1 / 27

Planar Chromatography

Planar Chromatography. อ.พุทธรักษา วรานุศุภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Planar Chromatography. เป็นเทคนิคทางโครมาโทกราฟีที่มีรูปแบบของการบรรจุหรือวางตัวของเฟสคงที่แบบแผ่นเรียบ (Planar Chromatography) เฟสคงที่และเฟสเคลื่อนที่ใน Planar Chromatography

hea
Télécharger la présentation

Planar Chromatography

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Planar Chromatography อ.พุทธรักษา วรานุศุภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. Planar Chromatography • เป็นเทคนิคทางโครมาโทกราฟีที่มีรูปแบบของการบรรจุหรือวางตัวของเฟสคงที่แบบแผ่นเรียบ (Planar Chromatography) • เฟสคงที่และเฟสเคลื่อนที่ใน Planar Chromatography • เฟสคงที่: ติดอยู่บนแผ่นเรียบหรือในรูพรุนของกระดาษ • เฟสเคลื่อนที่: เคลื่อนผ่านเฟสคงที่ด้วยแรงแคพิลลารี (capillary action) หรือแรงโน้มถ่วง (gravity) • เทคนิคทาง Planar Chromatography • Paper Chromatography (PC) – ง่ายที่สุดในโครมาโทกราฟี • Thin-Layer Chromatography (TLC) เฟสคงที่ flat plate

  3. Why Planar Chromatography? • เป็นเทคนิคที่ง่าย • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ซับซ้อน • ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ไม่สูง • เวลาที่ใช้ในการแยกไม่นานมาก • มีความไวในการวิเคราะห์ (sensitivity) พอสมควร • สามารถทำวิเคราะห์สารตัวอย่างได้หลายๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

  4. เทคนิคของ Planar Chromatography • Paper Chromatography (PC) • ใช้กระดาษกรองซึ่งเป็นพวกเซลลูโลสเป็นเฟสคงที่ • ขนาดรูพรุนของกระดาษกรองเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวทำละลาย (เฟสเคลื่อนที่) • กระดาษที่มีรูพรุนน้อยหรือละเอียดมากจะทำให้การเคลื่อนที่ของตัวทำละลายช้า และเกิดการแยกที่ดี • กระดาษที่หนาจะทำให้มีความจุของสารตัวอย่างเพิ่มขึ้น – เหมาะกับงานด้าน preparative separation • Thin Layer Chromatography (TLC) • ทำการยึดเฟสคงที่บนแผ่นเรียบ เช่น แผ่นกระจก อะลูมิเนียม หรือพลาสติก • องค์ประกอบของแผ่น TLC • Support – แผ่นเรียบที่ใช้ยึดเฟสคงที่ • เฟสคงที่ (Sorbent) • ตัวยึด (Binder) – เพิ่มความแข็งแรงของการยึดติดเฟสคงที่กับแผ่นเรียบ (มีหรือไม่มีก็ได้) • Fluorescent indicator (มีหรือไม่มีก็ได้)

  5. การแยกโดย Planar Chromatography • อาศัยความแตกต่างในการเคลื่อนที่ของสารผ่านเฟสคงที่บนแผ่นเรียบหรือรูพรุนของแผ่นกระดาษ • กลไกของการแยกใน Planar Chromatography • การดูดซับ (Adsorption): กลไกที่ใช้มากที่สุด • การแพร่ (Partition) • การแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange) • อัตราการเคลื่อนที่ของสารบอกด้วยค่า retardation factor (Rf)

  6. Retardation Factor, Rf Solvent front Mid-point of substance zone จุดเริ่มต้น • บอกอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนแผ่นเรียบ ซึ่งเท่ากับอัตราการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของสาร • ค่า Rf คำนวณจากอัตราส่วนของระยะทางที่สารเคลื่อนที่กับระยะทางที่เฟสเคลื่อนที่เคลื่อนไป ดังนั้น ค่า Rfจะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 เท่านั้น

  7. ธรรมชาติของตัวดูดซับ (sorbents) ธรรมชาติทางเคมี ขนาดของอนุภาคและพื้นที่ผิว ตัวยึด (binder) ธรรมชาติของเฟสเคลื่อนที่ ความบริสุทธิ์ ความถูกต้องของส่วนผสม ความชื้น (humidity) การระเหย การยึดตัวดูดซับกับแผ่นเรียบ Activity ของตัวดูดซับ ความหนาของตัวดูดซับ ความสม่ำเสมอของการยึด อุณหภูมิ ปริมาณของสารตัวอย่างที่ใช้ สมดุลของความดันไอของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่นเรียบกับบรรยากาศในถัง (chamber) ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่า Rf

