1 / 35

กระบวนการ ทำงานกับชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร

กระบวนการ ทำงานกับชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร. ความหมายและประเภทขององค์กรชุมชน. องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มคนในชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมหนึ่งๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มวนเกษตร (มูลนิธิศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน, 2540 ). ประเภทขององค์กรชุมชน.

margot
Télécharger la présentation

กระบวนการ ทำงานกับชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการทำงานกับชุมชนเพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรกระบวนการทำงานกับชุมชนเพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร

  2. ความหมายและประเภทขององค์กรชุมชนความหมายและประเภทขององค์กรชุมชน • องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มคนในชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมหนึ่งๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มวนเกษตร (มูลนิธิศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน, 2540)

  3. ประเภทขององค์กรชุมชน • องค์กรที่แก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ในชุมชนโดยเฉพาะ • องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาหลากหลายในชุมชน • เครือข่ายการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง สมาชิกมาจากหลายชุมชน ตำบล อำเภอ • องค์กรชุมชนเพื่อต่อรองด้านเศรษฐกิจ • องค์กรชุมชนเพื่อต่อรองด้านการเมือง

  4. องค์กรชุมชนที่จะดำเนินวิธีการอย่างมีประสิทธิผล มีหลักการพิจารณา 3 ประการ คือ • สมาชิกต้องสามารถที่จะเข้าร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาของพวกเขา • สมาชิกต้องสามารถเข้าร่วมอย่างเต็มที่ในการพยายามดำเนินการพัฒนา • สมาชิกต้องสามารถที่จะแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างยุติธรรม

  5. องค์ประกอบขององค์กรชุมชนองค์ประกอบขององค์กรชุมชน • มีอุดมการณ์ร่วมกัน • มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน • มีผลประโยชน์ร่วมกัน • คน รวมไปถึงผู้นำ สมาชิก และชาวบ้านทั่วไป • การบริหารจัดการ (การตัดสินใจร่วม โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ กฎกติการ่วมกัน การสื่อสารระหว่างผู้นำกับสมาชิกองค์กร การควบคุมตรวจสอบ) • กิจกรรมการเรียนรู้ • งบประมาณ

  6. องค์กรชุมชนกับงานวนศาสตร์ชุมชนองค์กรชุมชนกับงานวนศาสตร์ชุมชน • สาเหตุที่ทำให้องค์กรชุมชนล้มเหลว • คนภายนอกพยายามสร้างองค์กรใหม่ ที่หวังให้ประชาชนทั้งหมู่บ้านเข้ามาร่วมโดยปราศจากการพิจารณาองค์กรที่มีอยู่แล้วหรือการมองข้ามความขัดแย้งภายในชุมชน • แนวโน้มที่จะมองข้ามกลุ่มองค์กรทางธรรมชาติในสังคม เช่น กลุ่มเครือญาติ • การเน้นที่กลุ่มทางการ โดยมองข้ามโครงสร้างและกระบวนการทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรทางธรรมชาติในชุมชนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  7. ฟิชเชอร์ (1992) ได้แสดงข้ออภิปรายในด้านองค์กรในงานป่าชุมชนไว้ดังนี้ • การอยู่บนรากฐานของการมีส่วนร่วม ถ้าองค์กรชุมชนไม่สามารถทำการตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญด้วยตัวเขาเอง องค์กรก็จะไม่สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ • องค์กรชุมชนคือกระบวนการ การจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพควรเน้นการสร้างกระบวนการ พูดคุย เจรจาต่อรอง และการหาประชามติ รวมไปถึงการจัดกระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมเพื่อเป็นบรรทัดฐานและพฤติกรรมร่วมให้เกิดขึ้น • งานวนศาสตร์ชุมชนเน้นชุมชนหรือกลุ่มสนใจ

  8. ลักษณะองค์กรท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ • เสริมสร้างการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของสมาชิกจะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม • มีความเป็นสถาบันซึ่งได้แก่ การมีพฤติกรรมและบรรทัดฐานร่วม • องค์กรท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่การปกครองอาจไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นองค์กรที่ดำเนินการด้านป่าชุมชน องค์กรที่ดำเนินการด้านป่าชุมชนควรเป็นกลุ่มคนที่สนใจ • องค์กรที่มีหน้าที่หลากหลายเป็นองค์กรที่เหมาะสมได้ หากสมาชิกมีความสนใจร่วมกันในหน้าที่และภารกิจหลัก

