1 / 88

CHAPTER 10 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย

CHAPTER 10 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย. EC482. Outline. บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 บทความ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบ 5 ทศวรรษ” โดย รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรมและ อ.พีระ เจริญพร.

Télécharger la présentation

CHAPTER 10 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHAPTER 10การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย EC482

  2. Outline • บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 • บทความ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบ 5 ทศวรรษ” โดย รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรมและ อ.พีระ เจริญพร

  3. 8.1 บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 Outline • สาเหตุแห่งการเจริญเติบโตของภาคหัตถอุตสาหกรรม • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ • ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย • เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Path) • บทสรุป

  4. 2.สาเหตุของการเจริญเติบของภาคหัตถอุตสาหกรรม2.สาเหตุของการเจริญเติบของภาคหัตถอุตสาหกรรม • 2520-2530 ความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การพิมพ์ เครื่องจักร • 2530-now เดิมเชื่อว่าเกิดจากการเติบโตในภาคการส่งออก แต่ความจริงน่าจะเกิดจากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทรัพยากรภายในประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยเฉพาะ ประเทศญี่ปุ่น

  5. 3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ 3.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในสาขาหัตถอุตสาหกรรม:อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า อุตสาหกรรมอุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก พลาสติกเติบโตขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยาสูบ อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมโลหะมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำลง 3.2 ประสิทธิภาพของภาคหัตถอุตสาหกรรม: ในระหว่าง 2503-2533 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ภาคหัตถอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในมูลค่าเพิ่มค่อนข้างคงที่

  6. 3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ 3.3 การแบ่งปันผลของความเจริญเติบโต:สัดส่วนของค่าแรงในมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมลดลงแต่สัดส่วนของกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองมีสัดส่วนกำไรลดลง สัดส่วนของวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปนำเข้าในสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น 3.4 การขยายตัวของความเจริญเติบโตในภูมิภาคต่างๆ: การขอจดทะเบียนของโรงงานใหม่เริ่มมีแนวโน้มการกระจายของอุตสาหกรรมออกนอกกรุงเทพฯมากขึ้น 3.5 อัตราการเจริญเติบโตของโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก: ในช่วงที่อุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตสูงกิจกรรมขนาดใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่ากิจการขนาดเล็ก เนื่องจากระบบภาษีมีส่วนอุดหนุนการลงทุนแก่กิจการขนาดใหญ่

  7. 4. ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย 4.1 แรงงาน:ค่าแรงถูกเพราะมีแรงงานที่ถูกผลักดันออกมาจากภาคเกษตร ต่อมาตลาดแรงงานเริ่มตึงตัว การลงทุนทำให้ประสิทธิผลของแรงงานสูงขึ้น ขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ แรงงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 4.2 ทรัพยากรธรรมชาติ:ทรัพยากรในประเทศเริ่มไม่เพียงพอเช่นอุตสาหกรรมปลากระป๋อง ต้องอาศัยแหล่งวัตถุดิบสากลและพัฒนาทักษะในการหาวัตถุดิบจากแหล่งสากล

  8. 4. ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย 4.3 เทคโนโลยี: ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • สถานะของเทคโนโลยีในปัจจุบัน • จากการผลิตขนาดเล็กสู่การแปรรูปขนาดใหญ่ • ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดกับเทคโนโลยี

  9. 5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • Growth Path • Newly Industrializing Economies (NIEs) • Newly Industrializing and Agro-based Economies (NIAEs) • Newly Industrializing Agro-based and Services Economies (NIASEs)

  10. 5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.1 นโยบายอุตสาหกรรมแบบไทยๆ: มักไม่เจาะจงอุตสาหกรรม (a)นโยบายที่มีผลต่อการจัดสรรทรัพยากรอุตสาหกรรมและต่อโครงสร้างอุตสาหกรรม เช่น การส่งเสริมการลงทุน นโยบายภาษี นโยบายคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย (b)นโยบายที่มีผลต่อการจัดองค์กรอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมกำลังการผลิต ข้อกำหนดการรวมตัวของบริษัท นโยบายช่วยเหลือ SMEs นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรม 5.2 นโยบายกำแพงภาษี: เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โดยการกำหนดภาษีนำเข้าในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างสินค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่การหารายได้มากกว่าการพัฒนาอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดความโน้มเอียงไปในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายโดยไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปข้างหลัง และยังทำให้เกิดการละเลยเครื่องมือนโยบายอุตสาหกรรมอื่นๆ