  8. Thin Layer Chromatography (TLC) องค์ประกอบของแผ่น TLC • Support: แผ่นเรียบที่ใช้ยึดเฟสคงที่ • ควรมีความแข็งแรง ไม่ว่องไวและทนต่อตัวทำละลายที่ใช้เป็นเฟสเคลื่อนที่ และมีความสม่ำเสมอของพื้นผิว • วัสดุที่ใช้ เช่น แผ่นกระจก อะลูมิเนียม หรือพลาสติก • ตัวดูดซับ (Sorbent): เฟสคงที่ที่ใช้ • สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ชนิดของสารที่ต้องการแยก เทคนิคในการตรวจวัด ความหนาและความเสถียรของชั้นที่เคลือบ และชนิดของเฟสเคลื่อนที่ • ตัวยึด (Binder) – เพิ่มความแข็งแรงของการยึดติดเฟสคงที่กับแผ่นเรียบ (มีหรือไม่มีก็ได้) • Fluorescent indicator - ช่วยการตรวจหาสารหลังการแยก (มีหรือไม่มีก็ได้)

  9. ตัวดูดซับ (Sorbents) ชนิด Polar Inorganic • ลำดับการเคลื่อนที่ของสาร (elution) จะขึ้นอยู่กับ polarity/polarizability ของหมู่ functional groups ของสารเป็นหลัก • สามารถเลือกใช้ตัวเฟสเคลื่อนที่ได้หลายชนิดเพราะมีความเสถียรสูง • ข้อเสีย: • มี selectivity ที่ต่ำในการแยกสารบางกลุ่ม เช่น การแยกสารที่ใน homologues series • สารตัวอย่างที่มีความมีขั้วสูงอาจยึดกับตัวดูดซับได้แข็งแรงเกินไป ทำให้ยากต่อการชะสาร (ทำให้สารเคลื่อนที่) ชนิด Non-polar Bonded Phases • A reversed-phase system • ข้อดี: • เป็นการ screening เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการแยกโดยคอลัมน์โครมาโทกราฟีได้ • เมื่อเปลี่ยนองค์ประกอบหรือสัดส่วนของเฟสเคลื่อนที่ มีผลต่อค่าการแยก (Rf) และรูปร่างของจุดสารที่ได้จากการแยกมาก • มีความถูกต้องของการทำซ้ำ (reproducibility) ที่ดี

  10. ตัวดูดซับ (Sorbent) ที่ใช้ใน TLC Mostly use Limited use Reverse phase mode

  11. ตัวยึด (Binders) และ Florescent Indicators • ไม่จำเป็นต้องมี • ตัวยึดที่นิยมใช้ เช่น Calcium sulfate (gypsum), Silicon dioxide, แป้ง หรือ polyesters • ข้อดีของการมีตัวยึด: ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความคงทน และการแตกร้าวของชั้นเคลือบของเฟสคงที่ • ข้อเสียของการมีตัวยึด: ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูดซับสารของเฟสคงที่ และลักษณะการแยกสารเมื่อใช้ support ที่แตกต่างกัน • Florescent Indicators ช่วยให้มองเห็นสารที่ไม่มีสีในแผ่นเรียบหลังการแยก (visualization) โดยอินดิเคเตอร์ที่นิยมใช้มี 2 แบบ Short-wave UV light (254 nm) และ Long-wave UV light (366 nm)

  12. Florescent Indicators • Long-wave UV light (366 nm): สารจะเห็นเป็นจุดสีสว่างซึ่งเกิดได้หลายสี บนพื้นที่มืดของแผ่น TLC เมื่อทำการส่องด้วยแสงยูวี • Short-wave UV light (254 nm): สารจะเห็นเป็นจุดสีดำบนพื้น fluorescence สีเขียวสว่างของแผ่น TLC เมื่อทำการส่องด้วยแสงยูวี

