1 / 28

มุมมองใหม่การป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์ในสถานศึกษา

มุมมองใหม่การป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์ในสถานศึกษา. โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในการสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่11 จัดโดยคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ วันที่ 5 กรกฎาคม 2550 เวลา 13.00 -15.00น อาคารอิมแพคคอนเวนชัน เมืองทองธานี www.charuaypontorranin.com.

meara
Télécharger la présentation

มุมมองใหม่การป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์ในสถานศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มุมมองใหม่การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานศึกษามุมมองใหม่การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานศึกษา โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในการสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่11 จัดโดยคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ วันที่ 5 กรกฎาคม 2550 เวลา 13.00 -15.00น อาคารอิมแพคคอนเวนชัน เมืองทองธานี www.charuaypontorranin.com

  2. ปรับมุมมองแก้ปัญหาเยาวชนปรับมุมมองแก้ปัญหาเยาวชน • 1.ค้นหากลุ่มเยาวชนเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง • 2.สร้างเสริมความเข้มแข็งให้สถานศึกษา • 3.แก้ปัญหาองค์รวมเชิงระบบและใช้เครือข่าย • 4.ค้นหาต้นแบบความสำเร็จเพื่อขยายผล • 5.ให้เยาวชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเอง • 6.ข้อเสนอที่ชวนให้ช่วยกันพิจารณา

  3. ค้นหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงค้นหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง • (1) กลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี จำนวน 6.4 ล้านคน เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อยมาก • ควรปูทักษะชีวิตและสุขภาพพื้นฐาน • (2) กลุ่มอายุ 8-12 ปี จำนวน 4.7 ล้านคน เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อยแต่เป็นกลุ่มจะเข้าไปสู่ก่อนวัยเสี่ยง เพราะกำลังเป็นวัยเริ่มเรียนรู้และส่วนใหญ่กำลังเรียนในสถานศึกษา • ควรเน้นให้คิดวิเคราะห์และนิสัยรักอ่าน

  4. ค้นหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงค้นหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง (3) กลุ่มอายุ 13-18 ปี จำนวน 5.6 ล้านคน • กำลังเรียนในระบบ4.2 ล้านคน และอยู่ นอกสถานศึกษา 1.4 ล้านคน • เยาวชนกลุ่มนี้เป็นวัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยง ทุกประเภท ซึ่งคาดคะเนว่าจะมี560,000คน จากจำนวน 5.6 ล้านคน • เน้นฝึกทักษะสังคม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง

  5. ค้นหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 560,000 คน 1. กลุ่มสังคมเพื่อนเกี่ยวข้องยาเสพติดและอบายมุข 2. กลุ่มดื่มสุรา/เสพบุหรี่เป็นประจำ 3. กลุ่มครอบครัวติดยา/ค้ายาเสพติด 4. กลุ่มครอบครัวว่างงาน/ฐานะเศรษฐกิจตกต่ำ/กลุ่มเด็กเร่ร่อน 5. กลุ่มเล่นการพนัน/ติดพนันบอล 6. กลุ่มที่มีความเครียด/มีปัญหาในครอบครัว 7. กลุ่มแก๊งค์มอเตอร์ไซซิ่ง/มั่วสุม/ชอบทะเลาะวิวาท 8. กลุ่มฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย/ชอบเที่ยวเตร่ยามวิกาล/ติดเกมอินเตอร์เน็ต

  6. มุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน1.สภาพการจัดการศึกษาที่กระทบต่อพฤติกรรม/สุขภาพนักเรียนมุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน1.สภาพการจัดการศึกษาที่กระทบต่อพฤติกรรม/สุขภาพนักเรียน จุดแข็ง จุดอ่อน 1.มีหลักสูตรและการสอนสุขศึกษา1. ได้รับความสำคัญต่ำ งบน้อย 2.มีการจัดวาระสุขภาพเป็นวาระชาติ2.ครูวุฒิสุขภาพมีจำกัด ครูเองสุขภาพไม่ดี 3.ครอบครัวและชุมชนไม่ค่อยสนใจให้ ความร่วมมือ โอกาส ภัยคุกคาม 1.มีเครือข่ายองค์กรสุขภาพที่เข้มแข็ง 1. เกิดโรคใหม่ๆเช่นไข้หวัดนก ซาร์ 2.มีความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2. มีภาวะเสี่ยงจากสังคมรูปแบบใหม่ เช่นเว็บไซต์ลามกเครดิตการ์ด 9

