1 / 46

การจัดการคุณภาพ (Quality Management )

การจัดการคุณภาพ (Quality Management ). อ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ Faculty of Information Technology. คุณภาพคืออะไร. คุณภาพ ( Quality ) หมายถึงอะไร เป็นคำถามที่ถูกถามกันมาก และ มีหลากหลายคำตอบด้วยกัน สามารถกล่าวรวม ๆ กันได้ดังนี้ สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน

Télécharger la présentation

การจัดการคุณภาพ (Quality Management )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการคุณภาพ(Quality Management) อ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ Faculty of Information Technology

  2. คุณภาพคืออะไร • คุณภาพ (Quality) หมายถึงอะไร เป็นคำถามที่ถูกถามกันมาก และ มีหลากหลายคำตอบด้วยกัน สามารถกล่าวรวม ๆ กันได้ดังนี้ • สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน • สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือมาตรฐาน • สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า • สินค้าหรือบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า • สินค้าหรือบริการที่ปราศจากการชำรุดหรือข้อบกพร่อง

  3. คุณภาพคืออะไร • ในระดับสากลที่กล่าวอ้างกันไว้ สามารถกล่าวได้ว่า คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งแสดงถึงความสามารถ ในการสนองทั้งความต้องการที่ชัดแจ้ง และความต้องการที่แฝงเร้น (คำ จำกัดความตามมาตรฐาน ISO 8402 : 1994) การมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการในปัจจุบันให้แก่ลูกค้า ในราคาที่ลูกค้ายินดีจะจ่าย ด้วยต้นทุนที่เราสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ และ จะต้องมอบสิ่งที่ดีกว่านี้ ให้แก่ลูกค้า ในอนาคต

  4. Quality of Information Technology Projects • IT productsที่มีคุณภาพต่ำ • ระบบที่กำลังแย่ลง หรือ ต้องทำการ reboot PC • มีตัวอย่างมากมายในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับ IT • คนมีแนวโน้มที่จะยอมรับ IT ที่ไม่มีคุณภาพ • แต่ในแง่ของ IT project แล้ว คุณภาพถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

  5. Project Quality Management (PQM) คือกระบวนการอันทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นสอดรับกับความต้องการ ดังนั้นมันจึงรวมเอากิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำในโครงการที่สอดรับกับที่กำหนดอยู่ใน quality policy, objectives, และ responsibility รวมไปถึงการนำไปใช้งานในเชิงของ quality planning, quality assurance, quality control, และ quality improvement ซึ่ง รวมอยู่ใน quality system.

  6. Project Quality Management • Focuses on project’s products • ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของโครงการก็คือคำตอบเชิงระบบสารสนเทศที่ project team จะต้องส่งมอบ • Focuses on project process • กิจกรรม วิธีการ วัตถุดิบ และการวัด ที่นำมาใช้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการออกมา

  7. Project Quality Management

  8. Modern Quality Management • การบริหารคุณภาพสมัยใหม่ (Modern quality management) • เน้นไปที่ความพึงพอใจของลูกค้า • มุ่งเน้นไปที่การป้องกัน แทนที่จะเป็นการตรวจสอบ • ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่สนองตอบต่อคุณภาพ • ผู้ชำนาญคุณภาพได้แก่ Deming, Juran, Crosby, Ishikawa, Taguchi, และ Feigenbaum

  9. Quality Experts • เดมมิ่ง (Demming) มีชื่อเสียงในการสร้างญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่และหลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ • จูรัน (Juran)แต่งหนังสือ “Quality Control Handbook”และ 10 ขั้นตอนในการปรับปรุงคุณภาพ • ครสบี้ (Crosby) เขียน “Quality is Free”และเสนอว่า องค์กรต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง zero defects • อิชิกาวา (Ishikawa) สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับ quality circles และ Fishbone diagrams • ทากูชิ (Taguchi)สร้างวิธีการ optimizing การบวนการทดลองทางวิศวกรรม • ไฟเกนบาม (Feigenbaum) สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับ total quality control