  9. กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน • ระบบสนับสนุนจากภายนอกเพื่อเสริมสร้างองค์กรท้องถิ่น • การใช้ที่ปรึกษา (consultant) จากภายนอกเข้ามาช่วยในการดำเนินการ วิธีนี้จะช่วยได้ในเรื่องระเบียบวิธีและการเอื้ออำนวยกระบวนการและการประเมินผล • จัดระบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) โดยเน้นที่การศึกษาปัญหาในพื้นที่ • จัดกระบวนการเรียนรู้ (learning process) ให้แก่ชุมชน • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมระหว่างผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และที่ปรึกษา นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (survey - feedback)

  10. กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน • ระบบสนับสนุนจากภายนอกเพื่อเสริมสร้างองค์กรท้องถิ่น (ต่อ) • การจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการ (action plan) โดยการใช้กระบวนการ AIC โดยให้ที่ประชุมวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน อนาคต แนวทางที่จะดำเนินการและสร้างแผนงานขึ้นมา พร้อมทั้งจัดทำแผนติดตามประเมินผลเป็นระยะอีกด้วย • ให้มีการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกระบวนการ • การติดตามประเมินผลและปรับแผนงานสม่ำเสมอ

  11. กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน 2. บทบาทผู้ทำงานภาคสนามกับองค์กรชุมชน • มีบทบาทเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (facilitators) ให้กับกลุ่มเพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการจัดการทรัพยากร หน้าที่ของผู้อำนวยการเรียนรู้ขององค์กรชุมชน ได้แก่ • เผยแพร่แนวความคิดให้ชุมชนได้ร่วมรับรู้และแลกเปลี่ยน “ขายความคิด” • ช่วยให้ชุมชนสามารถศึกษาหาข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชนได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเด็นปัญหาต่างๆ • ให้ข้อมูลชุมชนทั้งด้านนโยบาย ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ต่างๆ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน

  12. กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน 2. บทบาทผู้ทำงานภาคสนามกับองค์กรชุมชน (ต่อ) • ช่วยในการประสานงานกับหน่วยงาน/บุคคลภายนอกให้กับชุมชน • สนับสนุนปัจจัยเท่าที่จำเป็นในการเริ่มต้นการดำเนินกิจกรรมของชุมชนหรือประสานการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกสู่ชุมชน • ให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจแก่กลุ่ม • ติดตามงาน ร่วมสรุปบทเรียน และประสบการณ์

  13. แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนโดยภาครัฐและเอกชน ควรเน้นที่สิทธิและอำนาจในการจัดการปัญหาต่างๆ นโยบายของรัฐและกฎหมาย ต้องให้สิทธิและอำนาจแก่องค์กรชุมชนมากขึ้น ควรมีระบบสนับสนุนองค์กรชุมชน ทั้งด้านงบประมาณและวิชาการ • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน

  14. แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนที่ริเริ่มขึ้นใหม่ มีแนวทางดังนี้ • การศึกษาเรียนรู้ปัญหาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม • การเรียนรู้และคิดค้นกิจกรรมการแก้ปัญหา • การวางแผนกิจกรรมการแก้ปัญหา • การรวมกลุ่มปฏิบัติการร่วมกัน • การติดตามแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กร

  15. แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนที่มีอยู่แล้วและกำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ • การพัฒนาผู้นำองค์กรชุมชน • การเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์แนวคิด กระบวนการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การวางแผนจากชาวบ้าน การวิเคราะห์ การบริหารจัดการเป็นครั้งคราว • เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนควรนำเอาองค์ประกอบขององค์กรชาวบ้าน เป็นตัวชี้วัดในการทบทวนและปรับตัวขององค์กร

  16. ประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กรประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กร • ความเป็นมาและความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กร ใครริเริ่ม ใครจัดตั้ง • ระดับความตระหนักของปัญหาของสมาชิกองค์กร และกรรมการองค์กร • บทบาทคนภายนอก/รัฐ/เอกชน • โครงสร้างและการเติบโตขององค์กร • กระบวนการมีส่วนร่วม • กิจกรรมกลุ่ม ความชัดเจนในการแยกแยะ จำแนกปัญหาของชุมชน • การตอบสนองต่อปัญหา ความต้องการของสมาชิก และผู้ไม่ได้เป็นสมาชิก มีการต่อต้านหรือไม่ อย่างไร