  13. เฟสเคลื่อนที่ใน Planar Chromatography • ตัวทำละลายที่ดีในการทำ Planar Chromatography • มีความบริสุทธิ์สูง ไม่ทำปฏิกิริยากับสารและชั้นของเฟสคงที่ มีจุดเดือดต่ำ (เพื่อสะดวกขั้นตอนการทำให้แห้ง) มีความสามารถในการรวมกันได้ (miscibility) ในกรณีที่ใช้ตัวทำละลายผสม ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ • เฟสเคลื่อนที่ในระบบ Normal phase (Non-polar MP with a polar SP) • ใช้ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วซึ่งอาจเติม polar modifier เพื่อช่วยควบคุมความแรงของการชะและ selectivity ของการแยก • การเพิ่ม polarity ของตัวทำละลาย จะทำให้ความแรงในการชะของเฟสเคลื่อนที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า Rfมากขึ้น • เฟสเคลื่อนที่ในระบบ Reversed phase (Polar MP with a non-polar SP) • นิยมใช้สารละลายผสมของน้ำกับ organic modifier เช่น methanol, acetonitrile, tetrahydrofuran • ความสามารถในการชะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ organic modifier หรือลด polarity ของ organic modifier

  14. หลักการหาเฟสเคลื่อนที่ (Solvent Optimization) • จากข้อมูลที่มีการตีพิมพ์ • การลองผิดลองถูก (trial-and-error) • โดยใช้ประสบการณ์ที่เคยทำมา • ใช้ข้อมูลความแรงของตัวทำละลาย • จากการทำ Model หรือการคาดคะเนทางทฤษฏี

  15. ขั้นตอนการทำ Planar Chromatography

  16. การเตรียมแผ่น • ใน PC: ใช้กระดาษกรองซึ่งเป็นพวกเซลลูโลส • กระดาษกรองที่ใช้จะต้องเก็บในที่ที่มีการควบคุมความชื้น เนื่องจากปริมาณน้ำในเซลลูโลสจะเป็นตัวกำหนดลักษณะการแยกของกระดาษกรอง • ใน TLC: เคลือบของแข็งของเฟสคงที่กับแผ่นเรียบ เช่น กระจก อะลูมิเนียมหรือแผ่นพลาสติก • การเคลือบของแข็งของเฟสคงที่กับแผ่นจะต้องเรียบ (smooth) และสม่ำเสมอ (uniform layer) • การเคลือบทำโดยนำเฟสคงที่ใส่น้ำหรือตัวทำละลายให้เป็น slurry แล้วนำไปเคลือบบนแผ่น หลังจากนั้นทำให้แห้งในอากาศ แล้วนำไปอบให้แห้งอีกครั้ง • การเคลือบแผ่นเรียบทำได้หลายวิธี โดยที่นิยมทำมากที่สุด คือ การแผ่กระจาย (Spreading) ซึ่งมีวิธีการที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก

  17. Spreading Technique • ความถูกต้องของการทำซ้ำ (reproducibility) ดีและสามารถปรับความหนาของชั้นที่เคลือบได้ง่าย • ขั้นตอนในการเคลือบ • เช็ดแผ่นที่เป็นตัว support ให้สะอาด • ทำการกระจายชั้นของเฟสคงที่โดยใช้แท่งแก้วค่อยปาดเกลี่ยหรือใช้เครื่องสำหรับการทำให้กระจายตัว (spreading apparatus) • ทำแผ่นที่เคลือบให้แห้งโดยตั้งให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง แล้วทำการอบให้แห้งอีกครั้งประมาณ 15-18 ชั่วโมง Plate coater

  18. ตัวอย่างคำนำหน้าที่ใช้บอกชนิดของเฟสคงที่ในแผ่นแบบ Precoated J.C. Touchstone, Practice of Thin Layer Chromatography, 3rd ed., John Wiley & Sons, 1992.

  19. Sample Application • การใส่สารบนแผ่นควรทำให้มีขนาดเล็กๆ • การใส่สารสามารถทำเป็นจุด (spot) หรือ เป็นแถบ (streak) ก็ได้ • สามารถเพิ่มปริมาณของสารที่บรรจุ โดยยังทำให้จุดหรือแถบมีขนาดเล็ก ได้โดยการทำซ้ำหลายๆ ครั้ง โดยแต่ละครั้งต้องทำให้ตัวทำละลายระเหยออกหมดก่อน • การเลือกวิธี sample application ขึ้นอยู่กับ • ปริมาตรของสารตังอย่าง • จำนวนตัวอย่างที่ต้องการทำต่อครั้ง • ความเที่ยงและการทำอัตโนมัติ

  20. อุปกรณ์การบรรจุสาร • ทำด้วยตนเอง • Capillary tube • Micropipette • Syringe • เครื่องอัตโนมัติ • Auto spotter/Auto streaker