  11. 5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.3 การส่งเสริมการลงทุน: BOI มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการส่งออก กระจายอุตสาหกรรมไปชนบทและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 5.4 นโยบายรายสาขา (Sectoral Policies):เป็นนโยบายที่ดำเนินการโดยแต่ละกระทรวงแต่บางครั้งก็ขัดแย้งกันเองระหว่างกระทรวง • นโยบายการใช้ชิ้นส่วนประกอบภายในประเทศ: มิได้เน้นการลดการพัฒนาระดับเทคโนโลยีอย่างจริงจัง กลายเป็นการต่อรองระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศกับผู้ประกอบรถยนต์ญี่ปุ่น • การควบคุมกำลังผลิต: excess capacity, economy of scale, indivisibilities, economic rent, barrier to entry, optimal production, technological bottleneck

  12. 5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.5 นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย:เงื่อนไขที่ใช้คัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย ชนิดของมาตรการที่ใช้กับอุตสาหกรรมและเครื่องมือที่จำเป็นในการนำนโยบายไปปฏิบัติ อุปสรรคของไทยในการแทรกแซงโดยรัฐ (๑) การแบ่งแยกโดยเด็ดขาดระหว่างนโยบายมหภาคกับจุลภาค (๒) อำนาจทางกฎหมายที่ให้แก่กระทรวงในการออกกฏกระทรวงและระเบียบ 5.6 ความจำเป็นของการผสมผสานนโยบายรายสาขา:ความสำคัญของความเข้าใจลักษณะและระดับการพัฒนาของแต่ละอุตสาหกรรมและการประสานนโยบายมหภาค ตลอดจนการทำให้เอกชนเกิดความมั่นใจในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ระยะยาว ดังนั้นการใช้นโยบายอุตสหากรมต้องมีเป้าหมายที่แน่ชัด มีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลเพื่อลดต้นทุนทางสังคมให้ต่ำที่สุด

  13. บทสรุป • ความได้เปรียบที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรและแรงงานราคาถูกกำลังจะหมดไป • การสร้างความได้เปรียบใหม่โดยนโยบายอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องและเป็นระบบ ต้องมีการใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการสร้างมโนทัศน์ vision ร่วมกันและนโยบายต่างๆทั้งมหภาคและจุลภาคจำเป็นต้องใช้อย่างผสมผสานและไปในทิศทางเดียวกัน • ทางเลือกของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต • บทบาทของรัฐต้องเปลี่ยนแปลงจากการควบคุมไปเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม ควบคุมคุณภาพ มลพิษ และการสร้างมโนทัศน์และการบริการข้อมูลในประชาชน • ภาคเอกชนและภาครัฐต้องร่วมมือกัน

  14. (II) บทความเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบห้าทศวรรษ” • แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของไทยเป็นเพียงแผนชี้แนะ (indicative plan) ไม่ได้เป็นแผนบังคับ (compulsory or mandatory plan) • ภาคอุตสาหกรรมเติบโตด้วยการดำเนินงานของภาคเอกชนเป็นหลัก (โดยเฉพาะบทบาทของบรรษัทข้ามชาติที่เป็นเจ้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) • บางแผนมีการกำหนดเป้าหมาย แต่บางแผนไม่ได้กำหนด เป้าหมาย (เช่น แผนฉบับที่ 4 ไม่ได้กำหนดเป้าหมาย)