  10. หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management) ของเดมมิ่ง • หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management)    1.1 จงจัดตั้งเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการที่ต่อเนื่อง    1.2 จงยอมรับปรัชญาใหม่ ๆ เพื่อให้องค์การมีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ    1.3 จงเลิกใช้การตรวจคุณภาพเป็นวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพ    1.4 จงยุติการดำเนินธุรกิจ โดยการตัดสินกันที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว    1.5 จงปรับปรุงระบบการผลิต การบริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง    1.6 จงจัดให้มีการฝึกอบรมในขณะทำงาน     1.7 จงสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น1.8 จงขจัดความกลัวให้หมดไป    1.9 จงทำลายสิ่งกีดขวางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

  11. หลักการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (14 points for management) ของเดมมิ่ง 1.10 จงขจัดการใช้คำขวัญ การติดโปสเตอร์และป้ายแนะนำ    1.11 จงเลิกใช้มาตรฐานการทำงานและตัวเลขโควต้า    1.12 จงขจัดอุปสรรคที่ทำลายความภาคภูมิใจของพนักงาน    1.13 จงจัดให้มีแผนการศึกษา และทำการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน    1.14 จงกำหนดความผูกพันที่ยาวนานของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตไปตลอด

  12. The Quality Movement • Juran’s Quality Planning Road Map (Quality Trilogy,ไตรยางค์คุณภาพ)แบ่งเงื่อนไขที่ทำให้การจัดการคุณภาพประสบความสำเร็จออกเป็น 3 ด้าน ใหญ่ ๆ คือ • ด้านแรก การวางแผนคุณภาพ แบ่งออกอีก 4 ขั้น คือ 1. รู้จักลูกค้าทั้งลูกค้าภายใน ภายนอกองค์การและความต้องการของลูกค้า2. ต้องกล่าวถึงความต้องการของลูกค้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้องค์การหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจเสร็จแล้วก็ออกแบบให้เป็นไปตามความต้องการนั้น3. เมื่อออกแบบเสร็จแล้วก็สร้างกระบวนการผลิต ลงมือผลิตและทำให้การผลิตให้เป็นไปอย่างถูกต้อง4. เมื่อสร้างกระบวนเสร็จและพิสูจน์ว่าถูกต้องแล้วก็ให้ถ่ายโอนความรับผิดชอบไปสู่การปฏิบัติในระดับล่างต่อไป

  13. Juran’s Quality Planning Road Map (Quality Trilogy,ไตรยางค์คุณภาพ) • ด้านที่สอง การควบคุมคุณภาพ ระบบคุณภาพใดก็ตามเมื่อลงมือปฏิบัติจริงก็ต้องมีความเสื่อมถอย การจัดการคุณภาพจึงต้องมีการควบคุม เพื่อสืบหาความแปรปรวนและนำมาแก้ไขให้เป็นกระบวนการทีดีอีกครั้งหนึ่ง การควบคุมนี้ต้องอาศัยเครื่องมือและเทคนิคในเชิงกลยุทธ์ของการจัดการคุณภาพวัตถุประสงค์ก็เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจะเกิดผลลัพธ์ที่สามารถทำนายได้ ทำให้การบริหารงานราบรื่น และเป็นฐานที่มั่นคงสำหรับการปรับปรุงคุณภาพต่อไป • ด้านที่สาม การปรับปรุงคุณภาพ ขณะที่การควบคุมคุณภาพมุ่งไปที่เป้าหมายในการรักษาระดับคุณภาพที่เป็นอยู่ แต่การปรับปรุงคุณภาพจะมุ่งไปที่คุณภาพในระดับที่สูงขึ้น โดยการสร้างนิสัย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุความก้าวหน้าในด้านคุณภาพระดับใหม่ที่ดีกว่า ความก้าวหน้านี้เป็นผลมาจากการคิดและวางแผนระยะยาวโดยผู้บริหาร ในฐานะที่รับผิดชอบในการสร้างลำดับขั้นความสำเร็จที่เป็นสากล