  7. มุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนมุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน 2. ครูส่วนใหญ่มีทักษะการสอน รู้วิธีสอน แต่มักสอนสุขภาพภาคทฤษฎี • การเรียนการสอนทักษะชีวิต**เป็นนวัตกรรมที่ดีที่สุด แต่ใช้มานานกว่า10ปีแล้ว • ครูอยากได้วิธีปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนจะมีอะไรใหม่ๆอีกหรือไม่ • ครูเองก็มีสุขภาพไม่ดี ควรได้รับการดูแลจากผู้บริหารด้วย 10

  8. มุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนมุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน 3.นโยบายสุขภาพของกระทรวงศึกษาจะต้องมาจากนโยบายของรัฐมนตรีและรัฐบาล - แต่ต้องขับเคลื่อนให้เป็นวาระชาติจึงจะได้รับ ความสนใจและเงินอุดหนุนจากรัฐ 4.ข้อเสนอแนะด้านพฤติกรรมและสุขภาพจากรัฐบาลและกระทรวงเป็นนโยบายดี -แต่พื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนขนาดเล็กเอื้อมไม่ถึงน่าจะต้องใช้การจัดการองค์ความรู้กระจายความรู้ไปให้ถึง 12

  9. มุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนมุมมองต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน 5.การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลักการศึกษา และสาธารณสุข ต้องการทีมทำงานมืออาชีพ • ปัญหาคือจะหาทีมดีๆทำงานเก่งๆทั้งสองฝ่ายได้จากที่ไหน 6.การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชนขึ้นกับฝีมือของผู้บริหารสถานศึกษาและทีมงาน • จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้ทำงานได้ • ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีทักษะ มนุษยสัมพันธ์ 14

  10. ข้อเสนอแก้ปัญหาเยาวชนจากศธ.ข้อเสนอแก้ปัญหาเยาวชนจากศธ. 1.แก้ไขปัญหาพฤติกรรมเยาวชนทั้งระบบ/องค์ประกอบทุกมิติ ก.ใช้ทุกระบบ -ระบบใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา( Whole School Approach or School Based Management) -ระบบใช้โรงเรียนช่วยสร้างความเข้มแข็งของชุมชน( School as Central for Community Development Approach) -ระบบสร้างเครือข่ายทันสมัยกระจายความรู้ ( Virtual Networking through ICT ) ข.ใช้ทุกมิติ: ตามภาระหน้าที่/ประเด็นปัญหา/พื้นที่ (Functional/Issue/Area Approaches)

  11. ข้อเสนอแก้ปัญหาเยาวชนจากศธ.ข้อเสนอแก้ปัญหาเยาวชนจากศธ. (2) สร้างเยาวชนแกนนำช่วยเพื่อนในสถานศึกษาให้ได้จำนวน177,000 คน (3) มีมาตรการเฝ้าระวังเยาวชนจำนวน 560,000คนซึ่งเป็นกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายสำคัญ (4) จัดระเบียบสังคมในเขตเมืองทุกจังหวัดโดยเฉพาะการดูแลหอพัก ปัญหาเหล้าบุหรี่การพนัน สถานบริการและ การสร้างงานให้หารายได้ระหว่างเรียน (5) สร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาในพื้นที่เสี่ยง (6) สถานศึกษาต้องจัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์ พื้นที่เป้าหมายยุทธศาสตร์ แผนงาน และการติดตามประเมินผลโดยทำงานร่วมกับส่วนราชการอื่น และเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน

  12. ปัจจัยความสำเร็จงานสุขภาพและพฤติกรรมนักเรียนปัจจัยความสำเร็จงานสุขภาพและพฤติกรรมนักเรียน 1. มีวิสัยทัศน์และแนวทางดำเนินโครงการที่ชัดเจน 2. มีการสนับสนุนในทำงานระดับชาติและนานาชาติ 3. มีแผนงานและกระบวนการทำงาน 4. การสนับสนุนจากครูใหญ่ จัดสรรทรัพยากรและให้คำปรึกษาเป็นระยะ 5. ทุกคนมีส่วนร่วมรู้สึกเป็นเจ้าของ 6. ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 7. .มีทีมงานดี ฝึกอบรมทีมและทีมทำงานอย่างอุทิศเวลา