  21. การแยกโดย Linear Development • การแยกเกิดขึ้นภายในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด โดยแผ่นเรียบหรือกระดาษจะถูกวางไว้ในแนวเดียวกับการไหลของเฟสเคลื่อนที่ • การเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่มี 2 แบบ คือ • เคลื่อนที่ขึ้นตามแนวของแผ่นเรียบหรือกระดาษ (ascenting) • เคลื่อนที่ลงตามแนวของแผ่นเรียบหรือกระดาษ (decending) Ascenting development

  22. โครมาโทแกรมที่ได้จากการแยกโดย Linear Development

  23. การแยกโดย Multiple Development • ทำการ develop ซ้ำหลายๆ รอบ • เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการแยก แต่จะเสียเวลาเพิ่มมากขึ้น • การทำ multiple development สามารถทำได้โดย • ทำซ้ำโดยใช้ระบบเฟสเคลื่อนที่เหมือนเดิมในทิศทางเดิม: ทำให้การแยกสารที่มีค่า Rfใกล้ๆ กัน แยกได้ดีขึ้น • ทำซ้ำโดยใช้ระบบเฟสเคลื่อนที่ใหม่ในทิศทางการแยกเดิม: ช่วยในการแยกสารที่มีความแตกต่างของ polarity มากๆ • การ development แบบ 2 มิติ: ทำการ developed ครั้งที่ 2 โดยเฟสเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน ในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางเดิม

  24. การตรวจวัด (Detection) • วิธีการตรวจวัดทางกายภาพ • การตรวจวัดโดยตรง: สำหรับสารที่มีสี • ภายใต้แสงยูวี • Fluorescent analyte • Plate with indicator • วิธีการตรวจวัดทางเคมี • ให้สารทำปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อให้เกิดสารที่มีสีหรือ fluorescent spots โดยการพ่น (spraying) หรือ จุ่ม (dipping) กับรีเอเจนต์ • ชนิดของ reagents ที่ใช้ • สารก่อให้เกิดอนุพันธ์ (Derivatization) • Reversible color reaction เช่นไอของไอโอดีน, water spray, pH อินดิเคเตอร์ • การทำให้สารอินทรีย์เกิดเป็นสีดำ (Charring) ด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้น • Reagents เฉพาะ

  25. อุปกรณ์สำหรับการทำ TLC ถังสำหรับดำเนินการแยก (Developing) กล่องส่อง UV แผ่นช่วยการอิ่มตัว ชุดพ่นสารตรวจวัด (Reagent Sprayer) แผ่น TLC ชุดอุปกรณ์การใส่สารบนแผ่นเรียบ

  26. การวิเคราะห์ด้วย Planar Chromatography การทำคุณภาพวิเคราะห์ • เทียบค่า Rf ของสารตัวอย่างกับสารมาตรฐานโดยใช้ภาวะในการแยกที่มีเหมือนกัน • นิยมทำสารมาตรฐานควบคู่ไปกับสารตัวอย่างบนแผ่นเดียวกันเลย การทำปริมาณวิเคราะห์ • หาปริมาณสารโดยการวัดโดยตรงจากจุดที่แยกได้บนแผ่น หรือนำสารออกมาแล้วค่อยทำการวัดด้วยวิธีการอื่นๆ ก็ได้ • การทำปริมาณวิเคราะห์โดยตรงจากแผ่น (In situ) • เปรียบเทียบพื้นที่ของจุด (visual evaluation) ระหว่างสารตัวอย่างกับสารมาตรฐานที่ทราบปริมาณแน่นอนแล้ว • เปรียบเทียบค่าความเข้มของแสง (optical scanners) ระหว่างสารตัวอย่างกับสารมาตรฐานที่ทราบปริมาณแน่นอนแล้ว จากการสะท้อนแสงหรือฟลูออเรสเซนต์หรือการดูดกลืนแสง ด้วยเครื่อง scanning densitometer • การทำปริมาณวิเคราะห์โดยเอาสารออกจากแผ่น (Elution technique) • ขูดจุดของสารที่แยกออกมาจากแผ่น (จะมี sorbent ติดออกมาด้วย) แล้วทำการสกัดออกมาเพื่อทำการวิเคราะหืต่อไป

  27. Quantitative Analysis • Elution technique • Scarping of the spots and eluting the substance from the sorbent • In situ visual evaluation • Comparing the spot sizes between sample and standards • In situ optical scanners • Scanning densitometers • Imaging scanners

More Related