1 / 20

แบบสัมภาษณ์ ( Interviews schedule )

แบบสัมภาษณ์ ( Interviews schedule ). เสนอ ดร.เนติ เฉลยวาเรศ. แบบสัมภาษณ์. เป็นชุดของคำถามที่ใช้ถามและใช้จดบันทึก คำตอบของการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์เป็นผู้บันทึก คำตอบที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์. การสัมภาษณ์. การสัมภาษณ์ หมายถึง การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนทั้ง

kasen
Télécharger la présentation

แบบสัมภาษณ์ ( Interviews schedule )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แบบสัมภาษณ์(Interviewsschedule) เสนอ ดร.เนติ เฉลยวาเรศ

  2. แบบสัมภาษณ์ เป็นชุดของคำถามที่ใช้ถามและใช้จดบันทึก คำตอบของการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์เป็นผู้บันทึก คำตอบที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์

  3. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ หมายถึง การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีการวางแผน และ เตรียมการให้พร้อม รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนที่ช่วยให้ได้ความจริงจาก ผู้ให้สัมภาษณ์การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย โดย มีลักษณะการถามตอบแบบปากเปล่า เพื่อให้ได้ข้อมูลในการแก้ปัญหาใน การทำวิจัย

  4. องค์ประกอบของการสัมภาษณ์องค์ประกอบของการสัมภาษณ์ 1. ผู้สัมภาษณ์ 2. ผู้ให้สัมภาษณ์ 3.เรื่องที่จะสัมภาษณ์ 4.เป้าหมายการสัมภาษณ์ 5.วิธีการสัมภาษณ์

  5. ประเภทของการสัมภาษณ์ • การสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง หรือแบบมาตรฐาน (Structured interview or standardized interview) • การสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงน้อย หรือไม่มีเค้าโครงเลย (Less structured interview) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  6. การสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง หรือแบบมาตรฐาน (Structured interview or standardized interview) คือ การสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์มีแบบสอบถามที่กำหนดคำถามคำตอบไว้แน่นอน ผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคนจะได้รับคำถามเช่นเดียวกันนี้เหมือนกันทุกคน ข้อดีของการสัมภาษณ์แบบนี้ คือ ให้ความสะดวกสำหรับผู้สัมภาษณ์ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ใช้คำถามแบบปิด (closed end) อาจกำหนดคำตอบไว้ไม่ครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ตอบจะเลือกทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกับความจริง

  7. ตัวอย่างการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างตัวอย่างการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว 1.1 เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 1.2 อายุ.................ปี 1.3 ประสบการณ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา.............ปี

  8. ตัวอย่างการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (ต่อ) ตอนที่ 2 การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2.1 คณะกรรมการฯ ได้เตรียมการในเรื่องใดบ้าง ( ) การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( ) การฝึกอบรมครูและบุคลากรในสถานศึกษา ( ) การขอรับคำปรึกษาจากบุคลากรภายนอกสถานศึกษา ( ) การเตรียมงบประมาณ 2.2 มีมาตรฐานใดบ้างที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมิน

  9. การสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงน้อย หรือไม่มีเค้าโครงเลย (Less structured interview) คือ การสัมภาษณ์แบบที่ไม่มีการกำหนดคำถามคำตอบไว้ตายตัวแน่นอนมีความยืดหยุ่นได้ ผู้สัมภาษณ์ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเข้าาช่วย โดยอาศัยวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นหลักว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดก็ดำเนินการต่าง ๆ ตามนั้น และสร้างบรรยากาศเป็นหลักว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดก็ดำเนินการต่าง ๆ ตามนั้น และสร้างบรรยากาศในการสัมภาษณ์ให้เหมาะสม ทำให้ผู้สัมภาษณ์ ได้ความจริงตามต้องการ

  10. ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน • บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร …………………………………………………… • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ได้หรือไม่ อย่างไร ……………………………………… • ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง………………………………………………..