  13. ข้อเสนอจากองค์การอนามัยโลกข้อเสนอจากองค์การอนามัยโลก • 1.รัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนด้านการศึกษาเพื่อให้เด็กทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะเด็กหญิง • 2.สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา • 3.พัฒนาศักยภาพครูที่มีบทบาทส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน • 4.แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกันเพื่อให้เกิดโครงการที่ดีและเหมาะสมกับสภาพของแต่ละแห่ง • 5.พัฒนาเครือข่ายหุ้นส่วนทำงานอย่างยั่งยืน โดยการสร้างชุมชนผู้ปฏิบัติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

  14. โรงเรียนเกษมสีมาวิทยาคาร สพท.2 อุบลราชธานีต้นแบบสอนเพศศึกษา ทุกห้องจะได้เรียนเพศศึกษาในชั่วโมงแนะแนว ๑๘ ชั่วโมงต่อภาค โดยอาจมีกิจกรรมอื่นมาแทรกบ้าง ซึ่งถือเป็นภาวะปกติ แต่อย่างน้อยต้องได้เรียนภาคละ ๑๔-๑๕ ชั่วโมง

  15. เกษมสีมาวิทยาคาร เรียนอย่างเป็นระบบ ดีกว่าให้นักเรียนไปหารู้เอง จัดให้เรียนพร้อมกันในเวลาเดียวกันทุกห้อง นักเรียนทุกระดับ ม.๑-ม.๖ ทั้ง ๑๙ ห้อง จำนวน ๔๖๓ คน จะได้เรียนพร้อมกันสัปดาห์ละ ๑ คาบเรียน • โดยครูทั้งโรงเรียน ๒๗ คน ได้รับการสนับสนุนหรือถ่ายทอดวิธีการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาจากครูที่อบรมกับก้าวย่างอย่างเข้าใจขององค์กรPATHฯ ซึ่งการวางแผนแบบนี้ต้องใช้แผนกิจกรรมจำนวนมาก • ทีมทำงานใช้วิธีแตกกิจกรรมเพศศึกษาของหลักสูตรก้าวย่างฯ เพื่อจัดกิจกรรมต่อแผนให้สอนมากกว่า ๑ คาบเรียน บางแผนจัดได้ถึง ๓ คาบต่อเนื่องกัน โดยที่บางส่วนใช้หลักสูตรเพศศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ซึ่งพิมพ์แจกให้กับโรงเรียนต่างๆ เข้ามาเสริม เพื่อให้ทุกห้อง ทุกระดับได้เรียนอย่างต่อเนื่องไม่ซ้ำกิจกรรมกัน

  16. “เพศศึกษา ... บทเรียนที่ต้องติว" อ.นคร สันธิโยธิน ครูต้นแบบโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 1.สอนอะไร -สอนกระบวนการ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ -สุขภาพทางเพศ สุขปฏิบัติทางเพศและพฤติกรรมทางเพศ -การสื่อสารและสัมพันธภาพที่จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดมีขึ้นเป็น**ทักษะชีวิต ** ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจโดยเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานของสังคมและวัฒนธรรมด้วย

  17. “เพศศึกษา ... บทเรียนที่ต้องติว"  2. สอนอย่างไร • ใช้กิจกรรมหลากหลายโดยวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก • มักใช้ภาษา คำพูดโดนใจ • ใช้ประเด็นปัญหาสังคมโดยยกสถานการณ์ มาให้นักเรียนคิด เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน • มีเกร็ดความรู้เพื่อให้ความสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันได้เรียน รู้เท่าทันอารมณ์และความเปลี่ยนแปลง • ใช้สื่อการเรียนการสอนให้เข้าใจบทเรียน