  17. ประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กร (ต่อ) • ผลการดำเนินการของโครงการ ทำให้สมาชิกมีความมั่นใจทางเศรษฐกิจ และสังคมหรือไม่ เห็นคุณค่าหรือไม่ เพิ่มศักยภาพชุมชนหรือไม่ สมาชิกมีความเชื่อในกระบวนการกลุ่มหรือไม่ • พัฒนาทักษะ ความสามารถ และกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของสมาชิกกลุ่มหรือกรรมการหรือไม่ • กลุ่มมีความมั่นใจต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การคัดค้านหรือไม่ มีความยืดหยุ่นหรือไม่ • มีการเปลี่ยนแปลงต่อระดับนโยบายหรือไม่ • มีการขยายแนวคิดและประสบการณ์ต่อชุมชนอื่นหรือไม่ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือขององค์กรทั่วไปหรือไม่

  18. การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นทำงานแบบพหุภาคีการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นทำงานแบบพหุภาคี • การทำงานด้านวนศาสตร์ชุมชน ต้องอาศัยการมองแบบรอบด้าน และอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ ธุรกิจเอกชน และองค์กรชุมชน • การสร้างความร่วมมือแบบภาคีย่อมจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีพลังและมีความหมาย • การรวมตัวและกระบวนการปฏิบัติการร่วมย่อมจะต้องดำเนินไปโดยมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ต่อสังคมและอนาคตที่ร่วมกัน

  19. การจัดการและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการจัดการและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง • ความขัดแย้งสามารถแบ่งได้ 2 แนว • แนวความคิดที่เห็นว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดีและควรหลีกเลี่ยง • แนวความคิดที่เห็นว่าความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่ปกติธรรมดาหรือบางครั้งอาจจะเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา เพราะความขัดแย้งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

  20. ความขัดแย้งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ • ความขัดแย้งแอบแฝง ซึ่งหมายถึงความตึงเครียดที่ฝังมิได้พัฒนาไปเป็นความขัดแย้งอย่างเต็มรูปแบบ • ความขัดแย้งที่กำลังก่อตัว หมายถึง สถานการณ์ที่กลุ่มบางกลุ่มได้มองเห็นประเด็นปัญหาและมองเห็นว่ากำลังจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น หากแต่ว่ายังไม่ได้มีการลงมือแก้ปัญหาหรือทำการเจรจาเพื่อแก้ปัญหา • ความขัดแย้งเด่นชัด หมายถึง สถานการณ์ที่มีคู่กรณีที่กำลังมีความขัดแย้งหรือกรณีพิพาทกันอยู่ และบางครั้งอาจจะหาทางออกหรือทางแก้ไขไม่ได้

  21. สาเหตุของความขัดแย้งจำแนกได้หลายประการ คือ • ความขัดแย้งที่เกิดจากข้อมูล • ความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์แตกต่างกัน • ความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้าง • ความขัดแย้งที่เกิดจากความสัมพันธ์ • ความขัดแย้งที่เกิดจากค่านิยม

  22. ทรัพยากรและวิถีชีวิตคนไทยและคนมลายูทรัพยากรและวิถีชีวิตคนไทยและคนมลายู

  23. ป่าพรุปาเซรายอ ต.บือเจาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

  24. ความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องการใช้ทรัพยากรป่าไม้ความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องการใช้ทรัพยากรป่าไม้ • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการได้มาซึ่งทรัพยากร • เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในการได้มาซึ่งทรัพยากร • เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากร • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจ • เกิดจากความแตกต่างในค่านิยม • เกิดจากความรู้สึกว่าขาดความมั่นคง • เกิดจากการขาดแคลนข้อมูลข่าวสาร • เกิดจากนโยบายของรัฐ

  25. กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการผูกไมตรี (Conciliation) วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาโยคนกลางที่ช่วยพูดสื่อสารกับคู่กรณีแต่ละฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการที่จะลดความเครียด และพยายามที่จะหาข้อตกลงในกระบวนการแก้ปัญหา