  15. นโยบายและมาตรการที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ • การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอ • การเก็บภาษีศุลกากรโดยกระทรวงการคลัง • การกีดกันการนำเข้าด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรโดยกระทรวงพาณิชย์ • การให้สินเชื่อโดยสถาบันการเงิน • หน่วยงานเหล่านี้มีปัญหาการประสานงานในนโยบายรายสาขา • เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว จะมีการกำหนดแนวนโยบายและมาตรการอย่างกว้าง ๆ (ดูรายละเอียดในแผน5 (2525-2529)) • ฉะนั้น การศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทย จำต้องศึกษานโยบายและมาตรการของรัฐ ทั้งที่ระบุและที่ไม่ได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

  16. “รายงานการศึกษา ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในช่วงแผน 8” (2539) ระบุว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยโดยทั่วไปแล้วจัดว่าเป็นแผนชี้แนะ มากกว่าเป็นแผนที่มีการบังคับ ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบายกว้าง ๆ หรือแสดงแนวคิดไว้แต่ไม่ได้กำหนดแผนปฏิบัติงานอย่างละเอียด และบ่อยครั้ง นโยบายที่เขียนอยู่ในแผนพัฒนาฯ ฉบับต่าง ๆ ไม่ปรากฏว่ามีมาตรการใด ๆ รองรับ หรือไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ…” (สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย และคณะ, 2539, หน้า 15)

  17. แผน 1 (2504-2509) และแผน 2 (2510-2514) เน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า เนื่องจาก 1. ไทยขาดแคลนสินค้า (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) 2. กระแสแนวคิดหลักของประเทศกำลังพัฒนา

  18. ในช่วงแผน 1 และ แผน 2 1) ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวเร็วทำให้มีสัดส่วนในจีดีพี เพิ่มจาก 14.5% ในปี 2503 เป็น 17.9% ในปี 2514 2) อุตสาหกรรมที่โตเร็ว: น้ำมันปิโตรเลียม และสิ่งทอ แต่อุตสาหกรรมอาหารกลับมีสัดส่วนในจีดีพีลดลง 3) พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมากขึ้น จนทำให้มีดุลการชำระเงินขาดดุลติดต่อกันในปี 2512-2514

  19. แผน 3 (2515-2519) • เริ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก • และเริ่มส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค • ขณะเดียวกันยังคงส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า • สัดส่วนของภาคหัตถอุตสาหกรรมในจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 22.2% ในปี 2519

  20. แผน 4 (2520-2524) และ แผน 5 (2525-2529) • ยังคงดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและเริ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมพื้นฐาน (เหล็ก, การแยกก๊าซธรรมชาติ, ปิโตรเคมีคอล, ปุ๋ยเคมี และเยื่อกระดาษ) • ในช่วง 2520-2529 ภาคหัตถอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในจีดีพีประมาณ 22-23% ค่อนข้างคงที่ • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ มีขนาดที่โตขึ้นค่อนข้างมาก

  21. แผน 6 (2530-2534) • ดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกต่อไปและได้มีการระบุอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมวิศวการ (อุตสาหกรรมงานโลหะ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์) และส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค ตลอดจนการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม

  22. แผน 7 (2535-2539) ดำเนินนโยบายส่งเสริมการส่งออกต่อไป ระบุอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ • อุตสาหกรรมการเกษตร • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม • อุตสาหกรรมงานโลหะ • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี • อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า (อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเร็วในช่วงนี้)

  23. ในช่วงแผน 6-7 (2530-2539) • ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวเร็ว • มีสัดส่วนใน GDP เพิ่มจาก 23.4% ในปี 2529 เป็น 31.5% ในปี 2539 • สาเหตุหลัก: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี 2529 แผน 8 (2540-2544) แผน 9 (2545-2549) • ไม่มีส่วนที่เป็นแผนพัฒนาอุตสาหกรรม • แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (2541-2545)(ไม่มีการเชื่อมโยงกับแผน 8)

  24. ประเด็นที่พิจารณา • 1) นโยบายและมาตรการของรัฐ • นโยบายการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม • นโยบายและมาตรการด้านการค้าระหว่างประเทศ • มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมด้วยภาษีอากรขาเข้า • มาตรการกีดกันการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร • มาตรการการส่งเสริมการส่งออก • มาตรการควบคุมการผลิต • นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