  18. เรียนรู้จาก อ.นคร สันธิโยธิน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 3. เสริมอย่างไร • กิจกรรมทักษะชีวิตเช่น กิจกรรมเกมแลกน้ำ เป็นการจำลองการมีเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ทุกคนต้องแลกเปลี่ยนน้ำกับเพื่อน 5 ครั้งและบางคนแลกเปลี่ยนน้ำ 1 ครั้ง ซึ่ง 5 ครั้งก็หมายถึงการเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อย ๆ กับ 1 ครั้งคือการรักเดียวใจเดียว ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเห็นโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อเอดส์ • กิจกรรมทัศนะศึกษาที่สอดแทรกในบทเรียน เนื่องจากว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ค่อนข้างปกปิด การเรียนรู้อย่างเปิดใจในความคิดของผู้ชายและผู้หญิงซึ่งไม่เหมือนกัน จึงต้องนำมุมมองและบรรทัดฐานความคิดของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับความแตกต่างได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้คิดวิเคราะห์ถึงเหตุและผลก่อนที่จะไปตัดสินและประเมินคุณค่าของคนอื่น

  19. ฟังเสียงจากเยาวชน เสนอ6ทางแก้ ลดจำนวนเอดส์รายใหม่ • 1. รัฐเร่งสร้างความเข้าใจให้ผู้รับผิดชอบนโยบายเยาวชน เข้าใจธรรมชาติของเยาวชน สร้างทางเลือกให้เยาวชน • 2. รัฐมีหลักสูตรเพศศึกษาและมีระบบการให้ข้อมูลเรื่องเอดส์ เพศศึกษา ที่รอบด้าน • 3. รัฐสนับสนุนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในระดับชุมชนถึงระดับชาติ

  20. ฟังเสียงจากเยาวชน เสนอ6ทางแก้ • 4. รัฐต้องพัฒนาระบบให้บริการ ที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน • 5. รัฐสนับสนุนทรัพยากรทุนในการทำกิจกรรม พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ • 6. รัฐสนับสนุนสภาวะแวดล้อมและกลไกการทำงานที่เอื้อต่อการป้องกันเอดส์ โดยการบังคับใช้กฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้อง ให้นำไปสู่การปฏิบัติ ในการแก้ปัญหาเอดส์ โดยมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

  21. หมอประเวศ ชี้คนไทยอ่านน้อยต้นตอวิกฤตของบ้านเมือง 1. ส่งเสริมให้มีชมรมรักการอ่านในทุกหมู่บ้าน2. จัดหาหนังสือนิทานดีๆ ให้ทุกครอบครัวอ่าน โดยเฉพาะให้ลูกอ่าน3. จัดการแจกจ่าย Book Startให้ทุกครอบครัวที่มีเด็กเกิดให้มีหนังสือถึงบ้าน เพื่อรณรงค์รักการอ่าน4. ฟื้นฟูการอ่านในระบบการศึกษาจากอดีตที่มีวิชาการสอนย่อความอ่านจับใจความ ในระบบการศึกษาทุกระดับแต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นข้อสอบปรนัย ทำให้เด็กรุ่นใหม่อ่านเขียนหนังสือไม่เป็น

  22. คนไทยอ่านน้อยต้นตอวิกฤตของบ้านเมืองคนไทยอ่านน้อยต้นตอวิกฤตของบ้านเมือง • 5. จัดประกวดการอ่านทั้งแผ่นดินในรูปแบบเดียวกับการสอบจอหงวนของประเทศจีน ให้เกิดวัฒนธรรมเชิดชูการอ่าน • 6. รัฐต้องจัดทำรายการอ่านทางสถานีโทรทัศน์ • 7. รวบรวมศิลปินสร้างประติมากรรมสัญลักษณ์ให้ทุกวัยรักการอ่าน ยกตัวอย่างที่เมืองเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ มีประติมากรรมขนาดใหญ่เป็นรูปเยาวชนวัยหนุ่มสาวถือหนังสือ พร้อมเขียนข้อความปลุกระดมให้วัยหนุ่มสาวต้องมีหนังสือติดมือตลอดและอ่านทุกที่ทุกครั้งที่มีโอกาส