  26. กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการช่วยอำนวยความสะดวก (Facilitation) วิธีนี้เป็นการช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม ในการจัดประชุมให้กับคู่กรณี

  27. กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นกระบวนการโดยความสมัครใจ ที่กรณีทั้งสองฝ่ายพบกันและเจรจาหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย

  28. กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการค้นหาข้อเท็จจริง (Fact finding) วิธีการนี้เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของประเด็นปัญหาโดยบุคคลที่สาม โดยพยายามรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่าย และทำการสรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญ วิธีการนี้สามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในกระบวนการเจรจาต่อรองได้ด้วย

  29. กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการประนีประนอม (Mediation) วิธีการนี้เป็นการช่วยเหลือจากบุคคลที่สามในกระบวนการเจรจาต่อรอง ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอม ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ

  30. หลักการเลือกวิธีการแก้ปัญหาหลักการเลือกวิธีการแก้ปัญหา • เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น หากการเจรจาต่อรองกับคู่กรณีเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เราอาจเลือกใช้วิธีหาผู้ช่วยไกล่เกลี่ยประนีประนอม ที่ทั้งสองฝ่ายให้ความไว้วางใจ • พิจารณาจารีตประเพณี ของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกในการแก้ปัญหาที่ให้ผลในแง่บวกอันมีฐานบนวิธีการแก้ปัญหาดั้งเดิมของชุมชนที่เคยปฏิบัติมา • พิจารณาระดับความแตกต่างกันของอำนาจและทรัพยากรของคูกรณี

  31. การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ที่คู่กรณีมีอำนาจไม่เท่าเทียมกันการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ที่คู่กรณีมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน • การเจรจาทำได้ยาก • การแก้ไขความขัดแย้งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด • ฝ่ายที่คิดว่าตนเองเสียเปรียบไม่ควรจะล้มเลิกความคิดที่จะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง • บางครั้งการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบประเพณีที่ชุมชนท้องถิ่นปฏิบัติกันสืบมาอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

  32. นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • นักฝึกอบรม (Trainers) ที่ให้การอบรมในทักษะ (skills) และความคิด (ideas) ในการแก้ไขความขัดแย้ง นักฝึกอบรมสามารถที่จะช่วยให้ทราบว่ากรอบคิดความขัดแย้งคืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร และจะนำเสนอมันได้อย่างไร ต่อจากนั้นจะพูดถึงการเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยประนีประนอม และกระบวนการในการแก้ปัญหา

  33. นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • ผู้ทำการประนีประนอม (Mediators) • ผู้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะอย่างมากและมีความรอบรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและวัฒนธรรมที่เขากำลังเผชิญอยู่ • เป็นคนกลางที่ได้รับการไว้วางใจและเชื่อถือเราสามารถหาผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่ดีได้จากชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้ง เนื่องจากเขาเหล่านั้นจะคุ้นเคยกับบรรทัดฐาน วัฒนธรรมและประชาชนในพื้นที่นั้น

  34. นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • ผู้อำนวยความสะดวก(facilitators) • ช่วยให้การประชุมได้ผลในทางบวกมากขึ้น โดยจะช่วยดำเนินรายการให้เป็นไปตามวาระ • ช่วยให้การเจรจาในที่ประชุมบรรลุเป้าหมาย มุ่งเน้นประเด็นสำคัญในระยะเวลาที่มีอยู่ • ช่วยให้ทุกฝ่ายมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความความคิดเห็นโดยเท่าเทียมกัน • ข้อแตกต่างกับผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอม คือ ผู้อำนวยความสะดวกไม่จำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในระยะยาว บทบาทจำกัดแค่ในการประชุมแต่ละครั้งเท่านั้น

  35. สิ่งที่ท้าทายสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง คือ • สร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับยุทธวิธีเชิงสถาบันและกลไกที่ใช้จัดการแก้ไขความขัดแย้งอยู่ในปัจจุบัน • พยายามหาวิธีการสนับสนุนกลไกที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น • รัฐให้การสนับสนุนแก่ชุมชนท้องถิ่นและสถาบันท้องถิ่นที่มีอยู่

More Related