400 likes | 897 Vues
บทที่ 2. งบการเงิน. งบการเงิน ( Financial Statements). หมายถึง รายงานที่แสดงข้อมูลอันเป็นผลจากการประกอบธุรกิจของกิจการซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบย่อย และคำอธิบายอื่น ซึ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน.
E N D
บทที่ 2 งบการเงิน
งบการเงิน (Financial Statements) หมายถึง รายงานที่แสดงข้อมูลอันเป็นผลจากการประกอบธุรกิจของกิจการซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบย่อย และคำอธิบายอื่น ซึ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
ส่วนประกอบของงบการเงินส่วนประกอบของงบการเงิน (ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน) 1. งบดุล 2. งบกำไรขาดทุน 3. งบใดงบหนึ่งต่อไปนี้ 3.1 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 3.2 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 4. งบกระแสเงินสด 5. นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ระยะเวลาบัญชี (Accounting Period) • ปีปฏิทิน (Calendar Year) • ปีการเงิน (Fiscal Year) • ปีงบประมาณ (Budget Year)
งบกำไรขาดทุน (Income Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวดเวลาหนึ่ง เพื่อสรุปให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่ายของงวดเวลานั้นแล้ว จะมีผลกำไร เสมอตัว หรือ ขาดทุนเท่าใด รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ)
รายได้ (Revenues) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในระหว่างงวดในรูปของการได้รับหรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดของหนี้สิน ซึ่งเป็นผลให้ทุนของกิจการเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นของทุนที่ได้มาจากการลงทุนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
ประเภทของรายได้ 1. รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenues) เป็นรายได้จากกิจกรรมหลักของกิจการ เช่น รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ 2. รายได้อื่น (Other Revenues) เป็นรายได้ทางอ้อมที่ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมหลัก 2.1 ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ฯลฯ 2.2 รายการกำไร (Gain) เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ ฯลฯ
ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง การลดของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในระหว่างงวดบัญชีในรูปของการสูญเสียหรือการหมดไปของสินทรัพย์ หรือการเกิดขึ้นของหนี้สินซึ่งมีผลให้ทุนของกิจการลดลง โดยการลดลงนั้นไม่เกิดจากการจัดสรรทุนให้แก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการ
ประเภทค่าใช้จ่าย (กิจการที่ให้บริการ) 1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) 2. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other Expenses) 2.1 ดอกเบี้ยจ่าย (Interest Expenses) 2.2 ภาษีเงินได้ (Income Tax) 2.3 รายการขาดทุน (Loss) เช่น ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ ฯลฯ
ประเภทค่าใช้จ่าย (กิจการที่จำหน่ายสินค้า) • ต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold) • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operation Expenses) 2.1 ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) 2.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (General and Administrative Expenses) 3. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other Expenses)
การจัดทำงบกำไรขาดทุน มี 2 รูปแบบ 1. แบบรายงาน (Report Form) เรียก “งบกำไรขาดทุน” (Income Statement หรือ Profit and Loss Statement) 2. แบบบัญชี (Account Form) เรียก “บัญชีกำไรขาดทุน” (Profit and Loss Account)
รูปแบบการจัดเรียงรายการในงบกำไรขาดทุนรูปแบบการจัดเรียงรายการในงบกำไรขาดทุน มี 2 วิธี คือ 1. วิธีแสดงยอดขั้นเดียว (Single – Step Form) 2. วิธีแสดงยอดหลายขั้น (Multiple – Step Form)
1. แบบแสดงยอดขั้นเดียว (Single Step)
2. แบบแสดงยอดหลายขั้น (Multiple Step)
งบดุล (Balance Sheet) คือ รายงานทางการเงินที่ทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไร เป็นมูลค่าเท่าใด และมีเงินทุนเท่าใด ฐานะการเงินนี้สรุปมาจากบันทึกรายการที่เกี่ยวกับการเงินในสมุดบัญชีตั้งแต่ต้นจนถึงวันที่จัดทำงบดุล ซึ่งสินทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่มีค่าที่กิจการครอบครองใช้ประโยชน์ ส่วนของบุคคลภายนอกในสินทรัพย์ เรียกว่า หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการในสินทรัพย์เรียกว่า ทุน
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
สรุปสาระสำคัญของสินทรัพย์สรุปสาระสำคัญของสินทรัพย์ 1. กิจการเป็นเจ้าของหรือควบคุมได้ (สิ่งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน) 2. สิ่งนั้นเกิดจากการประกอบกิจการ 3. สิ่งนั้นสามารถวัดเป็นตัวเงินได้ 4. สิ่งนั้นสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต
สินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. สินทรัพย์หมุนเวียน 2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 2.1 เงินลงทุนระยะยาว 2.2 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 2.3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2.4 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย,ขาย หรือใช้หมดไปในการดำเนินงานหมดสิ้นภายใน 1 ปี หรือ 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่า ถ้าระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการสั้นกว่า 1 ปี ให้ถือระยะเวลา 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ถ้ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการนานกว่า 1 ปี ก็ให้ถือระยะเวลานั้นๆ เป็นเกณฑ์
สินทรัพย์หมุนเวียนที่แสดงในงบดุล มักเรียงตามลำดับรายการที่เปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายหรือมีสภาพคล่องมากที่สุดไปหารายการที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุด ดังนี้ เงินสดและเงินฝากธนาคาร (Cash on hand and at banks) เงินลงทุนชั่วคราว (Short – term Investment) ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ (Inventory) วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other Current Assets)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non - Current Assets) เงินลงทุนระยะยาว (Long –Term Investment) เป็นการลงทุนซื้อหุ้นทุนหรือหลักทรัพย์ประเภทหนี้ หรือพันธบัตรของกิจการอื่นเงินให้กู้ แก่กิจการอื่นๆ โดยกิจการต้องการลงทุนในเวลาที่นานหลายปี โดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะจำหน่ายไปในระยะเวลาอันใกล้ การลงทุนซื้อหุ้นมักมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมบริษัทนั้น หรือเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับธุรกิจอื่น ที่ดิน อาคาร ที่ซื้อไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตโดยให้ผู้อื่นเช่า ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (Property, Plant and Equipment) 1. ที่ดิน (Land) 2. อาคาร (Building) 3. อุปกรณ์ (Equipment) 4. เครื่องจักร (Machines) 5. เครื่องตกแต่งและติดตั้ง (Furniture and fixtures)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างหรือตัวตน ที่กิจการมีอยู่ และวัดมูลค่าเป็นเงินได้โดยมีหลักฐานชัดเจน และสินทรัพย์นี้จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่กิจการในอนาคต • ลิขสิทธิ์ (Copyrights) • สิทธิบัตร (Patents) • สัมปทาน (Franchises) • เครื่องหมายการค้า (Trademarks) • ค่าความนิยม (Goodwill) • สัญญาเช่า (Leasehold)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้น เช่น ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี (Deferred Charges)
หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพย์กรที่มีประโยชน์เศรษฐกิจ
สรุปสาระสำคัญของหนี้สินสรุปสาระสำคัญของหนี้สิน 1. ภาระผูกพันของกิจการที่มีต่อบุคคลภายนอก 2. เกิดจากการประกอบกิจการ 3. จะต้องชำระคืนด้วยทรัพยากรของกิจการในอนาคต
หนี้สิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. หนี้สินหมุนเวียน 2. หนี้สินไม่หมุนเวียน 2.1 เงินกู้ยืมระยะยาว 2.2 หนี้สินอื่น
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระคืนภายในหนึ่งปีหรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หนี้สินหมุนเวียนจะชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน การให้บริการหรือการก่อหนี้สินหมุนเวียนอื่นขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนของภาระผูกพันระยะยาวที่คาดว่าจะต้องชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ในงบดุล
รายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่ เงินเบิกบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร (Bank overdrafts and Loans from banks) เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย (Accounts Payable และ Notes Payable) เจ้าหนี้อื่น (Other Payables) รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) เงินปันผลค้างจ่าย (Accrued Dividends) ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดภายในหนึ่งปี (Current portion of Long – term Debt)
หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระเงินเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หนี้สินระยะยาวอาจเกิดจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูง การแสดงหนี้สินระยะยาวในงบดุล จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาระผูกพันและข้อตกลงต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยวันครบกำหนดชำระ ลักษณะของภาระผูกพัน
รายการที่จัดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ (Bonds Payable) เงินกู้โดยมีจำนอง (Mortgage Payable) หนี้สินอื่น (Others Liabilities)
ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ส่วนของเจ้าของ อาจเรียกว่า ทุน ทุนของบริษัทจำกัด เรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย 1. ทุนเรือนหุ้น 1.1 ทุนหุ้นสามัญ (Common Stock) 1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) 2. ส่วนเกินทุน หรือส่วนเกินมูลค่า 3. ส่วนต่ำกว่าทุน หรือ ส่วนต่ำกว่ามูลค่า 4. กำไรสะสม
การจัดทำงบดุล มี 2 รูปแบบ 1. แบบรายงาน (Report Form) 2. แบบบัญชี (Account Form)
ตัวอย่าง 2.5 งบดุลแบบรายงาน ร้านดุสิตาบริการ งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 หน่วย :บาท
ความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนกับงบดุลความสัมพันธ์ของงบกำไรขาดทุนกับงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + รายได้ – ค่าใช้จ่าย