  25. 2. แหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ • ช่วงทศวรรษ 2510, 2520 สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ • หลัง Plaza Accord (2528) ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ • สหภาพยุโรปมีการลงทุนในไทยมากขึ้นในทศวรรษ 2540 (หลังวิกฤตการณ์) • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีสัดส่วนลงทุนในภาค อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจาก 13.9% ในปี 2514 เป็น 39.4% ในปี 2524 เป็น 46.4% ในปี 2534 และ 57.3% ในปี 2544 • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยรวม (2513-2544) 42.6% ลงทุนในภาคอุตสาหกรรม • อุตสาหกรรมสำคัญ: เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า (12.4%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (8.3%)โลหะและอโลหะ (5.5%)

  26. 3) บรรษัทข้ามชาติ (ข้อมูล สำมะโนอุตสาหกรรม 2540) จำนวนสถานประกอบการ สถานประกอบการของคนไทย มีการลงทุนจากต่างประเทศตั้งแต่ 1%

  27. สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้รับการส่งเสริม ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้รับการส่งเสริม สถานประกอบการที่มีต่างชาติร่วมลงทุน สถานประกอบการของไทย

  28. มูลค่าผลผลิตรวม ผลิตโดยสถานประกอบการ ของไทย (88.7%) ผลิตโดยสถานประกอบการที่มีต่างชาติร่วมลงทุน (11.3%)

  29. 4) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม จำนวนสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม (100,283 ราย) ผู้ผลิตรายใหญ่ SMEs

  30. การจ้างงาน การจ้างงานโดย SMEs การจ้างงานโดยผู้ผลิตรายใหญ่

  31. การช่วยเหลือของภาครัฐยังมีน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของ SMEs ในไทย • การช่วยเหลือที่รัฐบาลให้แก่ SMEs มีน้อยกว่าการช่วยเหลือที่ให้แก่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และกลาง

  32. 5) การกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค • เริ่มต้นในแผน 3 • มาตรการที่ใช้ : การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอและการตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • ปัจจุบัน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมีการขยายตัวไปสู่เขตชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นบางส่วน

  33. 6) การพัฒนาเทคโนโลยี ประเด็นปัญหาของการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย • ประเทศไทยมีการใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยอยู่ในระดับที่ต่ำ • ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยของรัฐบาลซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในภาคการผลิต • พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก • ขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเสียเปรียบด้านเทคโนโลยี

  34. ข้อคิดเห็นบางประการ • ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน • ผู้บริโภค • การร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรม • อุตสาหกรรมเป้าหมาย

  35. สรุป: นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยจากอดีตสู่อนาคต • จากทศวรรษ 1960 ถึงปัจจุบัน นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยได้เปลี่ยนแปลงจากการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ามาเป็นการเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปสู่ตลาดโลก • กลางทศวรรษ 1970 รัฐเริ่มตระหนักถึงข้อจำกัดของนโยบายทดแทนการนำเข้าว่าอาจไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดสามประการคือ • 1) อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าใช้แรงงานต่อทุนต่ำกว่าอุตสาหกรรมส่งออก • 2) ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่มีขนาดตลาดเล็กกว่าตลาดโลก • 3) นโยบายทดแทนการนำเข้าไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน

  36. ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 รัฐเริ่มหันมาให้ความสนใจต่อการส่งเสริมการส่งออก แต่ในทศวรรษ 1980 ข้อจำกัดของมาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกมีหลายประการ คือ • โครงสร้างภาษีที่มีอัตราภาษีสูงและแตกต่างกันมาก • ผู้ส่งออกมิได้รับประโยชน์จากมาตรกรสิทธิประโยชน์พิเศษอย่างเต็มที่ • มาตรที่ใช้มิได้เกื้อกูลผลประโยชน์ให้ตกแก่ผู้ผลิตเพื่อส่งออกโดยทั่วถึงกันทุกราย • การรับซื้อลดตั๋วแลกเงินแก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกของ BOT มักได้รับการร้องเรียนจากประเทศผู้นำเข้าว่า เป็นการอุดหนุนการส่งออก • ในต้นทศวรรษ 1990 รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยการลดอัตราภาษีศุลกากรให้ต่ำลง ลดจำนวนอัตราให้เหลือเพียง 6 อัตรา