  14. Ishikawa, or Fishbone Diagram

  15. Quality Systems ISO 9000 Principles • มุ่งเน้นที่ลูกค้า • ความเป็นผู้นำ • พนักงานมีส่วนร่วม • เน้นไปที่กระบวนการ • บริหารโดยใช้ระบบ (System Approach to Management) • ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง • การมีสัมพันธ์ที่ดีต่อซัพพลายเออร์ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน

  16. Six Sigma Defined Six Sigma คือ “ระบบที่ต้องอาศัยความเข้าใจและคล่องตัวเพื่อบรรลุ ผลักดัน และ จุดสูงสุดของความสำเร็จทางธุรกิจ Six Sigma คือ การขับเคลื่อนอันเป็นเอกลักษณ์โดยการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความต้องการของลูกค้า มีวินัยในการใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติข้อเท็จจริง ข้อมูล และ มุ่งเน้นอย่างจริงจังในเรื่อง การบริหาร การปรับปรุง และ การสร้างขึ้นใหม่ของกระบวนการทางธุรกิจ”* *Pande, Peter S., Robert P. Neuman, and Roland R. Cavanagh, The Six Sigma Way. New York: McGraw-Hill, 2000, p. xi

  17. แนวคิด Six Sigma Six Sigmaเป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพ โดยการลดข้อบกพร่อง หรือความสูญเสียต่อสินค้าและบริการ คุณภาพในความหมายของทฤษฎีนี้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการลดข้อบกพร่องหรือลดต้นทุนโดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ในรูปแบบ การกระจายแนวโน้มออกจากมาตรฐานกลาง Six Sigmaประกอบด้วย 3 อย่าง คือ • การวัดในเชิงสถิติ • กลยุทธ์ทางการดำเนินการ • ปรัชญา หรือแนวความคิด

  18. 6 Sigma คืออะไร? • Six Sigma คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma

  19. 6 Sigma คืออะไร? • การวัดผลทางสถิติของการปฏิบัติงานที่มีต่อกระบวนการ หรือ ผลิตภัณฑ์ • เป้าหมายคือเพื่อให้ปราศจากความบกพร่อง (เป็นศูนย์) ในการทำงาน • ระบบการจัดการที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจระดับโลก (World Class)

  20. ความหมายเชิงตัวเลขของ 6 ซิกม่า ± 1σ   มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  68.27 % ± 2σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  95.45 % ± 3σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.73 % ± 4σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9937 % ± 5σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.999943 % ± 6σ    มีค่าการยอมรับ  เท่ากับ  99.9999996 % Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”

  21. แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

  22. แนวคิดแบบ six sigma เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย 1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน 2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource) 3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ 4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ

  23. แนวคิดการบริหารแบบ six sigma 1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก 3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ 4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต 5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น 6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ 7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร

  24. Process Improvement Process Design/Redesign Process Management องค์ประกอบของ Six Sigma

  25. องค์ประกอบแรก คือ การปรับปรุงกระบวนการ เป็นการค้นหาโอกาสพัฒนาจากกระบวนการที่มีอยู่เดิม เพื่อดูว่ามีปัญหา, ความสูญเสีย, ข้อบกพร่อง หรือประเด็นใดที่ยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ดี และนำมาพัฒนาคุณภาพ โดยพยายามค้นหาสาเหตุ และขจัดสาเหตุดังกล่าวทิ้ง เมื่อพัฒนาได้ตามที่ต้องการก็หาทางควบคุมให้อยู่อย่างถาวรซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดสู่ระดับ 6 Sigma (Breakthough Six Sigma) องค์ประกอบที่สอง คือ การออกแบบกระบวนการ องค์กรจะเลือกออกแบบกระบวนการใหม่, พัฒนาสินค้าใหม่, เพิ่มบริการใหม่ แทนการพยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของกระบวนการเดิม เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และมีข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบกระบวนการใหม่ให้เกิดคุณภาพสูงสุดที่นิยมเรียกว่าเป็น การออกแบบเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Design for Six Sigma – DFSS)

