1 / 19

บทที่ 11

บทที่ 11. พฤติกรรมรวมหมู่ และขบวนการทางสังคม (Collective Behavior & Social Movement). พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันทางสังคมและมีพฤติกรรมกลุ่มเกิดขึ้น อาทิเช่น ฝูงชน ม็อบ จลาจล หรือ Fad ข่าวลือ ฝูงชนตื่นตระหนก สาธารณะชน และการเกิดขึ้นของขบวนการสังคม.

essien
Télécharger la présentation

บทที่ 11

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 11 พฤติกรรมรวมหมู่ และขบวนการทางสังคม (Collective Behavior & Social Movement)

  2. พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันทางสังคมและมีพฤติกรรมกลุ่มเกิดขึ้น อาทิเช่น ฝูงชน ม็อบ จลาจล หรือ Fad ข่าวลือ ฝูงชนตื่นตระหนก สาธารณะชน และการเกิดขึ้นของขบวนการสังคม

  3. ลักษณะของพฤติกรรมรวมหมู่บางประเภท พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลเป็นไปเอง (spontaneous) ไม่มีการเตรียมการหรือวางแผนที่จะให้เกิดพฤติกรรมร่วมกัน โครงสร้างของกลุ่มเป็นแบบหลวม ๆ (unstructured) สมาชิกมีอารมณ์พร้อมที่จะกระตุ้นให้โกรธ แสดงความรุนแรงได้ตลอดเวลา (emotional) ในแต่ละสังคมมีพฤติกรรมรวมหมู่มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของสังคม

  4. นักสังคมวิทยา สร้างทฤษีที่อธิบายถึงพฤติกรรมรวมหมู่ (Precondition of collective behavior) เอาไว้ว่า พฤติกรรมรวมหมู่เป็นพฤติกรรมที่มีสาเหตุ มิใช่เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล สาเหตุของพฤติกรรมรวมหมู่จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคม และการสะสมความเครียดภายในสังคม ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่

  5. ทฤษฎีของ Smelser สรุปขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่เป็น 6ขั้น ได้แก่ 1.โครงสร้างสังคมที่เอื้อ Structural conduciveness 2.ความเครียดอันเกิดจากโครงสร้างสังคม Structural strain 3.การแพร่กระจายความเชื่อ Generalized belief

  6. 4.ปัจจัยกระตุ้น Precipitating factors 5.การมีพฤติกรรมรวมหมู่ของฝูงชน Mobilization for action 6.การเข้าควบคุมขององค์กรต่าง ๆ ภายในสังคม Operation of social control

  7. แบบของพฤติกรรมรวมหมู่ แบ่งได้ 2 แบบดังนี้ 1.พฤติกรรมรวมหมู่ในพื้นที่จำกัด (Spatially Proximate Collective Behaviors) หรือฝูงชน (Crowds) 2.พฤติกรรมรวมหมู่แบบกระจาย (Spatially Diffuse Collective Behaviors)

  8. 1.พฤติกรรมรวมหมู่ในพื้นที่จำกัด/ฝูงชน1.พฤติกรรมรวมหมู่ในพื้นที่จำกัด/ฝูงชน ลักษณะเด่นได้แก่ การที่กลุ่มคนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แลเห็นกายกันได้ มีจุดสนใจร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันมาก่อน การรวมกลุ่มแบบหลวม ๆ เมื่อความสนใจหมดไปกลุ่มก็จะสลายไปเอง

  9. Jonathan H. Turner (1978) อธิบายลักษณะเด่นของฝูงชนไว้เป็นลำดับดังนี้ 1.ฝูงชนจะมีภาวะนิรนาม (Anonymity) 2.มีการชักจูงง่าย (Suggestible) 3.มีการแพร่ระบาดพฤติกรรม (Contagion/Interactional Amplification) 4.อารมณ์ถูกกระตุ้นได้ง่าย (Emotional Arousal)

  10. Herbert Blumer (1939) จำแนกฝูงชน ออกเป็น 4 แบบคือ 1.ฝูงชนบังเอิญ (Casual crowds) 2.ฝูงชนชุมนุมกัน (Conventional crowds) 3.ฝูงชนแสดงออก (Expressive crowds) 4.ฝูงชนลงมือทำ (Acting crowds)

  11. 2.พฤติกรรมรวมหมู่แบบกระจาย(Spatially Diffuse Collective Behaviors) แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1.มวลชน (mass) 2.สาธารณชน หรือ มหาชน (publics)

  12. มวลชน หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกและความสนใจในบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน สมาชิกของมวลชนไม่จำเป็นต้องมารวมกันในสถานที่แห่งเดียวกันโดยใกล้ชิด และไม่มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันหรือมีเพียงผิวเผิน

  13. ไม่มีความรู้สึกเป็นกลุ่ม มีอิสระในการแสดงพฤติกรรม ไม่มีบรรทัดฐานเฉพาะกลุ่ม เช่น สมาชิกนิตยสาร กลุ่มคนที่สะสมแสตมป์ กลุ่มคนที่นิยมรถโฟลก์เต่า เป็นต้น

  14. พฤติกรรมมวลชนที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ได้แก่ แฟชั่น (fashions) หมายถึง วิถีประชาระยะสั้น แต่มีการหมุนเวียนกลับมาปฏิบัติใหม่อีก เช่น การนุ่งกระโปรงสั้น กระโปรงยาว เป็นต้น พฤติกรรมอีกประเภทซึ่งคล้ายกันได้แก่ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ (fads) แตกต่างจากแฟชั่นตรงที่ไม่มีการหมุนเวียนกลับไปกลับมา เช่น การคลั่งดอกทิวลิปในยุโรปช่วงหนึ่ง ความนิยมโป่งขามในอดีตหรือหินสีในปัจจุบัน ของไทย

  15. สาธารณชน หรือ มหาชน (publics) หมายถึง กลุ่มประชาชนซึ่งมีความสนใจและไม่เห็นด้วยกับประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่ต้องการการอภิปราย หรือมีข้อโต้แย้ง

  16. สาธารณชนไม่มีความรู้สึกเป็นกลุ่ม ไม่มีบรรทัดฐานของกลุ่ม ความคิดเห็นเป็นไปโดยเสรี การปฏิสัมพันธ์กันไม่มากนักหรือไม่มีเลย บางครั้งปฏิสัมพันธ์ผ่านทางสื่อ เช่น วิทยุ คอลัมน์หนังสือพิมพ์

  17. ขบวนการสังคม (Social Movement)

  18. ขบวนการสังคม หมายถึง การรวบรวมความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานค่านิยมให้แก่สังคมใหม่ ขบวนการสังคมเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกสังคมที่มีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน บางขบวนการอาจล้มเลิกไปก่อนที่เป้าหมายของขบวนการจะบรรลุ แต่บางขบวนการแม้เมื่อเป้าหมายบรรลุแล้ว ขบวนการก็ยังดำเนินต่อไป และขยายเป้าหมายใหม่ในการดำเนินการ

  19. Blumer ได้อธิบายขั้นตอนการเกิดขบวนการสังคมออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. สังคมมีความวุ่นวาย 2. ประชาชนตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหาความวุ่นวายนั้น 3. ประชาชนรวมตัวเป็นองค์กรเพื่อแก้ปัญหา และ ขั้นสุดท้าย 4. องค์กรกลายสภาพเป็นสำนักงานที่มีการทำงานเป็นระบบและกลายเป็นสถาบันสังคม

More Related