1 / 37

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development). การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development) เป็นการสร้างระบบใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการ

greta
Télécharger la présentation

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

  2. การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development) เป็นการสร้างระบบใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการ วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน

  3. วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) • Waterfall SDLC • Adapted Waterfall SDLC • Evolutionary SDLC • Incremental SDLC • Spiral SDLC

  4. Waterfall SDLC Feasibility Study 1 System Investigation 2 System Analysis 3 System Design 4 Implementation ใช้ในการพัฒนาระบบที่ตายตัวอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะไม่สามารถกลับมาแก้ไข - ข้อผิดพลาดได้ 5 6 Review and Maintenance

  5. Adapted Waterfall SDLC Project Identification And Selection 1 Project Initiating And Planning 2 Analysis 3 Logical Design 4 Physical Design 5 ปรับปรุงมาจาก Waterfall SDLC ให้สามารถกลับมาแก้ไขข้อผิดพลาดใน แต่ละ Phase ได้ 6 Implementation 7 Maintenance

  6. Analysis Analysis Analysis Design Design Design Implementation Implementation Implementation Evolutionary SDLC Product 1 Product 2 Product 3 ระบบพัฒนาขึ้นจากข้อดี – ข้อเสียที่พบของ - แต่ละรอบของการพัฒนา

  7. Analysis Analysis Analysis Design Design Design Implementation Implementation Implementation Incremental SDLC Part 3 Part 2 Part 1 Part 2 Part 1 Part 1

  8. Spiral SDLC ออกแบบ สร้างต้นแบบรอบที่ 4 สร้างต้นแบบรอบที่ 3 สร้างต้นแบบรอบที่ 2 ทดสอบและประเมินผล วิเคราะห์และออกแบบระบบ สร้างต้นแบบรอบที่ 1 Plan first iteration วางแผน

  9. Planning Phase Analysis Phase Design Phase Planning Phase A Adapted Waterfall SDLC

  10. Project Indentification and Selection Project Initiating and Planning Analysis Logical Design Physical Design B Implementation Maintenance

  11. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification) - ค้นหาโครงการพัฒนาระบบ - จำแนกและจัดลำดับโครงการ - เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุด 2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning) - เริ่มต้นโครงการ - เสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน - วางแผนโครงการ

  12. 3. วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) - ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม - กำหนดความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ - จำลองแบบขั้นตอนการทำงาน - อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบ - จำลองแบบข้อมูล 4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic Design) - ออกแบบแบบฟอร์มข้อมูลและรายงาน - ออกแบบ User Interface - ออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ 5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) - ออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ - ออกแบบ Application

  13. 6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) - เขียนโปรแกรม - ทดสอบโปรแกรม - ติดตั้งระบบ - จัดทำเอกสาร - ฝึกอบรม - บริการให้ความช่วยเหลือหลังติดตั้ง 7. การซ่อมบำรุงระบบ ( System Maintenance) - เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ - วิเคราะห์ข้อมูลคำร้องขอเพื่อการปรับปรุง - ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง - ปรับปรุง

  14. หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 1. คำนึงถึงผู้ใช้ระบบและเจ้าของระบบ 2. พยายามเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด 3. การกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการทำงาน 4. กำหนดมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบและจัดทำเอกสารประกอบในทุกขั้นตอน 5. การพัฒนาระบบคือ การลงทุน 6. เตรียมความพร้อมหากโครงกการถูกยกเลิกหรือทบทวนใหม่ 7. แตกระบบใหญ่ให้เป็นระบบย่อย 8. ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงในอนาคต

  15. แนวทางการพัฒนาระบบ แนวทางหรือระเบียบวิธี (Methodology) เป็นวิธีการนำกระบวนการความคิดของวงจรการ พัฒนาระบบมาปฏิบัติแล้วทำให้เป็นระบบสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้งานได้โดยการกำหนดขั้นตอนที่ใช้ สำหรับการพัฒนาระบบ

  16. methodology Model Tools Techniques

  17. แบบจำลอง (Model) สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบในด้านต่างๆ เช่น กระบวนการ ผลลัพธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล อุปกรณ์ ต่างๆ ซึ่งการทำแบบจำลองนิยมทำเสนอข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบภาพ แผนภาพ แผนภูมิ หรือแบบอื่นๆ เช่น

  18. Model Flowchart Gannt Chart PERT Diagram Context Diagram Data Flow Diagram Entity Relationship Diagram Data Base Model Class Diagram Use Case Diagram

  19. เครื่องมือ (Tools) เครื่องมือที่ใช้สำหรับพัฒนาระบบ หมายถึงซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ช่วยสร้างหรือทำแบบจำลอง ช่วยทำแบบฟอร์ม หรือช่วยทำรายงาน รวมทั้งสามารถช่วยสร้างรหัส(Coding) โปรแกรมให้โดยอัตโนมัติเช่น