  26. องค์ประกอบที่สาม คือ การจัดกระบวนการ หมายถึง การที่ฝ่ายบริหารจัดการมีการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร การใช้ภาวะผู้นำในการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma การค้นหาความต้องการของลูกค้า การค้นหาโอกาสพัฒนาที่เป็นปัญหาหลักขององค์กร การวิเคราะห์และการติดตามผลการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการพยายามควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในองค์กร เรียกองค์ประกอบที่สามนี้ว่า เป็นภาวะผู้นำเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Six Sigma Leadership)

  27. Maturity Models • Maturity models คือ กรอบการทำงานสำหรับช่วยองค์กรในการปรับปรุงกระบวนการและระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร: • Software Quality Function Deployment model มุ่งเน้นไปที่การกำหนดความต้องการของผู้ใช้และการวางแผนเกี่ยวกับ software projects • The Software Engineering Institute’s Capability Maturity Model จัดหาแนวทางกว้าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางด้าน software development • มีหลาย ๆ กลุ่มทำงานทางด้าน project management maturity models, เช่น PMI’s Organizational Project Management Maturity Model (OPM3)

  28. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Software Engineering Institute (SEI) ที่ Carnegie-Mellon University • กลุ่มของแนวทางปฏิบัติที่แนะนำ (a set of recommended practices) สำหรับกลุ่มของสิ่งที่เกี่ยวกับกระบวนการหลัก(a set of key process areas) ที่เน้นไปที่ software development. • แนวทางที่แสดงว่า องค์กรสามารถควบคุมกระบวนการของเขาให้ดีที่สุดได้อย่างไรเมื่อทำการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟต์แวร์ • แนวทางที่ช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทางซอฟต์แวร์ในปัจจุบันให้ดีขึ้น โดยอาศัยวิศวกรรมทางซอฟต์แวร์และการบริหารที่เป็นเลิศ(excellence)

  29. Levels of Software Process Maturity

  30. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 1: Initial - ลักษณะที่เห็นได้คือเป็นองค์กรที่ยังไม่เก่งทางซอฟต์แวร์ซึ่งมีกระบวนการทางซอฟต์แวร์เป็นไปในเชิงขึ้นอยู่กับความพอใจ (ad hoc)และ มักจะเป็นสนองตอบ(reactive)ต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะไม่มีสภาพแวดล้อมที่คงที่(stable environment) สำหรับโครงการทางด้านซอฟต์แวร์และความสำเร็จของโครงการขึ้นกับคนในโครงการเป็นอย่างมาก แทนที่จะเป็นกระบวนการที่เขาทำตาม • Key Process Area • no key process areas are in place

  31. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 2: Repeatable – มีการนำเอา Basic policies, processes, และ controls มาใช้ ในการบริหารโครงการเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ความสำเร็จของ project teams เมื่อทำโครงการต่าง ๆ สำเร็จได้เช่นเดียวกับความสำเร็จในอดีต • Key Process Area • Software Configuration Management • Software Quality Assurance • Software Subcontract Management • Software Project Tracking and Oversight • Software Project Planning • Requirements Management

  32. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 3: Defined - Software engineering และ management processes ถูกจัดทำเป็นเอกสารและมีมาตรฐานทั่วทั้งองค์กร และกลายเป็นกระบวนการมาตรฐานขององค์กร. • Key Process Area • มีการทบทวนร่วมกัน (Peer Reviews) • มีการประสานงานภายในกลุ่ม (Intergroup Coordination) • Software Product Engineering • Integrated Software Management • มีโปรแกรมการฝึกอบรม • มีการกำหนดกระบวนการในองค์กร (Organization Process Definition) • มีการมุ่งเน้นที่กระบวนการในองค์กร

  33. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 4: Managed – มีตัววัดเชิงปริมาณ (Quantitative metrics)สำหรับใช้วัดและประเมินผลิตผล และคุณภาพถูกกำหนดขึ้นมาทั้ง software products และกระบวนการต่าง ๆ ที่ซึ่งคุณลักษณะสามารถกำหนดเป็นเชิงปริมาณ (เพื่อวัด)และทำนายได้ • Key Process Areas • การบริหารจัดการเชิงคุณภาพของซอฟต์แวร์ (Software Quality Management) • การบริหารจัดการกระบวนการเชิงปริมาณ (Quantitative Process Management)