  37. 8.2 ปัญหาและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย EC482

  38. ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจไทยภาพรวมภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจไทย • ภาคอุตสาหรรมเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญสูงต่อระบบเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ • โครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลักมาเป็นการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรม • มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกรรมลดลง • สัดส่วนการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับจำนวนการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ในระดับต่ำ

  39. โครงสร้างกิจการอุตสาหกรรมการผลิตของไทยโครงสร้างกิจการอุตสาหกรรมการผลิตของไทย • กิจกรรมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยเป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยล่ะ 99.4 ของกิจการอุตสาหกรรมทั้งหมด • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวนกิจการ SMEs มากที่สุด รองลงมา อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และอุตสาหกรรมโลหะประดิษฐ์

  40. กิจการขนาดใหญ่แทบทุกสาขาอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากกว่ากิจการ SMEs • ในปี พ.ศ.2546 กิจการขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 71.1 ในขณะที่กิจการ SMEs ซึ่งมีจำนวนมากกว่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 28.9 • กิจการขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่ากิจการ SMEs • ในปี พ.ศ.2546 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนการจ้างงานรวม 2.81 ล้านคน เป็นการจ้างงานของกิจการ SMEs ร้อยละ 49.2 และเป็นการจ้างงานของกิจการขนาดใหญ่ร้อยละ 50.8

  41. โครงสร้างการก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหรรมจำแนกตามขนาดกิจการและสาขาอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2546

  42. โครงสร้างการกระจายตัวของกิจการ SMEs • กิจการ SMEs ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในจังหวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภูมิภาค • ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กิจการ SMEs ตั้งกิจการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ถึงร้อยละ 75.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ แล้ว กิจการ SMEs ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุด • โครงสร้างประเภทกิจการ SMEs จะมีความคล้ายคลึงกันในทุกภูมิภาคของประเทศไทย คือ กิจการในภาคการค้าปลีกและภาคบริการจะมีสัดส่วนสูงกว่ากิจการภาคการผลิต

  43. ปัญหาสำคัญและบทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไทยปัญหาสำคัญและบทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาด้านโครงสร้างที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมหลักของไทย • สภาวะแวดล้อม และประเด็นสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมไทย • นโยบายภาครัฐในการแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมไทย

  44. i. ปัญหาด้านโครงสร้างที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาด้านการผลิต -แนวโน้มผลิตภาพการผลิตลดลง -ข้อจำกัดในการส่งเสริม SMEs ทั้งทางด้านเงินทุนและบุคคลากร • ปัญหาการส่งออก -สูญเสียความได้เปรียบและมีส่วนแบ่งตลาดลดลงในสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบในอดีต • ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ -ความพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในการผลิตสินค้า

  45. ii. ปัญหาเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมหลักของไทย • การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือระดับสูง • การพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าในสัดส่วนที่สูง • การขาดแคลนศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล • การขาดการวิจัยและพัฒนา • การขาดเทคโนโลยีที่ดีในการผลิต

  46. ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต แรงงาน • อุตสาหกรรมไทยทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือที่ใช้แรงงานที่มีทักษะและความชำนาญ ต่างก็ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีประสบการณ์ • ขาด Basic skill ด้านภาษา เช่น การใช้ภาษาต่างประเทศ,ทักษะในการสื่อสาร • ขาด Advance skill/Knowledge ความสามารถในการคิดไปข้างหน้าในเรื่องของ product หรือการผลิต เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง สิ่งทอ เป็นต้น • การว่างงานของผู้มีการศึกษา เนื่องจากความไม่สอดคล้องกันของการศึกษา/ความชำนาญ กับความต้องการของตลาด • แม้ว่าแรงงานฝีมือจะมีค่าจ้างที่ไม่สูง แต่แรงงานฝีมือยังมีจุดอ่อนด้านความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และการช่าง