  23. ข้อเสนอ: สถานศึกษาต้องสร้างกลไกเชิงระบบเพื่อสู้ปัญหาล่วงละเมิดทางเพศ (จิตติมา ภาณุเตชะ) คอลัมน์เสียงสตรี หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2549) • 1. ปัญหาที่พบของสถานศึกษา • มุ่งปกป้องชื่อเสียงของโรงเรียนและให้กำลังใจครูที่ถูกกล่าวหาเป็นหลัก • ขาดระบบปกป้องเด็กจาก “การถูกข่มขืนซ้ำ” • ขาดการเยียวยาฟื้นฟูเด็กที่ถูกกระทำ • ท่าที บทบาท และการแสดงความเห็นของผู้บริหารโรงเรียนยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นกลาง

  24. 2. ข้อเสนอกระบวนการจัดการกับปัญหาข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ (จิตติมา ภาณุเตชะ) • (1) มีนโยบายต่อต้านการละเมิดทางเพศที่ชัดเจนและ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเผยแพร่ให้นักเรียน ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ทุกคนของสถานศึกษาได้รับทราบ • (2) ต้องมีกระบวนการป้องกันกระบวนการช่วยเหลือ กระบวนการคุ้มครองอย่างละเอียด ผู้ที่รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องรู้ว่าต้องทำอะไรและอย่างไร • (3) ช่วยเหลือให้ผู้ที่ถูกกระทำมีความกล้าที่จะร้องเรียนได้อย่างไร (เพราะจากการศึกษาพบว่าคดีข่มขืนปรากฏเป็นข่าวให้สังคมรับรู้นั้นเป็นเพียงร้อยละ 5 ของเหตุที่เกิดทั้งหมดเท่านั้นเอง)

  25. 2. ข้อเสนอกระบวนการจัดการกับปัญหาข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ (จิตติมา ภาณุเตชะ) • (4) การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการข่มขืนและ ลวนลามทางเพศในสถานศึกษาให้ได้ผล • (หนึ่ง) ต้องจัดการศึกษาเรื่องความรุนแรงทางเพศในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ทุกคนในสถานศึกษา - มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะในการดูแลความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมสถานศึกษา - สร้างนิยามของการคุกคามทางเพศ โดยควรจะบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าหมายถึงการกระทำอะไรบ้าง และนิยามนี้ก็ควรเขียนไว้ในกฎหรือข้อบังคับของสถาบันการศึกษาด้วย

  26. (4) การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการข่มขืนและลวนลามทางเพศในสถานศึกษาให้ได้ผล (จิตติมา ภาณุเตชะ) (สอง) ต้องป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศที่จะเกิดขึ้น • มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาที่วางเป้าหมายว่าจะลดความเสี่ยงของการเกิดการคุกคามทางเพศ • การติดตั้งไฟฟ้าให้ความสว่างอย่างพอเพียง • มีระบบรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกอาคารต่าง ๆ • มีการรณรงค์ให้ทุกคนในสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยซึ่งกันและกัน • ในกฎระเบียบสำหรับนักศึกษาก็ต้องระบุชัดเจนถึงปัญหาการคุกคามทางเพศให้ข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของสถานศึกษาในการจัดการปัญหา และรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิและการคุ้มครองที่ผู้ถูกกระทำและผู้ถูกกล่าวหาและได้รับจากสถานศึกษา

  27. (4) การจัดการศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการข่มขืนและลวนลามทางเพศในสถานศึกษาให้ได้ผล (จิตติมา ภาณุเตชะ) (สาม) ต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว • กำหนดแนวทางจัดการเมื่อมีการร้องเรียนโดยระบุเป็น ขั้นตอนที่ชัดเจนว่าสถานศึกษาจะดำเนินการตามลำดับ อย่างไรบ้างหากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ • มีกระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำ และผู้ถูกกล่าวหาอย่างไร ใครบ้างเป็นผู้รับผิดชอบ • มีการจัดบริการที่ครบวงจรให้กับผู้ถูกกระทำโดยสร้างเครือข่ายหน่วยให้บริการเพื่อประกันว่าผู้ถูกกระทำจะได้รับบริการครบถ้วนทั้งด้านการแพทย์ กฎหมาย ความปลอดภัย การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา

  28. นี่ใช่หรือไม่ ผลงานพัฒนานักเรียนของท่าน 50

More Related