  34. Quality Systems The Capability Maturity Model (CMM) • Level 5: Optimizing อยู่ที่ระดับสูงสุดของ software process maturity ทั่วทั้งองค์กรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง • Key Process Areas • การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Process Change Management) • การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนเทคโนโลยี (Technology Change Management) • การป้องกันข้อบกพร่อง (Defect Prevention)

  35. The IT Project Quality Plan Verification and Validation • Verification • มุ่งเน้นที่กิจกรรมในเชิง process-related เพื่อมั่นใจว่า products & deliverables เป็นไปตามความต้องการที่กำหนดไว้ก่อนทำการทดสอบขั้นสุดท้าย(final testing) • Technical Reviews • Walk throughs • Business Reviews • Management Reviews • Are we building the product the right way?

  36. The IT Project Quality Plan Verification and Validation • Validation • คือกิจกรรมในเชิง Product-oriented ที่ต้องการดูว่า deliverable ของระบบหรือโครงการได้เป็นไปตามความคาดหวังของ customer หรือ client หรือไม่ • การทดสอบ (Testing) เป็นการตอบคำถามว่า ฟังก์ชันของระบบ สมรรถนะและความสามารถทั้งหมด เป็นไปตามความต้องการที่กำหนดไว้ใน project’s scope และ requirements definition หรือไม่ มักแบ่งได้เป็น • Unit Testing • Integration Testing • Systems Testing • Acceptance Testing

  37. Testing • IT professional ส่วนมากคิดว่า การทดสอบเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นใกล้ ๆ กับการเสร็จสิ้นของ IT product development • แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทดสอบควรทำในขณะที่เกือบจะแล้วเสร็จในทุก ๆ เฟสของ IT product development life cycle

  38. Testing Tasks in the SDLC

  39. Software Testing Approaches

  40. Types of Tests • สิ่งที่นำมาทดสอบ(unit test)จะถือว่าทดสอบเสร็จสิ้น เมื่อแต่ละส่วนย่อย (each individual component (often a program))ทำการทดสอบเสร็จสิ้น เพื่อมั่นใจว่า มันปราศจากข้อบกพร่องเท่าที่จะเป็นไปได้ • Integration testing เกิดขึ้นระหว่าง การทดสอบ unit กับ system เป็นการทดสอบฟังก์ชันขององค์ประกอบย่อยเป็นกลุ่ม (testing to test functionally grouped components) • System testing เป็นการทดสอบทั้งระบบในคราวเดียว (entire system as one entity) • User acceptance testing คือ การทำ independent test โดย end user ก่อนที่จะยอมรับระบบที่ส่งมอบให้ (delivered system)

  41. The IT Project Quality PlanChange Control and Configuration Management • ตลอดช่วงของโครงการ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก • ที่จุด ๆ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงจะต้องถูกดำเนินการ: • การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ถูกดำเนินการ? • ใครทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง? • การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อใด? • ทำไมต้องทำการเปลี่ยนแปลง?

  42. The IT Project Quality Plan Monitor and Control • Learn, Mature, and Improve • Lessons learned • Improvement • Best Practices

  43. Improving IT Project Quality • หลาย ๆ คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพของ IT projects ได้แก่ • ผู้นำที่ต้องโปรโมตเรื่องคุณภาพ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนคุณภาพ(cost of quality) • มุ่งเน้นส่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อกับองค์กรและแฟกเตอร์ต่าง ๆ ที่พื้นที่ทำงานอันส่งผลกระทบต่อคุณภาพ • ทำตาม maturity models ในการปรับปรุงคุณภาพ

  44. Leadership • “ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารระดับสูงมีจิตสำนึกด้านคุณภาพ ถ้าปราศจากความจริงใจแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าสนใจในเรื่องคุณภาพจากผู้บริหารระดับสูงแล้ว ระดับก็จะให้ความสนใจในเรื่องคุณภาพน้อย” (Juran, 1945)

  45. Quality Control Tools

  46. Assignment 7 : ให้เขียนแผนการทำ Quality Control ของโครงงานที่รับผิดชอบ - มีการ Validation และ Verification อย่างไร ทำงานเป็นกลุ่ม

More Related