  20. Tools Project Management Program Word Processing Program Text Editor CASE / Computer-Aided Software Engineering Report Generator Program Code Generation Program

  21. เทคนิค (Techniques) แนวทางหรือวิธีการที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆของการพัฒนาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

  22. Techniques Interview Technique Project Management Technique Structured Design Technique Structured Program Technique Program Test Technique

  23. 1. Structure Analysis and Design : SAD • แบ่งการทำงานเป็นขั้นตอนคือ • การวิเคราะห์ระบบปัจจุบัน (Analysis of the Current System) • แสดงคุณลักษณะทางธุรกิจ (Detailed Business Specification) • ออกแบบข้อมูลทางตรรกะ (Logical Data Design) • ออกแบบกระบวนการทางตรรกะ (Logical Process Design) • ออกแบบทางกายภาพ (Physical Design)

  24. Structure Analysis and Design : SAD • ข้อดี คือสามารถสร้างระบบได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ • ข้อเสีย คือ จะใช้เวลานานในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบ

  25. 2. Rapid Application Development : RAD • สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ • การวางแผนกำหนดความต้องการ (Requirements Planning) • การออกแบบผู้ใช้ (User Design) • การสร้าง (Construction) • การตัดถ่าย (Cutover)

  26. เปรียบเทียบขั้นตอนการทำงานระหว่าง SDLC และ RAD การวางแผนกำหนดความต้องการ การออกแบบผู้ใช้ การสำรวจเบื้องต้น การสร้าง การวิเคราะห์ การตัดถ่าย การออกแบบทางตรรกะ การออกแบบทางกายภาพ การทำให้เกิดผล การบำรุงรักษา

  27. การพัฒนาแบบรวดเร็ว (Rapid Application Development : RAD) • ข้อดี • สามารถพัฒนาระบบได้อย่างรวดเร็ว (Increased Speed) • เพิ่มคุณภาพ/คุณลักษณะ (Increased Quality • ข้อเสีย • การลดขนาดระบบลง (Reduced Scalability) มีความยืดหยุ่นน้อยลงเนื่องจากพัฒนาจากต้นแบบ • คุณลักษณะลดลง (Reduced Features) เนื่องจากถูกจำกัดด้วยเวลาจึงอาจได้ระบบที่ไม่สมบูรณ์

  28. 3. Objected-Oriented Analysis and Design : OOAD • เป็นการพัฒนาระบบที่มุ่งเน้นไปที่ Object เพื่อแก้ไขปัญหาของระบบงาน โดยประกอบด้วยข้อมูล 3 ลักษณะ คือ Object, Properties, Method • ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ • การวิเคราะห์เชิงวัตถุ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา และหาทางแก้ปัญหา • การออกแบบเชิงวัตถุ เป็นการออกแบบหรือสร้างแบบจำลอง • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เป็นการนำแบบจำลองมาพัฒนาเป็นโปรแกรม

  29. What is CASE Tools? • CASE Tools ย่อมาจาก Computer-Aided Software Engineering Tools • CASE คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยในการพัฒนาระบบ คอยสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนา ด้วยการเตรียมฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ ที่ทำให้การทำงานแต่ละขั้นตอนมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น

  30. เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ CASE Toolsเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็ว มีมาตรฐาน และคุณภาพดียิ่งขึ้น

  31. What is CASE can do? • Context Diagram • Flowchart • E-R Diagram • Report • Form • Source Code • etc.

  32. การเลือกใช้ CASE Tools 1. Upper CASE Tools 2. Lower CASE Tools

  33. Upper-CASE • เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนต้น ๆ ของการพัฒนาระบบ ได้แก่ • ขั้นตอนการวางแผน • ขั้นตอนการวิเคราะห์ • ขั้นตอนการออกแบบ

  34. Upper CASE Tools

  35. Lower-CASE • เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนสุดท้ายในการพัฒนาระบบ ได้แก่ • ขั้นตอนการพัฒนาและทดสอบ • ขั้นตอนการให้บริการหลังติดตั้งระบบ

  36. Lower CASE Tools

  37. แบบฝึกหัด วงจรพัฒนาระบบคืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการวิเคราะห์และออกแบบเชิงโครงสร้าง (SAD) และ การพัฒนาระบบแบบรวดเร็ว (RAD) สมมติว่า ระบบงานของร้านขายดอกไม้แห่งหนึ่ง มีกิจกรรมเกี่ยวกับการขายดอกไม้สดชนิดต่างๆ และบริการส่งสินค้าให้กับลูกค้า ยังคงดำเนินการด้วยมืออยู่ เช่น การจดบันทึกค่าใช้จ่าย รายการสั่งซื้อดอกไม้ลงสมุดบันทึก เจ้าของร้านมีความต้องการที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้งานแทนระบบเดิม โดยให้ท่านเป็นหัวหน้าทีมพัฒนา จะมีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาระบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามีอย่างไรบ้าง (แบ่งกลุ่ม 4 คนทำในห้องบรรยายพร้อมนำเสนอ)

More Related