  11. ชนิดของคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด • คำถาม ที่มีคำตอบกำหนดไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบตายตัว (Fixed- alternative or closed end) อาจเป็น 2-3 คำตอบหรือมากกว่าก็ได้ 2. คำถามที่ไม่มีคำตอบกำหนดไว้ (Open end) เป็นโอกาสให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกอย่างเต็มที่

  12. หลักเกณฑ์การเขียนคำถามในการสัมภาษณ์หลักเกณฑ์การเขียนคำถามในการสัมภาษณ์ • คำถามต้องสัมพันธ์กับเรื่องที่จะทำวิจัย • ต้องชัดเจนดี ไม่คลุมเครือ • ต้องเป็นคำถามที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับเรื่องที่ทำวิจัย

  13. คุณลักษณะของผู้สัมภาษณ์คุณลักษณะของผู้สัมภาษณ์ • ความซื่อสัตย์ • ความสนใจ • ความสามารถในการบันทึก • ความสามารถในการปรับตัว • บุคลิกภาพและอารมณ์ • สติปัญญาและการศึกษา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับตัวผู้สัมภาษณ์ที่มีต่อผลของการสัมภาษณ์อีก เช่น อายุ ไม่ควรใช้ผู้สัมภาษณ์ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี หรือมากกว่า 45 ปี ไม่ ควรเลือกผู้สัมภาษณ์ที่ไม่เรียบร้อยหรือเรียบร้อยจนเกินไป การพูดต้องได้ความ ชัดเจน

  14. สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์ • อคติของผู้ให้สัมภาษณ์ • อคติของผู้สัมภาษณ์

  15. สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์ • อคติของผู้ให้สัมภาษณ์ • ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ชอบผู้สัมภาษณ์ และไม่เห็นความสำคัญเรื่องที่จะสัมภาษณ์ • ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ชอบผู้สัมภาษณ์บางอาชีพ เช่น นักเรียนมักไม่ชอบครูปกครอง เป็นต้น จึงไม่ให้ความร่วมมือและอาจให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนได้ • ผู้ให้สัมภาษณ์ความกดดันจากปัญหาส่วนตัว เมื่อพบผู้สัมภาษณ์แทนที่ฟังแล้วตอบคำตอบเล่าเรื่องราวและระบายอารมณ์กับสัมภาษณ์

  16. สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์(ต่อ)สาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสัมภาษณ์(ต่อ) 2. อคติของผู้สัมภาษณ์ • ผู้สัมภาษณ์ไม่ชอบผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น พอเห็นหน้าก็ถูกชะตากันแล้ว และผู้สัมภาษณ์ไม่ชอบผู้สัมภาษณ์บางอาชีพเช่น ขายประกัน โสเภณี นายหน้าเป็นต้น • ผู้สัมภาษณ์ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กรณีสัมภาษณ์ให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับตนเอง

  17. ข้อดีของการสัมภาษณ์ • เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนตัวของบุคคล • เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะช่วยแยกแยะปัญหาที่เกี่ยวกับแนวความคิดและสภาพทางอารมณ์ • เป็นวิธีที่ช่วยให้รู้จักข้อเท็จจริงบางอย่างเพิ่มเติมในขณะสัมภาษณ์ อาจจะได้จากการสังเกตสีหน้า ท่าทาง การพูดจา ตอบคำถามก็ได้ • เป็นวิธีที่สามารถรวบรวมข้อมูลได้จากบุคคลทุกประเภท ทุกเพศ ทุกวัยแม้แต่ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ก็รวบรวมข้อมูลจากเขาได้ • การสัมภาษณ์สามารถสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งแอบแฝงอยู่ในอุปนิสัย อารมณ์ และความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้

  18. ข้อเสียของการสัมภาษณ์ข้อเสียของการสัมภาษณ์ • มักสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน และเวลามาก • เป็นปัญหายุ่งยากในการขจัดความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์ • อาจได้ข้อมูลที่ต้องไม่ครบถ้วน เพราะผู้สัมภาษณ์และ/หรือผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะมีความเครียด กระวนกระวายใจ ลืมถามคำถามบางคำถามไป • ถ้าใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน การควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันย่อมทำได้ยาก • ที่ตั้งหรือที่อยู่ของผู้ถูกสัมภาษณ์มักจะอยู่กระจัดกระจาย การคมนาคมไปมาไม่สะดวก และภาษาพูดอาจแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการสัมภาษณ์ อาจจะทำให้โครงการวิจัยต้องล่าช้าหรือล้มเหลวลงไปได้

  19. บทสรุป โดยสรุปแล้วลักษณะในการสัมภาษณ์ที่ดีนั้น ผู้วิจัยควร ปฏิบัติดังนี้ คือ ควรฟังผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างตั้งอกตั้งใจ ให้ ความสำคัญด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและเป็นกันเอง ไม่ควร โต้แย้งหรือไม่ควรแสดงออกมาให้เห็นว่า ไม่พอใจต่อคำพูด ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ไม่ควรชี้แนะหรือมีท่าที่อันใดที่จะมีผล ต่อคำตอบ

More Related