  47. ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต เครื่องจักร • ความล้าสมัยของเครื่องจักร ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง(ขนาดกลาง/เล็ก) ที่มีเครื่องจักรที่ล้าสมัย ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ ไม่สวยงามประณีต เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ • ผู้ประกอบการไม่ลงทุนในการซื้อเครื่องจักรใหม่ อาจเกิดจากสถาบันการเงินไม่ให้กู้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีอนาคต หรือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ประกอบการไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องจักรใหม่/เทคโนโลยีใหม่อย่างทันท่วงที หรือผู้ประกอบการเองไม่ต้องการลงทุนในส่วนนี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่

  48. ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต สินเชื่อ • ปัญหาใหญ่คือการขาดแหล่งเงินทุน เนื่องจากสถาบันการเงินไม่ค่อยปล่อยกู้เพราะต้องการหลีกเลี่ยงปัญหา NPL หรือธุรกิจที่ขอกู้มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อม (SMEs)ประกอบกับตัวผู้ประการเองมีปัญหาเรื่องระบบบัญชี ทำให้ต้องใช้ระบบการค้ำประกันส่วนบุคคล ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา NPL ได้ในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานและสถาบันหลายแห่ง (เช่น IFCT บสย. บอย.) สนับสนุนการให้กู้กับ SMEs แต่จัดว่าเป็นสัดส่วน (Scale) ขนาดเล็กไม่สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งระบบได้ • ปัญหาเฉพาะหน้าคือ ปัจจุบันธุรกิจขนาดใหญ่และเล็กโดยทั่วไปมีปัญหา NPL ประกอบกับการทีสภาพธุรกิจมีส่วนเกินของกำลังการผลิต (excess capacity) ทำให้การขอกู้เงินเพื่อลงทุนเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กขาดแคลนเงินทุน

  49. ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต พลังงาน • อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากจะมีปัญหาในด้านต้นทุนพลังงานที่สูงซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าระบบภาษีที่เก็บจากพลังงานที่ใช้ในการผลิต (เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน) อาทิเช่น ภาษีสรรพสามิต, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, เงินนำส่งกองทุนน้ำมัน, กองทุนอนุรักษ์ อาจทำให้มีการบิดเบือนในต้นทุนที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ดีภาษีดังกล่าวอาจนำมาชดเชยในด้านสิ่งแวดล้อม • ปัญหากระแสไฟไม่สม่ำเสมอ มีไฟตกบ่อย ทำให้กระบวนการผลิตเสียหาย วัตถุดิบ • คุณภาพและความสม่ำเสมอของวัตถุดิบเช่น ไม้ยาง, สินค้าเกษตร เพราะหากวัตถุดิบมีคุณภาพดี ราคาก็จะสูงขึ้น (การที่วัตถุดิบขาดแคลนในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้า ไม่เป็นปัญหาหากผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการที่ดี) • การขนส่งและการเคลื่อนย้าย (Distribution and Delivery) ปัญหาเหล่านี้ทำให้ yield ในภาคอุตสาหกรรมต่ำ (อุตสาหกรรมอาหาร เช่น น้ำหนักลด ของเน่าเสีย ไม่สด ทำให้สินค้าถูก reject) • วัตถุดิบบางประเภทมีปัญหาด้านนโยบายการนำเข้า เช่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง

  50. ปัญหาด้านกระบวนการผลิตปัญหาด้านกระบวนการผลิต ระบบการวางแผนการผลิตและการเชื่อมโยง (Logistics and Linkage) • การที่บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆมีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น อาจทำให้บริษัทเหล่านั้นเน้นทำให้ผลิตและซื้อขายกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มของตน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของบริษัทนอกกลุ่ม ในทางกลับกัน การที่บริษัทต่างๆไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงกัน อาจทำให้เกิดความล่าช้าและไม่แน่นอนในการส่งวัตถุดิบขั้นต่างๆ ตลอดจนการกระจาย/เผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ • Clustering ในอุตสาหกรรมบางประเภทมีความสำคัญ โดยมีประ โยชน์ในเรื่อง cheap infrastructure, ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตแต่ยังมีปัญหาขาด information sharing, benchmarking, organizer

More Related