระดับคือ 0 และ 180 องศา
3.3 PSK (Phase Shift Keying) แสดงการมอดูเลตแบบ 4-PSK
3.3 PSK (Phase Shift Keying) แสดงการมอดูเลตแบบ 8-PSK
3.3 PSK (Phase Shift Keying) ค่าแบนด์วิดท์ต่ำสุด = Baud Rate Bit Rate ของ PSK จะเท่ากับหรือมากกว่า PSK ขึ้นอยู่กับการใช้เทคนิคการมอดูเลตสัญญาณ
3.3 PSK (Phase Shift Keying) ค่าแบนด์วิดท์ต่ำสุด = Baud Rate Bit Rate ของ PSK จะเท่ากับหรือมากกว่า PSK ขึ้นอยู่กับการใช้เทคนิคการมอดูเลตสัญญาณ